สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

ออกกำลังกาย สไตล์เบาหวาน



หากไม่มีการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ผู้ป่วยเบาหวานมักจะประสบกับปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา ด้วยเหตุนี้นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตและการใช้ยาให้ถูกต้องแล้ว การออกกำลังกายยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่คนเป็นเบาหวานไม่ควรมองข้าม

เพราะการออกกำลังกายจะทำให้เซลล์กล้ามเนื้อไวต่ออินซูลิน และนำน้ำตาลจากเลือดเข้าสู่เซลล์ได้มากขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดจึงลดลง นอกจากนี้ยังทำให้การหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น รวมถึงทำให้ระบบของหัวใจ ปอด และเส้นเลือดดีขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังมีประโยชน์ในแง่อื่น ๆ เช่น ช่วยให้มีรูปร่างดีขึ้น น้ำหนักตัวลดลง และเป็นวิธีการจัดการกับความเครียดได้ดีอีกด้วย
อย่างไรก็ดี ก่อนการออกกำลังกายควรปรึกษาแพทย์ก่อน ถ้าแพทย์อนุญาตผู้ป่วยเบาหวานก็สามารถออกกำลังกายตามโปรแกรมง่าย ๆ ได้ดังนี้

- ชนิดของการออกกำลังกาย เน้นรูปแบบการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น การเดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน เป็นต้น

- ความหนัก ช่วงเริ่มต้นควรออกกำลังกายในระดับความหนักปานกลาง ไม่เหนื่อยมากจนเกินไป หลังจากนั้นอาจจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามความสามารถ

- ความถี่ ประมาณ 4 - 7 วัน/สัปดาห์

- ระยะเวลา สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 1ซึ่งตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ให้ค่อยๆ ใช้เวลาเพิ่มขึ้นจนถึง 20 – 30 นาที ขณะที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งเกิดจากอินซูลินมีการตอบสนองที่ไม่ดี สามารถออกกำลังกายได้นานถึง 40 – 60 นาที

ข้อควรระวังสำหรับเบาหวานประเภทที่ 1

แม้ว่าจะยังไม่มีผลรับรองแน่ชัดว่า การออกกำลังกายจะสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในโรคเบาหวานประเภทที่ 1ได้ แต่การออกกำลังกายก็จะช่วยให้ประสิทธิภาพและระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายดีขึ้น รวมถึงยังสามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคหัวใจ ได้ด้วย เพียงแต่มีข้อพึงระวังคือ

- ก่อนออกกำลังกาย ไม่ควรฉีดอินซูลินเข้าสู่กล้ามเนื้อที่จะใช้ในการออกกำลังกาย และควรออกกำลังกายหลังจากฉีดอินซูลินไปแล้วประมาณ 90 – 120 นาที

- ควรออกกำลังกายหลังมื้ออาหารหรือของว่างภายใน 1 ชั่วโมง โดยออกกำลังในรูปแบบเดิมทุกวัน

ข้อควรระวังสำหรับเบาหวานประเภทที่ 2

การออกกำลังกาย มีความสำคัญต่อการรักษาโรคเบาหวานประเภทที่ 2 คือทั้งช่วยลดระดับของน้ำตาล คอเลสเตอรอล และน้ำหนักตัว แต่ก็ยังมีข้อที่ควรระวังดังนี้

- ควรตรวจเช็กปริมาณของน้ำตาลในเลือดบ่อย ๆ และคอยปรึกษาแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

- ควรพกน้ำผลไม้หรือลูกอมติดตัวอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ“Hypoglycemia” หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ ที่มักจะเกิดขึ้นในขณะออกกำลังกาย โดยมีอาการที่บ่งบอกคือ หน้ามืด เวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก ตัวสั่น คล้ายจะเป็นลม

- ไม่ควรฉีดอินซูลินในกล้ามเนื้อที่จะใช้ออกกำลังกาย เพราะจะถูกดูดซึมได้เร็วและทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในร่างกายต่ำ

- ควรออกกำลังกายในช่วงเวลาเดียวกันทุกครั้ง เพื่อง่ายต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย

- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงที่อินซูลินทำงานอย่างเต็มที่

- ควรรับประทานขนมหรือของว่างก่อนและระหว่างการออกกำลังกาย

- ระวังการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นที่เท้า เพราะจะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย

- ควรหยุดหรืองดการออกกำลังกาย ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดก่อนออกกำลังกายต่ำกว่า 100 mg/dL ยกเว้นถ้ามีการบริโภคคาร์โบไฮเดรตเพิ่มเติม ขณะเดียวกันถ้ามีระดับน้ำตาลในเลือดเกินกว่า 250 mg/dL หรือมีปริมาณของคีโตนที่พบในปัสสาวะมากกว่า 240 mg/dL ก็ให้หยุดหรืองดการออกกำลังกายเช่นเดียวกัน

พูดง่าย ๆ ก็คือจะออกกำลังกายได้ก็ต่อเมื่อมีการควบคุมปริมาณของน้ำตาลในเลือดให้ได้เสียก่อน เพื่อความปลอดภัยนั่นเอง



กรอบสวยๆ จากคุณ somjaidean100
ข้อมูลจาก
//www.healthtodaythailand.com/







 

Create Date : 29 ธันวาคม 2554
0 comments
Last Update : 29 ธันวาคม 2554 7:52:07 น.
Counter : 1069 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
29 ธันวาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.