Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
17 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
ทำไมรัฐบาลจึงหลงรักการ "เซนเซอร์" ภาพยนตร์




หมายเหตุ เดิมข้อเขียนชิ้นนี้เป็นข้อเขียนที่มิได้รับการตีพิมพ์จากคอลัมน์หนึ่ง ดังนั้นจึงขอนำมาไว้ในบล็อกพร้อมกับเขียนเพิ่มเติมแต่ง เพราะไม่ต้องจำกัดจำนวนตัวหนังสือแล้ว


------------



นับแต่ภาพยนตร์เรื่องแสงศตวรรษ ของอภิชาติพงษ์ วีระเศรษฐกุล ถูกคณะกรรมการฯเซนเซอร์พร้อมกับห้ามฉายหากไม่ทำการตัดบางฉากในภาพยนตร์ทิ้ง นำไปสู่การอารยะขัดขืนของผู้กำกับด้วยการแทนภาพที่ถูกเซนเซอร์ด้วยฉากดำมืดตามระยะเวลาจริง (ซึ่งหลายท่านที่ได้ชมต่างบอกว่าทรมานยิ่งนัก) กลุ่มผู้ชมภาพยนตร์กลุ่มหนึ่งได้รวมตัวกันเพื่อต่อสู้ให้เกิดพระราชบัญญัติภาพยนตร์ฉบับใหม่ขึ้น โดยมีความหวังว่าภาพยนตร์ฉบับนี้จะปราศจากซึ่งการเซนเซอร์ พร้อมให้อิสระแก่คนทำภาพยนตร์อย่างเต็มที่ในการนำเสนอความคิด ทั้งนี้ต่างหวังให้เกิดการจัดเรทภาพยนตร์อย่างจริงจังเพื่อคัดกรองผู้ชมที่อาจไม่มีวิจารณญาณเพียงพอ

หากใครได้ติดตามข่าวในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จะพบว่าเอาเข้าจริงแล้ว พระราชบัญญัติเกี่ยวกับภาพยนตร์นั้นก็ยังมีการเซนเซอร์และควบคุมภาพยนตร์ทั้งไทยและเทศอยู่ โดยมีการตั้งหน่วยงานชื่อว่า สำนักภาพยนตร์และวีดีทัศน์ ประกอบผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน ทำหน้าที่คัดกรองก่อนจะทำการเผยแพร่สู่ประชาชน

น่าสนใจว่าทำไมสื่อภาพยนตร์จึงมักตกเป็นเป้าของภาครัฐเสมอ ในขณะที่หันไปดูสื่ออื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ วิทยุหรือแม้แต่สื่อใหม่อย่างอินเตอร์เนทเอง ก็ยังมีการควบคุมที่น้อยกว่าภาพยนตร์อย่างเห็นได้ชัด (แม้ว่าทุกวันนี้อินเตร์เนทจะเป็นจำเลยว่าด้วยกรณีคลิปโป๊และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ตาม)

ภาพยนตร์เป็นสื่อที่เกิดขึ้นมาอายุราว 100 ปี เริ่มแรกของการเกิดสื่อภาพยนตร์เป็นเพียงในลักษณะงานทดลองนวัตกรรมใหม่ ๆ จนกระทั่งมีการขยายพัฒนาเทคโนโลยีจนบันทึกภาพได้ระยะเวลานานมากขึ้น ประกอบกับเริ่มมีการใส่เนื้อเรื่องลงไปในภาพยนตร์ อุตสาหกรรมภาพยนตร์จึงเกิดขึ้น ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับ Hollywood อดีตย่านรกร้างที่กลายเป็นรวมดารา แหล่งศูนย์กลางวงการบันเทิงอเมริกา และแถว ๆ บ้านเราอย่างอินเดียก็มี Bollywood ที่ใหญ่ไม่แพ้กัน (และก็วิ่งข้ามเขากันเหมือนเดิม)

สื่อภาพยนตร์ถูกมองเสมอมาว่าเป็นสินค้าบันเทิง มิใช่งานศิลปะ อย่างมากก็แค่สร้างอารมณ์ชวนฝัน พาคนให้หลุดออกจากโลกความจริงอันโหดร้าย (Escapist) หนังยุคแรกจากฮอลลีวูดจึงเป็นอารมณ์รัก ๆ ใคร่ ๆ ดูไร้คุณค่าทางศิลปะ เลยพลอยทำให้หนังดี ๆ เรื่องอื่นถูกเหมารวมว่าไร้ซึ่งรสนิยมและศิลปะตามไปด้วย

ยุคสมัยนั้นการมีทีวีสักเครื่องก็ลำบากไม่น้อย คนส่วนใหญ่ฟังวิทยุเป็นหลัก เมื่ออยู่ดี ๆ มีสื่อที่ให้ได้ทั้งภาพและเสียง (โดยภาพที่เห็นอลังการมาก) คนก็ติดกับสื่อภาพยนตร์อย่างจัง สำหรับคนเบี้ยน้อยหอยน้อย ภาพยนตร์จึงทำหน้าที่สร้างขวัญกำลังให้กับคน เกือบทุกค่ำคืน ทุกโรงภาพยนตร์ทั้งมหานครใหญ่เล็กต่างฉายกันยาวเหยียดหลายสิบเรื่อง ผู้คนต่างเลือกที่จะทิ้งตัวลงในความมืดแล้วปล่อยใจฝันไปตามภาพเซลลูลอยด์ที่เห็น เงินเพียงไม่กี่เซ็นต์ก็สามารถซื้อความสุขได้แล้ว

ผู้อ่านหลายท่านคงเริ่มสงสัยว่าในเมื่อภาพยนตร์ถูกมองว่าเป็นเพียงสื่อให้ความบันเทิง ทำไมจึงถูกควบคุมยิ่งนัก ที่เป็นเช่นนี้มี 2 ประเด็น ได้แก่ เรื่องของศีลธรรมและเรื่องทางการเมือง

ในภาพยนตร์เรื่อง Cinema Paradiso เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเรื่องการเซนเซอร์ภาพยนตร์ เมื่อคุณพ่อบาทหลวงจะทำการดูภาพยนตร์ก่อน เพื่อดูความเหมาะสม เมื่อเห็นฉากจูบ คุณพ่อก็จะทำการสั่นกระดิ่งเพื่อให้ทำเครื่องหมายไว้สำหรับตัดฟิล์มจุดนั้นออก

จะเห็นได้ว่าในตะวันตก โดยเฉพาะในสังคมที่เคร่งศาสนาและอนุรักษ์นิยมเป็นบรรทัดฐานในสังคม ภาพยนตร์คล้ายเสมือนผลงานจากซาตานอันอุดมไปด้วยเรื่องเพศ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการเซนเซอร์เพื่อมิให้ผู้บริสุทธิ์ (จากเรื่องเพศอันแสนเลวทราม) ได้พบเห็น คล้ายกับว่าเป็นการตัดไฟแต่ต้นลมประมาณนั้น

ไม่น่าแปลกที่ความคิดแบบนี้ลามมาถึงรัฐ (พยายามเป็น) ศีลธรรม อย่างสยามประเทศบ้านเรา ในสายตาผู้ใหญ่บ้านเมืองนี้ ประชาชนตาดำ ๆ อย่างเรา ๆ ล้วนแต่ไร้เดียงสาราวกับผ้าขาวที่พับไว้ มิมีแม้รอยด่างดำให้ระคายเคืองดวงตา ดังนั้นการที่คนดูจะได้รับความเลวร้าย โดยเฉพาะเรื่องศีลธรรมและเรื่องเพศในภาพยนตร์จึงเป็นการไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เลยต้องตัด

แต่เมืองไทยต้องเพิ่มศีลธรรมอีกอันเข้าไปอีกอันคือ ศีลธรรมประจำองค์กรที่หน้าบาง ใครพูดอะไรหน่อยก็มักจะยอมรับไม่ได้ ถือเป็นศีลธรรมประจำใจว่าใครจะมาหยามไม่ได้ ฉากนู้นฉากนี้ก่อให้เกิดการเสียภาพลักษณ์ต่อองค์กร ต้องตัด ๆ ก็เป็นด้วยดังนี้คนไทยเลยได้ดูหนังที่ คนดีก็ดีแสนดี คนเลวก็เลวแสนเลว ตำรวจจะเหี้ยนี้ฝันเลย สำนักตำรวจแห่งชาติตัดแต่แรก บอกเมืองไทยไม่มีตำรวจเหี้ย!!!

จริงไม่จริง ถามใจตัวเองดีกว่า




ฉากสุดคลาสสิคในเรื่อง Cinema Paradiso ที่ตัวเอกยามแก่กลับมาที่บ้านเพื่อร่วมงานศพคนฉายหนัง โดยเขาได้รับของขวัญจากคนฉายหนังเป็นฟิล์มฉากจูบที่ถูกตัดทิ้งในอดีตร้อยเรียงกัน (ดูแล้วขนลุกครับ)




ประเด็นที่สอง ว่าด้วยเรื่องทางการเมือง ภาพยนตร์ถูกนำไปใช้เพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ความคิดทางการเมือง ปลุกปั่นวาทกรรมให้คนชั้นล่างและชั้นกลาง สร้างมายาคติหลอกให้คนชาติพันธุ์ต่าง ๆ หลงเชื่อตกในบ่วง เป็นกระบอกเสียงของภาครัฐในการขานไขสร้างความจริงปนเท็จ

ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง ไทรอัมพ์ ออฟ เดอะวิลล์ (Triumph of the Will) ของผู้กำกับหญิงชาวเยอรมัน เลนี ไรเฟนส์ทาฮ์ล (Leni Riefenstahl) เป็นภาพยนตร์คลาสสิคที่กระบอกเสียงให้กับรัฐบาลนาซีของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ มีการใช้เทคนิคทางด้านภาพสร้างความรู้สึกยิ่งใหญ่ของเยอรมันแก่ผู้ชม นับเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นพลังอำนาจของภาพยนตร์ได้อย่างชัดเจน




เลนีใช้หลักการทางภาพยนตร์ได้อย่างสมบูรณ์แบบเพื่อสร้างกองทัพนาซีอันเกรียงไกรบนโลกเซลลูลอยด์




เอาหนังใหม่ ๆ ที่แบบดูชัดเจนเรื่องครอบงำความคิดนี้ขอยกให้หนังพวกมนุษย์ต่างดาวบุกโลก ใน Independence day หรือ ID4 ตัวเอกล้วนแต่เป็นคนอเมริกันทั้งสิ้น มีทั้งประธานาธิบดี นักวิทยาศาสตร์และทหาร ทั้งสามมีบทบาทสำคัญที่ช่วยกันให้โลกปลอดภัย สะท้อนภาพชัด ๆ ว่าความจริง อเมริกาคือตำรวจโลกที่แสนดี พร้อมช่วยโลกเสมอ ผมว่าคนอเมริักันเชื่ออย่างนั้นจริง ๆ และคนในแถบอื่นของโลกเมื่อดูไอดีโฟร์ก็มีแนวโน้มว่าจะถูกหลอกมากขึ้น

ยังมีหนังอีกเยอะที่แฝงความคิดอะไรทำนองนี้ไว้ นี้ถ้าฮอลลีวูดไม่มีหนังอย่าง Taxi Driver, Apocalypse Now, Platoon, Wag the Dog, The Truman Show ฯลฯ ออกมานี่ คงสงสารเรา ๆ ท่าน ๆ ที่ต้องทนกับการดูหนังขายยากันเรื่อยไป

ว่าตามจริงภาพยนตร์เป็นสื่อที่ทรงพลังอำนาจมาก (แม้ทุกวันนี้จะเจอโทรทัศน์และอินเตอร์เนทแซงไปหน่อย ๆ ก็ตาม) มาร์แชล แมคลูแฮน (Marshall McLuhan) นักวิชาการด้านสื่อคนสำคัญของโลกได้กำหนดให้สื่อภาพยนตร์เป็นสื่อร้อน คือเป็นสื่อที่ต้องใช้อายตนะทั้ง 5 อย่างเต็มที่สมบูรณ์แบบ เมื่ออยู่ในโรงมหรสพ ความมืดปราศจากแสงจากที่อื่นเว้นบนจอสี่เหลี่ยม ทำให้มนุษย์ต้องจ้องมองดูไม่คลาดสายตาไปไหน ส่งผลให้คนดูมีสมาธิในการจดจ่อต่อเรื่องมาก ๆ ต่างจากสื่อโทรทัศน์ที่มีสมาธิรบกวนก็ทำให้ละสายตาไปจากจอได้ การที่สื่อภาพยนตร์เป็นเช่นนี้ทำให้โอกาสที่คนดูจะเชื่อตามที่ได้เห็นมีโอกาสสูงมาก ไม่แปลกที่ใคร ๆ ดูหนังแล้วจะพลอยเชื่อเป็นตุเป็นตะตามที่หนังบอก และไม่แปลกอีกเช่นกันที่รัฐบาลจะกลัวหนังประเทศอื่นมายั่วยุสร้างความคิดให้กับคนประเทศตน แต่ตัวเองก็ัยังสร้างหนังเพื่อครอบงำความคิดคนในชาติไม่ผิดเพี้ยน

อะไรทำนองนี้เราเรียกว่าเป็นการ irony มาก ๆ

ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่แม้เวลาผ่านไปนานขนาดไหน ความคิดของภาครัฐต่อภาพยนตร์ก็มิเคยเปลี่ยนแปลง ภาพยนตร์เปรียบเสมือนหอกข้างแคร่ที่ต้องควบคุมไม่ให้เติบใหญ่ หรือทำตัวเกเร ออกนอกลู่นอกทาง ความคิดแบบนี้ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยแม้แต่น้อย ตั้งแต่ยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อยมาถึงรัฐบาลปัจจุบัน

คงเป็นเรื่องยากที่จะให้เหล่าบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิเปลี่ยนทัศนคติในชั่วข้ามคืน มองภาพยนตร์ในแง่ของศิลปะมากกว่าแง่การค้า มิใช่สื่อที่คอยมอมเมาผู้ชมให้หลงอยู่ในโลกแห่งมายา มิใช่สื่อที่อันตรายทุกลมหายใจ

การเซนเซอร์ภาพยนตร์ในสังคมไทยคงมีกันต่อไป ในขณะที่การเสนอให้มีการจัดเรทยังคงดำมืดไร้แสงสว่าง หนทางที่คนชมภาพยนตร์อย่างเราพึงทำได้คือการรู้เท่าทันทั้งสื่อ ทั้งหน่วยงานรัฐบาล อย่าให้ใครมากำหนดบรรทัดฐานให้ตัวเราเองครับ





Create Date : 17 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2551 11:02:22 น. 12 comments
Counter : 1325 Pageviews.

 
ช่วงนี้ชอบ

1. Knock the Knock อัลบั้มKnock the Knock

เท่และมันส์ในเวลาเดียวกัน เป็นอัลบั้มที่เยี่ยมมาก

2. เวบบอร์ดฟ้าเดียวกัน อ่านทุกวัน (แต่ไม่ตอบทุกวัน) ยิ่งอ่านยิ่งมันส์

3. หนังสือ ไปโรงเรียนของ เรณู ปัญญาดี เจ็บแสบเหมือนเดิม


โดย: I will see U in the next life. วันที่: 17 พฤศจิกายน 2551 เวลา:11:07:11 น.  

 
เรื่องเซนเซอร์นี้ บางทีก็ต้องต่อสู้กันในทางกฎหมาย หรือ ในทางนโยบายของรัฐ

ซึ่งมันต้องต่อสู้กันยาวนานมาก กว่าจะได้มาซึ่งเสรีภาพในการมีสิทธิ์เลือกว่าเราควรจะได้ดูหรือไม่ได้ดูอะไร



โดย: grappa IP: 58.9.218.132 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา:0:12:26 น.  

 
เห็นด้วยในหลายเรื่อง

ไม่รู้ว่าอีกนานมั้ย ที่จะได้เห็นคนที่รู้จักและรักหนังจริงๆ (แต่ก็ไม่ใช่หลงใหลคลั่งไคล้จนทุกสิ่งทุกอย่างที่หนังทำออกมาต้องถูกหมดสิ้นทุกสิ่งอันน่ะนะ) ได้มาดูแลในส่วนนี้

ไม่เห็นด้วยกับการเซนเซอร์ แต่เห็นด้วยกับการจัดเรท


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:19:41 น.  

 
เขียนได้ดีมากค่ะ




โดย: Oops! a daisy วันที่: 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:47:24 น.  

 
แปะแปะ ที่มาเขียนแบบมีเหตุมีผล

เข้าใจง่าย

หนังดีดีแปลกๆๆจะได้ดูกันซ๊ะทีอ่า


สิ่งที่คิด คือ ตัดแค่นี้ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาแฝงตามมามากมายไปกว่านี้


แล้ว สมองจืตใจที่แยกแยะได้อะไรผิดอะไรถูก ของผู้เสพหนัง หรือมนนุษย์ปุถุชนนี้แหละ

Film อย่างมากกะดูครั้งสองครั้ง หรือชอบมากๆๆ ความถึ่ นานๆๆดูที 10 กว่าครั้ง

Film ไม่ใช่โฆษณา กรอกหูกรอกตาเป็นเดือน เป็นปี จนผู้คนซึมซุบและนำไปใช้อะ

อ่า เค้าแยกแยะกันออกอะปะงะ


โดย: Bernadette วันที่: 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา:21:47:23 น.  

 
ปลงแล้ว


โดย: merveillesxx วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:2:28:36 น.  

 
ผมคงโชคดีอยู่ไม่น้อยนะครับ ที่อยู่ในเมือง เลยมีทางเลือกอีกมากมาย ^^;;

ปล. กำลังชอบ Knock the Knock เช่นกันครับ เพลงเท่มากๆ


โดย: Soundsyndrome (เด็กน้อยกว่า ) วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:52:09 น.  

 
ชอบนะ


โดย: พยัคฆ์ร้ายแห่งคลองบางหลวง วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:55:37 น.  

 

Pitsanuloke trip


แวะมาเยี่ยมเยียนครับ เซ็นเซอร์มากจนต้องนิยมใต้ดิน


โดย: scimovie วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:16:42:43 น.  

 
เพิ่งแวะเข้ามาเจอครับ (ไม่ได้แวะมาเสียนานนนนเลย)
อ่านแล้วก็ได้แต่ เฮ้อ..

เมื่อไหร่ที่เราจะไม่ต้องพูด/เขียนอะไรซ้ำๆ เพราะสังคมมันไม่ยอมเปลี่ยนเสียทีนะ... ว่ามั้ยครับ?
แถมที่เศร้ากว่าคือ ไม่เพีัยงแค่รัฐบาลที่หลงรักการเซ็นเซอร์ แต่ยังมีประชาชนตาดำๆ ที่คิดว่ามันคือความชอบธรรม อยู่ไม่น้อยเลย...


โดย: nanoguy IP: 125.24.116.22 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2551 เวลา:7:21:11 น.  

 
โดนใจกับบรรทัดทองนี้จัง ๆ ..
"การเสียภาพลักษณ์ต่อองค์กร ต้องตัด ๆ ก็เป็นด้วยดังนี้คนไทยเลยได้ดูหนังที่ คนดีก็ดีแสนดี คนเลวก็เลวแสนเลว ตำรวจจะเหี้ยนี้ฝันเลย สำนักตำรวจแห่งชาติตัดแต่แรก บอกเมืองไทยไม่มีตำรวจเหี้ย!!!

จริงไม่จริง ถามใจตัวเองดีกว่า"



โดย: psw2548 วันที่: 23 มิถุนายน 2553 เวลา:17:01:18 น.  

 
I as well as my guys were found to be checking the great helpful tips found on your web page and before long came up with a horrible feeling I had not thanked the website owner for them. Those young boys were certainly very interested to read through all of them and have in effect in actuality been using those things. Many thanks for actually being so helpful and for choosing this kind of fine ideas most people are really desirous to discover. Our own sincere apologies for not expressing gratitude to you earlier.
Cheap Oakley Sunglasses //michelleskitchen.com/fox5.html


โดย: Cheap Oakley Sunglasses IP: 94.23.252.21 วันที่: 2 สิงหาคม 2557 เวลา:13:46:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

I will see U in the next life.
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add I will see U in the next life.'s blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.