Group Blog
สิงหาคม 2556

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
All Blog
การประชุมวิชาการ การพัฒนาศักยภาพสมองเด็กปฐมวัยผ่านการอ่าน
 
การประชุมวิชาการ : การพัฒนาศักยภาพสมองเด็กปฐมวัยผ่านการอ่าน
วันที่ 26 – 28 มีนาคม 2555
ณ ห้องประชุมรักตะกนิษฐ2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Dr.Barry Zuckerman, MD
Brain and Child Development : Basic for reading
พัฒนาการพื้นฐานของทักษะการอ่านในช่วงขวบปีแรก
- ระบบประสาทสัมผัส
- กล้ามเนื้อมัดใหญ่
- กล้ามเนื้อมัดเล็กและการใช้ตาและมือประสานงานกัน
- สติปัญญา
... - พัฒนาการทางภาษา
- สังคมและอารมณ์
เราต้องเข้าใจทิศทางพัฒนาการ เราต้องรู้อะไรว่าเกิดก่อน – หลัง เพราะพัฒนการของเด็กจะเกิดขึ้นใหม่เรื่อยๆ
ลำดับพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก : การจับคว้าของ
- 6 เดือน เขี่ยสิ่งของโดยไม่มีเป้าหมาย
- 8 เดือน เขี่ยสิ่งของโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
- 9 เดือน สามารถจับสิ่งของชิ้นเล็กโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
พ่อแม่ควรดู / สังเกตวิธีการหยิบของลูกด้วยว่าเขามีวิธีการหยิบอย่างไร เพราะถ้าถึงวัยที่เด็กสามารถใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วได้แล้ว แต่เด็กยังเขี่ยๆ ของอยู่นั่นแสดงว่าอาจมีปัญหาอะไรบางอย่างเกิดขึ้น

ลำดับพัฒนาการของการใช้ตาและมือประสานงานกัน
- 6 เดือน คว้าของโดยไม่มีจุดหมาย
- 7 – 8 เดือน เริ่มทำมือเพื่อจะหยิบของ เมื่อมือถึงของที่จะหยิบ
- 9 เดือน เริ่มทำมือเมื่อพร้อมจะหยิบของในระยะครึ่งทางก่อนที่จะหยิบ
- 12 เดือน เริ่มทำมือเมื่อพร้อมจะหยิบของก่อนที่จะหยิบ
ความสามารถของการใช้กล้ามเนื้อมือของเด็กจะมีพัฒนาการ / มีความสามารถในการใช้งานได้ดีขึ้นตามลำดับ เมื่อมองลึกเข้าไปในสมอง การก้าวข้ามพัฒนาการแต่ละขั้นจะมีการเกิด Myelination ในสมองที่ทำหน้าที่นั้นอย่างต่อเนื่อง
ลำดับพัฒนาการของการเล่น
- 6 เดือน เริ่มคว้าของ และจะทำในลักษณะ React
- 7 – 8 เอาของเล่นมาเคาะกัน / เขย่า และเอาเข้าปาก
- 9 เดือน เริ่มมีการสำรวจของเล่นโดยใช้ตาและมือประสานกัน
- 12 เดือน เล่นแบบมีปฏิสัมพันธ์กันทางสังคม แต่ยังเป็นการเล่นแบบสมมติที่เกี่ยวข้องกับตนเองเป็นหลัก
- 18 เดือน เล่นแบบมีปฏิสัมพันธ์กันทางสังคม และเริ่มเล่นแบบสมมติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นรอบตัว เช่น ตุ๊กตา
เมื่อเด็กๆ เล่น เขาจะ Explore สิ่งแวดล้อม โดยการเคาะ เขย่า ปา หมุนไป – มา เมื่อเขาได้สำรวจแล้ว การรับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสของเขาจะก่อให้เกิดกระบวนการคิดขึ้นในสมอง เช่น เขาจะรู้ว่าอันนี้นุ่ม แข็ง หรือมีเสียง
* ในประเด็นการมัฒนาการถดถอย ถ้าเด็กป่วยหรือมีภาวะอะไรบางอย่างเขาจะแสดงพฤติกรรมถดถอย

ลำดับพัฒนาการทางสติปัญญา : Object permanence
ลำดับขั้นของ Piaget อายุ Object permanence
I แรกเกิด – 1 เดือน มองวัตถุเหมือนภาพที่เปลี่ยนภาพไปเรื่อยๆ
II 1 – 4 เดือน ถ้าไม่เห็นวัตถุอยู่ในสายตา คือไม่มีวัตถุนั้น
III 4 – 8 เดือน เริ่มมองตามของที่ตก
IV 9 – 12 เดือน เริ่มหาของที่ถูกซ่อนไว้ ช่วง 9 เดือน+ เมื่อไม่เห็นของเด็กจะเริ่มรู้ว่าเราซ่อนของไว้
V 12 – 18 เดือน เริ่มหาของที่ถูกซ่อนไว้ ถึงแม้จะเปลี่ยนที่ซ่อนให้เห็นหลายครั้ง
VI 18 เดือน – 2 ปี หาของที่ถูกซ่อนไว้ ถึงแม้จะเปลี่ยนที่ซ่อนโดยไม่ให้เห็น และเข้าใจว่าของสิ่งนั้นยังอยู่ ถึงแม้จะมองไม่เห็น
* ช่วง 9 เดือน เด็กเริ่มมีภาพอะไรๆ อยู่ในสมอง เมื่อเขามองไม่เห็นหรือภาพถึงดึงไปเขาจะเริ่มส่งสัญญาณ โดยการร้องออกมา

ความพร้อมของสมองทารก
1 ทารกจะจำเสียงมารดาได้
2 มารดาพูดด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
3 แยกแยะเสียงได้

ลำดับพัฒนาการทางภาษา
- แยกแยะเสียง
- เปล่งเสียงที่ไม่ต้องใช้ริมฝีปาก เช่น เสียง “อ” ช่วง 4 – 8 เดือน
- เปล่งเสียงที่ต้องใช้ริมฝีปาก เช่น เสียง “ป” ช่วง 9 เดือน
- พูดคำที่มีความหมายคำแรก ช่วง 13 เดือน ( -8 – 18 เดือน )
- ถ้าเสียงที่เด็กเปล่งออกไปมีการตอบสนอง มันจะมี Meaning กับเด็กมาก และจะเป็นผลต่อพัฒนการทางภาษาของเด็กในลำดับต่อไป
- เด็กจะมีความสามารถในการแยกแยะภาษาได้ดีเยี่ยม แต่ต้องในกรณีที่เขาต้องได้ยินเสียงนั้นซ้ำๆ และบ่อยๆ

สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอ่า



Trend in Cognitive Sciences
สมองและประสบการณ์แรกเริ่ม

พัฒนาการของสมอง

* พิจารณาจำนวนเซลล์ประสาทเมื่อแรกเกิด และช่วงอายุ 6 ปี จะพบว่า ความเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทนั้นมีการเชื่อมโยงและหนามากขึ้น ทั้งนี้เกิดเนื่องจากอิทธิพลของการกระตุ้นและการจัดประสบการณ์ที่มีคุณภาพและเหมาะสมในช่วงปฐมวัย
* เราจะช่วยให้เด็กมีทักษะในสมองเพื่อการอยู่รอดได้ (Survival brain) ถ้าเราใช้สมองส่วนไหนเยอะส่วนนั้นจะมีพัฒนาการขึ้นมา โดยเฉพาะถ้าเราเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก
* ในช่วง 6 เดือนแรกควรใช้คนในการกระตุ้นพัฒนาการ เพราะคนสำคัญกว่าการเล่นทั้งหมด ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก

ลำดับพัฒนาการของการมีปฏิสัมพันธ์ทางอารมณ์และสังคม
1 ความผูกพันทางอารมณ์ (Attachment)
- 3 เดือน ผูกพันกับคนโดยเชื่อมกับหน้าที่ที่คนนั้นทำ เช่น ผูกพันกับแม่เพราะแม่ให้กินนม (Differential responsibility )
- 6 เดือน ผูกพันกับคนเชื่อมโยงจากปฏิกิริยารอบข้างที่คนนั้นแสดง เช่น สังเกตว่าแม่กลัว เด็กก็จะกลัวด้วย (Social referencing)
- 9 – 12 เดือน ไม่ชอบการพรากจากคนที่ใกล้ชิด (Separate protest)
- 12 – 24 เดือนจะคอยมองหาคนใกล้ชิดเวลาเล่นหรือเวลาสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว (Checking in when exploring)
2 ความเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy)
อุปสรรคที่ขัดขวางการเรียนรู้
1. ความยากจน คนที่มีเศรษฐานะต่ำ หรือพ่อแม่ที่มีระดับการศึกษาต่ำ มักจะขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญ และไม่มีทุนพอที่จะซื้อหนังสือนิทาน หรือสื่ออื่นๆ ให้ลูก
2. วัฒนธรรมการเลี้ยงดู ในบางวัฒนธรรมพ่อแม่พูดคุยกับลูกตั้งแต่แรกเกิด แต่บางวัฒนธรรมมีความเชื่อว่าเด็กเล็กยังไม่รู้เรื่อง จึงยังไม่พูดคุยหรือทำกิจกรรมกับเด็กมากนัก ซึ่งความเชื่อที่ขาดความรู้ ความเข้าใจบางอย่างอาจจะทำให้เด็กขาดโอกาสในการเรียนรู้ไปอย่างน่าเสียดาย
การส่งเสริมพัฒนาการในช่วงวัยเด็กเล็ก
1 พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงที่มารดาตั้งครรภ์
2 ความสามรถในการเข้าถึงหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านสุขภาพ การศึกษาและทางสังคม

การให้การศึกษาที่มีประสิทธิภาพในเด็กเล็ก
1 ครูที่มีทักษะในการสอน
2 จำนวนผู้เรียนในชั้นเรียนน้อย
3 หลักสูตรที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนและสามารถกระตุ้นการเรียนรู้ได้
4 สิ่งแวดล้อมที่มีการพูดคุยสื่อสาร
5 การตอบสนองต่อเด็กแบบนุ่มนวล
6 เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

Promoting Early Literacy : Reach out and Read
หลักฐานสำหรับการอ่านหนังสือแบบออกเสียงให้เด็กฟัง
1 ความพร้อมของสมองทารก
- ทารกสามารถจำเสียงแม่ได้
- มารดาสื่อสารด้วยคำพูดง่ายๆเพื่อให้เด็กเข้าใจ
- การแยกแยะเสียง ภายใต้เงื่อนไขว่าเด็กต้องได้ยินซ้ำๆ
* หนังสือที่สอนหรือช่วยในการแยกแยะเสียง คือหนังสือประเภทคำกลอน หรือมีจังหวะในการอ่าน ซึ่งจะช่วยให้เด็กพัฒนาในเรื่องจำนวนคำ เวลาที่เราอ่านหนังสือให้เด็กฟังเราควรให้น้ำเสียงหรือคำที่ไม่พูดหรือใช้ในชีวิตประจำวัน ถ้าเราใช้ภาษาอ่านที่เป็นภาษาเฉพาะพัฒนาการทางภาษาของเด็กจะดีกว่า
* ช่วงอายุประมาณ 18 เดือน เด็กจะสามารถเรียนรู้การถือหนังสือได้ถูกต้อง หลังจากนั้นจึงสอนเพื่อให้เข้าใจโครงเรื่อง สอนการลำดับรื่องราวก่อน – หลัง
* ช่วงแรกเราควรให้คำสำคัญกับการรักการอ่าน ให้รักหนังสือมากกว่าการมุ่งเน้นให้เด็กอ่านได้ พ่อแม่ควรใช้เวลาในการสอน หรือมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กจริงๆ ไม่มุ่งเน้นให้รู้หนังสือ แต่มุ่งสนใจที่ตัวเด็กเป็นหลัก ที่สำคัญคือเน้นย้ำเรื่องการทำการอ่านให้เป็นเรื่องสนุกและให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุด

ความสำคัญของการอ่านอ่านหนังสือแบบออกเสียง
1 เรียนรู้การถือหนังสือ การเปิดหน้าหนังสือ การเริ่มอ่านจากหน้าแรก
2 โครงสร้างของเรื่อง การเริ่มต้นเรื่อง ตอนกลางของเรื่อง และตอนท้ายของเรื่อง
3 เข้าใจพื้นฐานของเสียงที่ประกอบออกมาเป็นคำ
4 เข้าใจทักษะพื้นฐานในการอ่าน : รู้จักพยัญชนะ
5 เข้าใจว่าตัวหนังสือที่เห็นเป็นตัวแทนของเสียงพูด
6 เปอร์เซนต์ของจำนวนคำใหม่และคำที่ไม่คุ้นเคยสามารถทำนายพัฒนาการทางภาษาได้

7 พัฒนาการทางอารมณ์
- มีความสนใจร่วม
- ได้รับความสนใจจากพ่อ แม่
- สื่อสารอารมณ์ได้ เช่น เสียใจ อิจฉา ไม่เห็นด้วย ความตาย หนังสือที่สามารถส่งผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ เช่น หนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก
* การอ่านเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ 1 ต่อ 1 ที่สำคัญระหว่างแม่ – เด็ก และในบางครั้งหนังสือถูกใช้หรือเป็นเครื่องมือในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก – ผู้ใหญ่ เช่น เด็กอาจถือหนังสือเพื่อเอาไปให้แม่อ่าน ในกรณีนี้ บางครั้งเด็กอาจไม่ได้ต้องการอ่านหนังสืออย่างจริงจัง แต่เขาใช้หนังสือเป็นเครื่องมือในการที่จะได้ใกล้ชิดหรือได้สัมผัสกับแม่นั่นเอง
* ในกรณีเด็กออทิสติกเราสามารถใช้หนังสือทดสอบเพื่อดูว่า เด็กมีความสัมพันธ์ร่วมกับเรามากแค่ไหน
สิ่งที่เด็กชอบในหนังสือ : ช่วงอายุ 0 – 12 เดือน
- รูปภาพที่มีรูปเด็กอื่น
- สีสันสวยสดใส
- มีรูปภาพสิ่งของที่คุ้นเคย เช่น ลูกบอล
- ขนาดเล็กกะทัดรัดเพื่อให้เด็กถือได้
สิ่งที่เด็กชอบในหนังสือ : ช่วงอายุ 12 – 24 เดือน
- หนังสือนิทานที่เด็กสามารถถือไปมาได้
- หนังสือที่มีรูปภาพกิจกรรมที่เด็กคุ้นเคย เช่น การนอน การกิน การเล่น
- หนังสือนิทานก่อนเข้านอน
- หนังสือที่เกี่ยวกับการทักทาย การลา
- หนังสือที่มีตัวหนังสือน้อยๆ ในแต่ละหน้า
- หนังสือที่มีคำคล้องจองหรือมีคำที่เด็กเดาได้
สิ่งที่เด็กชอบในหนังสือ : ช่วงอายุ 24 – 36 เดือน
- หนังสือนิทานหรือหนังสือที่ทำด้วยกระดาษที่มีหลายหน้า
- หนังสือที่มีเสียงคล้องจอง มีจังหวะเวลาอ่าน หรือมีคำซ้ำๆ ที่เด็กสามารถจำได้ง่าย
- หนังสือที่เกี่ยวกับเด็ก ครอบครัว เพื่อน อาหารและสัตว์
- หนังสือที่สอนคำศัพท์

สิ่งที่เด็กชอบในหนังสือ : ช่วงอายุ 2 – 5 ปี
- หนังสือที่มีการดำเนินเรื่อง
- หนังสือที่มีคำง่ายๆ ที่เด็กสามารถจำได้
- หนังสือที่เกี่ยวกับเด็ก
- หนังสือที่เกี่ยวกับการไปโรงเรียน การมีเพื่อน การไปหาหมอ
- หนังสือที่เกี่ยวกับการนับ ตัวอักษร คำศัพท์
* พัฒนาการนั้นมีลำดับขั้นตอนในตัวของมันเอง แม้ว่าเราพยายามจะผลักดันมากแค่ไหน (ในกรณีที่พ่อแม่เร่งเด็ก) เราก็จำเป็นต้องรอพัฒนาการแต่ละขั้นอยู่ดี เมื่อเด็กพร้อมแล้วเขาจะสามารถเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นได้ดี ซึ่งเขาจะแสดงออกมาว่าเขา “สนใจ”
* การจะส่งเสริมการอ่านในครอบครัวที่ยากจนที่ไม่มีเงินซื้อหนังสือให้ลูกอ่านนั้น ในชุมชนนั้นจะต้องจัดหาสื่อที่เหมาะสมในชุมชนนั้นๆ หรือมีอาสาสมัครในการอ่านหนังสือ และคนที่จะมีปฏิสัมพันธ์โดยการอ่านกับเด็กโดยตรงนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นพ่อแม่ แต่จะเป็นใครก็ได้ที่รักเด็ก สามารถทำให้เด็กสนุกกับการอ่านได้ แต่ถ้าเป็นพ่อหรือแม่ก็จะได้เรื่อง Attachment
* ในกรณีที่เจอเด็กที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์ในช่วง 9 เดือนแรกจะสังเกตได้อย่างไร? กรณีเด็ก LD ( Learning Disability ) เขาจะไม่มีปัญหา Join Attention ให้วินิจฉัยจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับเด็ก ในกรณีการทำกิจกรรมการอ่านร่วมกันให้สังเกตปฏิสัมพันธ์กับแม่ต้องไปด้วยกัน เช่น มีความสนใจในหนังสือร่วมกัน
* บทบาทของพ่อในการเล่นกับลูก พ่อในสังคมไทยไม่รู้จะเล่นกับลูกอย่างไร.....เราจะใช้หนังสือเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงและเล่นกับลูก หรือเป็นการพูดคุยกับลูกผ่านหนังสือ วัฒนธรรมไทยโบราณ จะเอากระด้งมาให้ ในกระด้งจะมีหนังสือ นั่นเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของหนังสือ และเราควรจะต้องชี้แจงว่า ไม่ใช่แค่อ่านเฉยๆ ต้องเน้นเรื่อง Person to Person เป็น Social Interaction แล้วเรื่องภาษาจะตามมาทีหลัง
(พญ.นิตยา คชภักดี)
* Dr.Barry Zuckerman พูดถึงระบบการศึกษาของไทยที่เริ่มให้ความสำคัญกับการศึกษาปฐมวัย เริ่มจากการเรียนรู้ ความเข้าใจ เหตุผล การเรียนรู้เกี่ยวข้องกับอารมณ์ด้วย และต้องเป็นอารมณ์เชิงบวก เพราะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ การศึกษาปฐมวัยไม่ได้เป็นการเรียนรู้เพียงแค่ตัวเลข สัญลักษณ์ แต่การเรียนรู้นั้นต้องมาพร้อมกับความสนุกสนานและความพึงพอใจร่วมด้วย
เราสามารถใช้หนังสือประเมินพัฒนาการเด็กได้หลายอย่าง การอ่านหนังสือเป็นความใกล้ชิดกันทางร่างกาย ช่วงที่ใกล้ชิดกันจะมีความสนใจร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งเป็นสภาพที่เด็กมีความพึงพอใจมาก และที่สำคัญเป็นการปูพื้นฐานในด้านต้นทุนความเข้มแข็งทางอารมณ์
* การทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในครอบครัวที่ยากจน กับเด็กด้อยโอกาส สิ่งนี้เป็นความหวังของพ่อแม่ที่ลูกจะมีชีวิตที่ดีขึ้น เราทำให้เขามองเห็นอนาคตของลูก
การทำกิจกรรมการอ่าน ความเข้าใจภาษาของเด็กจะมาก่อนการพูดได้ พ่อแม่ต้องมีความเข้าใจและมีความคาดหวังที่ถูกต้อง ซึ่งกรณีนี้จะมีความเชื่อมโยงกับ IQ กิจกรรมการอ่านจะทำใก้เกิดความสนใจร่วมกันระหว่างพ่อ – ลูก, แม่ – ลูก เด็กก่อน 6 เดือนเด็กจะเรียนรู้ภาษา (เข้าใจ) มาก่อนที่เขาจะพูดออกมา และอีก 6 เดือนต่อมา เด็กจึงจะพูดได้ (รศ.พญ.นิชรา เรืองดารกานนท์)
* ความเครียดมีผลต่อสมองอย่างมาก ความเครียดที่ต่อเนื่องกันจะส่งผลให้ร่างกายหลั่งสาร Steriod hormone called Cortisol มีผลต่อระบบอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย สมองส่วนหน้า Frefrontal lobe , Hippocamps, Grey matter ถ้า Cortisol ในระดับที่สูงมาก (Toxic steroid) เนื้อสมองจะยิ่งลดน้อยลง เด็กยากจนเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะเกิดความเครียดได้ง่าย เนื่องมาจากบริบทและบรรยากาศภายในครอบครัว การถูกทุบตี เด็กเหล่านี้จะมีการตื่นตัวเกินปกติ (Alert) สมอง (ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์จะสว่างวาบทันที)จะมีการปรับตัวเมื่อพบสภาพความรุนแรง การแสดงออกทางลบต่างๆ เช่น ใบหน้าที่โกรธ สมองก็จะมีการตอบสนอง ซึ่งจะตรงข้ามกับอารมณ์ทางบวก ที่จะช่วยให้เกิดการ Synape ได้ง่ายขึ้น และสัมผัส (Attachment) ส่งผลต่อการลดระดับ Cortisol
เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์สมองของเด็กจะรับรู้และเก็บไว้แล้ว ซึ่งบางครั้งเด็กอาจจะอาจจะไม่ตอบสนองออกมาก็ได้ การปฏิรูปการศึกษาจึงควรจะต้องหันกลับมามองที่วัยของเด็กด้วย สิ่งที่กระทบต่อการเรียนรู้ เช่น เด็กไม่มีหนังสือ หรือกระทั่งความรู้สึกไวต่อสิ่งอันตราย
* ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อตัวเด็ก
- ความสามารถในการใช้ภาษาช้าลง ไม่มีการพัฒนาด้านภาษาขึ้นมาเลย พ่อแม่ควรจะตีกรอบหรือตั้งเงื่อนไขว่า จะให้ลูกทำอะไรเมื่อเขาเล่นกับเทคโนโลยี เช่น การให้รู้จักภาพ
จากการศึกษา ไม่พบนัยสำคัญทางบวกเกิดขึ้นทางด้านการเรียนรู้ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน ( No Significant+ of Learning occurs < 3 months) เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรใช้เทคโนโลยีประเภทจอภาพ* สื่อโทรทัศน์ที่ส่งผลกระทบทางบวกกับเด็ก เช่น รายการเด็ก Sesami Street** (เหมาะสำหรับเด็ก 3 – 5 ปี : ออกอากาศทาง Thai PBS) รายการนี้ทำให้ความสามารถด้านภาษา คณิตศาสตร์ และทักษะทางสังคมของเด็กดีขึ้น
*โทรทัศน์เป็นสื่อเทคโนโลยีที่ภาพมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เด็กอาจจะชอบ แต่เราจะพบว่า มันเป็นเพียงแค่สื่อที่ดึงให้สมองสนใจในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น แต่ไม่มีการประมวลผลข้อมูลในสมองเลย เด็กที่ติดโทรทัศน์จึงเสี่ยงต่อการมีสมาธิสั้น เพราะสมองถูกกระตุ้นให้สนใจภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา และนี่เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดหนึ่งที่นำมาใช้ในการโฆษณา
Role of Medias พบว่า ไม่มีผลกระทบ (Impact) ต่อการเรียนรู้ในช่วง 2 ปีแรก มันมีอิทธิพลแค่การดึงสมาธิและความสนใจ แต่ไม่มีการประมวลผลข้อมูลในสมอง และเมื่อเขาพบเห็นภาพความรุนแรงซ้ำๆ ภาพนั้นจะเป็นตัวแบบ (Model)ให้เขา
พบว่าในเด็กอายุ > 2 ปี สื่อเทคโนโลยีจะมีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้นการคัดเลือกให้เด็กดูสื่อที่เหมาะสม เช่น รายการ Sesami street จะส่งผลต่อพัฒนาการเด็กได้ ในขณะที่ช่วงอายุ 3 – 5 ปี การศึกษายังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าสื่อมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กหรือไม่ อย่างไร?
เกมส์ที่เราพบในสื่อเทคโนโลยีต่างๆ เป็นตัวแทนของความท้าทายที่เด็กต้องการเท่านั้น แต่ในชีวิตจริงไม่ได้มีพียงแค่การท้าทายเพียงอย่างเดียว ประเด็นคือว่าเราจะนำประสบการณ์จากที่เด็กเล่นเกมส์มาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร หรือเราควรจะทำเกมส์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะ เช่น เกมส์ที่ช่วยดึงเด็กที่มีอารมณ์ซึมเศร้ากลับมาสู่ภาวะปกติ เป็นต้น
* เด็กที่มีปัญหาด้าน Sensory motor การอ่านจะช่วยพัฒนาเด็กกลุ่มนี้ได้อย่างไร? ขณะที่ใช้หนังสือกับเด็กกลุ่มนี้ให้พ่อแม่ดูตรงความสนใจ ความสนุก ปฏิกิริยาที่เขามีต่อหนังสือ ถ้าเขาไม่สนุกก็ให้ทำอย่างอื่น
พญ.นิตยา คชภักดี เคยใช้หนังสือกับเด็กที่มีปัญหาด้าน Sensory motor เวลาเราจะให้หนังสือเพื่อให้พ่อแม่นำไปใช้กับลูก ต้องให้เครื่องมือหรือวิธีการที่เขาจะนำไปปรับใช้ได้ เช่น เด็กที่มีปัญหาทางหู ก็ให้ใช้ภาพช่วย เด็กที่มีปัญหาทางการมองเห็นก็จะใช้การออกเสียงช่วย และใช้มือสัมผัสหนังสือที่เป็นภาพเฉพาะ ใช้วิธีMultisensory ในการเรียนรู้ เช้น พอพูดถึงลูกบอลก็เอาลูกบอลมาให้จับ คือเราต้องหาสิ่งต่างๆมาช่วย Social Interaction ถ้าเป็นการบกพร่องทางหูจะใช้ภาพ บัตรคำ ตัวอักษร (ในเด็กแต่ละ Caseให้ดูที่ระดับ Threshold ของเด็กด้วย ) ในขณะที่เราอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เราไม่ได้อ่านหนังสืออย่างเดียว แต่เรา “ต้องอ่านเด็กด้วย”
พ่อแม่ต้องเป็นนักสังเกตการณ์ที่ดี
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณเจ แห่ง TK Park



Create Date : 08 สิงหาคม 2556
Last Update : 8 สิงหาคม 2556 1:48:37 น.
Counter : 2908 Pageviews.

4 comments
  
อิอิ
โดย: รู้นะว่าคิดถึง วันที่: 8 สิงหาคม 2556 เวลา:8:36:55 น.
  
ได้ความรู้มาก ๆ ค่ะ
แต่ไม่ทันแล้ว
....ลูกโตเกินอายุแล้วค่ะ
โดย: รู้นะว่าคิดถึง วันที่: 8 สิงหาคม 2556 เวลา:8:38:39 น.
  
thx u crab!
โดย: Kavanich96 วันที่: 9 สิงหาคม 2556 เวลา:4:38:31 น.
  
ขอบคุณมากค่ะพี่มด ติ๊กติดตามบล๊อกของพี่มดตลอดนะค่ะ
โดย: น้องซาแมนต้า วันที่: 22 กันยายน 2556 เวลา:16:12:52 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jewelmoda
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]



ผู้หญิงคนหนึ่ง ที่อยากทำงานด้านเด็ก อยากเป็นครู แต่กลับต้องไปทำงานแบงค์ เมื่อขอเออรี่ออกมา ขอหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก เพื่อการพัฒนาเด็กไทย

Myspace angels graphics
New Comments
Friends Blog
[Add jewelmoda's blog to your weblog]