" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
27 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 
118. วัดฝายหิน หมู่บ้านฝายหิน หมู่ 1 ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

วัดฝายหิน ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านฝายหิน
เลขที่ 67 หมู่ 1 ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เป็นวัดในความอุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่




8420. วัดฝายหิน
:บันได "มกรคายนาค" ขึ้นสู่วัดฝายหิน ด้านทิศตะวันออก คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




8422. บริเวณบันไดทางขึ้นสู่วัดฝายหิน ด้านทิศตะวันออก (มช.)




8425. ประตูมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้านทิศตะวันตก (วัดฝายหิน)
:ในวันนี้ประตูมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปิด ดังนั้น ถ้าจะเดินทางมาวัดให้อาศัย ถนน.สุเทพ (หรือ ถนน ฝั่งด้านโรงพยาบาลมหาราช หรือ วัดสวนดอก) ในการเดินทางมานะครับ




8357. ถนน สุเทพ ทางขึ้นไปยัง "กาแล" นะครับ




8360. ก่อนถึงทางเลี้ยวไปวัดฝายหิน จะเห็น โรงเรียนบ้านเชิงดอยสุเทพอยู่ทางด้านซ้ายมือ




8358. บ้านเชิงดอย หมู่ที่ 1. ตำบลสุเทพ และ สุดเขตเทศบาลนครเชียงใหม่
:ทางแยกไป "วัดฝายหิน" อยู่ด้านขวามือครับ




8355. บ้านเชิงดอย หมู่ที่ 1. ตำบลสุเทพ , เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติผาลาด

:กาลครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว Moonfleet และ เพื่อนๆ เคยใช้ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติผาลาด เดินไปจนถึง พระธาตุดอยสุเทพ




8354. จุดเริ่มต้น ของ ถนน สุเทพ




8352. ป้ายชื่อ : วัดฝายหิน มช.





8356. เลี้ยวขวา คือ ทางไป วัดฝายหิน และ ผาลาด ตะวันรอน
และ ถ้าเลี้ยวไปทางซ้าย (จริงๆ คือ ตรงไป) คือทางไป ร้านอาหารกาแล และ หน่วยงานของรัฐอีกหลายแห่งจำชื่อไม่ได้ ที่จำได้เห็นจะเป็น กองทุนฟื้นฟูเกษตรกร (มั้ง)




8364.วัดฝายหิน หมู่ 1 ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่




9365. ซุ้มประตูทางเข้า วัดฝายหิน ด้านทิศใต้ของวัดฝายหิน

เมื่อไปวัดก็ต้องไปทำบุญทำทานถวายปัจจัยไทยธรรม รับศีล รับพรจากพระสงฆ์ตามธรรมเนียม และ ถ้าจะไปเที่ยวชมวัดก็จะรเริ่มต้นด้วยการไป กราบไหว้พระประธานในพระวิหาร ไหว้พระเจดีย์ ชมพระอุโบสถ และ จากนั้นก็เดินชมบริเวณทั่วไปของวัด

แต่ที่ วัดฝายหิน เมื่อได้เข้ามาแล้วทางซ้ายมือเข้าใจว่าเป็น วิหารจตุรมุข หรือ วิหารสี่มุขที่สวยงาม โดยเฉพาะบริเวณบันไดมี พญานาค (เข้าใจว่าเป็นนาคน้ำมีเจ็ดศียร)





9934. บันไดพญานาคเจ็ดเศียร รวมแล้วมีสี่ตน




9935. นาคเจ็ดเศียร แห่ง บันไดพญานาคเบื้อขวา วิหารจตุรมุข (สี่มุข)




9936. นาคเจ็ดเศียร แห่ง บันไดพญานาคเบื้องซ้าย วิหารจตุรมุข (สี่มุข)




9937. วิหารจตุรมุข หรือ วิหารสี่มุขที่สวยงาม





9939. พระวิหารจตุรมุข หรือ วิหารสี่มุขที่สวยงาม




9940. ประตูด้านทิศตะวันออก พระวิหารจตุรมุข
:เหนือยอดประตู ทีแรกมองดูเหมือนมี "กาดำ" มาเกาะอยู่ แต่พอเพ่งจึงเห็นว่าเป็น "นกอินทรี" จะทำด้วยปูน หรือ ไม้ก็ไม่อาจทราบได้ และ ที่เหนือประตูด้านทิศเหนือก็เห็น "นก"ชนิดนี้อยู่เช่นกัน คงมีใครนำมาวางไว้ หรือ เป็นศิลปะแบบใหม่ไม่อาจจะทราบได้




8373. บริเวณภายในพระวิหารจตุรมุขนั้นเป็นที่ว่างเปล่า ไม่มีแม้แต่พระประธานประจำพระวิหาร คงรอให้ทาง..... ผู้มีบุญอัญเชิญพระประธานมาประดิษฐานกระมังครับ




8371. นาคเจ็ดเศียรเบื้องขวา แห่ง บันไดพระวิหารจตุรมุข วัดฝายหิน มช.




8370. นาคเจ็ดเศียรเบื้องซ้าย แห่ง บันไดพระวิหารจตุรมุข วัดฝายหิน มช.




8384. พระพุทธรูป แห่ง วัดฝายหิน มช.




8386. พระเจ้าทันใจ แห่ง วัดฝายหิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




8387. พระพุทธบาทจำลอง แห่ง วัดฝายหิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่





8289. พระสีวลี แห่ง วัดฝายหิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่





8385. วัดฝายหิน

วัดฝายหิน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดฝายหิน ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านฝายหิน เลขที่ 67 หมู่ 1 ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

เป็นวัดในความอุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ หมู่บ้านฝายหิน ด้านหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และถนนทางขึ้นสถานีส่งโทรทัศน์ช่อง 7 ทางเดียวกันกับทางขึ้นสวนสัตว์เชียงใหม่ด้านประตูหลัง

วัดฝายหินเป็นวัดโบราณ เคยเป็นที่สถิตของพระอภัยสาระทะ สังฆปาโมกข์ อดีตปฐมสังฆราชาแห่งล้านนาไทย (เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่รูปแรก)

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการโยกย้ายบ้านเรือนชาวบ้านรอบมหาวิทยาลัย วัดฝายหินจึงได้อยู่ในความอุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

วัดแห่งนี้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้วัดฝายหินยังเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ของคณาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยด้วย

ปัจจุบันทางวัดได้อนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรทั้งจากประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ให้มีโอกาสได้ศึกษาพระพุทธศาสนา โดยได้เปิดสำนักเรียน ธรรม-บาลี และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ทางวัดได้เปิดโรงเรียนแผนกสามัญศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยความร่วมมือระหว่างวัดฝายหิน และ โรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ วัดสวนดอก




9967.พระอุโบสถ วัดฝายหิน หมู่ 1 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่





9966. พระอุโบสถ วัดฝายหิน หมู่ 1 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่




9944. พระอุโบสถ วัดฝายหิน หมู่ 1 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่




9945. พระอุโบสถ วัดฝายหิน หมู่ 1 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่






9948. พระอุโบสถ วัดฝายหิน หมู่ 1 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

:พระอุโบสถ วัดฝายหิน มีการปักใบเสมา แสดงถึงเขตพัทธสีมาของวัดฯ





9949. พระอุโบสถ วัดฝายหิน หมู่ 1 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่





9950.พระประธาน พระอุโบสถ วัดฝายหิน ม.1 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่





9951.พระประธาน พระอุโบสถ วัดฝายหิน ม.1 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่




9952.พระประธาน พระอุโบสถ วัดฝายหิน ม.1 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่


การสร้างวัด

ในสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๕-๒๐๓๑) วัดแห่งนี้เคยมีฐานะเพียงหนึ่งในสำนักสงฆ์สาขาของรตนมหาวิหาร (วัดป่าแดง มหาวิหาร) ซึ่งในขณะนั้นเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระไตรปิฎก นับถือคำสอนลัทธิสิงหลใหม่ (พระพุทธศาสนาซึ่งรับมาจากประเทศศรีลังกา)





9953. พระวิหาร วัดฝายหิน หมู่ 1 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

:เนื่องจากเสนาสนะ หรือ อาคารสิ่งปลูกสร้างของวัดฝายหิน ไม่ได้มีป้ายชื่อกำกับไว้ (เห็นแต่คำสอนคำเมืองติดตามต้นไม้มากมาย) ดังนั้น อาจจะทำให้มีการเรียกชื่ออาคารผิดไปก็ได้ เช่น เรียกพระวิหารเป็นพระอุโบสถ หรือ อาจเรียกโบสถ์เป็นวิหาร หรือ ศาลาสี่มุขอาจจะไม่ใช่ก็ได้ ถ้าผิดพลาดก็ขออภัย




8396. มกรคายนาคเบื้องขวา แห่ง บันไดพระวิหาร วัดฝายหิน มช.




8397. มกรคายนาคเบื้องซ้าย แห่ง บันไดพระวิหาร วัดฝายหิน มช.





8402. พระประธานแห่งพระวิหาร วัดฝายหิน มช.




8406. พระประธานแห่งพระวิหาร วัดฝายหิน มช.




8403. ภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระวิหาร วัดฝายหิน มช.

:เข้าใจว่ายังไม่มีการเขียน ภาพที่เห็นนี้ คือ ภาพที่เขียนลงบนผืนผ้าแล้วนำผืนผ้ามาติดไว้ในพระวิหาร เข้าใจว่า คงมีโครงการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัติในอนาคต ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับศรัทธาของชาวบ้านฝายหิน และ เหล่าบรรดาลูกช้างแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นะครับ




8404. ภาพจิตรกรรมบนผืนผ้า ในพระวิหาร วัดฝายหิน มช.




8405. ภาพจิตรกรรมบนผืนผ้า ในพระวิหาร วัดฝายหิน มช.




8407. ตู้หนังสือเก็บพระไตรปิฏก รวบรวมหลักธรรมคำสอน 84,000 พระธรรมขันธ์





8408. ตู้หนังสือ เก็บ หนังสือพระไตรปิฏก

งานประจำปี

ในวันที่ ๒๑ เมษายน ของทุกปี ทางวัดจะเปิดโอกาศให้สาธุชน ได้รดน้ำรูปปั้นครูบาพระอภัยสาระทะ ซึ่งเป็นประเพณีประจำปีของวัด อยู่ในช่วงวันสุดท้ายของการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน เพื่อเป็นสิริมงคล แก่สาธุชน และสามเณร ก่อนลาสิกขา




9958. พระเจดีย์ อยู่ด้านทิศตะวันตก พระวิหาร วัดฝายหิน มช.

:พระเจดีย์ที่บรรจุอัฐิพระอภัยสารทะ สังฆปาโมกข์(ครูบาวัดฝายหิน)




8400. สิงหราชแห่งมุมฐานสี่เหลี่ยม พระเจดีย์ วัดฝายหิน มช.





8401. พระเจดีย์ แห่ง วัดฝายหิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พระเจดีย์ที่บรรจุอัฐิพระอภัยสารทะ สังฆปาโมกข์(ครูบาวัดฝายหิน)




8409. พระเจดีย์ แห่ง วัดฝายหิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่





8410. พระเจดีย์ แห่ง วัดฝายหิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




8411. พระเจดีย์ แห่ง วัดฝายหิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




8361.สามเณรวัดฝ่ายหิน กำลังเดินกลับ วัดฝายหิน




8362. สามเณร คือ หน่อเนื้อแห่งพระพุทธศาสนา เห็นท่านแล้วเป็นปลื้มฯ





8363. โรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่
แผนกมัธยมศึกษาตอนต้น วัดฝายหิน




8372. สามเณรเดินทางกลับวัดฝายหิน หลังจากเลิกเรียน




8374. กู่:เป็นที่เก็บ อัฐ ของฆราวาสเป็นส่วนมาก ของพระสงฆ์มีน้อย




8375. กู่ : ภายในบริเวณของ วัดฝานหิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่





8376. จานแดง ได้แต่หวังว่าจะเป็น "DMC"




8377. บริเวณภายใน วัดฝายหิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่





8378.




8379.




8380. พญานาคเจ็ดเศียร แห่ง บันได ศาลาจตุรมุข (มองด้านหลัง)





8381. พญานาคเจ็ดเศียร แห่ง บันได ศาลาจตุรมุข (มองด้านหลัง)




8383. พญานาคเจ็ดเศียร แห่ง บันได ศาลาจตุรมุข (มองด้านหลัง)




8390. มกรคายนาค แห่ง พระอุโบสถ วัดฝายหิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




8391. มกรคายนาค แห่ง พระอุโบสถ วัดฝายหิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




8392. หน้าบัน พระอุโบสถ วัดฝายหิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




8393. ประตู พระอุโบสถ วัดฝายหิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




9394. ภายในพระอุโบสถ ได้มีการจัดทำเป็นห้องเรียน สอน "บาลี"





8399. ศาลานักศึกษาศรัทธาสามัคคี 2521.




8412. ทำบุญกับ พระประจำวันเกิด




8413. หน่วยอบรมประชาชน ตำบลสุเทพเขต1 วัดฝายหิน





8414. สถานีวิทยุกระจายเสียง พระพุทธศาสนาแห่งชาติและสังคม




8415. วิหารจตุรมุข ด้านทิศเหนือ




8416.




8417.




8419.




8421.




8423.




8424.




8426.




8427.



8430.




8431.




8429. วัดฝายหิน หมู่ 1 ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่






Moonfleet ได้มาเยือน วัดฝายหิน หมู่ 1 ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

วันอาทิตย์ ที่ 27 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2552




นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง


Create Date : 27 ธันวาคม 2552
Last Update : 27 ธันวาคม 2552 19:50:45 น. 9 comments
Counter : 10276 Pageviews.

 
ประวัติ วัดฝายหิน

สถานที่ตั้งและเนื้อที่ของวัด

วัดฝายหิน เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ที่บ้านเชิงดอย เลขที่ ๖๗ หมู่ที่ ๑ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ ๕๐๒๐๐ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๑๗ ไร่ ๑ งาน ๓๖ ตารางวาเศษ ตำแหน่งที่ดิน ๑๓ ระวาง ๓ฏ เลขที่ดิน ๕๔ หน้าสำรวจ ๕๕๓๒ ตำบลสุเทพ ตามโฉนดที่ดิน เลขที่ ๕๔๘๙๙ เล่มที่ ๕๔๙ หน้า ๙๙ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ออก ณ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙

พื้นที่พุทธสถานติดกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้านทิศตะวันออก

นามเดิม
อารามสำนักสงฆ์สาขา ของ รตวนมหาวิหาร

ประวัติวัดฝายหิน

วัดฝายหินเป็นวัดโบราณ เคยเป็นที่สถิตของพระอภัยสารทะ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่รูปแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ และปฐมสังฆราชาแห่งล้านนาไทย มีพื้นที่ มีพื้นที่ติดต่อกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้านทิศตะวันตก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับวัดฝายหินเข้าอยู่ในความอุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นต้นมาและได้ให้การสนับสนุนส่งเสริมในการพัฒนาวัดฝายหินมาโดยตลอด นอกจากนี้ วัดฝายหิน ยังเป็นศาสนาสถาน ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ใช้ในการประกอบพิธีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ของคณาจารย์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และพุทธศาสนิกชนทั่วไป เช่นการจัดงานทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬบูชาและวันเข้าพรรษาเป็นต้น

วัดฝายหิน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๖ ได้รับพระราชทานวิสุง-คามสีมา เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร และได้ทำการประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐

การสร้างวัด

วัดฝายหิน นับแต่โบราณมา (ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช พ.ศ.๑๙๘๕-๒๐๓๑) มีฐานะเป็นเพียงอารามสำนักสงฆ์สาขา ของ รตวนมหาวิหาร (วัดป่าแดงหลวง เชียงใหม่) ซึ่งเป็นฝ่ายอรัญญวาสี อยู่ทางทิศใต้ของอารามฝายหินไปประมาณ ๑ กิโลเมตร รตวนมหาวิหาร ในครั้งนั้นเป็นศูนย์กลางการศึกษาภาษาบาลีและพระไตรปิฎก ของคณะสงฆ์ลัทธิสิงหลใหม่ คือ ฝ่ายป่าแดง ดังปรากฏในตำนานมูลศาสนาว่า ในครั้งนั้นมีพระมหาญาณคัมภีร์ ชาวนครพิงค์เชียงใหม่ เป็นประธานสงฆ์

การศึกษา

รตวนมหาวิหารในยุคนั้น มีพระภิกษุชาวต่างประเทศเข้ามาศึกษาอบรมมากมาย เช่นพระภิกษุจาก ศรีลังกา เชียงรุ้ง เชียงตุง หงสาวดี ล้านช้าง เวียดนาม กัมพูชา และภิกษุจากหัวเมืองต่างๆ เช่น เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง

สถานะของวัด

วัดฝายหิน วัดช่างเคี่ยน วัดโป่งน้อย วัดตโปตาราม (ร่ำเปิง) วัดเจ็ดยอด วัดป่ากล้วย วัดโพธิสุทธิ์ วัดหมู่บุ่น เป็นบริวารของวัดป่าแดงหลวง และเป็นฝ่ายอรัญญวาสีด้วยกัน

ประวัติความเป็นมา

ประเทศล้านนา มีนครพิงค์เชียงใหม่เป็นราชธานี มาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๔๐ โดยมี พญามังรายหลวงเจ้า เป็นปฐมกษัตริย์ สืบราชสมบัติกันต่อๆ มาหลายรัชกาล จนถึง พ.ศ. ๒๑๐๑ ก็ตกเป็นอาณานิคมของประเทศพม่า ครั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๗ พระเจ้ากรุงธนบุรี หรือพระเจ้าตากสิน พร้อมทั้ง พญาจ่าบ้านบุญมา (พญามังรายวิเชียรปราการ กำแพงเพชร) ได้นำกองทัพไทยบดขยี้กองโจรพม่ารามัญ ไทยใหญ่ จนถึงขั้นประจัญบาน ดาบต่อดาบ หมัดต่อหมัด รบแบบสายฟ้าแลบห้าวหาญ พม่ารามัญเอาชีวิตมาสังเวยครั้งนั้นไม่ทราบจำนวน ที่เหลือก็หนีออกไปจนหมดสิ้นอารามฝายหิน เป็นอรัญญวาสี สาขาของ รตวนมหาวิหาร คือวัดป่าแดงหลวง เชียงใหม่ ตั้งแต่รัชกาลของพระเจ้าติโลกราช เมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๕-๒๐๓๑ เป็นต้นมา นับเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเชียงใหม่ อารามฝายหิน เป็นที่รู้จักทั่วไป สมัยรัชกาลที่ ๔ โดยมีครูบาหลวงมารวิชัย เป็นเจ้าอาราม และในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในนาม "ครูบาฝายหิน รู้คำนกคำหนู" ซึ่งต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็น "พระอภัยสารทะ สังฆปาโมกข์" เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๙ พระเจ้ากาวิละ พร้อมไพร่ฟ้าข้าบริวาร อพยพจากเวียงป่าซาง มาสถิตย์อยู่ในเวียงร้าง คือเวียงเชียงใหม่ พระองค์ได้ปรับปรุงซ่อมแซมสิ่งปรักหักพังให้มีสภาพปกติ เช่น ย้ายพระเจ้าแข้งคม จากวัดร้างในป่าตาลนอกกำแพงด้านแจ่งกู่เฮือง มาประดิษฐานในวิหารวัดศรีเกิด เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๓ เป็นต้น สมัยรัชกาลที่ ๔ ปรากฏว่า มีพระภิกษุนามว่า ครูบาหลวงมารวิชัย เป็นพระเถระทรงความรู้แตกฉานภาษาบาลี ท่านเป็นเจ้าอารามฝายหิน ผลงานของท่านเท่าที่ได้สำรวจมาแล้ว มีหลายเรื่องใหญ่ ซึ่งท่านเป็นผู้จารลงในใบลาน เช่น มหาวิบากหลวง หนาถึง ๑๒ ผูก ฯลฯ และชิ้นสำคัญคือ ตำราเรียนภาษาบาลี เรียก "สัททพินทุ" คัมภีร์นี้ ท่านเจ้าคุณ พระสุวิมลธรรมาจารย์ คณะสลัก วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษธ์กรุงเทพฯ ได้ยืมไปแปลเป็นภาษาไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ ตั้งแต่สมัยครูบาหลวงมารวิชัยเป็นเจ้าอาราม วัดฝายหินจึงค่อยๆ เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง จนกระทั่งได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ต้องมีการอพยพผู้คนออกไปจากพื้นที่ จึงทำให้วัดฝายหินจึงอยู่ในความอุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

ที่มา
://www.philcmu.com


โดย: ประวัติ วัดฝายหิน (moonfleet ) วันที่: 27 ธันวาคม 2552 เวลา:19:41:29 น.  

 
โบราณสถานและโบราณวัตถุพร้อมประวัติ

โบราณวัตถุที่มีความสำคัญของวัดฝายหินได้แก่ รูปปั้นของครูบามารวิชัย ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาแก่ผู้ที่มาวัด ทุกวันที่ 21 เมษายนของทุกปี จะมีการจัดให้สรงน้ำรูปปั้น ด้วยความเชื่อว่าเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต และในวันสงกรานต์ก็จะนำรูปปั้นของครูบามารวิชัยเข้าขบวนสรงน้ำพระ เพื่อให้ประชานชนได้สรงน้ำพระ ซึ่งจัดโดยประชาชนบริเวณวัดฝายหิน

นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปไม้สักซึ่งหล่อด้วยทองคำอยู่คู่วัดมานานแล้วแม้แต่ท่านเจ้าอาวาสเองก็ยังไม่ทราบว่ามีความเป็นมาอย่างไร

ส่วนโบราณสถานอีแห่งหนึ่งที่อยู่ในวัดที่เป็นที่สักการบูชามาก คือ เจดีย์บรรจุอัฐิพระอภัยสารทะ สังฆปาโมกข์(ครูบาฝายหิน) ปฐมสังฆราชของล้านนาไทย เป็นพระมหาเถระผู้ทรงความรู้ในภาษาบาลี เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกและการปฏิบัติทั้งในฝ่ายสมถกัมมัฎฐาน เป็นเจ้าอาวาสวัดฝายหินองค์ที่ 2 เคยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่


ที่มา://www.philcmu.com


โดย: โบราณสถานและโบราณวัตถุพร้อมประวัติ (moonfleet ) วันที่: 27 ธันวาคม 2552 เวลา:19:44:00 น.  

 
ลำดับเจ้าอาวาสวัดฝายหิน

๑. ครูบามารวิชัย (อดีต - พ.ศ. ๒๓๙๘)
๒. พระอภัยสารทะ (๒๓๙๙- ๒๔๕๗)
๓. พระปลัดคำซาว อินทนนฺโท (๒๔๕๘- ๒๔๙๓)
๔. พระอธิการศรีมูล ญาณวโร (๒๔๙๔- ๒๕๐๙)
๕. ครูบาแดง (๒๕๑๐- ๒๕๑๙)
๖. พระศรีธรรมบัณฑิต (๒๕๒๐- ๒๕๓๐)
๗. พระอธิการสิงห์แก้ว (๒๕๓๐- ๒๕๓๒)
๘. พระมหาทองรัตน์ รตนวณฺโณ (๒๕๓๒- ๒๕๓๕)
๙. พระครูใบฏีกาสุรัตน์ ฐานิสฺสโร (๒๕๓๕- ๒๕๓๘)
๑๐. พระมหา ดร. ไสว เทวปุญฺโญ ปธ.4, PhD. (PHILOSOPHY) (๒๕๓๙- ปัจจุบัน)

ที่มา://www.philcmu.com



โดย: ลำดับเจ้าอาวาสวัดฝายหิน (moonfleet ) วันที่: 27 ธันวาคม 2552 เวลา:19:45:37 น.  

 
กิจกรรมของวัดที่มีต่อชุมชน

- ได้ฝึกพระภิกษุ สามเณร ให้เป็นนักเทศน์ นักปาฐกถาธรรม นักสวด และออกจาริกปฏิบัติธรรม

- ได้จัดให้มีกิจกรรม โดยอาราธนาพระสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิมาแสดงธรรม

- จัดให้มีการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน อบรมค่ายธรรมจักรลีลาและการแข่งขันตอบปัญหา

- จัดงานตักบาตรเทโวร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทุกปี ในวันหลังจากออกพรรษา คือแรม ๑ ค่ำทุกปี

- จัดหนังสือธรรม ไว้ในห้องสมุดประจำอุทยานการศึกษาวัดฝายหิน เพื่อให้ภิกษุสามเณรได้ค้นคว้า

- มีการวนเวียนทุกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นงานประจำปีมีผู้มาร่วมประชุมพิธีทำบุญฟังเทศน์ประมาณ ๒๐๐ คน

- จัดตั้งกลุ่มโครงการตั้งกลุ่มพุทธมากะ กลุ่มหนุ่มสาว พร้อมทั้งแนะนำการดำรงตนให้ถูกต้องตามสมบัติของอุบาสก-อุบาสิกา

- ให้ที่พักอาศัยแก่พระภิกษุสามเณรที่มาศึกษาในเขตจังหวัดเชียงใหม่

- ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปรับปรุงธรรมสถานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการอบรมและสอนวิธีการปฏิบัติกรรมฐานของสำนักต่างๆและได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ ซึ่งได้ทำการเปิดดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๔๔

- ร่วมกับคณะกรรมการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ระบบ เอฟ. เอ็ม. ความถี่ ๙๖ เมกเฮิรตซ์ กำลังส่ง ๓๐ วัตต์

- สนับสนุนกลุ่มแม่บ้านในการรวมตัวกันทำอาชีพเสริมโดยสนับสนุนพื้นที่ในการทำการ

- ให้การสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษาโดยอนุเคราะห์ให้ยืมอุปกรณ์ต่างๆแก่นักศึกษา

ที่มา://www.philcmu.com


โดย: กิจกรรมของวัดที่มีต่อชุมชน (moonfleet ) วันที่: 27 ธันวาคม 2552 เวลา:19:48:26 น.  

 
//www.philcmu.com/space/glinkfiles

วัดฝายหิน
จัดทำโดย
นางสาวสายจิตต์ คุ้มเมือง
รหัสประจำตัวนักศึกษา 4711094
คณะเทคนิคการแพทย์


โดย: วัดฝายหิน (moonfleet ) วันที่: 27 ธันวาคม 2552 เวลา:19:53:37 น.  

 
ละเอียดกว่านี้คงไม่มีอีกแล้ว


โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา วันที่: 27 ธันวาคม 2552 เวลา:20:33:31 น.  

 
แวะมาทักทายครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะครับ


โดย: กัปตันลูกชุบ วันที่: 27 ธันวาคม 2552 เวลา:21:50:39 น.  

 
moomprod วันที่: 28 ธันวาคม 2552 เวลา:10:24:28 น.
 

 
ไม่เห็นมีประวัต พระเครื่องต่างๆ ที่ออกโดยวัด เอามาโชบ้างเลย


โดย: เราเอง IP: 180.180.128.180 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2553 เวลา:3:42:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.