สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
มวยไทยแอโรบิกออกกำลังกายแบบ "รักชาติ "




"มวยไทยแอโรบิก" คือการออกกำลังกายแนวใหม่ในรูปแบบที่ว่า
แหม...ไหนๆ เราก็มีแอโรบิกแบบผสมศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของต่างประเทศ ที่รู้จักกันในชื่อ "Tae Bo"และ " Body Combat " ให้วัยรุ่นได้จี๊ดจ๊าดกันมานานนักหนาแล้วทำไมวันนี้จะมีแอโรบิก "สัญชาติไทย" กัน
บ้างไม่ได้

นอกจากจะเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์สุดๆ แล้ว นี่คือการออกกำลังที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าระยะ ยาว ทั้งสร้างเกราะป้องกันทางด้านสุขภาพ และรักษาภูมิปัญญาวัฒนธรรมไทยไปพร้อมกันด้วย

แล้วมวยไทยแอโรบิกที่ว่ารูปร่างหน้าตามันเป็นอย่างไร แตกต่างจากแอโรบิกแบบเดิมๆ ที่เราคุ้นเคยอย่างไรบ้างเอาที่รูปแบบของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกโดยทั่วไปกันก่อน

การออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์ (aerobic dance) ที่รู้จักและนิยมกันนั้น โดยพื้นฐานทั่วๆ ไป มีการแบ่งออกเป็นหลายประเภท ตามแต่จุดประสงค์ สภาพความพร้อมของร่างกาย และตามวัยของผู้เล่น

แอโรบิกแรงกระแทกสูง (high impact) จะเหมาะ สำหรับวัยรุ่นหรือผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำและต้องการใช้เวลาน้อยในการออกกำลังกาย

แอโรบิกแรงกระแทกต่ำ (low impact) เหมาะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่เริ่มออกกำลังกาย

แอโรบิกปลอดแรงกระแทก (non - impact) เหมาะสำหรับผู้สูงอายุและผู้มีปัญหาโรคข้อ

แอโรบิกแบบผสมผสานแรงกระแทก (multi - impact) เป็นแอโรบิกที่รวมการเต้นแบบมีแรงกระแทกสูงกับแรงกระแทกต่ำ หรือปลอดแรงกระแทกเหมาะสำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่

แอโรบิกแบบเน้นการเผาผลาญไขมัน (fat burner) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก

แอโรบิกที่ควบคู่กับการใช้น้ำหนัก (aerobic with weight) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความแข็งแรงหรือความทนทานของกล้ามเนื้อ

แอโรบิกในน้ำ (water aerobic or hydro aerobic) เหมาะสำหรับผู้มีปัญหาข้ออักเสบหรือเจ็บข้อ คนอ้วนและผู้สูงอายุ

แอโรบิกที่กำลังนิยมล่าสุดคือ แอโรบิกแบบศิลปะ การต่อสู้ป้องกันตัว (ดังตัวอย่างที่กล่าวถึงไปข้างต้น) ซึ่งเหมาะสมสำหรับวัยรุ่นที่ชอบความแปลกใหม่ และต้องการการออกกำลังกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
มวยไทยแอโรบิกก็จัดอยู่ในแอโรบิกประเภทศิลปะ ป้องกันตัวรูปแบบหนึ่ง แต่นอกจากกลุ่มเป้าหมายจะกว้างกว่า คือครอบคลุมคนทุกเพศทุกวัย แอโรบิกแบบแม่ไม้มวยไทยยังเป็นการผนวกเอาความโดดเด่นของศิลปะการต่อสู้ประจำชาติมาไว้กับความเป็นสากลอย่าง กลมกลืนยิ่ง

ทักษะการต่อสู้ของกีฬาที่ขึ้นชื่อว่าเป็นการต่อสู้ที่สามารถใช้ทุกส่วนของร่างกายเป็นอาวุธ อันประกอบด้วย หมัด 2 ศอก 2 เข่า 2 เท้า 2 และ 1 ศีรษะ ซึ่งรวมเรียก ว่า

"นวอาวุธ" ประสานเป็นท่าการต่อสู้ ทั้งท่ารุกและท่าตั้งรับ ที่มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น หักงวงไอยรา เถรกวาดลาน ตาเถรค้ำฟัก ยอเขาพระสุเมรุ เป็นต้น เหล่านี้เป็นการฝึกฝนความแข็งแกร่งเบื้องต้น ที่ล้วนแต่สามารถนำมาใช้ออกแบบเพื่อการออกกำลังกายได้ไม่แตกต่างกับการต่อสู้ที่นำมาจากต่างประเทศ

ดังนั้น หากเราจะให้คำจำกัดความแบบรัดกุมเป็น หลักวิชาการสักหน่อย การออกกำลังกายแบบมวยไทยแอโรบิก ก็หมายถึง การออกกำลังกายด้วยท่าการบริหารโดยใช้ทักษะมวยไทยร่วมกับการเคลื่อนไหวเบื้องต้นและจังหวะดนตรีที่ทำให้ร่างกายต้องใช้ปริมาณออกซิเจนให้เพียงพอ ลักษณะการออกกำลังกายจึงต้องมีความหนักปานกลาง ใช้เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 นาที

นอกจากนี้ มวยไทยแอโรบิก เพื่อสุขภาพยังเป็นการเต้น แอโรบิกแบบแรงกระแทกต่ำ จึงเน้นการใช้ร่างกายส่วนบน โดยเปลี่ยนจากการวิ่งกระโดดมาเป็นการเต้นในแบบต่างๆ กัน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะส่งผลต่อร่างกายในเรื่องการทำงานของระบบการไหลเวียนเลือดและระบบการหายใจ (หัวใจ ปอด และหลอดเลือด) ชีพจรขณะพัก ส่งผลต่อความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว ดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมัน และสารชีวเคมีในเลือด รวมทั้งการหลั่ง สารสุขหรือเอ็นดอร์ฟินเมื่อออกกำลังกายนานกว่า 10 นาทีขึ้นไป

ทดสอบความเจ๋ง มวยไทยแอโรบิกแน่แค่ไหน

การปรับประยุกต์นำแม่ไม้มวยไทยมาใส่ลีลา แอโรบิกอาจดูเหมือนเป็นเรื่องของความต้องการสร้างความแตกต่าง แต่อย่างน้อย นี่ก็ไม่ใช่แค่การสร้างความ แตกต่างธรรมดาๆ หรือใส่สีสันความเป็นไทยให้ดูแปลกใหม่อย่างดาษดื่น หากมีหลักฐานการทดสอบและผลยืนยันทางวิทยาศาสตร์เป็นการแน่ชัด ถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการออกกำลังแบบมวยไทยแอโรบิก
จากการศึกษาการประเมินรูปแบบการเต้นมวยไทยแอโรบิกที่เหมาะสมกับกลุ่มอายุ โดยได้ออกแบบการเต้นมวยไทยแอโรบิกแบบก้าวหน้ากับแอโรบิก แบบแรงกระแทกต่ำสำหรับกลุ่มอายุ 20-59 ปี เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพทางกายเกี่ยวกับสุขภาพและสารชีวเคมีในเลือด รวมทั้งศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับคุณค่าและความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาไทย โดยทดลองในกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง 140 คน เป็นระยะเวลา 12
สัปดาห์

ผลการวิจัยพบว่า หลังการ ทดลอง กลุ่มอายุ 20-29 ปี 30-39 ปี และ 40-49 ปี ทั้งกลุ่มที่เต้นมวยไทยแอโรบิกแบบก้าวหน้าและกลุ่มเต้น แอโรบิกแบบแรงกระแทกต่ำมีสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูง สุดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มอายุ 30-39 ปี 40-49 ปี และ 50-59 ปี มีความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัวขณะพัก แตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อรวมทุกกลุ่ม อายุ 20-59 ปี ทั้ง 2 กลุ่มมีสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดและความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนค่าเอชดีแอลโคเลสเตอรอล ของทุกกลุ่มอายุทั้ง ๒ กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05แต่เมื่อจำแนกตามกลุ่มอายุไม่พบความแตกต่าง

นอกจากนี้ ยังพบว่าสภาพก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 7 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ กลุ่มเต้นมวยไทยแอโรบิกแบบก้าวหน้าทุกกลุ่ม อายุ มีการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ รวมทั้งค่าเอชดีแอลโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเต้นแอโรบิกแบบแรงกระแทกต่ำ

ที่สำคัญ ในส่วนผลการวิจัยเรื่องคุณค่าและความ ภาคภูมิใจในภูมิปัญญาไทย กลุ่มเต้นมวยไทยแอโรบิกแบบก้าวหน้าทุกกลุ่มอายุล้วนเห็นตรงกันว่า เป็นการสร้างรูปแบบการออกกำลังกายใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย ทำให้รู้จักศิลปะมวยไทยมากขึ้น และทำให้รู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นไทย
นี่คือมนต์เสน่ห์ของมวยไทยแอโรบิกที่หาไม่ได้ในการออกกำลังกายรูปแบบอื่นๆ

การจะเลือกวิธีการออกกำลังกายในรูปแบบใดนั้น ที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ความสามารถ และความชื่นชอบของผู้เล่นเป็นหลัก
ถ้าต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพ การใช้ออกซิเจนสูงสุด สร้างความแข็งแรง ความอดทนของกล้ามเนื้อที่ดีขึ้น และสร้างความภาคภูมิใจในความ เป็นไทยไปด้วยในเวลาเดียวกัน การเต้นมวยไทยแอโรบิก ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย


นับหนึ่งกับแอโรบิกแบบ"รักชาติ"

ถ้าเริ่มสนใจอยากฝึกเต้นมวยไทยแอโรบิกกับเขาบ้างควรจะทำอย่างไร สำหรับขั้นเริ่มต้น มีแนวทางการปฏิบัติตนอย่างคร่าวๆ ดังนี้
1. ควรเลือกกลุ่มเต้นมวยไทยแอโรบิกที่เหมาะสมกับอายุ ความสามารถ และวัตถุประสงค์ของการออกกำลังกายของตนเอง
2. ควรเริ่มจากง่ายไปยาก จากเบาไปหนัก เพื่อให้ร่างกายปรับตัวได้และมีความปลอดภัย
3. ผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายและผู้ที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง ควรเริ่มฝึกการเคลื่อนไหวเบื้องต้น การวาง ท่าทางร่างกายทุกส่วน การบังคับการเคลื่อนไหวเฉพาะส่วน และฝึกประสาทสัมผัส โดยทั่วไปใช้เวลาเต้นประมาณ 30 นาทีเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อให้ผู้เต้นสามารถปรับตัวได้แล้วจึงเพิ่มความยาก ความหนัก และเวลา การเพิ่มเวลาควรเป็น 35 นาที นาน 5 สัปดาห์ และ 40 นาทีนาน 5 สัปดาห์
4. ควรอบอุ่นร่างกายและผ่อนหยุด หลังการออกกำลังกายทุกครั้ง
5. ควรเตรียมชุดเต้นแอโรบิกที่ไม่หลวมจนเกินไป สะดวกต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย สามารถระบายความร้อนและซับเหงื่อได้ดี
6. ควรสวมรองเท้าและถุงเท้าเพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บ รองเท้าที่ใช้ควรเป็นรองเท้าสำหรับเต้นแอโรบิกจะสามารถช่วยลดแรงกระแทกและลดแรงกดในส่วนต่างๆ ของเท้าได้
7. การเลือกสถานที่เต้นแอโรบิกควรเลือกที่มีการระบายอากาศที่ดี อุณหภูมิพอเหมาะ มีเนื้อที่ว่างเฉพาะตัวพอเหมาะ พื้นเรียบไม่ลื่น ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการเต้นบนพื้นปูนซีเมนต์หรือพื้นถนน
8.ไม่ควรกินอาหารมื้อหนักหรือรู้สึกอิ่มมากเมื่อจะออกกำลังกาย
9. ไม่ควรออกกำลังกายเมื่อร่างกายอ่อนเพลีย มีไข้สูง ชีพจรเต้นเร็วมาก



ขอบคุณข้อมูลจาก//www.doctor.or.th/node/4057




Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2553 9:53:19 น. 0 comments
Counter : 1875 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
18 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.