สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
เทคนิคการถ่ายภาพพลุ

เมื่อลมหนาวปลายปีได้พัดมาเยือน หลายคนคงจะนึกถึง "พลุ" วันเฉลิมฯ และการเฉลิมฉลองช่วงวันปีใหม่ โดยเฉพาะพลุ Seiko จากประเทศญี่ปุ่นนั้นขึ้นชื่อมากในเรื่องความสวยงาม ….แล้วช่างภาพมืออาชีพเขามีเทคนิคการถ่ายภาพพลุอย่างไรกันบ้าง ไปดูซิว่าเขาเลือกใช้เลนส์กันอย่างไร ใช้เวลาในการเปิดรับแสงแค่ไหน แล้วขนาดรูรับแสงล่ะ จะเปิดที่เท่าใด ตลอดจนการเตรียมตัวและการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ นั้น มีวิธีการอย่างไร ลองไปดูกันเลย

การถ่ายภาพพลุ หรือ ดอกไม้ไฟ ก็เหมือนกับการถ่ายภาพประเภทอื่นที่ต้องอาศัยความคุ้นเคยอยู่พอสมควร การคาดหวังให้ได้ภาพดีกับการถ่ายภาพครั้งแรกไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลย สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การเตรียมตัวให้พร้อม พร้อมในเรื่องของอุปกรณ์ พร้อมในเรื่องของข้อมูล กำหนดการและถสานที่ และสุดท้ายก็คือ เทคนนิควิธีการถ่ายภาพ

การที่เราได้ล่วงรู้ก่อนถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ย่อมทำให้เราพร้อมที่จะรับมือและควบคมทุกสิ่งให้เป็นไปอย่างที่ต้องการได้ไม่มากก็น้อย

สำหรับสถานที่ควรหาโอกาสเซอร์เวย์ล่วงหน้าไว้ก่อนหลาย ๆ ทำเล หากเป็นสถานที่ที่เคยแสดงเป็นประจำอย่างเช่นที่ เมือทองธานี หรือพลุ Seiko ที่สนามม้านางเลิ้ง ก็อาจสอบถามข้อมูลจากคนที่เคยถ่ายมาก่อนว่ามีจุดไหนที่สามารถตั้งกล้องถ่ายได้บ้าง วิธีที่สะดวกและรวดเร็วก็คือ การเซิร์ชหาจากอินเทอร์เน็ตยิ่งงานใหญ่ก็ยิ่งต้องทำการบ้านให้มากหน่อย เพราะจะมีช่างภาพจำนวนมากแห่งกันไปถ่ายเมื่อได้ทำเลเป้าหมายแล้วก็ควรไปทำความรู้จักกับสถานที่จริงก่อนถึงวันงานสักหน่อย สำรวจเส้นทางให้เรียบร้อย หากต้องการขับรถไปเองก็ควรต้องรู้ด้วยว่าจะสามารถจอรถไว้ตรงไหนได้สะดวกที่สุด





ทั้งนี้ ในการถ่ายภาพพลุ แนะนำให้ใช้ความไวแสงที่ ISO-100 กล้องางรุ่นค่า ISO ต่ำสุดอยู่ที่ 200 ก็ให้ใช้ที่ 200 ไม่ควรตั้งสูงเกินไปกว่านี้ เพื่อรรักษาคุณภาพของไฟล์ให้ดีที่สุด ที่ ISO-100 ขนาดรูรับแสงที่ใช้ได้ดีจะอยู่ในช่วง f/8 ไปจนถึง f/16 ขึ้นอยู่กับพลุที่ถ่ายเป็นแบบไหน พลุแต่ละแบบจะมีสีสันและความสว่างไม่เท่ากัน ตรงนี้อาจต้องใช้ความช่างสังเกตหรือต้องอาศัยประสบการณ์สักหน่อย

ขนาดรูรับแสง f/5.6-f/8 เหมาะกับการถ่ายพลุที่มีขนาดไม่ใหญ่ หรือพลุประเภทลีลา ซึ่งมักเป็นพลุขนาดเล็กจำนวนมากแตกตัวเป็นเม็ดสีวิ่งไปมาในอากาศ หรือเป็นประกายระยิบระยับ เน้นสีสันแต่ไม่สว่างมาก

สำหรับพลุขนาดใหญ่จะไม่นิยมใช้ขนาดรูรับแสงที่ f/8 เพราะมันให้เส้นพลุที่หนาและมักให้แสงที่โอเวอร์ตรงกลางของดอกพลุที่แตกตัวออก ซึ่งเป็นจุดที่สว่างที่สุด ขนาดรูรับแสงที่เล็กแคบตั้งแต่ f/11 เป็นต้นไป จะให้เส้นแสงของพลุที่เล็กเรียวเป็นฟุ้งฝอยได้ดีกว่า

ปัจจัยสำคัญอีกอย่างในการเลือกขนาดรูรับแสงนั่นก็คือ ระยะเวลาในการเปิดชัตเตอร์เพื่อบันทึกภาพ ถ้าหากว่าต้องการถ่ายแค่เพียงพลุอย่างเดียว ตรงนี้ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาพิจารณา แต่หากตั้งใจอยากให้ภาพมีบรรญากาศของสถานที่ที่จุดพลุด้วย เราก็ต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการเปิดชัตเตอร์ด้วย เพื่อให้ส่วนประกอบอื่นท่เรานำมาไว้ในภาพได้รับแสงพอดี การเลือกใช้รูรับแสงขนาดเล็ก ทำให้ต้องเปิดชัตเตอร์เป็นเวลานานขึ้น จึงอาจทำให้บันทึกภาพได้จำนวนน้อย ตรงกันข้าม ถ้าหากเลือกใช้รูรับแสงกว้างขึ้น เวลาในการเปิดชัตเตอร์ก็จะสั้นลง ทำให้มีโอกาสบันทึกภาพได้มากขึ้น ตรงนี้คงต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้ถ่ายเองว่าจะเลือกแบบไหน





การถ่ายภาพพลุก็คือ การบันทึกเส้นแสงที่เคลื่อนที่ มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้วิธีการวัดแสงเช่นเดียวกับการถ่ายภาพทั่วไป อันที่จริงแล้วถ้าหากเป็นการถ่ายภาพพลุเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีส่วนประกอบอื่นเข้ามาเกี่ยวก็แทบไม่มีความจำเป็นที่จะต้องวัดแสงเลยด้วยซ้ำ แค่เพียงแต่เราเลือใช้รูรับแสงให้เหมาะกับประเภทพลุที่ถ่าย และควบคุมชัตเตอร์ให้เปิดปิดตามช่วงเวลาที่พลุแตกตัว เพียงเท่านี้ก็ได้ภาพพลุแล้ว แต่คุณก็จะได้แค่เพียงภาพพลุกับฉากหลังมืด ๆ เท่านั้น

หากต้องการถ่ายภาพพลุโดยเก็บบรรยากาศสถานที่เอาไว้ด้วย เราก็จำเป็นต้องคำนึงถึงค่าแสงของสิ่งต่าง ๆ ที่จะเข้ามาอยู่ในภาพด้วยเช่นกัน สำหรับวิธีการก็คือ ให้วัดแสงไปยังจุดสำคัญในภาพเช่น ตึกหรืออาคารด้วยระบบวัดแสงแบบเฉพาะจุด โดยตั้งค่ารูรับแสงที่เราต้องการไว้เป็นหลัก และหาค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องใช้ว่าควรเปิดนานเท่าไหร่ แล้วใช้ค่าที่ได้นี้เป็นตัวอ้างอิงเวลาถ่าย





ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเลือกรูรับแสงที่ f/11 วัดแสงได้ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ 15 วินาที เวลาถ่ายพลุจริงก็ต้องพยายามเปิดชัตเตอร์ไม่ให้เกินไปกว่านี้มาก ไม่เช่นนั้นภาพตึกหรืออาคารที่เราเอาเข้ามาไว้ในภาพก็จะได้รับแสงมากเกิน แต่ถ้าเปิดชัตเตอร์ไม่ถึง 15 วินาที ก็จะได้รับแสงน้อยไป แนะนำว่าควรใช้ชัตเตอร์ B ร่วมกับสายรีโมท เพราะบางครั้งพลุที่ยิงขึ้นมาเพียงลูกเดียวอาจดูน้อยไป การใช้ชัตเตอร์ B จะช่วยให้เราสามารถยืดเวลาถ่ายออกไปได้อย่างไม่จำกัด เพื่อรอเก็บภาพพลุหลาย ๆลูกมาไว้ในภาพเดียว โดยใช้ผ้าดำหรือหมวกปิดหน้าเลนส์ไว้ระหว่างที่รอพลุลูกต่อไป

วิธีการก็คือ ให้กดชัตเตอร์ เมื่อพลุลูกแรกถูกยิงขึ้นฟ้าแล้วเริ่มนับเวลา ถ้าหากสายรีโมทที่ใช้สามารถล็อกชัตเตอร์ได้ก็ให้ล็อกค้างไว้ หากมีการเว้นช่วงก่อนที่จะยิงพลุลูกต่อไปก็ให้ใช้ผ้าดำคลุมหน้าเลนส์ไว้แล้วหยุดนับเวลา แต่ต้องจำให้ได้ว่าก่อนคลุมผ้าเปิดชัตเตอร์ค้างไว้กี่วินาที เมื่อพลุลูกต่อไปถูกยิงขึ้นให้เปิดผ้าออกแล้วเริ่มนับเวลาต่อ ทำอย่างนี้จบครบเวลาจึงปลดล็อกสายรีโมท ใช้วิธีนับในใจ ไม่จำเป็นต้องจับเวลาให้ตรงเป๊ะ เวลาที่คลาดเคลื่อนเพียงไม่กี่วินาทีจะเห็นผลต่างในภาพไม่มาก


ข้อควรระวังในการถ่ายภาพพลุ

ระหว่างการถ่ายภาพอย่าให้มีอะไรมาสะกิดโดนขาตั้งกล้องอย่างเด็ดขาด

คอยตรวจสอบภาพทุกครั้งที่มีโอกาสเพื่อป้กงกันสิ่งที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด

ระมัดระวังขณะใช้ไฟฉายอย่าให้แสงส่องไปรบกวนหรือูกหน้าเลนส์กล้องคนอื่อน เพราะอาจทำให้ภาพเขาเสียหายได้

และสุดท้ายกระเป๋ากล้องควรวางไว้ใกล้ตัวด้านหน้าที่มองเห็นได้ตอด อย่างวางไว้ด้านข้างหรือด้านหลังเด็ดขาด เพราะระหว่างที่กลังลุ้นอยู่กับการถ่ายภาพ คุณอาจลืมทุกสิ่งทุกอย่าง อุปกรณ์สุดรักอาจถูกฉกฉวยไปได้ง่าย ๆ เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดมาแล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ควรประมาทเด็ดขาด



ขอบคุณข้อมูลจากwww.kapook.com



Create Date : 18 ธันวาคม 2552
Last Update : 18 ธันวาคม 2552 9:11:08 น. 0 comments
Counter : 1139 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
18 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.