สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
"ยาคลายกล้ามเนื้อ" ใช้อย่างปลอดภัย



         ไม่ว่าเราจะทำอะไรในชีวิตประจำวันกล้ามเนื้อเราก็ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา อาจจะทำใหเกิดการปวดเมื่อยเป็นธรรดา ดังนั้นก่อนจะใช้ยา ควรรู้วิธีการใช้ให้ปลอดภัยค่ะ

         เวลาที่ร่างกายขยับเขยื้อนไม่ว่าจะเป็นการ นั่ง ยืน เดิน ล้วนแต่ต้องใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวทั้งนั้น โดยระบบประสาทที่อยู่ในสมองจะทำการสั่งผ่านมาทางเส้นประสาทเพื่อให้หลั่งสารแล้วไปกระตุ้นกล้ามเนื้อให้หดตัวหรือคลายตัวทำให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวได้

         สำหรับคนเมืองที่ต้องใช้ชีวิตเร่งรีบกับการทำงานอาจส่งผลให้บ่อยครั้งที่สมองหลั่งสารสื่อประสาทออกมามากเกินไปจนทำให้กล้ามเนื้อถูกกระตุ้นเยอะ และเมื่อกล้ามเนื้อหดตัวอย่างต่อเนื่องนาน ๆ อาจทำให้เกิดการอักเสบและรู้สึกปวดกล้ามเนื้อได้รวมถึงคนรักสุขภาพที่ชอบออกกำลังกาย การใช้กล้ามเนื้อหนัก ๆ ก็อาจทำให้คุณปวดตึงเมื่อยล้า พอเป็นบ่อย ๆ ก็เริ่มเบื่อที่จะไปหาหมอแล้วเลือกที่จะซื้อยามากินเอง ซึ่งการกินยาคลายกล้ามเนื้ออย่างไรให้ปลอดภัยเรามีข้อมูลดี ๆ จาก พญ.กานต์ชนก พานิช มาฝากค่ะ

         ยากินเพื่อช่วยลดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมีหลายประเภท

     1.ยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาท โดยยับยั้งการสั่งผ่านความรู้สึกในระบบประสาท ได้แก่ ยา Orphenadrine, Tolperisone
     2.ยาลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ มีฤทธิ์ยับยั้งขบวนการอักเสบและการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ มี 2 กลุ่ม คือ
         2.1.ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid)
         2.2.ยาลดการอักเสบลดปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) ได้แก่ Diclofenac, Nappraxen, Piraxicam, Nidol, Aspirin, lndomethacin
     3.ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้ลดอาการไข้โดยการยับยั้งศูนย์ควบคุมอุณหภูมิความร้อนและบรรเทาอาการปวดทั่ว ๆ ไป

         กินยาช่วยลดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออย่างไรให้ปลอดภัย

          ในคนที่เล่นกีฬาหรือคนทำงานที่มักเคร่งเครียดแล้วมีอาการปวดเมื่อยอยู่บ่อยครั้ง อาจจะใช้ยาผสมผสานหลาย ๆ กลุ่ม เพื่อลดอาการปวดเมื่อยที่รุมเร้าโดยอาจใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดอาการปวดดูก่อน หากยังไม่ดีขึ้นจึงค่อยใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อแล้วใช้ยาลดการอักเสบโดยออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์สารก่อการอักเสบ (Prostaglandin) ซึ่งหากกินแล้วอาการทุเลาลงให้กินต่อจนอาการหายจากปวดเมื่อย แต่ก็ต้องระวังในยากลุ่ม NSAIDS ซึ่งจะมีฤทธิ์กัดกระเพาะ จึงไม่ควรใช้ในระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจเกิดการระคายเคืองกระเพาะได้

          ซึ่งการใช้ยาในขั้นต้นสามารถใช้ยาพาราเซตามอลเองได้แต่ถ้ากินแล้วอาการปวดไม่ทุเลา อาจจะไปพบแพทย์เพื่อรับยากลุ่มอื่นและถ้ามีอาการปวดอยู่และกินยาไปประมาณ 1-2 สัปดาห์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการมากกว่าเดิม เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้นมีอาการอักเสบ ปวด บวมแดง ร้อน มีไข้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที













ขอบคุณข้อมูลจาก
//www.thaiza.com


Create Date : 26 มกราคม 2554
Last Update : 26 มกราคม 2554 12:45:40 น. 0 comments
Counter : 6166 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
26 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.