สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

อย่ามองข้าม ความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตต่ำ หรือ Hypotension โดยทั่วไปหมายถึงค่าความดันโลหิตที่ต่ำกว่า 90/50 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเรามักจะทราบกันตอนไปตรวจร่างกายประจำปี และคนส่วนมากมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญหรือกังวลที่ตัวเองมีความดันโลหิตต่ำ เว้นเสียแต่ว่าจะมีอาการผิดปกติอื่นๆ เกิดขึ้น เพราะคนส่วนมากทราบว่าการมีความดันโลหิตต่ำดีกว่าการมีความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตต่ำส่วนมากจะมีอาการดีขึ้นเองโดยไม่ต้องได้รับการรักษา แต่ถ้าความดันโลหิตต่ำมากๆ ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกาย คือ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ช้าลง เลือดจึงอาจจะไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ และเกิดลิ่มเลือดได้ง่าย ทำให้หลอดเลือดอุดตัน หลอดเลือดฝอยส่วนปลายขาดเลือดไปเลี้ยง เป็นต้น ดังนั้นคนที่ความดันโลหิตต่ำมากจึงควรไปพบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุ

สาเหตุ
สาเหตุหลัก
สาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตต่ำมากๆ เกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย คือ อาจจะเนื่องมาจากอัตราการส่งเลือดออกจากหัวใจลดลงเพราะลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะที่เกิดมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงปอด กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอหลังจากเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแออันเนื่องมาจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ

นอกจากนี้ยังอาจจะเกิดจากปริมาณเลือดภายในร่างกายลดลง เนื่องมาจากการขาดน้ำ หรือการสูญเสียเลือดจำนวนมาก หรือการขยายตัวของหลอดเลือดมากเกินไป เช่น เกิดจากภาวะช็อกจากโรคติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ การถูกแดดแรงๆ ระบบประสาทมีปัญหา หรือการใช้ยาบางอย่าง ขณะที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ก็อาจจะมีความดันโลหิตต่ำได้เช่นกัน

สาเหตุจากโรคอื่นๆ

ความดันโลหิตต่ำชนิดที่ผิดปกติอาจจะเกี่ยวเนื่องกับสาเหตุที่แตกต่างกันหลายอย่าง เช่น

- อาการหมดสติชั่วขณะ อันเนื่องมาจากความเครียดหรืออาการปวด
- Hypoaldosteronism ซึ่งเกิดจากการที่ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ได้น้อยกว่าปกติ
- โรคพาร์กินสัน
- โรคแอดดิสัน (Addison’s disease) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้ อันเนื่องมาจากอาการท้องเสีย ปัสสาวะ หรือเหงื่อออกมากเกินไป
- เบาหวานซึ่งไม่ได้รับการรักษา หรือการบาดเจ็บที่ไขสันหลังก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้ อันเป็นผลเนื่องมาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาทที่ควบคุมขนาดของหลอดเลือด

สาเหตุจากการใช้ยา

ความดันโลหิตต่ำอาจจะเกิดจากการใช้ยาบางอย่าง เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาโรคหัวใจกลุ่มขับปัสสาวะ และยาขยายหลอดเลือด เช่น กลุ่มยาที่ใช้รักษาเบื้องต้นในโรคความดันโลหิตสูงและหัวใจล้มเหลวแบบเลือดคั่ง (ACE inhibitors) และยาต้านแคลเซียมและไนเตรต

อาการ

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำมักไม่มีอาการอะไรมากนัก ยกเว้นอาการสำคัญอย่างเช่น เวียนศีรษะง่าย หรือรู้สึกหน้ามืดหากมีการลุกจากท่านั่งหรือท่านอนไปสู่ท่ายืนเร็วๆ หรือมีอาการอ่อนเพลียและเวียนศีรษะหากอดนอน หรือนอนไม่พอ อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำบางรายอาจจะมีอาการหูอื้อ ปวดศีรษะ ตาลาย ปวดหลังและบั้นเอว มือเท้าเย็น สมองล้า ขี้หลงขี้ลืม ขาดสมาธิ

การวินิจฉัย

ความดันโลหิตถูกกำหนดโดยปัจจัยหลัก 3 อย่างคือ

- อัตราการส่งเลือดออกจากหัวใจ
- ปริมาตรของเลือดภายในหลอดเลือด ซึ่งถ้าหากเลือดมีปริมาณลดลงจะเรียกว่า ภาวะปริมาตรเลือดน้อย
- ประสิทธิภาพของหลอดเลือดในการปั๊มเลือด ซึ่งขึ้นอยู่กับเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือด
โดยสิ่งที่สำคัญก็คือ คุณต้องให้ข้อมูลกับแพทย์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ทำให้คุณเกิดอาการความดันโลหิตต่ำ และอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่คุณเป็น รวมถึงยาที่รับประทานทั้งที่รับประทานเองและยาที่แพทย์สั่ง ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพร อาหารเสริม และยาหยอดตา เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัยอาการได้อย่างถูกต้อง

ทางเลือกในการรักษา

ความดันโลหิตต่ำมีทั้งชนิดที่ต้องการการรักษาและไม่ต้องการการรักษา ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น ถ้าเกิดจากการใช้ยาบางอย่าง แพทย์อาจจะแนะนำให้หยุดยาหรือลดปริมาณยาลง

สำหรับอาการความดันโลหิตต่ำที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะและเป็นลม หากเกิดขึ้นกับคนอายุน้อยที่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจก็ไม่มีอะไรต้องกังวล แต่อาจจะเป็นอาการที่ค่อนข้างรุนแรงหากเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เพราะคนกลุ่มนี้อาจจะมีปัญหาเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ที่ทำให้การรักษาระดับความดันให้คงที่เป็นเรื่องยาก

ส่วนอาการความดันตกจากการเปลี่ยนท่าร่าง (orthostatic hypotension) ซึ่งทำให้เกิดอาการหน้ามืดหากมีการเปลี่ยนจากท่านั่งหรือนอนไปสู่ท่ายืนเร็วๆ ก็อาจจะต้องรักษาด้วยการใช้ยา แต่บางครั้งการบำบัดโดยไม่ใช้ยาก็อาจจะได้ผลดี โดยเฉพาะการพยายามหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ทำให้อาการแย่ลง เช่น การลุกขึ้นยืนเร็วๆ ภาวะขาดน้ำ การอาบน้ำที่อุ่นจัด หรือการนอนนานๆ รวมถึงการพยายามป้องกันไม่ให้อาการเหล่านี้เกิดขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การยกศีรษะสูงในขณะนอน รับประทานเกลือให้มากขึ้น หรือการใส่ถุงน่องที่ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
แต่ถ้าเป็นความดันโลหิตต่ำจากโรคแอดดิสันหรือหัวใจล้มเหลว จำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาที่เฉพาะเจาะจง

การดูแลร่างกายหากความดันโลหิตต่ำ

1. พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะความเหน็ดเหนื่อย การนอนหลับไม่เพียงพอต่างก็ยิ่งทำให้ความดันโลหิตต่ำลง ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการตรากตรำทำงานเกินควร หลีกเลี่ยงการนอนดึก และเวลานอนหลับไม่ควรนอนหนุนหมอนที่ต่ำเกินไป
2. หลีกเลี่ยงการยืนนาน ๆ หรือการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็วเกินไป
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้ระบบประสาทเกิดความสมดุล หลอดเลือดหัวใจแข็งแรง และช่วยรักษาความดันโลหิตต่ำให้ดีขึ้น
4. รับประทานอาหารที่มีคุณค่าให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพราะหากผู้ที่มีแนวโน้มเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะทำให้ความดันโลหิตยิ่งต่ำลงไปอีก
5. ใช้ยาอย่างระมัดระวัง โดยหากต้องไปพบแพทย์เนื่องจากอาการเจ็บป่วยใดๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้าว่าตนมีอาการความดันโลหิตต่ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลงไปอีก




ขอบคุณข้อมูลจาก
//www.healthtoday.net/thailand/
HealthFocus/healthfocus_121.html




 

Create Date : 25 ตุลาคม 2554
0 comments
Last Update : 25 ตุลาคม 2554 11:20:31 น.
Counter : 2011 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
25 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.