พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2556
 
27 พฤศจิกายน 2556
 
All Blogs
 

เมื่อ'ทหาร'มอง'ปฏิวัติ'ไม่ใช่ทางออกประเทศ

เมื่อ'ทหาร'มอง'ปฏิวัติ'ไม่ใช่ทางออกประเทศ

"ทหาร" มักเป็นตัวเลือกสุดท้าย ในสถานการณ์วิกฤติ ความวุ่นวาย และความไม่สงบทางการเมือง จนประเทศไม่มีทางออก และหลายครั้งที่ "กองทัพ" จะได้รับการเรียกหา หรือมอบตำแหน่ง "อัศวิน" ขี่ม้าขาว เพื่อมาพยุงประเทศ ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกันที่มีคนบางกลุ่ม บางฝ่าย พยายามทำให้เหตุการณ์ไปสู่จุดนั้น ขณะที่ ผู้นำเหล่าทัพในยุคนี้ กลับมองภาพ การรัฐประหาร ไม่ใช่การแก้ไขปัญหา หรือชี้ทางออกให้ประเทศ...

หลายครั้งที่ภาพความขัดแย้งทางการเมือง จบลงด้วยทหาร นำรถถัง พร้อมกำลังพลถือปืน เข้ามายุติปัญหา ยึดประเทศด้วยการรัฐประหาร ล้างไพ่ ล้มกระดาน เซตซีโร่ เร่ิ่มต้นทางการเมืองกันใหม่ แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอด ประเทศถดถอย ล้าหลัง ตามเพื่อนบ้านไม่ทัน

แต่หลายเหตุการณ์ ก็ต้องพึ่งทหาร เพื่อออกมาดูแลความสงบเรียกร้อย ไม่ว่าจะเป็น การโกงกิน การคอร์รัปชัน ของนักการเมือง จนนำไปสู่การปฏิวัติเมื่อ 19 ก.ย. 49 จนนำมาสู่จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งที่ไม่จบสิ้น จนถึงทุกวันนี้ นำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงสุดท้ายก็ต้องเป็นคนในกองทัพ ออกมาควบคุมสถานการณ์

เริ่มจากเหตุการณ์ 25 พ.ค.-6 ตุลา 51 ที่ พธม.ดาวกระจาย จนล้มรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช จากนั้นทหารก็ต้องออกมาดูแลรัฐบาล สมชาย วงศ์สวัสดิ์ จนมาถึง 11 มี.ค.-13 เม.ย.52 ทหารต้องออกมารักษาความสงบอีกครั้งที่ รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดนม็อบ นปช. คนเสื้อแดง

จนเหตุการณ์ เมื่อ 10 เม.ย.-19 พ.ค.53 ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่กลุ่มคนเสื้อแดงออกมา จนทหารต้องทำงานหนัก จนมีคดีฟ้องร้องกันอยู่ในศาล และดีเอสไอ

เมื่อติดตามจะพบว่า ทุกครั้งที่เกิดความขัดแย้งทางการเมือง จะเริ่มมาจากพรรคการเมือง 2 ฝ่าย คน 2 ขั้ว โดยมาจากเรื่องทางการเมืองเดิมๆ คือ ผลประโยชน์ของพรรคพวก คนใกล้ชิด โดยที่ชาวบ้านไม่รู้เรื่องใดๆ แต่ต้องได้รับผลกระทบ เพราะเพียงต้องการเอาชนะคะคานกัน จนเข้าสู่โหมดแตกหัก

ล่าสุดภาพการนำมวลชนจำนวนมากของแกนนำ 3 เวที บนถนนราชดำเนิน ที่นำมวลชนม็อบไปบุกยึดสถานที่ราชการหลายแห่ง ในเวลาเดียวกัน ปิดถนน จัดตั้งเวที ปักหลักค้างคืน ทำให้ภาพการเมืองไทย ดูอ่อนไหว ต่อสายตาชาวโลกอีกครั้งทันที

โดยเพียงแค่นำประเด็น จากการออกกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง เป้าหมายเพื่อล้มล้างความผิดให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เอาผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียนับแต่เหตุการณ์รัฐประหารครั้งล่าสุด รวมไปถึงเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 เป็นฐาน จนกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียว นำไปสู่ความวุ่นวายทั้งหมด จนไม่ทีท่าว่าเหตุการณ์ ณ ปัจจุบัน จะจบลงได้ยังไง

จึงทำให้มีเสียงถามหาบทบาทของอัศวินม้าขาว "ทหาร" เวลานี้ ว่าทำอะไรอยู่ ควรจะดำเนินการอะไรสักอย่างหรือไม่ เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข และถึงเวลาที่จะออกมาได้หรือยัง ….โดยเฉพาะผู้นำเหล่าทัพ

เป็นธรรมดาที่ความขัดแย้งของทั้ง 2 ฝ่ายต้องการดึงกองทัพ ดึงทหาร เป็นฐาน เป็นพวก สิ่งเหล่านี้ จึงทำให้ ผบ.เหล่าทัพ ต้องตัดสินใจให้ถ่องแท้

ขณะที่ "บิ๊กตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ก็ดูเงียบไป ในท่ามกลางความขัดแย้งที่รุนแรง เพราะหากอย่างเป็นธรรม "บิ๊กตู่" ก็คงลำบากใจ เพราะในส่วนลึก เขามีความสนิทสนมกับคนทั้ง 2 ฝ่าย ประการแรก เป็นข้าราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม ถือเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯและรมว.กลาโหม ขณะที่ส่วนตัวก็สนิทกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อครั้งทำงาน ศอฉ.ร่วมกัน

จึงเชื่อว่า บทบาท พล.อ.ประยุทธ์ ณ เวลานี้ อยู่ในภาวะคิดหนัก และทุกอย่างต้องตัดสินใจให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด เพราะหากเอียงไปฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ก็จะถูกข้อครหา จึงทำให้บทบาทตอนนี้อยู่ในช่วงกลืนไม่เข้า คายไม่ออก เพราะทั้งสังคม และมวลชน ต่างหวังให้ทหารออกมาเป็นพระเอกขี่ม้าขาว แก้ไขวิกฤติทางการเมือง ล้มกระดานอำนาจ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนขั้วอำนาจ

ภาวะการตัดสินเพื่อประเทศจึง ตกหนักที่ "ผบ.เหลาทัพ" จึงต้องมีการหารือกันอย่างใกล้ชิด และตกลงใจเพื่อให้ประเทศเดินไปได้ การเมืองมีทางออก สุดท้ายจึงเห็นว่า ยังมีทางออก และให้ทางตำรวจ ที่ดูแล ศอ.รส. เป็นผู้ดูแล สถานการณ์ความมั่นคงภายในทั้งหมด

หากเป็นภาพที่ทหารออกไป รักษาความสงบ ดูจะรุนแรง และกองทัพ ก็ไม่ต้องการให้เกิดภาพเช่นนั้น จึงพยายามยืนดูอย่างห่างๆ

ทิศทางของกองทัพ จึงต้องวางตัวให้เป็นกลางที่สุด และเชื่อว่า บทบาทของ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะพี่ใหญ่ ที่ได้พูดคุยกับ ผบ.เหล่าทัพ ทั้ง พล.อ.นิพันธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.ทหารสูงสุด พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผบ.ทร. และ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. จึงมีจุดยืนไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งการคอมเมนต์ การวางตัว การแสดงออก จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

ขณะเดียวกันกองทัพก็ไม่ประมาท เพราะด้วยสถานการณ์ที่ล่อแหลม และอ่อนไหว จึงมีการตระเตรียมกำลังแบบพร้อม 24 ชม.ภายในหน่วยทุกหน่วย โดยหากเหตุการณ์ไม่เอื้ออำนวย เกิดสงครามการเมืองกองทัพ สามารถเรียกทหารออกจากหน่วยได้ตลอดเวลา โดยที่ พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก(ศปก.ทบ.) สำรอง ชั่วคราวขึ้นภายใน กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) เพื่อรองรับการทำงานของกรมฝ่ายเสนาธิการ และติดตามสถานการณ์ต่างๆ โดยมีทั้งฝ่ายยุทธการ การข่าว ส่งกำลังบำรุง และหน่วยในกองทัพภาคที่ 1 มอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมทุกจุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

และให้ความสำคัญ ไม่ให้มือที่สาม หรือกลุ่มไม่หวังดีสร้างสถานการณ์ หรือดำเนินการอะไรเกี่ยวกับการจาบจ้วง หรือตัดต่อภาพที่หมิ่นต่อสถาบันเด็ดขาด

นี้คือบทสรุป บทบาทหน้าที่กองทัพ ในยามสถานการณ์บ้านเมือง ที่อ่อนไหว แต่ในฐานะทหาร จะต้องเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวเหตุการณ์ และสถานการณ์ อย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะดูแลประชาชน ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง หรือเกิดการปะทะกันจนลุกลามนำไปสู่การจลาจลภายในประเทศ ซึ่งไม่มีใครอนาคตของเหตุการณ์ได้ เพราะนักการเมืองยังคงเป็นเช่นนี้ ก็มีโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นทุกเวลา

พล.อ.ประยุทธ์ จึงต้องออกแรง เตือนไว้ว่า ผู้หนึ่งผู้ใดที่จะใช้ความรุนแรง คิดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือคนที่เป็นอันตรายต่อชาติและแผ่นดิน พร้อมขอให้ทุกคนหาบุคคลเหล่านี้ให้เจอ และไม่ปล่อยให้สถานการณ์เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเหมือนปี 2553 ที่ต้องหาผู้รับผิดชอบ และผู้ที่ใช้ความรุนแรงให้ได้ ทหารจะทำความเข้าใจ เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงครั้งใหม่เกิดขึ้นอีก

โดยจุดยืนของผู้นำทางทหารชัดเจนว่า ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว และไม่ได้เป็นกองหนุนให้ฝ่ายใด กลุ่มมวลชนที่คิดหวังพึ่งให้ทหารออกมาล้มกระดาน เรียกกระแส ให้ทหารออกมายึดอำนาจอีก ทหารไม่เลือกข้าง ไม่เข้ามาเป็นคณะกรรมการตัดสิน หรือห้ามทัพ เลยไปถึงเข้ามาดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยเหมือนที่มีบางฝ่ายกำหนดเกมไว้.




 

Create Date : 27 พฤศจิกายน 2556
0 comments
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2556 6:01:21 น.
Counter : 1327 Pageviews.


amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.