สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
แล่นลมชมทะเลกับกีฬาท้าทาย.... เรือใบ

lozocatlozocatlozocat


มีผู้กล่าวไว้ว่า “...เล่นเรือใบต้องใช้สมอง ต้องคิดตลอด หาความรู้ให้ตัวเองไปได้เรื่อยๆ คนกับเรือต้องดีกันคนละครึ่ง ถ้าเรือดีคนไม่ดี ก็ใช้ไม่ได้ เรือไม่ดีคนดีก็ไม่ได้อีกเช่นกัน”
เรือใบ กีฬากลางแจ้งประเภทหนึ่งที่หลายคนให้ความสนใจ และมีการจัดการแข่งขันกันอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเป็นกีฬาที่ถูกบรรจุไว้ในการแข่งขันระหว่างชาติครั้งสำคัญๆ ทั้งกีฬาซีเกมส์ เอเซียนเกมส์ และกีฬาระดับโลกอย่างโอลิมปิก

เรือใบ (Yachting) เป็นกีฬาที่มีต้นกำเนิดมาจาก ประเทศฮอลแลนด์ ได้ถูกนำเผยแพร่ในประเทศอังกฤษโดยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2203 หลังจากที่พระองค์เสด็จกลับจากการถูกเนรเทศในประเทศฮอลแลนด์ แต่สโมสรเรือใบแห่งแรกกลับอยู่ที่ประเทศไอร์แลนด์ ชื่อสโมสร คอร์คฮาร์เบอร์ ตั้งในปี พ.ศ. 2263

สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมการแข่งขันเรือใบ เป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 16 ที่ประเทศออสเตรเลีย และเข้าร่วมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

มารู้จักส่วนประกอบของเรือใบกันก่อน
ส่วนประกอบหลักของเรือใบมี 3 อย่าง คือ ใบเรือ ตัวเรือ และแด็กเกอร์บอร์ด (dagger board) หรือเซ็นเตอร์บอร์ด (center board) ซึ่งอยู่บริเวณท้องเรือ

ใบเรือ (Sail) ทำหน้าที่รับลม จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องปรับแต่งใบให้ถูกต้อง เพื่อให้เรือแล่นได้เร็ว ใบเรือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะใช้สำหรับรับลม เรือจะ ไปหรือไม่ไปก็ขึ้นอยู่กับใบเรือ

ตัวเรือ (Body) เปรียบเหมือนกับตัวถังรถยนต์
ส่วนแด็กเกอร์บอร์ด (Dagger board) หรือ กระดูกงูเลื่อน เป็นส่วนที่อยู่ใต้น้ำ มีไว้เพื่อกันเซด้านข้าง ซึ่งสำหรับแด็กเกอร์บอร์ดของเรือใบเลเซอร์นั้นสามารถ ดึงออกได้เพื่อประโยชน์ในการแล่นใบลักษณะต่างๆ และปรับระดับของการที่จะขึ้นลงได้แล้วแต่กรณีของ การแล่นใบ

เซ็นเตอร์บอร์ด (Center board) เป็นอุปกรณ์กันเซ เช่นเดียวกัน แต่มักจะประกอบติดกับตัวเรือ ถอดออกไม่ได้ จะติดไว้ในเรือใบบางประเภท เช่น เรือใบคอนเซปต์ นอกเหนือจากส่วนหลักทั้งสามแล้ว ก็ยังมีส่วนประกอบย่อยซึ่งสำคัญไม่แพ้กัน คือ เพลา (boom) รอก เชือก ดึงใบ (main sheet) หางเสือ คันโยก (tiller) เป็นต้น

ประเภทของเรือใบ
เรือใบที่ใช้ในการแล่นเรือแยกเป็นหลายประเภท เช่น ออพติมิสต์ (Optimist), ไฟร์บอล (Fire Ball), เลเซอร์ (Laser), มด (Mod), ซูเปอร์มด (Super Mod), โอเค เป็นต้น แต่ที่นิยมและใช้ในการแข่งขันสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

เรือใบโอเค ใบเรือสีขาว ใบเดียว สังเกตได้จากสัญลักษณ์ หัวจะเป็นทรงกลม ท้ายเป็นหางนกแซงแซวแนวนอน ตัวเรือจะมีลักษณะใหญ่และสูง ทำด้วยไม้หรือไฟเบอร์กลาส กำหนดน้ำหนักผู้เล่นที่ 75 กิโลกรัม

เรือใบเอ็นเตอร์ไพรส ใบเรือสีฟ้า มี 2 ใบ ใบเล็กเรียกว่าใบยิบ ใบใหญ่เรียกว่าเมนท์เซล สังเกตสัญลักษณ์จากตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวอีพิมพ์ใหญ่ (E) ตัวเรือทำด้วยไม้หรือไฟเบอร์กลาส โดยมีผู้เล่น 2 คน น้ำหนักตัวรวมประมาณ 130 กิโลกรัม นายเรือคอนโทรลใบใหญ่ หางเสือ และปรับแต่งอุปกรณ์บางส่วน ลูกเรือคอนโทรลใบยิบ เซนเตอร์บอร์ดและปรับแต่งอุปกรณ์ ที่นายเรือแนะนำ

เรือใบเลเซอร์ ใบเรือสีขาว ใบเดียว ลักษณะจะเป็นรูปแสงเลเซอร์สีแดง ตัวเรือจะเล็กและต่ำกว่า

เรือใบโอเค แต่จะยาวกว่าเล็กน้อย วัสดุทำด้วยไฟเบอร์กลาส น้ำหนักตัวผู้เล่นประมาณ 80 กิโลกรัม

เรือใบออฟติมิสต์ เรือใบสีขาว ใบเดียว มีสัญลักษณ์ตัวอักษรและมีขีดตัวไอจากจุดศูนย์กลาง ตัวเรือทำจากไม้หรือไฟเบอร์กลาส ลักษณะจะเป็น กล่อง น้ำหนักของผู้เล่นจะอยู่ที่ 20 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 50 กิโลกรัม ซึ่งเป็นเรือสำหรับเยาวชนที่อายุไม่เกิน 15 ปี ในการฝึกและแข่งขัน ดังนั้นเรือใบลำแรกที่ หลายคนหัดเล่นจึงเป็นเรือประเภทออพติมิสต์



พื้นฐานของการแล่นเรือใบ
ในการแล่นเรือใบ ต้องเข้าใจคำศัพท์ หรือชื่อที่ต้องใช้บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น Beating คือ แล่นทวนลม Reaching คือ แล่นขวางลม Running คือ การแล่นตามลม รวมถึง Tacking การกลับใบทวนลม และ Gybing การกลับใบตามลม ซึ่งทั้งหมดเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเล่นเรือใบทุกประเภทโดยในการเรียกชื่อทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษเพราะจะตรงกับความเข้าใจของนักเล่นเรือใบคนอื่นๆ

การแล่นใบมีด้วยกัน 3 วิธี คือ
1. แล่นใบทวนลมหรือแล่นก้าว (beating) มี หลักการสำคัญ คือ ตัวเรือต้องทำมุม 45 องศากับลม ดึงใบเข้ามาถึงมุมกราบท้ายเรือด้านใต้ลม นั่งให้ชิดไปด้านหน้าหรือตรงกลางลำเรือ เอาแด็กเกอร์บอร์ดลงให้หมด ตาดูใบ ถ้าใบสะบัดให้ดึงหางเสือเข้าหาตัวเล็กน้อย จนกระทั่งใบหายสะบัด

2. แล่นใบขวางลม (reaching) มีหลักการสำคัญ คือ ตัวเรือทำมุม 90 องศากับลม ปล่อยใบออกไปทำมุมประมาณ 45 องศากับตัวเรือ เอาแด็กเกอร์บอร์ดขึ้นประมาณครึ่งหนึ่ง ตั้งหัวเรือไปทางจุดหมาย แล้วปล่อยใบออก เมื่อใบสะบัดให้ดึงใบเข้าจนใบหายสะบัด การแล่นใบแบบนี้สามารถทำความเร็วได้มากที่สุด

3. แล่นใบตามลม (running) มีหลักการสำคัญ คือ ปล่อยใบออกไปจนทำมุม 90 องศากับตัวเรือ เอาแด็กเกอร์บอร์ดขึ้นเกือบหมด เอียงเรือมาด้านตัวเองเล็กน้อย นั่งไปทางด้านหน้าเรือ การแล่นใบแบบนี้ทำ ความเร็วได้น้อยที่สุด การเลือกว่าจะใช้วิธีแล่นใบแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับทิศทางของลม ดังนั้นเพื่อจะไปให้ถึงจุดหมาย นักแล่นใบจึงต้องดูทิศทางลมและเลือกใช้วิธีแล่นใบให้ถูก รวมถึงต้องทำการกลับใบเรือเพื่อรับลมด้วย

ในการกลับใบมี 2 ลักษณะ คือ
1. กลับใบทวนลม (tacking) ทำเมื่อจะเปลี่ยนการวิ่งอีกด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง โดยดันหางเสือออกจากตัวช้าๆ จนหัวเรือเข้าหาลม ใบเริ่มสะบัด ให้ดึงเชือกเข้าหาตัวและก้มหลบเพลา (boom) เมื่อเพลา (boom) ผ่านหัวไปแล้วให้ย้ายตัวไปนั่งอีกข้าง พร้อมกับเปลี่ยนมือที่ถือหางเสือกับเชือกดึงใบ

2. กลับใบตามลม (gybing) ทำโดยดึงหางเสือเข้าหาตัวช้าๆ จนเรือเริ่มหมุน ให้ดึงใบเข้ามาเล็กน้อย เมื่อเพลา (boom) ผ่านหัวแล้ว ให้ย้ายตัวไปนั่งอีกข้าง พร้อมกับเปลี่ยนมือที่ถือหางเสือกับเชือกดึงใบ

หลักการนั่งแล่นเรือใบ การถือหางเสือ และเชือกดึงใบ
- นั่งขาแนบชิด ตัวตรง
- นั่งตรงกลางลำเรือเสมอ
- นั่งตรงข้ามกับใบเสมอ
- มือที่อยู่ด้านท้ายเรือถือหางเสือ
- มือที่อยู่ด้านหน้าเรือถือเชือก ดึงใบโดยดึงใบผ่านรอก

เทคนิคการเรียนรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
เริ่มแรกของการเรียน หลังจากเข้าใจในทฤษฎีแล้ว จะเป็นการฝึกการแล่นเรือกลับไปกลับมาระหว่างทุ่น 2 ทุ่น ซึ่งตั้งขวางลมห่างกัน ผู้เล่นต้องไม่ลืมที่จะนั่งขาแนบชิดติดกัน หลังตรง อยู่บนกราบเรือฝั่งตรงข้ามกับใบเรือ มือข้างหนึ่งคว่ำ จับเชือกดึงใบผ่านใต้รอก อีกข้างหนึ่ง คว่ำกำคันชักหางเสือเรือ

การแล่นใบขวางลม (reaching) และการกลับใบทวนลม (tacking) เป็นเรื่องง่ายสุดในการฝึก โดยจะมีผู้ช่วยครูฝึกลงไปในเรือด้วยในครั้งแรกชนิดตัวต่อตัว และมีเรือยางของครูฝึกคอยดูแลอยู่ไม่ห่าง พร้อมกับให้คำแนะนำและแก้ไขวิธีเล่นเรือใบ

เมื่อมีลมสิ่งที่สำคัญคือการดึงใบเรือรับลม ดึงหางเสือเข้าหาตัว ในขณะที่ต้องรีบดึงใบให้ตึง เพื่อทำให้เรือแล่นไปได้ แต่เมื่อเริ่มรู้สึกว่าใบชักจะตึงเกินไป ด้วยลมจะโถมใส่ใบจนเรือเอียง ผู้เล่นจะต้องค่อยๆ ผ่อนใบ และทิ้งตัวเพื่อสู้แรงลม

ในการ ‘แท็ก’ หรือ กลับใบทวนลม เริ่มจากการดึงใบพร้อมกับค่อยๆ ผลักหางเสือออก เพลา (boom) จะย้ายกลับมาอีกฝั่ง ผู้เล่นต้องรีบก้มหัวหลบเพลา (boom) แล้วย้ายไปนั่งฝั่งตรงข้ามอย่างรวดเร็ว มือทั้งคู่จะจับอยู่ด้านหลัง มีการสลับมือจับหางเสือและเชือกดึงใบ พร้อมกับคืนหางเสือ เพื่อให้เรือแล่นไปยัง ทุ่นข้างหน้าได้อย่างราบรื่น

หากลมแรงจนเรือพลิกคว่ำ การดึงเรือขึ้นต้อง ขึ้นฝั่งตรงข้ามกับใบ เริ่มจากการจับแด็กเกอร์บอร์ด กดลงมาและขึ้นไปยืน มือจับกาบเรือไว้ ทิ้งน้ำหนักลงไปที่แด็กเกอร์บอร์ด แล้วเรือก็ค่อยๆ พลิกกลับขึ้นมา การ ‘ไจบ์’ หรือกลับใบตามลม (gybing) เป็นท่าที่ยากขึ้น เพราะเมื่อเรืออ้อมทุ่นแล้ว ต้องดึงหางเสือเรือเข้าหาตัวพร้อมๆ กับดึงใบเข้ามานั้น เรือจะเอียงมาทางตัวอย่างเร็ว ผู้เล่นต้องรีบย้ายไปนั่งอีกฝั่งให้ทัน ดังนั้น การไจบ์จึงยากกว่า แท็ก

ในการแล่นใบทวนลมเพื่อขึ้นไปยังทุ่นที่อยู่เหนือลมโดยตรงนั้นทำไม่ได้ จึงต้องมีการแล่นซิกแซกขึ้นไป และต้องทำการกลับใบอยู่เป็นระยะตามความพอใจของคนเล่น จนไปอ้อมทุ่น จึงปล่อยใบรับลมออกไปให้หมด แล้วเอาแด็กเกอร์บอร์ดขึ้นเพื่อลดแรงกดใต้น้ำ ซึ่งเป็นวิธีแล่นใบตามลมที่หลายคนคิดว่า จะทำให้เรือแล่นเร็วที่สุด แต่ความจริงแล้วกลับเป็นวิธีที่เรือแล่นช้าที่สุดเมื่อเทียบกับแล่นขวางลมและแล่นทวนลม เพราะใบเรือได้รับแรงกดเข้าไปเต็มๆ ขณะที่อีก 2 วิธีนั้นลมจะเข้าทางหน้าใบและพัดเฉียดออกทางท้ายใบ

เรือใบกับสมาธิ
ในการฝึกเรือใบนั้น คุณสมบัติที่สำคัญคือ ความสามารถในการว่ายน้ำพื้นฐาน ซึ่งก่อนการฝึกอบรมจะต้องมีการทดสอบการว่ายน้ำไปกลับในระยะทาง 50 เมตร เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เล่นมีความแข็งแรงและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้หากเรือพลิกคว่ำในระหว่างการฝึก

นอกจากนี้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อก็มีส่วนสำคัญ เนื่องจากเมื่ออยู่ในเรือ การบังคับเรือ การดึงใบ ซึ่งต้องใช้กำลังของกล้ามเนื้อ โดยผู้เล่นจะต้องหมั่น ออกกำลังกาย การบริหารกล้ามเนื้อแขน ข้อมือ หัวไหล่ อยู่เสมอเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและไม่มีอาการบาดเจ็บเมื่อลงฝึกปฏิบัติจริง รวมไปถึงอุปกรณ์ เสื้อผ้าที่สวมใส่ก็ต้องเน้นเพื่อความคล่องตัวและความปลอดภัยเป็นสำคัญ อาทิ เสื้อแขนยาว และกางเกงขายาวที่แนบลำตัว และเป็นผ้าที่ไม่อุ้มน้ำ สำหรับผู้ชายก็อาจจะเป็นเสื้อกล้าม กางเกงขาสั้น รวมไปถึงถุงมือ ซึ่งบางคนที่เล่นบ่อยๆ จะมีปัญหาของผิวมือที่โดนน้ำทะเลกัด ทำให้ผิวลอกและบางลง ดังนั้นในการฝึกก็ควรมีถุงมือเพื่อป้องกัน หรือแม้ครีมกันแดด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับปกป้องผิวไม่ให้เป็นรอยไหม้ได้

ในการเล่นเรือใบนอกเหนือจากความแข็งแรงของสุขภาพโดยการได้ออกมาปะทะสายลม แสงแดด สนุกตื่นเต้นกับกีฬาเอาท์ดอร์ที่ท้าทาย การได้เรียนรู้และ สัมผัสกับธรรมชาติแล้ว สิ่งสำคัญเมื่อแล่นเรือออกไป การได้เป็นตัวของตัวเอง การใช้สติและสมาธิ รวมไปถึงไหวพริบ สมอง ที่จะสามารถบังคับและแล่นเรือไปใน ทิศทางที่กำหนด รวมทั้งการไตร่ตรอง การตัดสินใจ และความรับผิดชอบต่อตนเอง คือสิ่งที่ผู้เล่นเรือใบทุกคนจะได้รับและฝึกฝนและเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เช่นเดียวกัน

ฝึกเล่นเรือใบที่ไหนดี
ปัจจุบันมีการจัดฝึกการอบรมการเล่นเรือใบโดยครูฝึกและผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในส่วนราชการและเอกชน สำหรับผู้ที่ไม่เคยเล่นเลยก็สามารถมาเรียนรู้ได้ เพียงแค่ต้องผ่านการทดสอบว่ายน้ำตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด แต่ความสามารถของการใช้กำลังกล้ามเนื้อ สามารถพัฒนาได้จากการฝึกปฏิบัติจริง พร้อมด้วยเทคนิคของการเรียนรู้บังคับใบเรือโดยอาศัยแรงลมและประสบการณ์ในการฝึกเป็นตัวช่วยที่สำคัญ

ในการอบรมนั้นจะมีการเปิดอบรมทุกปีของสมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งแบ่งเป็นการอบรมแล่นเรือใบพื้นฐานประเภทเยาวชนอายุตั้งแต่ 7-12 ปี (ใช้เรือใบออพติมิสต์) และบุคคลทั่วไป (ใช้เรือใบเลเซอร์) โดยจะมีการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมระยะเวลา 2 สัปดาห์ ที่สำนักงานสมาคมเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่วนแยกสัตหีบ อาคารศูนย์สมุทรกีฬา อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โทร. 0 3843 8594 และ 0 24702 0852

ส่วนผู้ที่เล่นเป็นแล้วต้องการมาฝึกเอง สามารถ สอบถามอัตราค่าบริการสำหรับเรือแต่ละประเภทได้ที่ สโมสรเรือใบ กร. สัตหีบ สโมสรเรือใบราชวรุณ (พัทยา) และชมรมเรือใบปลาทู (สัตหีบ) ซึ่งจะมีทั้งอัตราสำหรับสมาชิก รวมทั้งบุคคลภายนอกก็สามารถเข้ามาใช้บริการได้เช่นเดียวกัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 3843 8594 และ 0 24702 0852

นอกจากนี้ยังมีสโมสรเอกชนใช้เป็นสถานที่เล่น เรือใบ คือ สโมสรเรือใบวิจิตราธานี ถนนบางนา-ตราด กิโลเมตรที่ 36 ซึ่งจะมีการเปิดหลักสูตรอบรมการเล่น เรือใบขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เริ่มต้นและระดับสูงสำหรับผู้มีพื้นฐานแล้ว โดยครูฝึกและทีมงาน สอบถามรายละเอียด ได้ที่สโมสรเรือใบวิจิตราธานี โทร. 0 2316 3377, 0 1338 8113, 0 3884 2458-60




ข้อมูลจาก//www.healthtoday.net
กรอบสวยๆ จากคุณ lozocat





lozocatlozocat




Create Date : 24 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2554 9:01:21 น. 0 comments
Counter : 1560 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
24 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.