Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
19 พฤศจิกายน 2549
 
All Blogs
 
+++ ทำไมไปที่ไหน ๆ ใคร ๆ ก็ต้องดู "Rashomon" โดย อากิระ คุโรซาวา +++

ก่อนหน้านี้ผมเตรียมต้นฉบับในการรีวิวอัลบั้มไว้สองชิ้นคืออัลบั้ม Trois ของ ริค วชิรปิลันธ์ และ งานของอัศจรรย์จักรวาล แต่คิดไปคิดมากผมเก็บเอาไว้ก่อนดีกว่า เพราะอยากจะเขียนเรื่องแนวอื่นบ้าง เดี๋ยวคนจะลืมไปว่าความจริงบล็อกนี้เป็นบล็อกเกี่ยวกับวิชาการสื่อ บางทียังมีคนแอด msn เข้ามาคุยกับผมว่าบล็อกผมเป็นบล็อกแนวเพ้อรักหรอ (โอ้ว!!! ไม่)

อยู่ดี ๆ ทำไมผมนึกอยากเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาก็ไม่รู้ ผมอยากตั้งคำถามสักนิดว่าคุณเคยสงสัยไหมครับว่าเวลาเรียนหนังสือ (อาจจะต้องเป็นระดับ ป.ตรีขึ้นไป) หลายครั้งที่อาจารย์เอาหนังมาให้ดูเพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาบ้าง เป็นตัวอย่างบ้าง เป็นแนวคิดบ้าง ผมเคยนึกถึงว่าอาจารย์นี้สุดยอดจริง ๆ คิดลึกกันแบบนี้ได้อย่างไร

มีหนังอยู่หนึ่งเรื่องครับที่ผมว่าทุกคนที่เรียนสายศิลป์ โดยเฉพาะคนเรียนนิเทศศาสตร์สายภาพยนตร์ต้องเคยผ่านตามาก่อน หนังเรื่องที่ว่านี้คือ “ราโชมอน” ของ อากิระ คุโรซาวา นี้เอง หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังที่เอามาใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนเยอะมาก เรียกได้ว่าก่อนเรียนจบนี้น่าจะจุดธูปไหว้กันเสียก่อนเพื่อให้สำนึกคุณครู

หนังเรื่องอื่น ๆ ที่ถูกนำมาเป็นตัวอย่างในการเรียนมักมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว อย่างพวกเรียนหนัง ก็ต้องดู “Battleship Potemkin” เพื่อศึกษา Soviet Montage ดู “The Cabinet of Dr.Caligari” เพื่อศึกษา German Expressionism ดู Pulp Fiction เพื่อศึกษาแนวคิดการเล่าเรื่องและตัดต่อที่สลับไปมาไม่เรียงตามลำดับเวลา ดู The Modern Time เพื่อให้เห็นวิถีชีวิตและระบบการทำงานแบบสายพานและทุนนิยม อะไรแบบนี้ ส่วนราโชมอนนั้น สำหรับคนเรียนหนัง ถือว่ามีแนวคิดสาระแอบแฝงอยู่ไม่น้อยไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเขียนบท การเล่าเรื่อง งานด้านภาพ ซึ่งถือว่าเด่นมิน้อย

คราวนี้ผมขอข้ามประเด็นเรื่องหนังไปละกัน เพราะผมคิดว่าน่าจะพอคุ้นเคยกันบ้างอยู่แล้ว ผมเลยขอเลือกเอาประเด็นอื่นๆ ที่มีการนำเอาหนังเรื่อง ราโชมอน ไปฉายเพื่อศึกษาหาความรู้

ตอนผมเรียน ป.ตรี ที่ มช. ผมเคยวิทยานิพนธ์ของภาควิชาปรัชญาเล่มหนึ่งที่น่าสนใจมาก วิทยานิพนธ์เล่มหนึ่งศึกษาแนวความคิดมนุษยนิยมในงานของคุโรซาว่า

มนุษยนิยมเน้นเชิดชูความดีงามของมนุษย์ครับ เชื่อว่าแม้มนุษย์จะเลวร้ายเพียงใดแต่ลึก ๆ แล้วก็มีความดีความงามแอบแฝงซ่อนอยู่ งานของคุโรซาวาหลายเรื่องเด่นในแนวคิดนี้ อย่าง Ikiru หนังว่าด้วยชายวัยใกล้ฝั่งที่เห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นต้น สำหรับราโชมอนนั้น ทั้งเรื่องเป็นการเล่าเรื่องจากคำบอกเล่า มุมมองที่ผ่านสายตาแต่ละตัวละครต่างมุ่งย้ำความดีของตน มุ่งเหยียบความเลวร้ายผู้อื่น ความสิ้นหวังกับมนุษย์ฟุ้งทั่วไปทั้งแผ่นฟิล์ม

แต่แล้วตอนสุดท้าย ตัวละครที่หลบฝนอยู่ ณ ประตูราโชมอนก็ได้ยินเสียงร้องของเด็กดังขึ้น เขาตัดสินใจรับเด็กคนนั้นไว้เลี้ยง คุโรซาวาทิ้งท้ายเรื่องให้เห็นว่าแม้มนุษย์จะเลวร้ายเพียงใด แต่ลึก ๆ ก็ยังคงมีคนที่จิตใจดีงามอยู่

หนังเรื่องนี้เลยถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดูเป็นตัวอย่างหนังแนวมนุษยนิยม เหมือนกับหนังฮิตประจำศตวรรษที่ 21 อย่าง The Matrix ที่ใครเรียนอภิปรัชญา (Metaphysics) ต้องดูเพื่อค้นหาว่าความจริงที่เรารับรู้คือความจริงแท้ไหม....

พูดถึงเรื่องธีมหลักของราโชมอนพูดถึงเรื่องความจริงเช่นเดียวกัน ตัวละครต่างออกมาเล่าเรื่องราวของตัว ซึ่งเราไม่มีวันรู้เลยว่าใครพูดความจริง (บางทีคุโรซาวาก็ไม่ได้คิด) วิธีการแบบนี้ถูกนำมาใช้ในหนังเรื่องหลัง ๆ เยอะมาก อย่างเช่นเรื่อง Courage of the Fire ที่เดนเซล วอชิงตันตามหาความจริงเรื่องการให้เหรียญกล้าหาญแก่ทหารหญิง (เมก ไรอัน) ที่เสียชีวิตในสนามรบ แม้แต่ในวงการหนังสือยังถูกหยิบนำมาใช้ ถ้าใครเคยอ่าน กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะปอตา กาเด ก็ใช้วิธีการเล่าเรื่องคล้ายกันนี้ ขนาดรุ่นพี่ผมทำละครเวทียังเอาวิธีการของคุโรซาวาไปเล่าเด๊ะ ๆ เลย

สิ่งที่ทำให้หนังเรื่องกลายเป็นหนังคลาสสิคทำเอาฝรั่งอึ้งแดกไม่ใช่มีเพียงวิธีการเล่าเรื่องเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญในหนังเรื่องนี้ก็คือแนวความคิดเอเชียที่แสดงออกมาทำเอาฝรั่งที่ยึดถือเอาความคิดวิทยาศาสตร์เป็นหลักงงเต๊กกันไปหมด

วิทยาศาสตร์ครอบครองภูมิปัญญาและความคิดของโลกใบนี้ไว้จนหมดสิ้น ความคิดแบบวิทยาศาสตร์เชื่อมั่นในเรื่องของหลักเหตุผล ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ล้วนมีเหตุที่นำไปสู่ผล (มองคล้ายพุทธนะครับ) แต่สิ่งที่ต่างไปคือ สิ่งที่พวกเขาจะเชื่อนั้นคือความจริงที่ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สัมผัสได้เท่านั้น อะไรที่ตาดู หูฟัง ดมกลิ่น ชิมรส สัมผัสไม่ได้ สิ่งนั้นไม่ถือว่าเป็นความจริงที่พึงต้องเชื่อ

ด้วยความที่วิทยาศาสตร์มุ่งเน้นการพิสูจน์ได้ พร้อมกับการค้นหาความจริงเพียงหนึ่งเดียวของธรรมชาติโดยการประจักษ์ ทำให้ใคร ๆ ต่างคิดว่าวิทยาศาสตร์นี้คือคำตอบสุดท้ายของมนุษยชาติแล้ว ขนาดโลรองต์ บาร์ตส์ ยังเคยเขียนในหนังสือเรื่องมายาคติว่า “ทฤษฎี mc ยกกำลังสองของไอร์สไตน์ ถูกทำให้เชื่อว่าทฤษฎีนี้สามารถตอบคำถามทุกอย่างในสากลจักรวาลได้”

กับราโชมอน หนังเรื่องนี้หักแนวคิดวิทยาศาสตร์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความจริง ที่แสดงให้เห็นว่าความจริงเป็นเรื่องของใครของมัน เราประกอบสร้างความจริงขึ้นมา หากความจริงหนึ่งเดียวแบบที่วิทยาศาสตร์บอกมีจริง แล้วใยคนเราจึงตีความออกไปแตกต่างมากมาย

นอกจากนั้นใครเคยดูคงจำกันได้ว่านอกจากคนมีชีวิตมาเล่าเรื่องแล้ว เจ้าตัวที่ตายก็มาเช่นเดียวกันโดยผ่านทางร่างทรง ฝรั่งก็เอาละครับ โอ้ว!!! Impossible ไม่มีทาง ยูใช้วิธีการหาคำตอบแบบนี้ได้อย่างไร

หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นครับว่าการหาคำตอบให้กับคำถามหนึ่งคำถามนั้น มันมิใช่มีเพียงแค่วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่อิงหลักเหตุผลซึ่งต้องประจักษ์เท่านั้น บางทีเราอาจจะเกิดอาการปิ๊งได้คำตอบขึ้นมาเอง มองฟ้ามองฝนก็เกิดคิดออก การได้คำตอบแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยครับ ทุกคนคงเคยเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าเองยังปิ๊งเลยครับ

หนังเรื่องนี้เป็นตัวอย่างอันดีอย่างยิ่งครับสำหรับคนที่เรียน ป.โท ด้านสายสังคมศาสตร์ซึ่งชีวิตมักวนเวียนอยู่กับวิจัยเชิงคุณภาพ วิจัยรูปแบบนี้อยู่บนพื้นฐานความคิดอีกฝั่งกับวิทยาศาสตร์ เชื่อความคิดแบบองค์รวม สิ่งต่าง ๆ ล้วนเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน การหาคำตอบได้นั้นมิใช่มีเพียงหนทางแบบวิทยาศาสตร์เท่านั้น การเข้าไปฝังตัวอยู่กับชุมชนนั้น ๆ อาจจะได้คำตอบที่ดีเยี่ยมกว่าการทำแบบสอบถามหลายสิบเท่า

นี้ก็เอาราโชมอนกับการศึกษาวิชาที่ต่าง ๆ มาให้อ่านกันแบบหอมปากหอมคอ ใครเคยดูราโชมอนพร้อมกับการศึกษากรณีอื่นอย่างลืมมาเล่าสู่กันฟังนะครับ

สวัสดีครับ


Create Date : 19 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2549 6:51:27 น. 15 comments
Counter : 1720 Pageviews.

 
อืม....วิชาการสื่อจริงๆด้วยแฮะ



รักษาสุขภาพด้วยนะคะเจ้าของบล๊อก



โดย: PADAPA--DOO 18 พฤศจิกายน 2549 21:17:48 น.






อื่ม เจ้าของบล็อกเลกพร่ำเพ้อแล้วหรือ



โดย: slowboy2525 (slowboy2525 ) 18 พฤศจิกายน 2549 21:50:26 น.





โดย: I will see U in the next life. วันที่: 19 พฤศจิกายน 2549 เวลา:6:52:45 น.  

 
ตอนเรียน ป.ตรี อาจารย์ก็เอามาให้ดูเหมือนกันค่ะ แต่ไม่ได้เจาะลึกมากนัก (เพราะไม่ได้เรียนทางด้านภาพยนตร์หรือโฆษณา) ตอนนั้น เป็นวิชา analysis แกเอามาเปิดให้ดู แบบไม่เปิดเสียง ในห้องเรียนทั้งมืดทั้งเงียบ ทุกคนเลยหมดสิทธิ์คุยกัน (ฮา) ดูจบแล้ว ก็ให้เขียนว่าคิดอะไรยังไง กับสิ่งที่ได้ดู...

นักศึกษาอึ้งกิมกี่กันเรยย..เราก็ด้วย



โดย: renton_renton วันที่: 19 พฤศจิกายน 2549 เวลา:8:52:13 น.  

 
ไม่เรียนด้านนี้
แต่ได้ยินราโชมอนและ อ.คุโรซาวา มานาน ยังหามาดูไม่ได้เลย คาดว่าจะดูไม่รู้เรื่องในรอบแรก
ดีครับที่มาตอกย้ำความดีของเรื่องนี้ คงจะหามาดูซักวัน
ว่าแต่หาที่ไหนดีครับ แนะนำหน่อย


โดย: คนขับช้า (คนขับช้า ) วันที่: 19 พฤศจิกายน 2549 เวลา:10:51:47 น.  

 
แนวคิดที่อยู่ในราโชมอนน่าจะมีอยู่สองอย่างครับคือความจริงเป็น Subjective นั้นคือขึ้นอยู่ตัวมนุษย์จะให้ความหมายต่อมันเอง และ มนุษย์ไม่ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง หรือมีการแต่งเติมสีให้กับตัวเองดูดีอะไรทำนองนี้ ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็น Social Science มันก็ต้องเป็นการพิสูจน์แบบ Science นะครับ จะเป็นเชิงคุณภาพหรือปริมาณก็แล้วแต่ก็ต้องมีการพิสูจน์ให้เห็นทั้งเหตุผลหรือไม่ก็เชิงประจักษ์หรือตัวเลขตามโปรแกรม SPSS และก็จริงอย่างที่คุณว่ามันก็คับแคบในระดับหนึ่ง แต่เรากำลังอยู่ในกระบวนทัศน์ที่ถูกครอบงำโดยวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนหนึ่งก็ดี ส่วนหนึ่งก็ไม่ดี นักวิทยาศาสตร์บางทีก็ไม่ต่างกับหมอผี ปั่นหรือมั่วงานวิจัยก็มาก แต่คนก็นับถือกัน


โดย: Johann sebastian Bach วันที่: 19 พฤศจิกายน 2549 เวลา:20:14:20 น.  

 
ตอนปริญญาตรี เรียนวิชาเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย เรื่องเกี่ยวกับวิกฤตค่าเงินบาท อาจารย์ก็ให้ไปหาเรื่อง Rashomon มาดูเหมือนกัน


โดย: strawberry machine gun วันที่: 20 พฤศจิกายน 2549 เวลา:9:04:23 น.  

 
พี่ชอบอากิระ คุโรซาว่า ก็ตรงความเป็นมนุษย์นิยมของเค้านี่แหละ
หนังของบรมครูท่านนี้ ไม่ว่าจะเล่าเรื่องที่มันเลวร้ายของมนุษย์แค่ไหน
สุดท้ายก็ยังจบด้วยความหวังเสมอ
ถ้าได้ไปญี่ปุ่น อยากไปเยี่ยมคารวะหลุมศพของท่านจังเลย


โดย: sTRAWBERRY sOMEDAY วันที่: 20 พฤศจิกายน 2549 เวลา:13:14:08 น.  

 
อ่านแล้วอยากกลับไปเรียนวิชาภาพยนตร์อีกจังเลยค่ะ

เฮ้อ..

สมัยนั้นนี่มันสนุกจริงๆ นา


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 20 พฤศจิกายน 2549 เวลา:16:09:36 น.  

 
ไม่เปงไร ดูแล้วค่อยไปอ่าน ค่อยไปคุยกันก็ได้

ไปดูในโรงก็ได้นะ จะได้เต็มๆ ตาดี แต่ถ้าไม่สะดวกก็ไม่เป็นไรหรอก รอดูแผ่นก็ได้


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 20 พฤศจิกายน 2549 เวลา:18:51:54 น.  

 
เชื่อไหมว่า พี่ไม่เคยเรียนวิชาภาพยนตร์เลยอ่ะ สมัยอยู่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยก็ได้แต่ขวานขวายหาความรู้เรื่องหนังด้วยตัวเองมาตลอด นึกแล้วเศร้า ส่วนเรื่องนี้ เคยได้ยินนะแต่บ่เคยดู อิจฉาคนที่ได้ดูหนังดีๆนะ


โดย: แวะมาทักทายนะ (ตี๋หล่อมีเสน่ห์ ) วันที่: 20 พฤศจิกายน 2549 เวลา:19:15:12 น.  

 
Yawara!! เนื้อเรื่องไม่ค่อยโดนเท่าไหร่
แต่อยากอ่านเรื่องน้ำเน่าของอ.อุราซาว่า
กะให้ NED ออกครบแล้วค่อยหามาอ่านทีเดียว
ไม่งั้นปวดหัวจายแย่


ปล. ถ่ายมุมนี้ดีแล้ว+ความคมชัดกำลังดี ถ้าเบลอกว่านี้คนอาจคิดว่าเ็ป็นผีชัตเตอร์ อิอิ


โดย: The brightest sun IP: 221.128.114.82 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2549 เวลา:19:15:57 น.  

 
รออ่าน review เพลงอยู่นะครับ


โดย: คนบ้าเพลง IP: 124.120.161.137 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2549 เวลา:23:05:35 น.  

 
ซื้อมาแล้ว ยังไม่ทันดู ถูกรุ่นน้องจิ๊ก DVD ไป


โดย: merveillesxx วันที่: 23 พฤศจิกายน 2549 เวลา:0:23:21 น.  

 
อยากรู้มากว่าพอจะหาดูได้ทีไหน

ซึทาย่าจะมีให้เช่ารึเปล่าครับ

โปรดตอบด้วย ด่วน

มาขอร้องแนวบังคับนะเนี่ย อิอิ


โดย: gelgloog IP: 125.25.75.17 วันที่: 23 พฤศจิกายน 2549 เวลา:23:35:48 น.  

 
ซึทาย่าผมไม่แน่ใจนะครับคุณ gelgloog แต่คิดว่าร้านลูกแมวที่มาบุญครอง และ ร้านเฟรม ท่าพระจันทร์ น่าจะมีให้ได้ดูครับ

ป.ล. ถ้าซื้อหนังกับร้านแว่น ก็มีแน่นอนครับ


โดย: I will see U in the next life. วันที่: 24 พฤศจิกายน 2549 เวลา:11:02:27 น.  

 
จะสอบพรุ่งนี้แล้วครับไอหนังเรื่องนี้ จะบ้าตาย


โดย: lqwandera IP: 124.121.38.81 วันที่: 17 ตุลาคม 2550 เวลา:11:43:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

I will see U in the next life.
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add I will see U in the next life.'s blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.