ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
20 เมษายน 2554
 
All Blogs
 

“กลยุทธ์” หยุดปัญหามีลูกยาก

“กลยุทธ์” หยุดปัญหามีลูกยาก!

หากคุณไม่ใช่คนที่ติดหนึบกับชีวิตอิสระจนสุดโต่ง และต้องการสร้างครอบครัวอย่างสมบูรณ์ ภายหลังการแต่งงาน หญิงชายในยุคโมเดิร์น สมาชิกคงตัดสินใจมีเจ้าตัวเล็กสัก 1-2 คน มาเป็นพยานรักแน่นอน แต่บางครั้งความปรารถนาที่ว่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคู่ แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าเรื่อยๆ ย่อมมีทางออกสำหรับปัญหาเสมอ

นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล หัวหน้าศูนย์สุขภาพหญิงและรักษาผู้ป่วยมีบุตรยาก รพ.พญาไท กล่าวว่า ในทางจิตวิทยาแล้ว ลูก คือ ผู้ที่เป็นส่วนสำคัญในการสานสัมพันธ์ของพ่อแม่ให้แน่นแฟ้นขึ้น และทำให้แต่ละครอบครัวมีช่วงเวลาที่พิเศษสำหรับการทำกิจกรรมร่วมกันแบบสมบูรณ์ จึงไม่แปลกที่ชายหญิงซึ่งเผชิญภาวะมีบุตรยาก เลือกที่จะพึ่งพาการแพทย์เพื่อสนองตอบความต้องการ

หัวหน้าศูนย์สุขภาพหญิงฯ รพ.พญาไท รายนี้ ให้ข้อมูลต่อไปอีกว่า จากสถิติในช่วงปี 2552-2553 พบว่า มีคู่สามี-ภรรยามาใช้บริการศูนย์รักษาภาวะมีบุตรยาก (Fertility Center) ของ รพ.พญาไท ถึงเดือนละประมาณ 30 ราย แบ่งเป็นชาวไทย 20 ราย ชาวต่างชาติ 8-10 ราย ซึ่งภาวะมีบุตรยาก ในที่นี้หมายถึง คู่รักที่ฝ่ายภรรยาไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากมีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 วัน โดยไม่ได้คุมกำเนิด ในเวลา 1 ปี


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล


“สาเหตุของการมีบุตรยาก เกิดจากสภาพร่างกายของเพศชาย ราว 35- 40% ได้แก่ การสร้างเชื้ออสุจิที่ผิดปกติ ทำให้ไม่มีเชื้อ หรือมีเชื้ออสุจิน้อย คือ ต่ำกว่า 10 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร หรืออาจมีอสุจิที่รูปร่างผิดปกติมาก หรืออาจเคลื่อนไหวช้า อ่อนแอ จึงไม่สามารถปฏิสนธิกับไข่ได้ บางคนมีการขนส่งเชื้ออสุจิผิดปกติ ทำให้เชื้ออสุจิไม่สามารถออกมาได้ การมีเพศสัมพันธ์และการหลั่งน้ำเชื้อผิดปกติ ปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเครียดจากการทำงาน โรคประจำตัว สารเคมี การใช้ยารักษาความดัน เบาหวาน การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ล้วนส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำเชื้อทั้งสิ้น”

ขณะที่สาเหตุจากฝ่ายหญิงราว 40% นั้น นพ.ธิติกรณ์ อธิบายว่า มาจากความผิดปกติของการสร้างไข่ หรือการตกไข่ ความผิดปกติของอุ้งเชิงกราน และหลอดมดลูก ทำให้เกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน และ/หรือหลอดมดลูกอุดตัน ความผิดปกติของปากมดลูก และ มดลูก ความผิดปกติของช่องคลอด ปัจจัยอื่นๆ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ห่างเกินไป ความเครียด โรคประจำตัวทางร่างกายอื่นๆ เช่น มะเร็งเป็นต้น

“ปัจจุบันวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำมากที่สุด ก็คือ การทำเด็กหลอดแก้ว หรือเรียกสั้นๆ ว่า อีฟ (In Vitro Fertilization : IVF) ซึ่งหากพบว่าเพศหญิงมีปัญหาเรื่องฮอร์โมนและไข่ตกช้า แพทย์จะเริ่มจากฉีดยากระตุ้นไข่ และเก็บน้ำเชื้อจากฝ่ายชาย น้ำเชื้อผสมกับไข่เลี้ยงในห้อง ทดลอง 3-5 วัน แล้วย้ายตัวอ่อนที่สมบูรณ์เข้าสู่โพรงมดลูกของเพศหญิง เพื่อให้อายุครรภ์ดำเนินต่อไปเหมือนกับการตั้งครรภ์แบบธรรมชาติ”

แต่อย่างไรก็ตาม นพ.ธิติกรณ์ ก็ยังทิ้งท้ายโดยสรุปว่า จริงๆ แล้วการทำเด็กหลอดแก้ว อาศัยเทคโนโลยีแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น ที่เหลือก็เป็นเรื่องการใช้ชีวิตแบบปกติตามธรรมชาติอยู่ดี

“โดยหากการทำเด็กหลอดแก้วในครั้งแรกไม่ประสบผลสำเร็จ แพทย์สามารถทำซ้ำได้อีกรายละ 3 รอบ โดยมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ จะประสบผลสำเร็จในรอบที่ 2 ปัญหา คือ คู่รักมักตื่นเต้นกับการตั้งครรภ์ครั้งแรก โดยเฉพาะแม่ ซึ่งจะหวงครรภ์ของตัวเองมาก ต้องพยายามค้นหาอาหารเสริมมากินที่แตกต่างไปจากช่วงชีวิตปกติ หลายคนพึ่งพาอาหารเสริม ที่ราคาแพง แต่จริงๆ แล้ว หากแม่มีการดูแลร่างกายดีอยู่แล้วกินอาหารครบ 5 หมู่ และนอนเป็นเวลา ก็เท่ากับว่า ลูกในครรภ์จะสมบูรณ์ไปด้วยโดยธรรมชาติ เพราะการท้องไม่ใช่ภาวะป่วยแต่เป็นเรื่องปกติ จึงอยากฝากว่า อย่าพยายามกังวลกับการตั้งครรภ์มาก เพราะความเครียดจะทำร้ายร่างกายโดยแม่ไม่รู้ตัว ”



ที่มา
//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000048201




 

Create Date : 20 เมษายน 2554
0 comments
Last Update : 20 เมษายน 2554 11:54:48 น.
Counter : 969 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.