สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

การรักษากระดูกหักด้วยวิธีใส่เฝือก

ทำไมต้องใส่ เฝือก หรือ เฝือกชั่วคราว ?

เพื่อช่วยพยุงกระดูกและกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ ลดปวด ลดบวม และลดกล้ามเนื้อหดเกร็ง ป้องกันไม่ให้กระดูกที่จัดเข้าที่แล้วเกิดการเคลื่อนที่ผิดรูปขึ้นอีก ซึ่งเฝือกที่ใส่อาจจะใส่เป็นเฝือกชั่วคราวแบบครึ่งเดียว หรือเฝือกแบบเต็มรอบแขนก็ได้ โดยที่เฝือกชั่วคราวแบบครึ่งเดียว จะมีความแข็งแรงน้อยกว่าเฝือกแบบเต็ม

ชนิดของเฝือก

ในปัจจุบันมีเฝือกให้เลือกอยู่ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

1. เฝือกปูน ซึ่งเป็นการนำปูนพลาสเตอร์มาเคลือบบนผ้าฝ้าย เมื่อใส่แล้วก็จะมีสีขาว

ข้อดี
ราคาค่อนข้างถูก (ม้วนละ 60-90 บาท) การใส่เฝือกและการตัดเฝือก ดัดเฝือกทำได้ง่าย
ข้อเสีย
มีน้ำหนักค่อนข้างมาก แตกร้าวง่าย ระบายอากาศไม่ค่อยดี อาจทำให้คันเพราะความอับชื้น
ถ้าถูกน้ำเฝือกก็จะเละ เสียความแข็งแรง

2. เฝือกพลาสติก เป็นพลาสติกสังเคราะห์

ข้อดี
น้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี มีสีสรรสวยงาม มีความแข็งแรงสูง
และเวลาถ่ายภาพรังสี จะเห็นกระดูกได้ชัดเจนกว่า
ข้อเสีย
ราคาแพง ( แพงกว่าเฝือกปูนประมาณ 6-7 เท่า ราคาประมาณม้วนละ 400-600 บาท )
การตัดเฝือก ดัดเฝือกทำได้ยาก ทำให้ต้องตัดออกและใส่เฝือกใหม่อีกครั้ง

เวลาใส่เฝือกทำอย่างไร ?

แพทย์จะพันสำลีรองเฝือกก่อนที่จะพันเฝือก เฝือกจะต้องพันให้แน่นพอดีกับแขนหรือขา โดยทั่วไปจะใส่เฝือกตั้งแต่ข้อที่ต่ำกว่ากระดูกที่หัก ถึงข้อที่อยู่สูงกว่ากระดูกที่หัก

เฝือกชั่วคราวจะใส่ในระยะแรกที่มีอาการบวมอยู่ และเมื่ออาการบวมลดลงก็จะใส่เป็นเฝือกเต็ม ซึ่งบางครั้งเมื่อใส่ไปช่วงหนึ่ง (ประมาณ 2 อาทิตย์) เฝือกก็อาจจะหลวมได้ เพราะอาการบวมลดลง ก็จะต้องเปลี่ยนเฝือกใหม่ หลังจากกระดูกเริ่มติดแล้ว (ประมาณ 4-6 อาทิตย์) ก็จะเปลี่ยนเป็นเฝือกชั่วคราวเพื่อสะดวกในการทำกายภาพบำบัด

ลดอาการบวม ทำอย่างไร ?

ในช่วง 48 - 72 ชั่วโมงแรกอาการบวมอาจทำให้เกิดการกดที่เฝือกได้ ทำให้รู้สึกแน่น เฝือกคับ และปวดซึ่งจะลดอาการบวมได้โดย

ยกแขน หรือ ขาให้สูงกว่าระดับหัวใจ เช่น การวางบนหมอน หรือ ผ้า
ขยับนิ้ว หรือ นิ้วเท้า บ่อย ๆ

ประคบเย็นบนเฝือก โดยใช้น้ำแข็งใส่ในถุงพลาสติกแห้งแล้วประคบรอบ ๆ เฝือกบริเวณที่ได้รับอันตราย การประคบเย็นเพียงจุดเดียวจะไม่ค่อยได้ผล
สัญญาณอันตรายหลังการใส่เฝือก หรือเฝือกชั่วคราว ควรพบแพทย์โดยด่วน

ปวดมากขึ้น และรู้สึกว่าเฝือกคับมาก ซึ่งอาจเกิดจากการบวม

อาการชา และรู้สึกซ่า ๆ ที่มือ หรือ เท้า ซึ่งอาจเกิดจากการกดเส้นประสาทมากเกินไป

อาการปวดแสบปวดร้อน ซึ่งอาจเกิดเนื่องจากการกดผิวหนังมากเกินไป
มีอาการบวมที่บริเวณต่ำกว่าขอบเฝือก ซึ่งอาจหมายถึง เฝือกทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ไม่สามารถขยับนิ้วมือ หรือ นิ้วเท้า

การดูแล เฝือก หรือ เฝือกชั่วคราว

ดูแลเฝือกให้แห้งอยู่เสมอ ถ้าต้องการอาบน้ำให้หุ้มเฝือกด้วยถุงพลาสติก 2 ชั้น แล้วพันปากถุงด้วยเชือกให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปโดนเฝือก
ไม่ควรเดินลงน้ำหนักบนเฝือกจนกว่าเฝือกจะแห้งและแข็ง ซึ่งจะใช้เวลา 1 ชม.สำหรับเฝือกพลาสติก และใช้เวลา 2 - 3 วันสำหรับเฝือกปูน
พยายามอย่าให้ สิ่งสกปรก ทราย หรือ ฝุ่น เข้าไปในเฝือก
ไม่ควรดึงสำลีรองเฝือกออก
ไม่ควรใช้ไม้ หรือสิ่งอื่นใส่เข้าไปในเฝือกเพื่อเกา ไม่ควรใส่แป้งเข้าไปในเฝือก แต่ถ้าคันมากให้พบแพทย์
ไม่ควรตัดขอบเฝือกเอง
สังเกตผิวหนังที่อยู่ขอบเฝือก ถ้ามีอาการบวม แดง ให้ไปพบแพทย์
หมั่นสังเกตเฝือก ถ้าพบว่ามีเฝือกแตก หัก ให้ไปพบแพทย์

การเอาเฝือกออก

ไม่ควรเอาเฝือกออกเอง เพราะท่านอาจตัดผิวหนัง หรือ ทำให้กระดูกหายไม่ดี เมื่อจะเอาเฝือกออก แพทย์จะใช้เลื่อยสำหรับตัดเฝือก ซึ่งใบเลื่อยจะเป็นแบบสั่นไปด้านข้าง (ไม่ใช่เป็นใบเลื่อยแบบหมุน) ซึ่งเมื่อใบเลื่อยถูกกับสำลีรองเฝือก สำลีรองเฝือกก็จะไม่ขาด ทำให้ผิวหนังไม่ได้รับอันตราย เลื่อยตัดเฝือกอาจทำให้เกิดเสียงดัง และ รู้สึกร้อนจากการเสียดสี แต่ก็จะไม่ทำให้เกินอันตรายแต่อย่างใด

แนวทางในการรักษา

โดยทั่วไปถ้าไม่มีปัญหา แพทย์ก็จะนัดท่านมาตรวจซ้ำประมาณ 1 - 2 อาทิตย์หลังใส่เฝือก เพื่อดูอาการ และดูว่าเฝือกหลวมหรือไม่ ถ้าเฝือกหลวมก็อาจจะต้องเอ๊กซเรย์และเปลี่ยนเฝือกให้ใหม่ ถ้าเฝือกแน่นและแข็งแรงดีอยู่ แพทย์ก็จะนัดทุก 1-2 เดือนเพื่อเอ๊กซเรย์กระดูก จนกว่ากระดูกจะติดสนิท

แพทย์จะใส่เฝือกไว้ประมาณ 4 - 6 อาทิตย์ แต่กระดูกจะติดสนิทนั้นจะต้องใช้เวลาถึง 4 - 6 เดือน ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะเอาเฝือกออกแล้วกระดูกที่หักก็ยังติดไม่สนิท จึงควรระมัดระวังในการใช้งานและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่เช่นนั้นกระดูกที่เริ่มติดก็อาจจะหักซ้ำได้ ทำให้ต้องมาเริ่มต้นรักษากันใหม่







ขอบคุณข้อมูลจาก
นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ




 

Create Date : 05 มีนาคม 2554
0 comments
Last Update : 5 มีนาคม 2554 11:43:09 น.
Counter : 5071 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
5 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.