พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
กันยายน 2556
 
25 กันยายน 2556
 
All Blogs
 
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ แจงปมถอดถอน-โหวตวาระ3

สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ แจงปมถอดถอน-โหวตวาระ3

สัมภาษณ์พิเศษ



สุนัขจิ้งจอกพยายามกล่าวหาลูกแกะว่าเป็นต้นเหตุให้น้ำขุ่น ทั้งที่ ลูกแกะยืนกินน้ำอยู่ปลายน้ำ แต่สุนัขจิ้งจอกอยู่ต้นน้ำ เรื่องของสภาก็ทำนองเดียวกัน





"โคตรเบื่อ" เสียงบ่นดังๆ ผ่านสื่อของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา หลังเผชิญกับการประชุมรัฐสภาแก้รัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. ที่ผ่านวาระ 2 รอโหวตวาระ 3



การทำหน้าที่ "ท่านประธาน" ท่ามกลางความขัดแย้งสูง 2 ขั้ว เปิดเกมแลกหมัดกันทั้งในและนอกสภา กดดันแค่ไหน



นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ชี้แจงทุกปมร้อนที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง ทั้งกรณีถูกยื่นถอดถอน การโหวตร่างแก้ที่มาส.ว.วาระ 3 และแผนรับมือสภาป่วนในอนาคต





ประชาธิปัตย์มองการทำหน้าที่ของประธานรัฐสภา ไม่เป็นกลาง จึงยื่นถอดถอน



คนเห็นกันทั้งประเทศว่ายื้อกันสุดๆ มีพรรคประชาธิปัตย์พรรคเดียวมองไม่เห็นและกล่าวหาว่ารวบรัดตัดตอน จากขาวกลายเป็นดำ เขาไม่ให้เรานับหนึ่งได้เลย จนต้องมีการเรียกตำรวจรัฐสภาเข้ามาควบคุม ภาพที่ออกมาก็ทำให้รัฐสภาเสียหาย



ถามว่ามีทางเลือกอื่นหรือไม่ถ้าสมาชิกไม่ทำตามข้อบังคับ ประธานในที่ประชุมวินิจฉัยแล้วก็ยังโต้เถียงตลอดทั้งที่ พยายามใช้ศิลปะทำหน้าที่ ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ แต่บางสถานการณ์ก็เฉียบขาดเพื่อให้การประชุมเดินหน้าต่อไปได้



สื่อที่มองว่าประธานคุมไม่อยู่ก็อยากให้ดูมุมกลับด้วยว่าประธานคุมไม่อยู่ หรือฝ่ายค้านไม่ยึดกติกา ถึงจุดหนึ่งก็ต้อง เด็ดขาด



คำร้องของส.ส.ประชาธิปัตย์ครั้งนี้ก็เหมือนนิทานอีสป เรื่อง สุนัขจิ้งจอกกับลูกแกะ ที่สุนัขจิ้งจอกพยายามกล่าวหาลูกแกะว่าเป็นต้นเหตุให้น้ำขุ่น ทั้งที่ลูกแกะยืนกินน้ำอยู่ปลายน้ำ แต่สุนัขจิ้งจอกอยู่ต้นน้ำ เรื่องของสภาก็ทำนองเดียวกัน



จึงเชื่อว่าหลังจากนี้ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน



นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ก็ถูกยื่นถอดถอนเพราะวินิจฉัยไม่ตรงกัน



ข้อเท็จจริงต้องย้อนไปในการอภิปรายมาตรา 3 ที่วกวนซ้ำซาก นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย จึงเสนอปิดอภิปราย แต่ผมเห็นว่าควรประนีประนอมจึงขอให้นายพิเชษฐ์ถอนคำพูดโดยยังไม่ได้วินิจฉัยอะไร



เมื่อจบมาตรา 3 ขึ้นมาตรา 4 ก็มีส.ว.เสนอให้ลงมติมาตรา 4 ต่อทันที เนื่องจากเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกันทั้งสองมาตราจะเป็นการอภิปรายซ้ำ ผมวินิจฉัยว่าทำไม่ได้ ส่อขัดรัฐธรรมนูญ ลิดรอนสิทธิ จึงไม่อนุญาต



ผมวินิจฉัยในประเด็นที่ยังไม่มีการอภิปรายแต่สมาชิกเสนอปิดอภิปราย แตกต่างกับการวินิจฉัยของรองประธานรัฐสภา มาตรา 5 ที่มีการอภิปรายมากพอสมควรแล้ววกวนซ้ำซาก เมื่อสมาชิกจะเสนอปิดอภิปรายนายนิคมจึงเสนอถามความเห็นที่ประชุม ไม่ได้ใช้อำนาจปิดอภิปรายเลย



ดังนั้น ผมยังไม่เคยวินิจฉัยประเด็นเดียวกับนายนิคม การอ้างว่าวินิจฉัยไม่ตรงกันเอาคนละเรื่องมาเปรียบเทียบกัน



นอกจากการอภิปรายมาตรา 10 ที่วินิจฉัยตรงกับนายนิคมในการประชุมวันสุดท้าย 11 ก.ย. แล้วอย่างนี้จะไม่ให้ผมตั้งใจบ่นว่า "โคตรเบื่อ" ได้อย่างไร แต่ผมก็ท้อไม่ได้



ระยะหลังการประชุมวุ่นวายวางแผนรับมืออย่างไร



ถ้าเป็นไปได้อาทิตย์ต่อๆ ไป วันจันทร์ วันอังคาร จะเป็นการประชุมร่วมรัฐสภาที่มีผมและนายนิคมทำหน้าที่ ส่วนวันพุธ วันพฤหัสบดี เป็นการประชุมสภาตามเดิม เป็นหน้าที่ของรองประธานสภาผู้แทนราษฎร และวันศุกร์ให้เป็นการประชุมวุฒิสภา



ดังนั้นใน 1 อาทิตย์ ผมจะทำหน้าที่ 2 วัน เช่นเดียวกับรองประธานสภา 2 คน นายนิคมก็ 2 วันเหมือนกัน แบ่งกันบริหารการทำงาน



ถ้าวิปรัฐบาลไม่ขัดข้องและเห็นด้วยก็อาจเริ่มมาตรการดังกล่าวต้นเดือนต.ค. เพราะวาระการประชุมร่วมรัฐสภามีเรื่องพิจารณามาตลอดสมัยอยู่แล้ว ที่ผ่านมาการประชุมเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3-4 ฉบับก็ลากยาวได้ตลอดสมัยแล้ว



การประชุมสภาผู้แทนฯ ก็ลากยาวตลอดสมัยเหมือนกัน ทั้งการประชุม 2 ล้านล้าน การแถลงผลงานของรัฐบาล หรือแม้แต่การพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม การประชุมก็คงจะคู่ขนานไปอย่างนี้อีกยาว



แต่ถ้าวิปรัฐบาลไม่เห็นด้วยก็คงต้องให้เหตุผลและพิจารณาไปตามความเหมาะสม เพราะเรื่องนี้ไม่มีอะไรแอบแฝง เป็นเรื่องของการบริหารจัดการเวลา การจัดการชีวิตมากกว่า



เพราะหากเป็นไปตามข้อเสนอ ทุกคนสามารถบริหารเวลาตัวเองได้ไม่ต้องรอประสานหารือก่อนแล้วมานัดวันต่อวันอย่างที่เป็นอยู่



กระแสเรียกร้องให้เปลี่ยนตัวประธานรัฐสภาจากในพรรคเพื่อไทย



ไม่เคยได้ยินผู้ใหญ่ในพรรคมาบอกสักคน มีแต่เสียงบ่นการทำหน้าที่บ้าง ซึ่งจะไปถูกใจทุกคนไม่ได้



และพรรคก็รู้ว่าเปลี่ยนไม่ได้อยู่แล้ว จะเอาอำนาจอะไรมาเปลี่ยนเพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และเปลี่ยนไม่ได้ จึงไม่ต้องไปเคลียร์อะไรกับพรรคเพราะไม่มีใครมาพูดเรื่องนี้กับผม



ตั้งแต่ทำหน้าที่มาก็ยังมองไม่เห็นว่าไม่ทันเกมพรรคประชาธิปัตย์ตอนไหน มีแต่สอนเกมด้วยซ้ำ การประชุมยืดเยื้อถือว่าเป็นศิลปะ ต้องมีผ่อนบ้างเข้มบ้าง ไม่อย่างนั้นก็ต้องเรียกตำรวจรัฐสภาทุก 10 นาที ซึ่งการประชุมก็ผ่านไปได้เรียบร้อย



เตรียมรับมือกรณีถูกยื่นถอดถอนและการโหวตแก้รัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาส.ว.ในวาระ 3 อย่างไร

ไม่มีอะไรต้องเตรียม มีแต่ข้อเท็จจริง ถ้าศาลรัฐธรรมนูญให้ทำคำชี้แจงก็พร้อมนำข้อเท็จจริง ภาพและเสียงการประชุมให้ศาล และแน่นอนว่าจะเดินหน้าโหวตวาระ 3 ตามกรอบรัฐธรรมนูญ



ประเด็นแก้ที่มาส.ว. ปชป.ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ

อะไรที่รัฐบาลทำตอนนี้ฝ่ายค้านก็อ้างว่า"ผิด"ไว้ก่อนเสมอ การอ้างมาตรา 68 ที่ระบุว่า "บุคคลใดจะใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้"



บุคคลหมายถึงประชาชนทั่วไป เป็นเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย ถ้านำไปร้องม็อบที่ก่อความวุ่นวาย เผารถ เผาโรงพัก เผาสถานที่ราชการ ทำได้ และต้องร้องผ่านอัยการสูงสุด



ไม่เกี่ยวกับสมาชิกรัฐสภาที่สามารถใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ให้สมาชิกแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ดังนั้นขัดรัฐธรรมนูญ ตรงไหน



ประชาธิปไตยแบ่งอำนาจเป็น 3 ฝ่าย บริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ แต่ละฝ่ายมีอำนาจหน้าที่ชัดเจน เหมือนศาลที่ถูกเลือกมาให้พิจารณาคดี เป็นอำนาจที่ใครจะก้าวล่วงวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ แต่ทำไมฝ่ายนิติบัญญัติที่ประชาชนเลือกเข้ามาถึงถูกก้าวล่วงได้



ถูกมองว่าพยายามท้าชนศาล

ตัวอย่างการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 วาระ 3 ที่ผ่านมา เป็นอำนาจของสมาชิกรัฐสภาโดยตรงตามมาตรา 291 ใครก้าวก่ายไม่ได้ ถึงบอกว่าศาลก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติโดยไม่มีอำนาจ แล้วทำไมต้องไปฟัง



ถ้าอ้างอำนาจตามมาตรา 68 ก็เป็นมาตราที่ใช้กับประชาชนทั่วไปไม่ให้ใช้สิทธิเสรีภาพเกินกว่ากรอบกฎหมาย แต่กลายเป็นว่ามาร้องสมาชิกรัฐสภาที่ทำตามอำนาจรัฐธรรมนูญ อ้างมาตรา 68 และไม่ต้องผ่านอัยการ เลยเละแบบนี้



อีกทั้งศาลมีคำวินิจฉัยให้แก้เป็นรายมาตรา ตอนนี้ก็ได้ทำตามคำแนะนำ แต่เมื่อมีเหตุแบบนี้อีกก็ต้องถามกลับไปว่าแล้วจะให้รัฐสภาทำอย่างไร เราไม่ท้าชนศาล แต่ฝ่ายนิติบัญญัติอยู่ดีๆ เขาเข้ามาแทรกเอง ก็ไม่มีทางเลือกต้องเดินตามกรอบรัฐธรรมนูญคือโหวตวาระ 3



หากศาลมีคำสั่งให้ชะลอจะเดินหน้าโหวตหรือไม่

คงเป็นอื่นไม่ได้ต้องลงมติในวาระ 3 ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าหลังที่ประชุมพิจารณาวาระ 2 ไปแล้ว 15 วัน ให้มีการลงมติวาระ 3 ต่อ การเดินหน้าลงมติไม่ใช่การท้าชน ฝ่ายนิติบัญญัติทำไปตามอำนาจหน้าที่



กำหนดวันลงมติวาระ 3 แล้วหรือไม่

ยัง ตามกำหนดครบ 15 วัน หลังจากการพิจารณาวาระ 2 วันที่ 27 ก.ย. ฉะนั้นเร็วที่สุดสามารถโหวตวันแรกได้ตั้งแต่ วันที่ 28 ก.ย. แต่ไม่ได้คิดจะโหวตในวันดังกล่าว เพราะมีคณะกรรมาธิการของสภาหลายชุดติดภารกิจเดินทางไปต่างประเทศ ต้องรอวันที่ทุกฝ่ายพร้อมที่สุดก่อน



Create Date : 25 กันยายน 2556
Last Update : 25 กันยายน 2556 3:34:05 น. 0 comments
Counter : 1059 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.