ครั้งหนึ่งแมวถูกยกขึ้นเป็นเทพเจ้า และบัดนี้มันก็ยังไม่ลืมเรื่องนั้น (หึหึ //เลียอุ้งเท้า)
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2549
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
13 พฤษภาคม 2549
 
All Blogs
 
ชวนไปอ่าน

แต่ข้อเท็จจริงของยุคสมัยนี้ก็คือ ยุคนี้เป็นยุคที่มีหนังสือเลว ๆ พิมพ์ออกมามากที่สุด โดยที่สื่อนอกจากจะไม่วิพากษ์วิจารณ์แล้ว ยังช่วยประชาสัมพันธ์หนังสือเหล่านั้นด้วย (กรุณาอ่านสิ่งที่แนบมากับกรุงเทพธุรกิจฉบับวันอาทิตย์ประกอบเพื่อเห็นภาพ)

-หนุมาน กรรมฐาน-

รางวัลหนังสือมีหน้าที่หนึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งก็คือการช่วยลดต้นทุนด้านสารสนเทศ (Information Cost) ให้กับผู้อ่าน คือ ผู้อ่านที่ซีเรียสจะมีต้นทุนด้านสารสนเทศในการแสวงหาหนังสือที่จะอ่าน รางวัลเพียงแต่ให้สารสนเทศว่าหนังสือที่ได้รับรางวัลเป็นหนังสือดี ทีนี้ถ้าหากว่ากรรมการที่ให้รางวัลเข้มงวดกับมาตรฐานในการให้รางวัล สารสนเทศที่ให้กับสาธารณชนก็จะมีความน่าเชื่อถือ (Credibility) แต่เมื่อไรที่การให้รางวัลหนังสือเล่มหนึ่งไม่มีคุณภาพ นั่นคือเมื่อคนอ่านหนังสือที่ได้รับรางวัลแล้วรู้สึกว่าหนังสือเล่มนั้นไม่ดี คนก็จะเริ่มตั้งคำถามและมีข้อกังขากับรางวัลนั้น ๆ ผมคิดว่า รางวัลให้ข้อมูลตรงนี้ช่วยลดต้นทุนการแสวงหาหนังสือ (Search Cost) ให้กับผู้อ่าน ทีนี้ประเด็นที่คุณถาม ผมถามว่าปีที่หนังสือกวีนิพนธ์ได้รับรางวัลซีไรต์ หนังสือกวีนิพนธ์เล่มนั้นขายดีหรือไม่ หรืออย่างกรณีล่าสุดที่มีการมอบรางวัลอมตะให้กับคุณเสนีย์ เสาวพงษ์ หนังสือของคุณเสนีย์ขายดีหรือไม่ มันก็ไม่ชัดเจน แต่กรณีรางวัลซีไรต์ Peer Effect มันสูงมาก

Peer Effect?

หมายถึงว่า ในสังคมที่คุณใกล้ชิดคุยกันว่าอ่านหนังสือที่ได้รางวัลซีไรต์แล้ว เราก็ต้องอ่านบ้าง มันคล้าย ๆ กับว่าถ้าได้คุยว่าเราได้อ่านหนังสือเล่มที่ได้รับรางวัลแล้ว เราได้ยกสถานะของตัวเอง จริง ๆ จะซาบซึ้งหรือเข้าใจเนื้อหาของหนังสือเล่มดังกล่าวหรือไม่ก็ไม่แน่นัก


-สัมภาษณ์รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์-

อ่านบทความเจ็บปวดจากวารสารหนังสือใต้ดินบทนี้ในฉบับเต็มได้ที่//www.onopen.com/2006/editor-spaces/539

แล้วบางทีคุณอาจจะไม่อยากเป็นเจ้าของร้านหนังสืออีกเลย

ขอบคุณคุณเฟย์แห่งเว็บเฟย์ลิซิตี้ที่เอาข่าวสารหนังสือสนุกๆ (และบางทีก็เจ็บปวด) มาแบ่งปันเราทุกเดือน

ขอบคุณโอเพ่นออนไลน์เอาบทความขึ้นเว็บให้อ่านกันค่ะ


Create Date : 13 พฤษภาคม 2549
Last Update : 13 พฤษภาคม 2549 18:52:56 น. 16 comments
Counter : 841 Pageviews.

 
"...แต่ข้อเท็จจริงของยุคสมัยนี้ก็คือ ยุคนี้เป็นยุคที่มีหนังสือเลว ๆ พิมพ์ออกมามากที่สุด โดยที่สื่อนอกจากจะไม่วิพากษ์วิจารณ์แล้ว ยังช่วยประชาสัมพันธ์หนังสือเหล่านั้นด้วย.."

เริ่มต้นมาตรงนี้ก็ถูกใจแล้วค่ะ กลายเป็นว่าทุกคน ใคร ๆ ก็พิมพ์หนังสือได้ แล้วก็พิมพ์หนังสืออะไรก็ได้ออกมาเสียด้วย
หลายเล่มไม่มีค่าพอที่จะกลายเป็นหนังสือแม้แต่น้อย แต่ว่าก็กลับขายได้ขายดีเพราะประชาสัมพันธ์ดี
ส่วนหนังสือดี ๆ แต่ไม่มีงบประชาสัมพันธ์ หรือทำการตลาดไม่ได้ก็หายไป

ถ้าหนังสือดี ๆ คนเขียนหนังสือดี ๆ ถอดใจให้กับกระแส สังคมเราก็คงแย่แน่ ๆ เลย
ถ้าอ่าน ก็ไม่มีเรื่องราวที่ดีที่มีสาระ หรือมีคุณค่าพอจะอ่านให้อ่าน
ถ้าไปอ่านหนังสือฝรั่ง ก็กลายเป็นว่าตกเป็นทาสความคิดฝรั่งเสียอีก


ฮือ.....


ปล. อ๊ะ .. บ่นมากไปไหมนะ?


โดย: หมาเลี้ยงแกะ วันที่: 14 พฤษภาคม 2549 เวลา:0:16:06 น.  

 
หุหุ ดุเดือดจัง ผมแวะมาทักทายเฉยๆครับ ไม่รู้เรื่องอะไรนะคร๊าบบบ


โดย: poser (poser ) วันที่: 14 พฤษภาคม 2549 เวลา:1:23:36 น.  

 
บ่นมากไปแน่ ๆ


ขอโทษนะคะ


โดย: หมาเลี้ยงแกะ วันที่: 14 พฤษภาคม 2549 เวลา:2:12:21 น.  

 
... จะหนังสือเลวหรืออะไรไม่รู้ล่ะ ขออย่างเดียว อย่าให้ชั้นหนังสือใหม่มีแต่หนังสือสไตล์เดียวกัน เซ็งง่ะ

ระยะหลังเจอบ่อยเลย นิยายจากเว็บแบบที่ปกเป็นลายการ์ตูนญี่ปุ่น วางแผงเรียงเป็นตับ จากนั้นก็นิยายแปลเกาหลีอีกตับ
...โรมานซ์ตูอยู่หนายยยยยยย


โดย: ยาคูลท์ วันที่: 14 พฤษภาคม 2549 เวลา:5:17:10 น.  

 
"...แต่ข้อเท็จจริงของยุคสมัยนี้ก็คือ ยุคนี้เป็นยุคที่มีหนังสือเลว ๆ พิมพ์ออกมามากที่สุด โดยที่สื่อนอกจากจะไม่วิพากษ์วิจารณ์แล้ว ยังช่วยประชาสัมพันธ์หนังสือเหล่านั้นด้วย.."

Totally agree ka'...
เดี๋ยวนี้หนังสือออกมาเยอะมาก ข้อดีคือเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักเขียนรุ่นใหม่ๆ ได้ฝึกฝีมือและมีกำลังใจ เพื่อจะพัฒนางานของตัวเองเรื่อยๆ ไปในอนาคต แต่ข้อเสียก็คืองานมักจะไม่มีความละเมียดละไมเหมือนสมัยก่อน รายละเอียดหลายอย่างจะไม่สมจริงเนื่องจากการขาดประสบการณ์และการค้นคว้าของผู้เขียน สงสารบรรดาเด็กรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับการอ่านงานฉาบฉวยแบบนี้แล้วคิดว่ามันเป็นงานที่ดีแล้ว
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่านักเขียนใหม่ๆ ที่ออกมาสมัยนี้เป็นนักเขียนที่แย่ไปเสียหมดนะคะ ยอมรับว่าหลายคนก็มีฝีมือและสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการสื่อออกมาได้อย่างดีและเหมาะสมเหมือนกัน

เครียดไปเปล่าหว่าตู?


โดย: nurin (Nontagorn ) วันที่: 14 พฤษภาคม 2549 เวลา:13:45:20 น.  

 
I agree with the article.


โดย: namo IP: 58.8.185.48 วันที่: 14 พฤษภาคม 2549 เวลา:18:47:54 น.  

 
ถะ ถะ ถะ ถูกต้องนะคร้าบบบบบบบบ


โดย: Demontage IP: 58.8.184.133 วันที่: 14 พฤษภาคม 2549 เวลา:19:32:17 น.  

 
หายเปื่อยแล้ว...แต่เป็นโรคเซ็งต่อ


โดย: แมวปิลาร์ วันที่: 16 พฤษภาคม 2549 เวลา:10:02:47 น.  

 
แวะมาหานะ

อืมม์..บางทีเราอาจวางหนังสือไว้สูงไปหรือเปล่า

หนังสือก็เหมือนอาหารน่ะ

บางเล่มก็เป็นอาหารที่ครบถ้วนไปด้วยคุณค่า แต่ไม่อร่อยเอาซะเลย

บางเล่มก็อร่อยมาก แต่ไม่มีคุณค่า แถมบางอันยังทำร้ายร่างกายอีก

เล่มไหนที่ทั้งอร่อยและคุณค่าสูงก็ย่อมต้องช่วยกันสนับสนุนแหละนะ


แต่ก็ควรด่าสื่อที่สนับสนุนไอ้เล่มไร้คุณค่ามากๆ เหมือนกัน (แม้ว่าบางคนอาจจะชอบที่มันแค่อร่อย เหมือนชอบอาหารขยะก็ตามทีอะนะ)


อืมม์..คิดประมาณนี้แหละ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 18 พฤษภาคม 2549 เวลา:19:02:15 น.  

 
สถานการณ์วงการหนังสือบ้านเรานับวันยิ่งแย่ลงๆ เดี๋ยวนี้นะคะไม่ค่อยอยากซื้ออะไรเท่าไหร่ หันกลับไปอ่านของเก่าๆ ซะมากกว่า

แล้วยิ่งถ้าเป็นแมกกาซีนนะ ไม่เคยเสียเงินซื้อเลยค่ะ ดูๆ ที่แผงก็พอ แต่จริงๆ ไม่ชอบหรอก อยากมีหนังสือให้ซื้ออ่านประจำๆ ทุกเดือนมากกว่า ถึงแม้จะต้องเสียตังค์ทุกเดือน แต่ชอบอารมณ์นั้นมากกว่าค่ะ :)


โดย: foneko (fonkoon ) วันที่: 19 พฤษภาคม 2549 เวลา:15:59:43 น.  

 
ปกติหนังลิโดก็ดูคนเดียวค่ะ มีเมื่อวานแหละบังเอิญมีคนเชียร์เพื่อน เพื่อนเลยไปดูด้วยกัน
ดูคนเดียวก็ดีไปอีกแบบ ไม่ต้องห่วงว่าคนที่ไปด้วยจะชอบหรือไม่ชอบหนังที่ชวนไปดู แล้วก็ร้องไห้ได้แบบไม่อายใคร เพราะไม่รู้จักคนอื่นๆ สักหน่อย


โดย: nurin (Nontagorn ) วันที่: 21 พฤษภาคม 2549 เวลา:16:57:35 น.  

 
โห ดีอ้ะ


โดย: HotDuckZ วันที่: 21 พฤษภาคม 2549 เวลา:23:09:07 น.  

 
Photobucket - Video and Image Hosting

แวะมาทักทายค่า


โดย: lonely sea (seenil ) วันที่: 22 พฤษภาคม 2549 เวลา:9:37:13 น.  

 
อืมม์..เข้าใจเรื่องที่ไปคุยนะ เรื่องที่หนังสือโดยรวมสะท้อนภูมิปัญญาชาติน่ะ

แต่พี่ว่า ตอนนี้วัฒนธรรมการอ่านของไทยกำลังอยู่ในช่วงพัฒนา ซึ่งต้องอาศัยเวลาอีกระยะน่ะแหละ (เพราะการเข้ามาของหนังสือในสังคมไทย มันดันถูกจัดไว้เป็นของสูงด้วยไง กว่าจะทำให้ใครต่อใครเข้าใจว่ามันเป็นวัฒนธรรมมวลชนได้คงอีกพักใหญ่ๆ แหละ ซึ่งพออ่านเยอะๆ เข้า ระดับการอ่านมันก็น่าจะพัฒนาไปด้วยน่ะนะ)


เอาไว้จะจัดทริปไปกินขนมจีนทอดมันที่เพชรบุรีนะคะ อย่าพลาดล่ะ

หลังไมค์ตอบไปแล้วเน้อ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 22 พฤษภาคม 2549 เวลา:14:42:56 น.  

 
เห็นด้วยกับคุณยาคูลท์มากๆเลยค่ะ ขอแค่ให้มันมีหนังสืออยู่หลายๆประเภท ให้คนอ่านสามารถเลือกหนังสือที่เหมาะกับตัวเองได้น่ะ ถูกใจที่สุดล่ะค่ะ อย่าให้มันมีประเภทเดียวออกมายึดแผงหนังสือทั้งแผงเลย แล้วจะออกหนังสือเลวๆอะไรมาก็ออกไปเถอะค่ะ เพราะเราก็ถือว่าเรายังหาหนังสือที่เราอยากอ่านได้อยู่อ่ะ


โดย: หวัน (หวันยิหวา ) วันที่: 2 มิถุนายน 2549 เวลา:21:45:43 น.  

 
โหดจิง


โดย: Ramon IP: 125.26.139.11 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา:19:52:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

the grinning cheshire cat
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ปีศาจแมวอายุ 1,700 ปี บำเพ็ญตบะจนแปลงร่างเป็นคนได้ กำลังศึกษาวิถีชีวิตแบบมนุษย์ แต่รู้สึกว่ายากจัง เพราะยังคิดอะไรแบบแมวๆ อยู่เลย
Photobucket LMJ recommends


Photobucket
เต๋าแบบหมีพูห์ (The Tao of Pooh)
Benjamin Hoff เขียน
มนต์สวรรค์ จินดาแสง แปล
มติชน พิมพ์

หนังสือ Tao (หรือ Dao) spin-off ที่ไม่งี่เง่า และคนเขียนรู้จริงจริงๆ ทั้งเรื่องเต๋าและเรื่องหมี

Photobucket
ฅ.คน ฉบับ 41 มี.ค. 52

เจ้าหญิงพอลล่า:
หัวใจเธอมันน่ากราบ
กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง:
ยังไงปลาทูก็เจ๋งกว่าโรงถลุงเหล็ก
สัมภาษณ์อ. นิธิ เอียวศรีวงศ์:
ฉบับลำแต้ๆ

เมฆาสัญจร
เมฆาสัญจร (Cloud Atlas)
เดวิด มิทเชลล์ เขียน
จุฑามาศ แอนเนียน แปล
มติชน พิมพ์

เหนือคำบรรยาย (เพราะตัดสินใจเลือกคำบรรยายไม่ถูก ฮา)

ยูโทเปีย และ 1984
ยูทเปีย
เซอร์โธมัส มอร์ เขียน
สมบัติ จันทรวงศ์ แปล
1984
จอร์จ ออร์เวลล์ เขียน
รัศมี เผ่าเหลืองทอง
และ
อำนวยชัย ปฏิพัทธเผ่าพงษ์ แปล
สมมติ พิมพ์

หนังสือเปิดหูเปิดตาระดับตัวพ่อ แถมปกสวยระดับตัวแม่อีกต่างหาก โอ๊ว

เทพเจ้าแห่งสิ่งเล็กๆ
เทพเจ้าแห่งสิ่งเล็กๆ
(The God of Small Things)
อรุณธตี รอย เขียน
สดใส แปล
โครงการสรรพสาส์น
ของสำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก พิมพ์

เรื่องเล่าโค-ตะ-ระอัศจรรย์จากอินเดีย

นายธนาคารเพื่อคนจน
นายธนาคารเพื่อคนจน
โมฮัมหมัด ยูนุส เขียน
สฤณี อาชวานันทกุล แปล
มติชน พิมพ์

อัตชีวประวัติฉบับกึ่งสุขกึ่งเศร้า บางครั้งก็เกือบเคล้าน้ำตา ของหนุ่มนักเรียนนอก กับธนาคารหลังคามุงหญ้า (บานประตูก็ไม่มี) ของเขาและลูกศิษย์ ที่หาญกล้าพุ่งชนทุกอย่างเพื่อให้ผู้หญิงจนๆ จำนวนมากในบังคลาเทศยืนหยัดด้วยขาของตัวเองได้

(อันที่จริงเราควรจะแนะนำว่า นี่เป็นหนังสืออัตชีวประวัติของนักเศรษฐศาสตร์ที่แก้ปัญหาความยากจนในบังคลาเทศจนได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2006 แต่ม่ายอ่ะ ทำงั้นแล้วจะได้อะไร คุณจะรู้เหรอว่าหนังสือเล่มนี้ทั้งสนุกเป็นบ้าและ insightful ขนาดไหน กริๆ)



I'm reading




Potjy's currently-reading book recommendations, reviews, favorite quotes, book clubs, book trivia, book lists


100+ TBR 2010



2010 reading goal

Friends' blogs
[Add the grinning cheshire cat's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.