Group Blog
 
 
มิถุนายน 2548
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
19 มิถุนายน 2548
 
All Blogs
 
สัญญวิทยา (3) ว่าด้วยแนวคิดพื้นฐาน

เรื่องต่อไปที่ผมจะพูดถึงนะครับหลังจากไปรู้จักกับคุณทวดกันแล้วก็คือเรื่องแนวคิดเบื้องต้นของ Sign ครับ

ธรรมชาติของเจ้าพวกสัญลักษณ์ทั้งหลาย
เจ้าพวกนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวครับว่า สิ่ง ๆ หนึ่งต้องหมายถึงสิ่งเสมอ (Arbitrary) ประมาณว่าแหวนวงหนึ่งใช่จะมีความหมายเหมือนกันทั้งโลก แหวนในสังคมหนึ่งอาจเป็นของมีค่า แต่อีกกับสังคมหนึ่งกลายเป็นอะไรก็ไม่รู้

เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องของธรรมชาติสร้างมาครับ มันจะไม่มีความหมายขึ้นมาเลยถ้าเราไม่ไปให้ความสำคัญและสร้างความหมายให้กับมัน เหมือนเพชรนะครับ มันเกิดมาเป็นก้อน ๆ ใส ๆ สีแวววาว มันอยู่เฉย ๆ ไม่มีใครไปยุ่งกับมัน มันก็ไม่มีค่าอะไร แต่พอเราไปให้ความหมายมันว่าเป็นของหายาก ทรงคุณค่า คราวนี้ไอ้เจ้าก้อนเพชรก็เลยมีความหมายขึ้นมาละครับ
อันนี้จำไม่ได้ เดี๋ยวไปค้นก่อน

คำถามสำคัญเกี่ยวกับที่เขาศึกษากันครับ พวกนักสัญศาสตร์สนใจเรื่องที่ว่า ความหมาย (Meaning) ของสิ่งต่าง ๆ เนี๊ยะมันถูกประกอบสร้าง (construct) ถ่ายทอด (Distribute) ถูกบริโภค (Consumption) และ ถูกแปรเปลี่ยน (transfrom) กันไปได้อย่างไร

ผมคิดว่าพ่อแม่พี่น้องต้องเคยได้ยินหรือกินข้าวกล้องกันเป็นแน่ เมื่อก่อนนี้ข้าวกล้องนี้เขาให้คนคุกกินนะครับ แต่ทุกวันนี้กลายเป็นอาหารทรงคุณค่า ใคร ๆ ต่างก็หันมากินตามแนวคิดฮิตพวกชีวจิตที่ว่าข้าวกล้องมีกากใยสูง

ก็มีคนสนใจศึกษาเรื่องนี้เป็นวิทยานิพนธ์ทีเดียว เขาก็สนใจว่าความหมายของข้าวกล้องที่ว่าเป็นอาหารชีวจิตนี้ถูกประกอบสร้างขึ้นมาได้อย่างไร แล้วถูกถ่ายทอดออกไปยังคนทั่วไปยังไง แล้วคนทั่วไปบริโภคความหมายเหล่านี้อย่างไร จนมาลงท้ายที่ความหมายที่แปรเปลี่ยนจากข้าวคนคุกมาเป็นข้าวชีวจิตนี้ทำได้อย่างไรกัน คงพอเห็นภาพกันนะครับ

เรื่องของความสัมพันธ์กันของสัญญะ อันนี้ก็มีหลายประเด็นครับ พอสรุปมาเป็นแบบนี้

อันแรกเขาว่า เป็นความสัมพันธ์กันระหว่าง element กับ relation นักสัญญวิทยาบอกว่าหากมี element เดิมอยู่แต่เปลี่ยนแปลง relation ความหมายก็เปลี่ยนไป ยกตัวอย่าง ผมมีประโยคนี้

‘ฉันรักเธอฉันยังไม่บอกใคร’ คราวนี้ผมขอเปลี่ยนเป็น ------- ‘ฉันรักใครฉันยังไม่บอกเธฮ’

เห็นไหมครับว่าคำที่ใช้เหมือนกัน เพียงเปลี่ยนที่เปลี่ยนคำสัมพันธ์กันเท่านั้น ความหมายเปลี่ยนเลย………
เรื่องต่อมา เป็นแนวคิดเรื่องความแตกต่าง (Difference) โดยป๋าโซซูเป็นคนเสนอไว้ ป๋าบอกว่าการที่เราจะเรียนรู้คำต่าง ๆ ต้องมองที่ความแตกต่าง เราจะเข้าใจคำว่าเงินว่าแตกต่างจากคำว่าเดิน เพราะเห็นความแตกต่างของมัน รวมไปถึงการใช้คู่ตรงข้าม (Binary Opposition) เช่นขาวกับดำ ดีกับชั่ว สำเร็จกับล้มเหลว รวยกับจน เป็นต้น

เรื่องสุดท้ายคือแนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาสารกับบริบทสิ่งแวดล้อมของมัน แนวคิดนี้ง่าย ๆ ครับคือ เนื้อหาสารนี้พอเปลี่ยนที่อยู่ของมัน ความหมายของมันก็จะเปลี่ยนไปด้วย เหมือนที่ผมเล่าเรื่องขวดโค้กในเทวดาท่าจะบ๊องส์นั้นแหละครับ ขวดอันเดิม แต่กลายเป็นพระเจ้าของชนเผ่าหนึ่ง ในขณะที่เป็นขยะของอีกชนเผ่าหนึ่ง………

คราวหน้าสุดท้ายล่ะสำหรับเรื่องสัญญวิทยา เรามาดูกันครับว่าจะเอาไปวิเคราะห์กันได้อย่างไร โดยเฉพาะในงานด้านสื่อสารมวลชน พวกหนัง เพลง ที่ท่าน ๆ สนใจกันครับ


Create Date : 19 มิถุนายน 2548
Last Update : 19 มิถุนายน 2548 12:14:19 น. 4 comments
Counter : 1261 Pageviews.

 
Ferdinand de Saussure เพิ่งเรียนมาเลยครับ ฮิฮิ ..


โดย: เด็กชายหัวหอม IP: 58.8.120.107 วันที่: 18 ตุลาคม 2550 เวลา:10:09:59 น.  

 


โดย: rsloads IP: 117.26.223.7 วันที่: 25 ธันวาคม 2550 เวลา:13:28:49 น.  

 
กำลังสนใจเรื่องสัญวิทยาในภาพยนต์ ช่วยแนะนะหนังสือด้วยได้มั้ยคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


โดย: pimpika IP: 161.73.137.10 วันที่: 13 พฤษภาคม 2552 เวลา:20:29:16 น.  

 
แล่เนื้อเถือหนัง ของ ประชา สุวีรานนท์ ครับ


โดย: I will see U in the next life. วันที่: 22 พฤษภาคม 2552 เวลา:15:55:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

I will see U in the next life.
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add I will see U in the next life.'s blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.