สมาตมนักลงทุนเน้นคุณค่า(แห่งประเทศไทย) ปี2557

ประกาศแต่งตั้งกรรมการสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ชุดใหม่

จากการประชุมกรรมการสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ประจำปี 2556
เพื่อความเหมาะสมในการดำเนินงานของสมาคมฯ
และทดแทนกรรมการและอนุกรรมการสมาคมฯ ชุดเก่า
ที่กำลังจะหมดวาระ ได้มีการเสนอและลงมติรับรอง
แต่งตั้งกรรมการสมาคมฯ ชุดใหม่ดังนี้

1. คุณอนุรักษ์ บุญแสวง นายกสมาคมฯ (ลูกอิสาน)

2. คุณชาย มโนภาส อุปนายกสมาคมฯ (คนขายของ)

3. คุณณภัทร ปัญจคุณาธร เหรัญญิกและกรรมการฯ (Kao)

4. คุณสรวุฒิ เลิศพลังสันติ นายทะเบียนและกรรมการฯ (sorawut)

5. คุณณัฐชาต คำศิริตระกูล เลขานุการและกรรมการฯ (mario)

6. คุณศุภศักดิ์ หล่อธนวณิชย์ กรรมการฯ (crazyrisk)

7. คุณวีระพงษ์ ธัม กรรมการฯ (Linzhi)

8. คุณทศวรรษ ทองสุข กรรมการฯ (todto)

9. คุณภาคย์ภูมิ ศิริหงษ์ทอง กรรมการฯ (roadtobillion)

10. คุณพรนภา ทรัพย์ดี กรรมการฯ (BE FREE)

11. คุณตรีนุช วงศ์สารคาม กรรมการ (Theenuch)

ซึ่งให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 57 เป็นต้นไป


จึงเรียนมาเพื่อทราบ
สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)

_________________
ขอแสดงความนับถือ
ทีมงาน THAI VI
___________________________________________________________________________

เฟสบุ๊ค //www.facebook.com/photo.php?fbid=126978844114464&set=a.109314975880851.19311.100004070474611&type=3&theater#!/Thaivi.org

เว็บไซด์ //www.thaivi.org/

เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/groups/ThaiviOrg/




 

Create Date : 11 กรกฎาคม 2557   
Last Update : 26 กรกฎาคม 2557 19:05:44 น.   
Counter : 2462 Pageviews.  


ย้อนอดีต ก่อนก่อตั้งสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย)

(เปิดอ่านผ่านโปรแกรม Google chrome )

การรวมตัวก่อตั้งเว็บThaiVi
ดำเนินการตั้ง ชมรมนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า

ผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จ ยุคก่อร่างสร้างเว็บ
ผู้ทำประโยชน์ให้เวป //www.thaivi.org/

ท่านอาจารย์ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ท่านอาจารย์ ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา
คุณธันวา เลาหศิริวงศ์
คุณพีรนาถ โชควัฒนา
คุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข
คุณมนตรี นิพิฐวิทยา
คุณวิบูลย์ พึงประเสริฐ
คุณธวัชชัย ชีวานนท์
คุณสกล งามเลิศชัย
คุณประจวบ ทรงคุณเกียรติ
คุณครรชิต ไพศาล
คุณฉัตรชัย วงศ์แก้วเจริญ
คุณชาญกิจ  ยงปิยะกุล
คุณปรัชญา ฤกษ์ดีทวีทรัพย์
คุณนพสิทธิ์ เจตสินไพศาล
คุณสันติ สิงหวังชา
คุณairazoc


และหลายๆท่านที่ยังไม่ได้กล่าวถึง
รวมถึงทีมงานโหมดทุกท่าน ที่กรุณาร่วมด้วยช่วยงานเว็บ
เสียสละเวลาช่วยงานเว็บโดยไม่ได้เงินหรือสิ่งตอบแทนทำด้วยใจ
แบบจิตอาสา เสียสละเพื่อสังคมส่วนรวม

ประมาณปี 2545

คุณมนตรี นิพิฐวิทยา
ดำรงตำแหน่งประธานชมรมนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า
คุณชาญชัย ยงปิยะกุล (CK) ฝ่ายเทคนิคเว็บมาสเตอร์
คุณนิติพล ศรัทธาพร (นักดูดาว)
คุณนพสิทธิ์ เจตสินไพศาล (โครงการห้องร้อยคนร้อยหุ้น)
คุณบอล
คุณคัดท้าย
คุณyoyo
คุณปรัชญา(โครงการห้องบทความ)
คุณกระทิงแดง
ฯลฯ



คุณมนตรี นิพิฐวิทยา
ประธานชมรมนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า



คุณบำรุง ศรีงาน
ประธานชมรมนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า




คุณสุทัศน์ ขันเจริญสุข
ประธานชมรมนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า

________________________________________________________________________

เปลี่ยนจาก...ชมรมนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า
มาเป็น สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย)

สำหรับตอนก่อตั้งสมาคม หาสถานที่ ซื้ออุปกรณ์ เฟอร์นิเจอร์
รับพนักงาน พัฒนาเวบหน้าแรกโฉมใหม่ ติดต่อธุรกรรมต่างๆ
คุณ ธวัชชัย เลิศรุ่งเรือง ที่เป็นกรรมการและขอลาออก
พร้อมคุณธันวา ส่งพนักงานบริษัทเขาช่วยทำหมดเลย
ตอนจัดตั้งสำนักงานจึงมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
เสร็จเรียบร้อยภายในเวลาไม่กี่เดือน



คุณธันวา เลาหศิริกุล
ประธานสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(แห่งประเทศไทย)



คุณอนุรักษ์ บุญแสวง
ประธานสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(แห่งประเทศไทย)

The team ส่วนงานเว็บ ปี2556




ส่วนงานของสมาคมฯ ปี2555-57

https://www.facebook.com/Thaivi.org?fref=ts

รายชื่อคณะกรรมการรุ่นที่ 1 (วาระ 2 ปี).

บันทึกไว้เมื่อ 3 กรกฎาคม 2012



ที่ปรึกษาสมาคม

1. อาจารย์ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา

2. อาจารย์นิเวศน์ เหมวชิรวรากร



1. นายอนุรักษ์ บุญแสวง นายกสมาคม

2. นายประมุข วงศ์ธนะเกียรติ อุปนายก

3. นายฉัตรชัย วงแก้วเจริญ อุปนายก

4. นายณัฐชาต คำศิริตระกูล กรรมการและเลขาธิการ

5. นางอังสินี อภิวัชรกุล กรรมการและเหรัญญิก

6. นายพรชัย รัตนนนทชัยสุข กรรมการ

7. นายศุภศักดิ์ หล่อธนวณิชย์ กรรมการ

8. นางภาสุชา อุดรวณิช กรรมการ

9. นายเสริฐสรรพ์ อภิวัชรกุล กรรมการ

10. นายวีระพงษ์ ธัม กรรมการ

11. นายณภัทร ปัญจคุณาธร กรรมการและนายทะเบียน

________________________________________________________________________

กิจกรรมทางสังคม

การเผยแพร่แนวคิดการลงทุนเน้นคุณค่า

ผลิตรายการเจาะแก่นVI
https://www.facebook.com/johkanvi

ร่วม รายการVi สายดำ
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B3/257682934354653

________________________________________________________________________

จัดกิจกรรมอบรมคอร์ส การลงทุนเน้นคุณค่า อบรม5วัน

สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)

ขอเชิญเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investing)

หลักสูตรอบรม 5 วันเต็มสำหรับนักลงทุนแบบเน้นคุณค่ามือใหม่ที่มุ่งมั่น
หลักสูตรการลงทุน เพื่อนักลงทุน ที่สอนโดยนักลงทุน ที่ประสบความสำเร็จ
ในตลาดหุ้นไทยมาอย่างยาวนาน

หัวข้อการอบรม :

แนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
- อ. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

การวิเคราะห์อุตสาหกรรม ธุรกิจ และผู้บริหาร
– อ. คเชนทร์ เบญจกุล (IH)

การวิเคราะห์งบการเงิน
– อ. ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ (chatchai)

การประเมินมูลค่าหุ้น
– อ. พีรยุทธ เหลืองวารินกุล (picatos)

การบริหารพอร์ตโฟลิโอและจิตวิทยาการลงทุน
– อ. อนุรักษ์ บุญแสวง (ลูกอิสาน)

จริยธรรมกับการลงทุน
- อ. ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา

การนำเสนอการวิเคราะห์หุ้นพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะ
และความคิดเห็นจากคณะอาจารย์

อบรมวันที่ 12, 13, 19, 20 และ 27 มกราคม 2556 เวลา 9.00-16.00 น.
ที่โรงแรม แกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน

ค่าธรรมเนียมการอบรม บุคคลทั่วไปคนละ 15,000 บาท
สมาชิกสมาคมฯ ได้รับส่วนลดพิเศษเหลือเพียงคนละ 12,000 บาท

(มีการปรับราคาเนื่องจากสมาคมต้องเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและมีต้นทุนเพิ่มเติมเกิดขึ้น)

รายละเอียดเพิ่มเติม : Thai Value Investor Webboard • View topic – *เต็มแล้ว* อบรมหลักสูตรการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 2

( ขอขอบพระคุณ ผู้ริเริ่มโครงการดีๆ โดย คุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข )
________________________________________________________________________

MONEY TALK - 10 ปี ThaiVI

https://www.youtube.com/watch?feature=player_detailpage&v=LgYkyEhpJhM#t=8





มีเวลาว่างเมื่อไหร่จะมาเขียนต่อ..
ข้อมูลทั้งหมดหากขาดตกบกพร่องไม่ตรงตามความเป็นจริง
ส่งคำแนะนำเพื่อการปรับปรุงแก้ไขได้ที่...
https://www.facebook.com/prachaya.roekdeetaweesub







 

Create Date : 05 กันยายน 2556   
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2556 22:37:43 น.   
Counter : 5224 Pageviews.  


สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย) ตอน 4


เรียน เพื่อนสมาชิก สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ทุกท่าน

ผมได้รับการชักชวนให้มาช่วยเหลืองานสมาคม เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาและยินดีรับอาสาด้วยความเต็มใจเพราะคิดว่าประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา น่าจะมีส่วนช่วยให้สังคมนักลงทุนเน้นคุณค่าไทยที่กำลังเปลี่ยนผ่านช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ นั่นก็คือการจัดตั้งสมาคมฯ อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังเห็นด้วยกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสมาคมฯ ที่ไม่ได้ต้องการ "ให้หรีอเผยแพร่" ความรู้แนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่าเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีวัตถุประสงค์สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ต้องการ "ให้หรือแบ่งปัน" แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคมไทยทั้งด้านการศึกษาและด้านการแพทย์ วัตถุประสงค์ "2 ให้" เป็นสิ่งพิสูจน์ได้ดีว่า สังคมแห่งนี้ไม่เพียงแค่แสวงหาผลกำไรจากการลงทุน แต่ยังต้องการเป็น่ส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือสังคมตามกำลังที่ทางสมาคมทำได้ และนี่ก็คือแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้กรรมการและอนุกรรมการทุกท่านมีจิตอาสา เสียสละเวลา ทำงานโดยไม่ได้หวังผลตอนแทนอย่างหนึ่งอย่างใด นอกจากนี้ สมาคมยังได้รับเกี่ยรติอย่างสูงจากที่ปรึกษาสมาคมที่ทรงคุณวุฒิทั้งในแง่ความรู้ ความสามารถ จิตใจดีและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ทั้งสองท่านคือ อาจารย์ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนาและอาจารย์นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผมขอแสดงความขอบคุณท่านอาจารย์ทั้งสอง กรรมการ และอนุกรรมการทุกท่านที่ได้ร่วมแรงร่วมใจจนทำให้เป็นสมาคมของนักลงทุนคุณค่าไทยอย่างสมบูรณ์ดังเช่นในปัจจุบัน

ปัจจุบัน สมาคมมีโครงสร้างรับผิดชอบแต่ละส่วนงานอย่างสมบูรณ์ โดยมีกรรมการทุกท่านต่างที่มีความรับผิดชอบสูงในส่วนงานของตน กิจกรรมที่สมาคมจัดขึ้นล้วนได้รับการตอบรับอย่างดีจากเพื่อนสมาชิก ทั้งในด้านความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมและในด้านคุณภาพของกิจกรรมที่จัดขึ้น ผมรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสร่วมงานกับกรรมการ อนุกรรมการ และเพื่อนสมาชิกทุกท่านในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ภาระกิจของสมาคมในช่วงจัดตั้งได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ผมขอถือโอกาสนี้แจ้งข่าวให้เพื่อนสมาชิกสมาชิกทุกท่าน (กรรมการและอนุกรรมการได้รับทราบเมื่อ 2-3 เดือนก่อนหน้า) ถึงความประสงค์ที่จะไม่รับหน้าที่ในตำแหน่งนายกสมาคมตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ทั้งนี้ทางสมาคมจะได้มีการพิจารณาและมีกระบวนการสรรหานายกสมาคมคนใหม่ที่มีความเหมาะสมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของสมาคมและประสบความสำเร็จยิ่งๆ ขึ้นไป

ผมขอถือโอกาสนนี้เรียนให้สมาชิกทุกท่านทราบถึงผู้ที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของสมาคมที่ทั้งเสียสละเวลา ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เพื่อทำให้สมาคมเป็นสมาคมของนักคุณเน้นคุณค่าที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง และมีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิกสมาคมทุกท่านและนักลงทุนผู้สนใจทั่้วไป

- คุณฉัตรชัย chatchai เลขาฯ ที่อยู่เบื้องหลังและขับเคลื่อนให้สมาคมอยู่ในกฏ ระเบียบที่ถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้
- น้องกานต์ Mario ในการจัดการบริหารงานสมาคมทั่วไป งานสมาชิก สำนักงานสมาคมตลอดจนการดูแลเจ้าหน้าที่สมาคม
- คุณหลิน Kongkang และคุณขาว Kao ในด้านบัญชี การเงิน รายรับ-รายจ่าย VAT งานทะเบียนสมาชิก
- คุณหมอมุข Paul VI และทีมงานอนุกรรมการมอด ในการดูแลความเรียบร้อยการโพสต์ข้อความของสมาชิก
- น้องภา Kiri และทีมงานอนุกรรมการ สำหรับกิจกรรมเยี่ยมชมกิจการ ที่เป็นประโยชน์แต่สมาชิกอย่างมีระบบ และทั่วถึง
- หมอเค Crazyrisk และทีมงานอนุกรรมการ สำหรับกิจกรรมพบปะสังสรรค์ในหมู่สมาชิกและความรู้ีที่เป็นประโยชน์ในการลงทุน
- คุณโจ ลูกอิสาน สำหรับกิจกรรมพบปะสังสรรค์ภาคใต้ ข้อระเบียบสมาคม และต่างจังหวัดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
- คุณหนิง Little Wing และอนุกรรมการ สำหรับบทความดีๆ ที่หลากหลายมากขึ้นดี ที่เป็นประโยชน์ต่อแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
- คุณพรชัย WEB และทีมงานสำหรับ สัมมนาการลงทุนเชิงปฏิบัติที่ได้รับการตอบรับที่และประสบความสำเร็จอย่างมาก ทั้งในด้านเนื้อหา วิชาการ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้สนใจเข้าอบรม
- น้องหลิน Linzhi น้องกานต์และทีมงานอนุกรรมการ ทีมงานวีไอสายดำ ที่ร่วมมือกับกรุงเทพธุรกิจทีวีผลิตรายการ VI คุณภาพ ทุกสัปดาห์ นอกจากนี้ น้องหลินและน้องกานต์ยังช่วยรับผิดชอบเว็ปใหม่หน้าแรกของสมาคมและหมวดหมู่ใหม่ที่จะเปิดในบริการสมาชิกในไม่กี่วันข้า่งหน้านี้
- คุณหมอเคและน้องภา ยังเริ่มทำโครงการที่จะผลิตรายการทีวีเพื่อนักลงทุนเน้นคุณค่าที่คาดกว่าจะมีการอากาศในต้นปีหน้า เช่นกัน
- คุณเอก และทีมงานทของคุณเออที่ช่วยจัดหา จัดการ ประสานงานสถานที่ตั้งสมาคม จัดหาอุปกรณ์ รับสมัครเจ้าหน้าที่ ตลอดจนพัฒนาระบบและการจัดหมวดหมู่เว็ปของสมาคมใหม่

นอกจากนี้ ผมขอขอบคุณสมาชิกสมาคมทุกท่านที่ให้ความสนใจวัตถุประสงค์และสนับสนุนกิจกรรมของสมาคมฯ อย่างดียิ่ง ปัจจุบันมีผู้สมัครสมาชิก 1, 3, 5 ปีและสมาชิกนักเรียน นักศึกษา มากกว่า 4,000 คน และน่าจะมีจำนวนสมาชิกที่สนใจในวัตถุประสงค์และกิจกรรมของสมาคมเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

อนึ่ง ผมขอขอบคุณกรรมการสมาคมทุกท่านที่พิจารณาและอนุมัติในการนำเงินรายได้จากค่าสมัครสมาชิก กิจกรรมพบปะสังสรรค์ กิจกรรมอบรมสัมมนา หลังหักค่าใช้จ่ายเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 500,000 บาทเพื่อบริจาคแก่ผู้ด้อยโอกาสผ่านสองมูลนิธิที่ไม่แสวงหาผลกำไร ได้แก่ 1) ด้านการศึกษาผ่านทางมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนา (//www.edfthai.org) จำนวน 250,000 บาท และ 2) ด้านการแพทย์ผ่านทางศิริราชมูลนิธิ จำนวน 250,000 บาท ทำให้สมาคมบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสองเพียง 6 เดือนหลังจากจัดตั้งสมาคม ผมมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า กรรมการ สมาคมจะยังดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในสังคมอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี

สำหรับวาระดิถีวันขึ้นปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ผมขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงดลบันดาลให้เพื่อนสมาชิกสมาชิกและครอบครัว จงประสบความสำเร็จในทุกด้าน มีสุขภาพ พลานามัยที่แข็งแรง สมบูรณ์ มีความสุขกับการลงทุนและร่วมทำให้สังคมนี้เป็นสังคมที่น่าอยู่สำหรับคนรุ่นหลังต่อไป

ขอบคุณครับ
ธันวา เลาหศิริวงศ์

www.facebook.com/18thanwa


=======================================================================




คุณธันวา เลาหศิริวงศ์
จาก...//www.thaivi.org/
เป็นนักลงทุน Good Investor
นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย)

คนที่ 1 ปี 2555-2556



//portal.settrade.com/blog/thanwa/

=======================================================================



เรียน สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ทุกท่าน

จากการที่คุณธันวา เลาหศิริวงศ์ นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
คนปัจจุบัน ประสงค์ที่จะไม่รับตำแหน่งนายกสมาคมฯ
ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2556 ตามที่คุณธันวาได้แจ้งให้สมาชิกทราบ
ในกระทู้ viewtopic.php?f=1&t=54705 ไปแล้วนั้น เพื่อให้การทำงานของสมาคมมีความต่อเนื่องและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทางที่ปรึกษาและกรรมการของสมาคมฯ ได้จัดการประชุมเพื่อ
คัดสรรและเสนอชื่อนายกสมาคมฯ คนใหม่ หลังจากได้หารือกัน
ได้มีการเสนอชื่อคุณอนุรักษ์ บุญแสวง (ลูกอิสาน) ให้สมาชิกสามัญของสมาคมฯ อันได้แก่ กรรมการและอนุกรรมการของสมาคมฯ พิจารณาและลงมติ ซึ่งสมาชิกสามัญของสมาคมฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เสนอให้คุณอนุรักษ์ บุญแสวง ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) นับตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2556 เป็นต้นไป

อนึ่ง เพื่อให้การทำงานของสมาคมฯ มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ทางคณะกรรมการได้มีมติให้

คุณฉัตรชัย วงแก้วเจริญ (chatchai) ทำหน้าที่เป็นอุปนายกสมาคมฯ เพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่ง และให้

คุณณัฐชาต คำศิริตระกูล (mario) ทำหน้าที่ในตำแหน่งเลขาธิการสมาคมฯ จึงแจ้งให้สมาชิกทราบโดยทั่วกัน

ด้วยความปรารถนาดี

คณะกรรมการสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)

Thai VI Officer

____________________________________________________



รายชื่อคณะกรรมการรุ่นที่ 1 (วาระ 2 ปี).


โดย สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
เมื่อ 3 กรกฎาคม 2012
.

ที่ปรึกษาสมาคม

1. อาจารย์ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา

2. อาจารย์นิเวศน์ เหมวชิรวรากร



1. นายธันวา เลาหศิริวงศ์ นายกสมาคม

2. นายประมุข วงศ์ธนะเกียรติ อุปนายก

3. นายฉัตรชัย วงแก้วเจริญ กรรมการและเลขานุการ

4. นางอังสินี อภิวัชรกุล กรรมการและเหรัญญิก

5. นายอนุรักษ์ บุญแสวง กรรมการ

6. นายพรชัย รัตนนนทชัยสุข กรรมการ

7. นายศุภศักดิ์ หล่อธนวณิชย์ กรรมการ

8. นายธวัชชัย เลิศรุ่งเรือง กรรมการ

9. นางภาสุชา อุดรวณิช กรรมการ

10. นายเสริฐสรรพ์ อภิวัชรกุล กรรมการ

11. นายณัฐชาต คำศิริตระกูล กรรมการ

12. นายวีระพงษ์ ธัม กรรมการ

13. นายณภัทร ปัญจคุณาธร กรรมการและนายทะเบียน


=======================================================================





บางส่วนจากข้อเขียนของ
นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(แห่งประเทศไทย)

คนที่ 2 ปี2556

สืบเนื่องจากกระทู้นี้ มีเงินน้อย เป็นvi ไม่ได้จริงหรือไม่
โดย คุณลูกอีสาน




แม้ผมจะเห็นด้วยกับหลายๆท่าน ว่าเงินลงทุนมากน้อย
ก็สามารถลงทุนตามแนวทาง vi ได้ แต่อีกด้านนึงผมคิด
ว่าแม้จะลงทุนแบบ vi เหมือนกันแต่ระดับเงินลงทุนก็มีผล
ต่อเทคนิคหรือกลยุทธ์ที่ควรจะใช้

ครั้งหนึ่ง Warren Buffett เคยพูดว่า หากวันนี้มีเงินลงทุนแค่ 1 ล้านเหรียญ
เค้าสามารถทำผลตอบแทนได้มากกว่า 50% ต่อปี ซึ่งผมคิดว่ามีความเป็น
ไปได้สูง เพราะช่วงแรกๆที่วอร์เรนลงทุนผ่านห้างหุ้นส่วน เค้าสามารถทำผล
ตอบแทนได้ประมาณ 30% ต่อปี ในทำนองเดียวกัน หาก ดร.นิเวศน์
มีเงินลงทุนวันนี้แค่ 1 ล้านบาท ผมคิดว่าแนวทางการเลือกหุ้นของท่าน
อาจจะแตกต่างออกไป

เงินลงทุนน้อยๆตามนิยามง่ายๆของผม อาจจะเป็นเงินหมื่น เงินแสน
และไม่เกิน 1 ล้านบาท ลำพังหากลงทุนโดยแนวทางอนุรักษ์นิยม
อาจได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10-15% ต่อปี ซึ่งอาจจะเพียงพอและน่าพอใจ
หากเป็นพอร์ตการลงทุนขนาดกลางหรือใหญ่ แต่ผลตอบแทนระดับนี้
ไม่อาจสร้างความแตกต่างในพอร์ตขนาดเล็ก

ดังนั้นหากเป็นพอร์ตการลงระดับเล็กๆ ผมคิดว่าควรมีกลยุทธ์ที่แตกต่าง
ออกไปเพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้สูงขึ้น

เพื่อนๆท่านใดมีเทคนิคหรือกลยุทธ์ที่คิดว่าน่าสนใจอย่างไรจะแนะนำ
สำหรับพอร์ตการลงทุนขนาดเล็ก ก็แสดงความคิดเห็นได้เลยครับ
จะได้เป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆจะได้นำไปประยุกต์ใช้


กลยุทธ์การลงทุน กรณีเริ่มต้นเงินทุนน้อยๆ
ผมมองผ่านภาพใหญ่ 2 ประเด็นคือ



1.ควรจะเพิ่มเงินลงทุนให้มากที่สุด
2.ต้องทำให้เงินลงทุนได้ผลตอบแทนมากที่สุด



ประเด็นแรก ควรจะเพิ่มเงินลงทุนให้มากที่สุด สามารถแยกเป็นภาพย่อยๆได้อีกคือ


1.1 ควรเพิ่มรายได้ เพิ่มจำนวนเงินให้มากที่สุด
1.2 ลดรายจ่ายให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มเงินออม ที่จะนำมาลงทุน



1.1 เพิ่มรายได้ ผมมองในแง่คนทั่วไปที่ทำงานกินเงินเดือนไม่สูงมาก การเพิ่มรายได้สามารถทำได้โดยการหารายได้เสริม การย้ายงานใหม่ การเพิ่มความรู้เพื่อเพิ่มค่าจ้าง การแต่งงานที่คู่ชีวิตมีรายได้ด้วย (ถ้าโชคดีได้แฟนรวยจะดีมาก ) การหยิบยืมเงินจากพ่อแม่หรือญาติในระดับที่หากเสียหายก็ไม่ทำให้เดือนร้อนมาก ที่สำคัญไม่ควรกู้เงินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพื่อมาลงทุน เพราะจะมีแรงกดดันจากที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยตลอดเวลา

1.2 การลดรายจ่าย รายจ่ายที่หนักที่สุดสำหรับมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่คือการผ่อนรถ-ผ่อนบ้าน คุณสุวภา ผู้เขียนหนังสือ show me the money เคยพูดไว้ว่าตัวอย่างการใช้เงินที่เลวที่สุดของหนุ่มสาวที่กำลังสร้างอนาคตคือการซื้อรถ แต่ประเด็นนี้มีการถกเถียงกันพอสมควร หลายท่านอาจจะบอกว่าทั้งบ้านและรถเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ หรือต้องใช้ประกอบการทำงาน ซึ่งผมก็เห็นด้วยในบางประเด็น แต่ถ้ามองรอบด้าน เราอาจจะพบว่ามีทางเลือกอื่นๆอีก ที่ทำให้สามารถประหยัดรายจ่ายส่วนนี้ได้ เช่น

-แทนที่จะผ่อนบ้าน เราอาจจะอดทนอาศัยอยู่กับพ่อแม่ พี่น้อง ญาติ เพื่อนที่สนิท หรือแม้แต่การเช่าบ้านที่ค่าเช่าไม่สูงมาก เหล่านี้แม้จะไม่สะดวกสบายเท่า แต่สามารถประหยัดทั้งดอกเบี้ยผ่อนและยังสามารถนำเงินต้นไปหาดอกผลจากการลงทุน

-แทนที่จะผ่อนรถ เสียทั้งเงินต้นและดอกและยังมีค่าใช้จ่ายน้ำมัน ทางด่วน ซ่อมแซม ค่าประกัน เหล่านี้เป็นเงินจำนวนมากที่เราคาดไม่ถึง เราอาจจะใช้บริการขนส่งสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้า รถแท็กซี่ หรือกระทั่งซื้อรถมือสองที่ราคาถูกกว่ามาก หรือหากยังมีค่าใช้จ่ายสูง ก็อาจจะต้องเปลี่ยนงาน หรือย้ายบ้าน ย้ายที่พักซะเลย ให้ที่ทำงานกับที่พักอยู่ใกล้ๆกันเพื่อประหยัดค่าเดินทาง


รายจ่ายอื่นๆที่พอจะประหยัดได้เช่น ค่าใช้จ่ายโทรศัพท์มือถือ ที่เราต้องจ่ายทุกเดือน ถ้าคิดเป็นรายจ่ายทั้งปีเราอาจจะตกใจ ทางเลือกคือ เราอาจะโทรน้อยลง หรือไม่โทรเลย (ไม่โทรไม่ตายซักหน่อย )เปลี่ยนเครื่องนานๆครั้ง ใช้เครื่องถูกๆ


ข้างต้นที่เขียนมาคงทำได้ไม่ง่ายครับ เพราะรายจ่ายเหล่านี้ คนปกติทั่วไปในสังคมเค้าทำกัน เรียกว่าบินก่อน ผ่อนทีหลัง เอาสบายไว้ก่อน เรื่องอืนค่อยว่ากัน แต่หากเราต้องการที่จะแตกต่างจากคนอืนๆ(อยากรวย :lol: ) เราควรจะทำให้ได้ อาจจะในรูปแบบหรือวิธีที่ต่างกันออกไปตามฐานะ ความจำเป็นของแต่ละคน



ประเด็นแรกการหากเงินมาลงทุนให้มากที่สุด ผมคงไม่เน้นมากครับ แต่จะ
ไปเน้นในประเด็นที่สองคือทำอย่างไรให้เงินลงทุนได้ผลตอบแทนมากที่สุด


ประเด็นที่สอง ทำอย่างไรให้เงินลงทุนได้ผลตอบแทนสูงสุด
ประเด็นนี้เชื่อว่านักลงทุนทุกคนต่างต้องการ และยิ่งหากมีเงินลงทุนไม่มาก การทำผลตอบแทนให้สูงๆยิ่งมีความสำคัญ การมีเงินลงทุนน้อยๆและทำผลตอบแทนในระดับปกติ เช่น 10-15% ต่อปี กว่าที่เงินลงทุนจะเติบโตสมมุติ 1 เท่าตัว อาจใช้เวลา 5-6 ปี ซึ่งอาจจะน่าพอใจหากเปรียบเทียบกับผลตอบแทนกับเงินฝาก แต่อาจจะน้อยไปเมื่อเทียบกับเวลาที่ใช้ในการศึกษาการลงทุน นอกจากนั้นแม้เงินทุนจะเพิ่มขึ้นมาระดับนี้ แต่ด้วยเงินเริ่มต้นที่น้อย กำไรที่ทำได้ก็น้อยไปด้วย และสุดท้ายจะพาลทำให้นักลงทุนหมดกำลังใจ เพราะดูเหมือนการลงทุนอย่างนี้ทำให้รวยช้า อาจหันเหไปเก็งกำไร หรือไปเสี่ยงโชคกับการธุรกิจอื่นๆ ที่เห็นว่าจะทำให้รวยเร็วกว่า


การเพิ่มเทคนิค กลยุทธ์เพียงเล็กๆน้อยๆ สำหรับพอร์ตการลงทุนเล็กๆ อาจจะเพิ่มผลตอบแทนได้อย่างน่าพอใจ ที่จริงกลยุทธิ์เหล่านี้เพื่อนๆหลายท่านก็ทราบกันดีจากที่โพสต์มา แต่หากนำมาเรียบเรียงรวมกันเป็นหมวดหมู่ จะเป็นประโชน์กับเพื่อนๆได้พิจารณาเป็นทางเลือกใหม่ครับ



กลยุทธ์ที่ผมพอจะคิดออก หรือท่านใดจะเสริม มีดังนี้ครับ


1.การทำการบ้าน(หุ้น) ไม่แน่ใจว่าเป็นกลยุทธ์หรือเปล่า แต่ผมเชื่อว่านี่เป็นการแปรเปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นพลัง-เป็นแรงบันดาลใจที่ชัดเจนที่สุด ยิ่งหากเราพอร์ตเล็กเท่าไหร่ เราก็ควรจะทำการบ้าน ศึกษาหาข้อมูลหุ้นให้มากขึ้นเท่านั้น มีเพียงสิ่งนี้สิ่งเดียวที่เราควบคุมได้โดยตรง ทำให้ทุกเวลา ทุกนาที โดยไม่ขึ้นอยู่กับคนอื่น หากเราไม่มีความรู้ที่จะหาหุ้น ไม่มีความรู้ด้านบัญชี ด้านการเงิน วิธีทีดีที่สุด ก็คือต้องไปเรียน หาหนังสือมาอ่าน หากไม่มีเวลา ไม่ค่อยมีเงิน ผมแนะนำให้ลงเรียนที่ม.รามคำแหง บัญชีเบื้องต้น หรือการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน ไม่ต้องเสียเวลาไปเรียน ซื้อหนังสือซื้อชีทมาอ่าน ก็เข้าใจได้ครับ


2.ไปหาปลาตรงที่มีปลา เนื่องจากเราตั้งโจทย์ว่าเราต้องการผลตอบแทนสูงๆ ดังนั้นเราก็ต้องหาประเภทของหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงๆ เสมือนไปหาปลาตรงที่ๆมีปลา ข้อสังเกตุของผมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ มักเป็นหุ้นขนาดกลางถึงขนาดเล็ก หุ้นเหล่านี้แม้มีความเสี่ยงทางธุรกิจบ้าง แต่การเพิ่มยอดขายหรือผลกำไรจะทำใด้เร็วกว่าหุ้นมั่นคงขนาดใหญ่มาก ธุรกิจที่มีกำไรเพิ่มขึ้น ราคาหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนั้นหุ้นเหล่านี้ไม่คอ่ยมีนักวิเคราะห์คอยติดตาม ทำให้โอกาสที่จะเจอหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นมีสูง

หลักทรัพย์บางประเภทเช่นวอร์แรนต์ที่นักลงทุนมักหลีกเลี่ยงเพราะมีความเสี่ยงสูง ทั้งที่ในความเป็นจริงวอร์แรนต์เหล่านี้ในอนาคตก็คือหุ้นสามัญนั่นเอง ดังนั้นเราควรใช้บรรทัดฐานในการประเมินมูลค่าวอร์แรนต์ในทำนองเดียวกับที่เราประเมินมูลค่าหุ้น หากมูลค่าวอร์แรนต์ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น ก็ไม่มีเหตุผลที่เราจะหลีกเลี่ยงการลงทุนในวอร์แรนต์ และที่จริงการลงทุนในวอร์แรนต์โดยปกติจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นสามัญ เพราะคุณสมบัติจากอัตราทวีผลหรือ Gearing นั่นเอง นักลงทุนที่แสวงหากำไรสูงๆ ไม่ควรมองข้ามการลงทุนในวอร์แรนต์ครับ


3. มองหาตัวเร่งเร้า(ที่รุนแรง) หมายถึงมองหาปัจจัยที่จะเร่งให้กำไรของกิจการเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งจะหมายถึงราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้นมากด้วย ตัวเร่งในที่นี้อาจจะเป็นอะไรก็ตาม ที่จะทำให้กำไรของกิจการเพิ่มขึ้นทั้งโดยตัวพื้นฐาน เช่น การขยาย ปรับปรุงกำลังการผลิต การขยายตลาด รวมถึงการเจริญเติบโตปกติของกิจการ การกลับตัวของดีมาน-ซัพพลายของอุตสาหกรรม การซื้อกิจการ การเพิ่มปันผล กำไรพิเศษ นอกจากนั้นยังอาจเป็นตัวเร่งทางปัจจัยจิตวิทยา เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น หรือผู้บริหาร การแตกหุ้น การแจกวอร์แรนต์

หากเปรียบเทียบการลงทุนในหุ้น 2 ตัว ที่มีปัจจัยทางด้านอื่นๆเหมือนๆกันหรือคุณภาพพอๆกัน หุ้นตัวที่มีตัวเร่ง มีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า



4.เริ่มต้นลงทุนให้เร็วที่สุด เพราะการที่พอร์ตการลงทุนจะโตมากๆ ต้องอาศัยการทบต้นหรือการนำกำไรไปลงทุนต่อ ดังนั้นในปีหลังๆพอร์ตการลงทุนจะเพิ่มขึ้นเร็วมากเพราะเงินต้นมากกว่า แม้จะทำผลตอบแทนได้เท่าเดิม การลงทุนให้เร็วที่สุด จะทำให้เราไปถึงจุดที่เงินลงทุนออกดอกออกผลได้เร็ว นอกจากนั้น การที่เราเริ่มลงทุนเร็ว เท่ากับว่าเราได้เริ่มเรียนรู้เร็วไปด้วย ซึ่งความรู้จะพอกพูนไปตามวันเวลา และประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น

เคยมีผลการวิจัยศึกษา พบว่านักลงทุนที่เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินเท่าๆกัน ทำผลตอบแทนได้เท่าๆกัน ต่างกันตรงที่เริ่มลงทุนห่างกันหลายปี เมื่อเวลาผ่านไป ผลตอบแทนของทั้งสองคนจะห่างออกจากกันมากขึ้น เสมือนเส้น 2 เส้นที่ลากออกจากจุดเดียวกัน เส้นทั้ง 2 ทำมุมกันเพียงเล็กน้อย ถ้าลากเส้นยาวขึ้นเรื่อยๆ เส้นทั้งสองจะออกห่างกันมากขึ้นทุกที


5. ผู้บริหารในฝัน เพราะผู้บริหารที่ดีจะทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนมากกว่าปกติ ผู้บริหารที่นักลงทุนควรมองหาคือ มีความรู้ซึ้งในธุรกิจที่ทำ มีความซื่อสัตย์ มีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูล มี passtion ในงานที่ทำ มีความกระหายที่จะทำให้บริษัทเติบโตและที่สำคัญต้องมองผลประโยชน์ในมุมมองเดียวกับผู้ถือหุ้นรายย่อย

ถ้าเจอผู้บริหารที่มีคุณสมบัติข้างต้น ช่วยสะกิดบอกผมด้วย เพราะนี่เป็นสัญญานที่ดีที่จะเจอหุ้นดีๆ การศึกษาปัจจัยพื้นฐานด้านอื่นๆประกอบเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่เราจะตัดสินใจลงทุนต่อไป

(เทคนิคไม่ยากที่เราอาจจะพบผู้บริหารอย่างนี้ สังเกตุจากบริษัทที่เข้าร่วมงาน oppurtunity day บ่อยๆ เพราะนั่นแสดงว่าผู้บริหารบริษัทเหล่านี้ กล้าที่จะเปิดเผยต่อนักลงทุนรายย่อย แสดงว่าผู้บริหารอาจจะมั่นใจว่าบริษัทดีจริง)


6. ถือหุ้นน้อยตัว หากเรามีเงินทุนน้อย การกระจายการถือหุ้นหลายๆตัว อาจทำให้เรารู้สึกปลอดภัยมากขึ้น แต่ผลตอบแทนที่ได้จะหักล้างกันทำให้ผลตอบแทนไม่สูงเท่าที่ควร การเลือกที่จะถือหุ้นน้อยตัวเช่น 2-5 ตัว จะทำให้เรามีความรอบคอบ พิถีพิถันที่จะเลือกถือหุ้นในกลุ่มที่ดีที่สุด ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (ภายใต้ความเสี่ยงที่รับได้) และหากเราวิเคราะห์ได้ถูกต้อง ผลตอบแทนที่ได้รับจะคุ้มค่า

ตัวเลข 2-5 ตัวอาจจะปรับเปลี่ยนได้ตามระดับความมั่นใจในพื้นฐานของหุ้นที่เราจะลงทุน


7. คาดหวังผลลัพธ์ 100% เลือกลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสได้กำไรสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยง แม้หุ้นเหล่านี้อาจจะมีความไม่แน่นอนอยู่บ้าง แต่เป็นหน้าที่ของนักลงทุนที่จะศึกษาให้มากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงนี้ แน่นอนว่าในการลงทุนทุกอย่าง เราไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ หากเราลงทุนในหุ้นที่แพ้ เราจะแพ้ หากเราเลือกลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสทั้งชนะและแพ้ เราจะมีโอกาสทั้งชนะและแพ้ ขึ้นอยู่กับว่าเราศึกษามากน้อยแค่ไหน และบางทีก็เป็น โชคชะตา..


8. Growth always better ถ้าหากหลายท่านจำกันได้ กระทู้ของคุณริวกะเมื่อไม่นานมานี้ TVI Index ที่จริงอาจจะมีเพื่อนๆเอะใจว่า คำตอบการลงทุนที่เราค้นหามานาน อาจจะซ่อนอยู่ในกระทู้ที่ว่านี้ก็ได้ คำตอบที่ผมหมายถึงคือหากเราดูผลตอบแทนย้อนหลังของหุ้นหลายๆตัวที่ทำกำไรสูงๆ ในกระทู้นั้น สิ่งที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ทุกบริษัทเป็นหุ้นเติบโตสูงหรือ growth stock ทั้งสิ้น คำอธิบายแบบเรียบง่ายคือราคาหุ้นขึ้นอยู่กับกำไรที่กิจการทำได้ ถ้ากำไรเพิ่ม ราคาหุ้นก็เพิ่ม คนที่ถือไว้ก็ได้กำไร นักลงทุนทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จทั้งในอดีตและปัจจุบัน จะมีหุ้นเติบโตสูงอยู่ในพอร์ตเสมอๆ

...เวลาจะเป็นเพื่อนที่ดีเสมอ หากเราลงทุนในหุ้นโกรท...




กลยุทธ์สำหรับนักลงทุนเบี้ยน้อยหอยน้อย คงมีแค่นี้ครับเท่าที่คิดออก ถ้าเพื่อนๆมีความเห็นอื่นจะเสริมก็จะเป็นประโยชน์ครับ และที่ต้องขอย้ำคือกลยุทธ์ส่วนใหญ่ คงเหมาะสมกับนักลงทุนที่มีความรู้การลงทุนในระดับนึงแล้ว และจะไม่เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่ ถ้าถามว่ากลยุทธ์ข้อไหนที่สำคัญและจำเป็นที่สุดคงเป็นข้อแรก ถ้าไม่มีข้อแรก ประเด็นอื่นๆก็จะไม่ตามมา

ผมและเพื่อนท่านอื่นๆอาจจะเป็นผู้ชี้ทางเท่านั้น แต่นักลงทุนต้องเดินทางด้วยตัวเองครับ ระหว่างทางอาจจะมีความยากลำบาก มีอุปสรรค มีเพียงทัศนคติที่ถูกต้อง ความตั้งใจ และกำลังใจ จะทำให้เราไปถึงจุดหมายครับ มีบทกวีบทหนึ่ง นำมาฝากเป็นกำลังใจด้วยครับ


เมื่อเริ่มสู้นั้น มันมืดยิ่งกว่ามืด...
ครั้นยืนหยัดยาวยืด มืดค่อยหาย...
พอมองเห็นลางลาง อยู่ทางปลาย...
ชัยชนะ ขั้นสุดท้าย ไม่เกินรอ.
..





=======================================================================



ไม่ต้องกลัวว่าจะตกรถ ( หุ้น )
เพราะตลาดหุ้นมีรถออกทุกวัน ( เลือกรถให้ถูกคันเท่านั้น )






=======================================================================





 

Create Date : 11 มกราคม 2556   
Last Update : 27 กันยายน 2556 22:23:41 น.   
Counter : 1747 Pageviews.  


สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย) ตอนที่ 3




การเงิน - การลงทุน : ถนนนักลงทุน
วันที่ 18 ธันวาคม 2555
ทิ้งรายได้เดือนละ2แสนบาทสู่เส้นทาง'วีไอ'ภาสุชา อุตรวณิช

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์



มีเงินสดไหลเข้าบริษัทเดือนละกว่า 200,000 บาท
แต่ 'ภาสุชา อุตรวณิช' ก็เลือกปิดธุรกิจขนส่งก้าวสู่เส้นทาง 'วีไอ'
รับเหมาดูแลพอร์ตของคนทั้ง


หนึ่งในเซียนหุ้นรุ่นใหม่ “ภา” ภาสุชา อุตรวณิช คุณแม่ยังสาววัย 34 ปี อดีตเจ้าของธุรกิจขนส่ง มีเงินสดไหลเข้าบริษัทเดือนละกว่า 200,000 บาท แต่ภา เลือกที่จะปิดธุรกิจส่วนตัว เพื่อออกมาลงทุนในตลาดหุ้นแนว Value Investor (วีไอ) ภายใต้พอร์ตของสามี ก่อนจะมาเปิดพอร์ตเป็นของตัวเอง และเธอยังรับหน้าที่ดูแลหุ้นค้าปลีกจำนวน 100 หุ้น ที่ลูกสาววัย 7 ขวบ ตัดสินใจทุบกระปุกออมสินนำเงินเก็บ 1,000 บาท บวกกับเงินเติมให้ของพ่อแม่มาลงทุน จนสามารถสร้างผลตอบแทน 100% ภายในระยะ 1 ปี ได้สำเร็จ

ภา ยึดแนวทางการลงทุนแบบอนุรักษ์นิยม หวังผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 15% ที่ผ่านมาพอร์ตการลงทุนเติบโตอย่างน่าพอใจ ขณะเดียวกัน เธอพยายามปลูกฝังลูกสาวให้รักการอ่านหนังสือ และออมเงิน ด้วยการหยอดกระปุกวันละ 1 บาท หรือมากกว่านั้น ทุกวันสาวน้อยของเธอจะเหลือเงินค่าขนมกลับบ้านวันละไม่ต่ำกว่า 10 บาท จากเงินค่าขนมวันละ 40 บาท ภาสอนลูกสาววัย 7 ขวบว่า หากเติมเงินลงไปในพอร์ตแล้วเลือกหุ้นดีๆ หนูจะสามารถซื้อตั๋วเครื่องบินไปญี่ปุ่นได้ทันที

"โตขึ้นหนูไม่จำเป็นต้องทำอาชีพนักลงทุนเหมือนแม่ แต่ขอให้รู้จักลงทุน เพราะการออมจะทำให้มีเงินเลี้ยงตัวเองได้ตลอด และหนูจะพบกับคำว่า..อิสระทางการเงิน"

เธอคัดหุ้นมาให้ลูกเลือกพร้อมเหตุผลและลูกสาวก็ตัดสินใจเลือกหุ้น "ค้าปลีก" ด้วยตัวเอง โดยให้เหตุผลว่าห้างสรรพสินค้ามีคนเข้าออกทุกวัน มากพอๆกับโรงพยาบาล ไม่เพียงออมเงินไว้ในตลาดหุ้นเท่านั้น เธอยังมีอีกกระปุกเก็บเงินไว้ซื้อสิ่งของที่อยากได้ โดยมีเหตุผลว่าการลงทุนต้องฝึกฝนกันตั้งแต่เด็กๆ เปรียบเสมือนภาษาอังกฤษที่ต้องบ่มกันตั้งแต่ยังเล็กโตขึ้นถึงจะสบาย

เจ้าของนามแฝง "KIRI" ในเวบไซต์ไทยวีไอ ย้อนประวัติส่วนตัวให้กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า เรียนจบคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เกียรตินิยมอันดับ 2 เมื่อเรียนจบก็ไปฝึกงานเกี่ยวกับการแปลใน บริษัท สยามมิชลิน จากนั้นก็ออกมาเรียนต่อปริญญาโทคณะอักษรศาสตร์ ด้านการแปลวรรณกรรม ระหว่างนั้นก็ไปทำงานในบริษัท อัลคาเทล ผู้รับเหมาติดตั้งระบบเทเลคอม และจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ ในตำแหน่งโอเปอร์เรเตอร์ รีเซฟชั่น และแอดมิน ทำงานได้ 1 ปี ก็ตัดสินใจลาออก คู่หมั้นที่เจอกันตอนทำงานในสยามมิชลิน ต้องบินไปทำงานที่ประเทศฝรั่งเศสปีกว่า ภาจึงตัดสินใจแต่งงานตอนอายุ 24 ปี แล้วบินไปด้วยกัน

"ตอนนั้นเศร้ามากที่เรียนไม่จบปริญญาโท ทั้งๆ ที่อีกไม่กี่เดือนก็จะจบแล้ว ช่วงที่อยู่ฝรั่งเศส ด้วยสถานะของวีซ่าไม่สามารถทำงานได้ แต่ไม่อยากอยู่เฉยๆ จึงไปลงเรียนหลักสูตรภาษาฝรั่งเศส สำหรับนักศึกษาต่างประเทศ 4-5 เดือน และกะว่าเมื่อเรียนจบจะไปท่องยุโรปก่อนกลับเมืองไทย สุดท้ายผ่านมา 11 เดือน สามีไม่ชอบใช้ชีวิตอยู่ในเมืองนอกจึงขอเร่งคอร์สการทำงานเพื่อกลับเมืองไทยเร็วขึ้น"

พอกลับมาเมืองไทย ภาไปทำธุรกิจเกี่ยวกับกาแฟโบราณ ภายใต้แบรนด์ "อาร์บีคอฟ" เป็นธุรกิจของครอบครัวสามี เขามีโรงงานกาแฟ แถวชลบุรี ทำได้ไม่นานก็เลิก เพราะอยากทำธุรกิจที่ใหญ่กว่านี้ บังเอิญมีโอกาสได้คุยกับคุณอาของสามี เขาทำธุรกิจขนส่งดูน่าสนใจจึงตัดสินใจขายบ้านย่านศรีราชาที่ไม่ได้อยู่อาศัยได้เงินมาล้านกว่าบาท แล้วไปยืมเงินพ่อแม่ของแฟนมาอีก 2 ล้านกว่าบาท เพื่อมาซื้อรถบรรทุก 2 คัน ทำธุรกิจขนส่งสินค้า มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ตอนนั้นมีพนักงาน 7 คน

"ธุรกิจประสบความสำเร็จมาก มีเงินสดเข้าบริษัททุกเดือน คิดเป็นรายได้ตก 200,000 กว่าบาทต่อเดือน ตอนนั้นอายุ 27-28 ปี ทำได้เกือบ 2 ปี ก็เลิก เริ่มทำงานยากขึ้นมีคนอยากทำธุรกิจนี้ค่อนข้างมาก บางคนไม่จ้างพนักงานทำเองทั้งหมดทำให้เขามีต้นทุนไม่สูง อีกอย่างเริ่มสนใจการลงทุนในตลาดหุ้นแล้ว"

เธอเล่าถึงจุดเริ่มต้นเข้าสู่ตลาดหุ้นว่า สามีและเพื่อนๆนักลงทุนชวนไปฟังงานสัมนา ตั้งแต่สมัยที่ มนตรี นิพิฐวิทยา (อดีตคอลัมนิสต์ Value Way) เป็นประธานเวบไซต์ไทยวีไอ ฟังเสร็จรู้สึกประดับใจ มีคนกลุ่มหนึ่งสนใจในสิ่งเดียวกันทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้จักกัน ไม่ได้ทำงานหรือเรียนด้วยกัน แต่เขาเหล่านั้นสามารถนั่งคุยเรื่องเดียวกันได้อย่างออกรสชาติ

ก่อนจะมาฟังงานสัมมนามีโอกาสได้อ่านหนัง “ตีแตก” ของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร อ่านจบรู้สึก..เฮ้ย!! การลงทุนมันเป็นวิธีทำงานอย่างหนึ่งที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเก็งกำไร อาจารย์จะสอนวิธีการเลือกหุ้นว่า ต้องเลือกธุรกิจที่มีความแข็งแกร่ง และต้องมีความเป็นไปได้จริงๆ ว่าธุรกิจของเขาจะสร้างกำไร ดร.นิเวศน์ ยังสอนให้รู้จักคำว่า Margin of Safety (ส่วนเผื่อความปลอดภัย) สอนวิธีประเมินมูลค่าแบบง่ายๆ ด็อกเตอร์ทำให้ภารู้ว่า..ถึงเราไม่ได้เก่งเลข แต่ถ้าเข้าใจธุรกิจ ก็สามารถพัฒนาตัวเองด้านการลงทุนได้เหมือนกัน

เมื่อเริ่มคุ้นเคยกับการลงทุนมากขึ้น ด้วยการเดินสายไปฟังงานสัมมนาต่างๆ รวมถึงอ่านกระทู้ในห้อง "ร้อยคนร้อยหุ้น" ในเวบไซต์ ไทยวีไอ เรียกว่าหาความรู้ให้มากที่สุด หลังจากนั้น 6 เดือน สามีก็ตัดสินใจลงทุน น่าจะเป็นช่วงสิ้นปี 2549 ซึ่งภาก็ลงทุนร่วมด้วย โดยไปเปิดพอร์ตกับ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) วงเงิน 200,000 บาท นำเงินที่ได้จากการทำธุรกิจขนส่งมาลงทุน

เธอเล่าว่า ช่วงแรกๆ มีหุ้นในพอร์ต 2-3 ตัว ภาเลือกเองจริงๆ หุ้นถ่านหินไซด์เล็ก เพราะเห็นว่าหุ้นพลังงานช่วงนั้นขึ้นมาเยอะมาก หุ้น ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เป็นตัวแรกที่สามีภรรยาช่วยกันเลือก เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จมาก มูลค่าพอร์ตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปี 2551 นอนกินเงินปันผลอย่างเดียวก็สามารถเลี้ยงคนทั้งครอบครัวได้แล้ว

กลยุทธ์หลักๆ เน้นซื้อหุ้นที่มีผลประกอบการเติบโตปีละ 20% เช่น กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้ และอุตสาหกรรมต่างๆ ฯลฯ ที่เหลือจะดูคุณภาพของหุ้น เช่น ความสามารถในการดำเนินกิจการ รวมถึงดูมาร์จิ้น (กำไรขั้นต้น) ด้วย แต่ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีระดับเท่าไร โดยจะนำมาร์จิ้นของบริษัทที่สนใจไปเทียบกับคู่แข่งว่าทำดีกว่าหรือเปล่า! จากนั้นจะดูพวกค่าใช้จ่ายว่าทำได้ดีหรือไม่ และดูว่าธุรกิจใหม่ๆ สาขาใหม่ โปรโมชั่น หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เขาทำจะสามารถทำให้บริษัทเติบโตอย่างยั่งยืนได้หรือไม่

ในระหว่างที่ลงทุน Full Time เธอมีอะไรให้ทำอีกอย่าง คือสละเวลา 5-6 เดือน ไปสอนหนังสือในโรงเรียนเทศบาล 2 วัดเสนานฤมิตร อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี แต่ก็ยังดูแลพอร์ตเหมือนเดิม นอกจากนั้นมีโอกาสไปทำงานเป็นเลขาใน “สยามมิชลิน” ปีกว่า แต่ก็ลาออกตอนปี 2554 เพราะพอร์ตเริ่มใหญ่ขึ้นต้องมีคนดูแล

"ภาเริ่มเปิดพอร์ตชื่อตัวเองตอนปี 2552 ไม่ได้ดังแล้วแยกวงนะ! พอร์ตของครอบครัวก็ยังดูแลอยู่เหมือนเดิม ตอนนั้นเปิดพอร์ตกับ บล.ภัทร กลยุทธ์เน้นกระจายการลงทุนแบบอนุรักษ์นิยม วิธีการลงทุนส่วนใหญ่ยังเหมือนเดิม เปลี่ยนแปลงตรงที่ไม่เน้นบริษัทที่เติบโตปีละ 20% แล้ว แต่จะชอบบริษัทที่มีผลประกอบการขยายตัวสม่ำเสมอ และรายได้ไม่ผันผวน ภาจะทำตารางประมาณการผลประกอบการล่วงหน้า 1-2 ปี ถ้าข้อมูลมากจะทำยาวกว่านั้น เมื่อเรามีข้อมูลจะทำให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น"

คุณแม่วัย 34 ปี บอกว่า ตอนนี้มีหุ้นกลุ่มค้าปลีก หุ้นโรงพยาบาล และหุ้นพร็อพเพอร์ตี้ ที่เหลือเป็นหุ้นที่กำลังเติบโต ถามว่า “รัก” กลุ่มไหนมากสุด เวลานี้ต้องยกให้ "หุ้นค้าปลีก" แม้ค่า P/E จะสูงมาก แต่ถ้าถือยาวผลตอบแทนโอเคเลย เพราะความเสี่ยงต่ำ แถมผลประกอบการยังเติบโตสม่ำเสมอ

ที่สำคัญนักลงทุนสามารถติดตามความ “ฮอต” ของบริษัทได้จากการเดินไปตามสาขาต่างๆ ถ้าคนเข้ามาซื้อของเยอะ ขายดีแน่นอน เมื่อก่อนเคยเห็นหุ้นค้าปลีกบางตัวมีผลประกอบการขยายตัวสูงถึง 50% ฉะนั้นการที่ ดร.นิเวศน์ เคยบอกว่า หุ้นกล่มุนี้ยังคงน่าลงทุนมันถูกต้องแล้ว "หุ้นค้าปลีกเปรียบเป็นหุ้นสามัญประจำบ้านที่ทุกครอบครัวต้องมี” (หัวเราะ)

หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล เป็นอีกตัวที่ “หลงรัก” ธุรกิจที่อยู่กับความจำเป็นของคน เราป่วยรักษาตัวเองไม่ได้อยู่แล้ว รพ.เอกชนในเมืองไทยมีอนาคตมากๆ คนมีรายได้สูงขึ้นเขาอยากซื้อความสะดวกสบาย อยากซื้อเวลา จะให้ไปนั่งรอคิวโรงพยาบาลของรัฐบาลคงไม่ไหว ปกติธุรกิจโรงพยาบาลขนาดใหญ่จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 11% ต่อปี

เธอยังชอบหุ้นพร็อพเพอร์ตี้ บริษัทขนาดใหญ่มีแนวโน้มจะกินมาร์เก็ตแชร์รายเล็กๆอีกมาก แต่ละเจ้าเขาเก่งเรื่องการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค อีกอย่างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลก แต่จะเกี่ยวข้องกับการบริโภคภายในประเทศ ทำให้ค่อนข้างปลอดภัย ถ้าจำเป็นต้องซื้อบ้าน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ต้องซื้อ

ถามว่าวันนี้มูลค่าพอร์ตหลักอะไร เธอหัวเราะก่อนบอกว่า ผลตอบแทนทุกวันนี้เป็นที่น่าพอใจมาก ทั้ง 2 พอร์ต (พอร์ตชื่อสามีและของตัวเอง) เติบโตทุกปีเฉลี่ย 15% ขึ้นไป พอร์ตหลักอะไรมันไม่สำคัญแล้วละ! ขอแค่สามารถเลี้ยงคนในครอบครัวได้ก็พอใจแล้ว ตอนนี้ทั้ง 2 พอร์ตมีหุ้นรวมกันจนจะกลายเป็น SET50 อยู่แล้ว เรามองพอร์ตของครอบครัวเป็นกองทุน ถ้ามั่นใจในการทำธุรกิจ และวิธีการทำรายได้ของบริษัทก็ลงทุนเลย แม้จะไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหนกว่าจะมีคนมาเห็นคุณค่าเหมือนที่เราเห็นก็ตาม

หุ้นทุกตัวเราคัดสรรมาดีแล้ว แต่ในพอร์ตจะมีหุ้น 2 เกรด คือ ประเภท "ดิวิชั่น 1" และ "ดิวิชั่น 2" พวกเกรด 2 จะเปลี่ยนเป็น 1 ได้หรือไม่ ก็เป็นไปได้ แต่คงไม่ใช่ซูปเปอร์สต็อก เราแบ่งหุ้น "ดิวิชั่น 1" และ "ดิวิชั่น 2" อย่างละครึ่ง แบบ 1 เรามองว่าธุรกิจมั่นคง รายได้ไม่ผันผวนมาก ทำธุรกิจอิงการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ ผู้บริหารต้องเป๊ะ! (เก่ง) มาก ธรรมาภิบาลเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ส่วนดิวิชั่น 2 เป็นพวกหุ้น "เทิร์นอะราวด์" และหุ้น "อันเดอร์ แวลู" ธุรกิจงั้นๆ

เซียนหุ้นวีไอ ทิ้งท้ายว่า ตั้งแต่ลงทุนในตลาดหุ้น ได้บทเรียนการลงทุนหลายเรื่อง โดยเฉพาะในช่วงเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ มันสอนให้เรารู้จักรับมือ ช่วงนั้นทุกคนเป็นเหมือนกันหมด คือราคาหุ้นลงมาเยอะมาก สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เราต้องคุมอารมณ์ให้อยู่ อย่าทำให้ข่าวร้ายมาทำให้เสียใจจนล้มเลิกการลงทุน ที่สำคัญเราต้องเก็บใจให้ปลอดภัยจากตลาดหุ้น

เมื่อหุ้นมันลงมาขนาดนั้น เวลาดัชนีและหุ้นกลับตัวมันจะขึ้นแรง ฉะนั้นเมื่อมีสมมติฐานว่าทุกอย่างจะดีขึ้น ก็ควรกลับไปดูว่า ธุรกิจอะไรไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ ส่วนใหญ่ก็เป็นธุรกิจที่มีรายได้จากการบริโภคภายในประเทศ ตอนนั้นก็เจอบริษัทที่ยอดขายไม่ได้รับผลกระทบเลย เป็นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์บางตัว และค้าปลีก

“อยากฝากบอกนักลงทุนว่า ให้มองการลงทุนเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจจริงๆ มองไปในรูปแบบระยะยาว เพราะเราจะได้เห็นว่า บริษัทนั้นมีการเติบโตแบบที่คาดการณ์หรือไม่...อย่าใจร้อนขายก่อน จงอย่ามองตลาดหุ้นเป็นเพียงหน่วยลงทุน ไม่เช่นนั้นจะหาความสุขไม่ได้เลย” เซียนหุ้นวัย 34 ปี กล่าวเตือน





____________________________________________________




วันที่ 9 ตุลาคม 2555

'ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ' นักถอดงบการเงิน 'ผู้ปราดเปรื่อง'

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




เซียนหุ้นพอร์ตใหญ่ 'เลข 9 หลัก' ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ ชื่อชั้นระดับ 'ยอดฝีมือ' ในวงการตลาดหุ้น ใครๆ ก็ยกให้เขาเป็น 'หมองบการเงิน'...คนนี้แหละ!! ที่วงการ 'วีไอ' ยกให้เป็น 'นักถอดงบการเงิน' เก่งโครตๆ



ในวงการวีไอร่ำลือว่า “ฉัตร” ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้นวีไอรายนี้พอร์ตลงทุนใหญ่ ตัวเลขน่าจะไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท คำบอกเล่าของสาวกวีไอบางคนระบุว่า ฉัตรชัยชอบให้ความรู้ผู้อื่น ทำหนังสือสอนวิธีแกะงบการเงินแจกคนใกล้ชิด ใครอยากถอดงบการเงินคล่องๆ ต้องไปหาเขา

“ไก่” ธันวา เลาหศิริวงศ์ นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่าประเทศไทย คอนเฟิร์มว่า ฉัตรชัยเก่งเรื่องเจาะลึกงบการเงิน ที่ผ่านมาเขาเคยตั้งกระทู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีคนเข้ามาดูเยอะมาก ทางสมาคมฯ จะเปิดให้เขามาสอนสมาชิกเร็วๆ นี้..ปัจจุบัน ฉัตรชัย เจ้าของนามแฝง CHATCHAI ในเว็บไซต์ "ไทยวีไอ" มีบทบาทเป็น เลขานุการสมาคมฯ นิสัยเป็นคนเที่ยงตรง จะคอยดูแลข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน

ชายผิวขาววัย 44 ปีรายนี้ มีนัดหมายกับกรุงเทพธุรกิจ BizWeek เวลา 10 โมงตรง ณ ร้านกาแฟ เซ็ทเทรด ดอท คอม เขาส่งยิ้มทักทายอย่างเป็นมิตร พร้อมนั่งลงตอบคำถาม “พี่ฉัตรมีพอร์ตลงทุนใหญ่ 500 ล้านบาท อย่างเขาว่ากันรึเปล่า!!!” เจ้าตัวหัวเราะ ก่อนตอบว่า “ใครบอกไม่ถึง..มั่วล่ะ!! ผิดคนรึเปล่า! พอร์ตผมก็แค่เกือบแตะ 9 หลักเท่านั้น”

ฉัตรชัย ย้อนประวัติชีวิตวัยเด็กก่อนมาเป็น “เซียนหุ้นรายใหญ่” ให้ฟัง..ตั้งแต่จำความได้ก็วิ่งเล่นอยู่แถวย่านวรจักร ซึ่งเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและแหล่งทำมาหากินของครอบครัว คุณพ่อท่านเป็นคนจีนโบราณ มักเปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ ตามโอกาสและสถานการณ์ ท่านเคยทำร้านทอง ร้านตัดผม ปั๊มน้ำมัน ตอนนี้ไม่ได้อาศัยอยู่ที่นั่นแล้วย้ายออกมาอยู่กับภรรยาและลูกสาว 2 คน (คนโตอายุ 13 ปี คนเล็กอายุ 11 ปี) แถวนั้นน้ำท่วมถึงหน้าแข้ง (หัวเราะ) ต้องพากันอพยพมาอยู่คอนโดมิเนียมแถวพญาไท

"ผมไม่ชอบท่องจำ แต่รักการคำนวณตัวเลขเป็นชีวิตจิตใจ จึงตัดสินใจปูพื้นฐานตัวเองด้วยการเลือกเรียนสายวิทย์-คณิต โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ผมเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากนั้นก็เข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่รุ่น 70 มีเพื่อนร่วมรุ่นเป็น “เอ็มดี” คนปัจจุบันของ บมจ.เอ็ม เอฟ อี ซี (MFEC) เขาเรียนอยู่แผนกคอมพิวเตอร์ หลังเรียนจบไม่นานก็ไปศึกษาต่อปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจ (MBA) ภาคค่ำ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะเริ่มอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับการเงิน ตอนนั้นผมเริ่มสนใจการลงทุนแล้ว แต่เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง ทำไมถึงสนใจตลาดหุ้น”

ในช่วงที่เรียนปริญญาตรีปี 2 ฉัตรชัย เริ่มรู้สึกตัวว่าแท้จริงแล้วไม่ได้อยากเรียนวิศวะ แต่รักที่จะเรียนเกี่ยวกับธรุกิจและบัญชีมากกว่า เพราะช่วงนั้นชอบอ่านหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับธุรกิจ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เคยคิดจะย้ายคณะแต่ด้วยความเสียดายเวลา ทำให้หันมาเลือกเรียนวิชาอุตสาหการ ซึ่งจะเรียนเกี่ยวกับการบริหารโรงงานแทน พอเรียนจบปริญญาตรีตอนปี 2533 ก็ไปทำงานเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญระบบคอมพิวเตอร์ใน บมจ.เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น (MSC) อยู่ตึกไอบีเอ็ม เงินเดือน 7,000-8,000 บาท เขียนใบสมัครงานไว้ตั้งแต่เรียนอยู่ปี 4 เพราะคุณอารู้จักกับผู้บริหาร MSC เขาบอกว่า บริษัทกำลังรับสมัครฝ่ายวิศวกรรม ท่านก็มาชวนผม (เมื่อก่อนคุณอาทำงานอยู่ใน บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี (TCCC) ซึ่งอยู่ตึกเดียวกับ MSC)

จุดเริ่มต้นที่ทำให้อยากลงทุนในตลาดหุ้นนั้น ย้อนกลับไปตอนปี 2533 เขาอ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ สมัยนั้นจะมีคอลัมน์ที่นำหนังสือของ “ปีเตอร์ ลินซ์” มาแปล (ฉบับแปลและเรียบเรียงโดยสุทธิชัย หยุ่น) ลงอาทิตย์ละตอน ซึ่งเขาติดตามอ่านตลอด รู้สึกว่ามีเหตุมีผล พอมีการรวมเป็นเล่มก็ไปซื้อ เมื่ออ่านไปเรื่อยๆ ก็เริ่มรู้สึกว่า “เออ!..เรื่องนี้มันถูกกับเรา”

หลังจากศึกษาการลงทุนอยู่ไม่นาน ก็ตัดสินใจนำเงินเก็บประมาณ 20,000 บาท มาเล่นหุ้นในพอร์ตของคนรู้จัก ตอนนั้นยังไม่สามารถเปิดพอร์ตเป็นของตัวเองได้เพราะการเปิดบัญชียุ่งยาก เขาบอกว่า หุ้น ยูนิคอร์ด (UCT) ทำธุรกิจปลาทูน่ากระป๋องส่งออก เป็นหุ้นตัวแรกที่ตัดสินใจซื้อ ได้มาประมาณ 200 หุ้น ราคาหุ้นละ 118 บาท หุ้น UCT ล้มละลายไปแล้ว หลังเจ้าของบริษัท ดำริห์ ก่อนันทเกียรติ ยิงตัวตาย เมื่อปี 2538 เพราะเจอมรสุมหนี้ 7,000 ล้านบาท

"ถามว่าทำไมตอนนั้นเลือก “จิ้ม” หุ้น UCT เล่าไปแล้วก็ขำตัวเอง บังเอิญว่าเจ้าของเขาเป็นศิษย์เก่าวิศวะ ซึ่งผมไม่ได้รู้จักเขา แต่ตอนนั้นทางคณะพานักศึกษาไปเยี่ยมชมโรงงานของเขา ช่วงนั้น UCT เขาดังเป็นพุลแตก เพราะเป็นบริษัทไทยแห่งแรกที่เข้าไปเทคโอเวอร์บริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเคสที่ดังมาก ทำให้ผมคิดว่าเจ้าของบริษัทนี้ท่าจะเก่ง ดูยิ่งใหญ่ อนาคตสงสัยจะดี (หัวเราะ)"

ฉัตรชัย บอกตรงๆ ตอนโน้นซื้อหุ้นไม่เคยดูงบการเงิน ยิ่ง P/E แทบไม่ได้สนใจ เพราะเมื่อก่อนตลาดหุ้นยังเป็นระบบเคาะกระดาน ระบบอินเตอร์เน็ตยังไม่มีใช้ ทำให้การหาข้อมูลทำได้ยากมาก ถ้านักลงทุนอยากได้ข้อมูลงบการเงินต้องไปเสียเงินขอก็อปข้อมูลใส่แผ่นดิกส์ที่ตลาดหลักทรัพย์ หรือหากอยากฟังราคาหุ้นต้องรอฟังในรายการวิทยุระบบ AM ซึ่งเขาจะรายงานราคาหุ้นทุกครึ่งชั่วโมง หากพลาดต้องรอฟังอีกครึ่งชั่วโมงต่อไป ยิ่งใครอยากได้หุ้นแล้วโทรไปสั่งซื้อกับมาร์เก็ตติ้ง ไม่ได้หมายความว่าคุณได้แล้วนะ ต้องรอตลาดหุ้นปิดแล้วเขาจะโทรมาบอกว่าที่สั่งไปเนี่ยได้รึเปล่า

"เล่นหุ้นสมัยก่อนเข้าถึงข้อมูลยากจริงๆ ขนาดเข้าสู่ยุคโทรศัพท์มือถือ และเพจเจอร์ ก็ใช่ว่าจะง่าย คุณต้องเสียค่าใช้จ่ายเดือนละ 1,500 บาท เพื่อให้เขารายงานหุ้นผ่านเพจเจอร์ ราคาเครื่องก็ปาเข้าไปเป็นหมื่นบาท ยิ่งใครอยากได้บทวิเคราะห์ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ คุณต้องเป็นนักลงทุนรายใหญ่เท่านั้นถึงจะได้อ่าน"

เขายอมรับอย่าง “ไม่อาย” ว่า ผลการลงทุนในช่วง 2-3 เดือนแรกออกแนว “เจ๊ง” (หัวเราะ) เพราะเจอเหตุการณ์สงครามอ่าวเปอร์เซียเล่นงาน ดัชนีและราคาหุ้นล่วงกว่า 30% ยิ่งราคาหุ้น UCT ยิ่งแย่ “หล่นตุ๊บ” จาก 118 บาท เหลือเพียง 10 กว่าบาท ภายในระยะเวลาไม่นานมาก แต่เขาก็ไม่รู้สึก “เข็ด” เพราะยังลงทุนน้อย ตรงข้ามกลับมองว่าหุ้นมันตกทั้งตลาด ทุกคนก็โดนเหมือนกันหมด หุ้นตกเดี๋ยวมันก็ขึ้น

เมื่อตลาดหุ้นย่ำแย่ ก็เลยหันไปซื้อๆขายๆ หุ้นแบงก์ ไฟแนนซ์ เรียกว่าเล่นตามกระแสข่าวรายวัน ผลออกมา ก็มีทั้ง “ขาดทุน กำไร เสมอตัว” เล่นหุ้นแบบตามสตอรี่ได้ 3-4 ปี ก็เริ่มรู้สึกตัวว่า ไม่เห็นได้อะไรจากการเล่นหุ้นลักษณะนี้

"ผมจึงตัดสินใจลาออกจากงานใน MSC เพื่อมาเรียนต่อปริญญาโทตอนปี 2537 ด้วยความหวังว่า อยากรู้เรื่องเกี่ยวการเงิน บัญชี แบบให้ถูกสเตป เพราะซื้อหนังสือมาอ่านเองมันไม่เข้าใจ ปะติดปะต่อเรื่องราวไม่ได้ มันขาดความมั่นใจ เมื่อเรียนปริญญาโทปี 2 ก็มีโอกาสได้เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค ทำให้เข้าใจถึงปัญหาค่าเงินบาท ตอนนั้นเริ่มรู้แล้วว่า ประเทศกำลังจะเจอปัญหาหนัก จึงตัดสินใจล้างพอร์ตได้เงินกลับมาหลักแสนบาท"

หลายคนคงคิดว่า เงินก้อนนั้นเป็น “กำไร” ที่ได้จากการลงทุนล้วนๆ แต่เปล่าครับ!..เขาบอก มันเป็นเงินที่เติมไปเรื่อยๆ โชคดีมากที่ขายหุ้นออกหมด แม้จะไม่ได้กำไรมากมาย แต่ก็ได้ประสบการณ์กลับมาเพียบ!! ในระหว่างที่เรียนปริญญาโท ก็มีโอกาสใช้ช่วงเวลาสั้นๆประมาณ 1 ปีกว่า ไปทำงานในเครือของผู้จัดการเกี่ยวกับการขายระบบข้อมูล พอเขาเปลี่ยนผู้บริหารก็ลาออกไปทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ เพราะหัวหน้าเก่าแนะนำ ทำงานแบงก์ได้ 4-5 ปี ก็ลาออกตอนปี 2544

เขาเล่าต่อว่า ก่อนจะลาออกจากแบงก์ตอนปี 2542 ก็หวนกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง ตอนนั้นดัชนียืนแถวๆ 200 จุด โดยหอบเงินหลักแสนมาเปิดพอร์ตลงทุนกับ บงล.พูนพิพัฒน์ เพราะรู้มาว่า ภาวะเศรษฐกิจเมืองไทยกำลังจะผ่าน “จุดเลวร้าย” ตอนนั้นเลือกซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิ บล.เอกธำรง (S-ONE-W3) ประมาณ 1 ล้านหน่วย ราคา 0.60 บาท เพราะเห็นว่าเขาไม่มีหนี้ ความเสียหายจากปี 2540 เคลียร์ไปหมดแล้ว เท่าที่ดูทุนบริษัทแล้วยังไงเขาก็อยู่ได้ สาเหตุที่เลือกซื้อวอร์แรนท์ เพราะราคาขึ้นเร็วมากเมื่อเทียบกับหุ้นแม่ และราคาตัวแม่แพงกว่าวอร์แรนท์ 1-2 บาท โชคดีที่ไม่ได้แปลงวอร์แรนท์ เพราะผ่านมา 3 เดือน ขายไป 3.60 บาท ได้กำไรมา 5 เท่า

เมื่อรู้สึกว่า เรามาถูกทาง ก็เริ่มไปไล่ซื้อหุ้นพื้นฐาน แต่เป็นบริษัทไม่ค่อยดังเท่าไร เช่น หุ้น โอเชียนกลาส (OGC) หุ้น ซีเอ็ดยูเคชั่น (SE-ED) หุ้น แมนดารินโฮเต็ล (MANRIN) และหุ้น ไทยแลนด์ไอออนเวิคส์ (TIW) เป็นต้น ช่วงนั้นได้ผลตอบแทนจากการลงทุนดีมากเฉลี่ย 50% ผ่านมา 1-2 ปี พอร์ตการลงทุนเติบโตขึ้นจาก “หลักแสนบาท” เป็น “หลักล้านบาท”

"กลับมาครั้งนั้นผมตั้งใจจะลงทุนเพียง “หุ้นพื้นฐาน” อย่างเดียว ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าลงทุนแบบนี้ เขาเรียกว่าแนว VI รู้เพียงว่าต้องลงทุนหุ้นพื้นฐานเหมือน “ปีเตอร์ ลินซ์” เท่านั้น “ปีเตอร์ ลินซ์” เขาเป็นผู้บริหารกองทุนแม็คเจ็ลลันที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงถึง 29% แบบทบต้นในระยะเวลา 13 ปี ช่วงนั้นผมพยายามบอกคนรู้จักให้ลงทุนหุ้นพื้นฐาน แต่เขาไม่เชื่อ ทั้งๆ ที่เห็นว่าเราได้กำไร เพราะช่วงนั้นหลายคนยังมีความเชื่อว่าเล่นหุ้นต้องเล่นตัวที่มีเจ้ามือเท่านั้น ผมก็เลยต้องปล่อยเขาไป"

เซียนหุ้นพอร์ต 9 หลัก เล่าว่า เคยขาดทุนหุ้นตัวหนึ่ง ไม่ขอเอ่ยชื่อ หุ้นตัวนั้นพื้นฐานดี งบการเงินดี แต่เสียตรงที่ผู้บริหารไม่ซื่อตรง ตอนเข้าไปฟังข้อมูลบริษัทก็เริ่มรู้แล้วล่ะ! เพราะถามอะไรไปเข้าตอบไม่เต็มปาก สุดท้ายจึงต้องยอมขายขาดทุน 10-20% แรกๆ ที่หันมาลงทุนแนว VI พอร์ตยังมีแต่หุ้นไซด์เล็กที่ไม่ค่อยขยับเขยื้อนเท่าไร ตรงกันข้ามกับหุ้นกลุ่มแบงก์ที่วิ่งขึ้นทุกวัน ตัวเองยังเคยแอบเผลอใจอยากขายหุ้นตัวเองทิ้งแล้วไปเล่นหุ้นแบงก์ แต่วันหนึ่งก็คิดได้ว่าไม่เอาดีกว่า โชคดีช่วงนั้นทำงานแบงก์ทำให้รู้ว่า แท้จริงแล้วแบงก์ไม่ได้ดีมากขนาดนั้น ซึ่งการขึ้นของตลาดหุ้นในครั้งนั้นมันไม่ปกติ

"นักลงทุนสมัยใหม่อยาก “รวยเร็ว” ทำให้คนบางคนเข้าไปเสี่ยงเล่นหุ้นเก็งกำไร เชื่อผมสิ! มันไม่ได้อะไรนอกจากความสนุก ถ้าอยากรวยในตลาดหุ้นพวกคุณควร “อดทนรอ” อย่าเร่งรีบ..เดินไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ถึงเป้าหมาย" ฉัตรชัย กล่าวทิ้งท้าย ก่อนเริ่มต้นเล่ากลยุทธ์การลงทุนที่ BizWeek จะนำเสนอต่อในสัปดาห์หน้า
_________________________________________________




วันที่ 23 ตุลาคม 2555

'ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ' วิเคราะห์หุ้น 'รวย'! จากงบการเงิน

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์



อยากเล่นหุ้นได้กำไรต้องอ่านงบการเงินให้ 'ขาดกระจุย' ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้น VI เจ้าของพอร์ต 'เลข 9หลัก'



ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้นวีไอ วัย 44 ปี เป็นที่ร่ำลือว่ามีความสามารถในการ "ถอดงบการเงิน" เป็นเลิศ เขามีข้อได้เปรียบตรงที่ว่าเคยผ่านงานธนาคารต้องวิเคราะห์สินเชื่อลูกค้าว่ามีกำลังผ่อนชำระคืนแบงก์ได้หรือไม่ เขานำประสบการณ์ตรงนั้นบวกกับความรู้ที่ร่ำเรียนมาวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทในอนาคต 3-5 ปีข้างหน้า ความสามารถนี้เองที่ทำให้เขาสร้างผลตอบแทนในตลาดหุ้นได้อย่างงดงาม

เขาเล่าว่า หลังจากค้นพบแนวทางของตัวเอง การเล่นหุ้นก็เริ่มได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ ในอดีตเคยมีประสบการณ์ "ถือหุ้นตัวเดียว" นานถึง 8 ปี คือ หุ้นไว้ท์กรุ๊ป (WG) โดยใช้ซื้อภรรยา (มยุรี วงแก้วเจริญ) ซื้อตอนปี 2544 เหตุผลที่ชอบหุ้นตัวนี้ เพราะมีกระแสเงินสดดี ซื้อหุ้น WG มาในราคา 13-14 บาท ขายไปตอนราคา 60 บาท (ปัจจุบันราคา 81-82 บาท) เพื่อไปซื้อหุ้นตัวอื่นที่คิดว่าดีกว่า เฉพาะเงินปันผลอย่างเดียวก็ "คืนทุน" หมดแล้ว ปีแรกๆ ซื้อราคา 13 บาท ปันผล 1 บาท ซึ่งปันผลของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกปี จนปีหลังๆ จ่ายปันผลสูงถึงหุ้นละ 4 บาท

นอกจากกระแสเงินสดดีแล้วหุ้นตัวนี้ผลประกอบการเติบโตสม่ำเสมอ เนื่องจากไว้ท์กรุ๊ปมีสูตรเคมีภัณฑ์เฉพาะเป็นของตัวเอง ลูกค้าอยากได้แบบไหนบริษัททำได้หมด ทำให้มีความสามารถในการแข่งขันดีมากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ที่สำคัญสมัยก่อนบริษัทนี้ ยังมีธุรกิจอื่นเสริมโดยเฉพาะธุรกิจโกดังให้ลูกค้าเช่าเป็นคลังสินค้า และมีสำนักงานให้เช่าแถวเอกมัย ทำให้เขามีกระแสเงินสด และมีมาร์จิ้นที่ดีขึ้น เพราะตึกมันลงทุนไปแล้วสามารถรับรู้รายได้ค่าเช่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจทั้งหมดทำให้ไว้ท์กรุ๊ป มีกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ช่วงที่เก็บหุ้น WG บริษัทนี้ยังไม่มีใครรู้จัก

ความแตกต่างจากเซียนหุ้นทั่วไป ฉัตรชัยจะทุ่มเงินลงทุนทั้งหมดในหุ้นที่เขามั่นใจเพียงไม่กี่ตัว เรียกว่า "จัดเต็ม" แบบไม่กลัวเสี่ยง..ถ้าเขามั่นใจ ปัจจุบันเขาถือหุ้นเพียงแค่ 2 ตัว โดยหุ้นตัวแรกถือ 90% ของพอร์ต อีกตัวถือ 10% ของพอร์ต

"ผมลงทุนไม่เหมือนคนอื่นเป็นคนซื้อหุ้นยากมาก ในรอบ 10 กว่าปีมานี้ถือหุ้นไม่กี่ตัว คนอื่นเขาเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแต่ผมจะถือหุ้นไปจนกว่าจะถึงเกณฑ์ที่ตั้งเอาไว้ ในอดีตเคยถือหุ้นมากที่สุดแค่ 4 หุ้น ผมมันพวก “สเปกเยอะ” ถ้ามั่นใจตัวไหนผม “จัดเต็ม” อย่างตอนนี้มีหุ้นอยู่ในมือแค่ 2 ตัว ใครเป็นมาร์เก็ตติ้งผมไม่ค่อยได้ค่าคอมมิชชั่นเท่าไร"

แม้ฉัตรชัยจะไม่ยอมเปิดเผยรายชื่อหุ้นที่ซื้อ แต่จากการตรวจสอบของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบชื่อ มยุรี วงแก้วเจริญ ภรรยาของ ฉัตรชัย ถือหุ้น ซิงเกอร์ประเทศไทย (SINGER) 6,801,000 หุ้น สัดส่วน 2.52% และหุ้น แมนดารินโฮเต็ล (MANRIN) จำนวน 500,000 หุ้น สัดส่วน 1.86% ปัจจุบันมีมูลค่ารวมประมาณ 130 ล้านบาท

ทำไม! ถึงซื้อหุ้น 2 ตัวนี้ เซียนหุ้นร้อยล้าน บอกเพียงว่า ตัวที่โฟกัส 90% ของพอร์ตอยู่กลุ่ม Commerce บริษัทไม่มีคู่แข่ง ทำธุรกิจสบายๆ ผู้บริหารเก่ง (บุญยง ตันสกุล) ถือหุ้นตัวนี้มานาน 2-3 ปีแล้ว ตอนนี้เขาโตเร็วมาก และยังมีช่องจะเติบโตเพื่อกินมาร์เก็ตแชร์เจ้าอื่นด้วย สมัยก่อนบริษัทนี้เคยผิดพลาดทำให้เขาล้ม ตอนนี้กำลังจะกลับมาบุกตลาดอีกครั้ง จากการวิเคราะห์งบการเงินในช่วง 3 ปีข้างหน้า มั่นใจว่าบริษัทนี้จะขยายตัวสม่ำเสมอทุกปี

ส่วนหุ้นอีกตัวที่โฟกัส 10% อยู่ในกลุ่มโรงแรม ถือหุ้นมาแล้ว 2 ปี หุ้นตัวนี้ไม่ได้เข้าข่ายกลยุทธ์ไม่มีคู่แข่ง หรืองบการเงินดีเท่าไร จริงๆ ไม่ค่อยอยากจะพูดเท่าไร ตอนที่ซื้อหุ้นตัวนี้ เพราะเห็นว่าบริษัทสามารถต่อสัญญาเช่าที่ดินแถวสามย่าน ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงแรมกับเจ้าของที่ดินได้ เห็นว่าทำเลค่อนข้างดีก็เลยซื้อหุ้นเก็บไว้ ช่วงนั้นคิดว่าจะถือไว้สัก 3 ปี น่าจะได้กำไร ปัจจุบันบริษัทนี้มีโรงแรมในกรุงเทพ 1 แห่ง และที่เขาใหญ่ 1 แห่ง

“ผมเชื่อว่าหุ้น 2 ตัวนี้ (SINGER, MANRIN) จะสร้างผลตอบแทนที่ดีในอนาคต แม้วันนี้หุ้นตัวหนึ่งจะปันผลน้อยเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ เขาต้องนำเงินไปลงทุนขยายกิจการหลังจากเพิ่งฟื้นตัว ส่วนอีกตัววันนี้ยังไม่มีเงินปันผล แต่ระยะยาวน่าจะดี..ผมอดทนรอได้”

เซียนหุ้นวีไอวัย 44 ปี กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตอนนี้ อยู่ตรงที่ส่วนใหญ่ “แพงมาก" แล้ว ซึ่งตนเองชอบซื้อหุ้นตอนราคาต่ำกว่าพื้นฐาน 50% ปัจจุบันหาได้ยาก หุ้นค้าปลีก หุ้นโรงพยาบาล ไม่สนใจแม้ธุรกิจจะดีแต่ราคาก็แพง ถ้าวันหนึ่งราคาลงมาอาจจะซื้อ การลงทุนแบบวีไอสำคัญที่ต้องประเมินมูลค่าหุ้นให้เป็น ก็เหมือนการซื้อรถยนต์ ถึงรถจะดีแต่ถ้าราคาแพงเกินไปก็ไม่ซื้อ "ของดี" อาจไม่ใช่ของที่ "ดีที่สุด" ก็ได้

ส่วนพวกหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ เขายอมรับว่า "ไม่ชำนาญ" วงจรธุรกิจสวิงมากเหมาะกับการ "เก็งกำไร" มากกว่าโอกาสพลาดมีสูง ส่วนหุ้น IPO ไม่ชอบเลย ฐานข้อมูลต่างๆ ยังน้อย ชอบหุ้นที่เห็นกันมานาน 5-10 ปีดีกว่า ปัจจุบันฉัตรชัย จะลงทุนผ่าน บล.เคที ซีมิโก้ และ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง เขาชอบแชร์ข้อมูลดีๆ ผ่านเว็บไซต์และชวนกันไปฟังข้อมูลจากผู้บริหาร

ถามว่าการลงทุนตั้งเป้าหมายไว้อย่างไร..? เขากล่าวว่า บอกตรงๆ ไม่เคยคิดเลย ตอนเริ่มเล่นหุ้นครั้งแรกมีคนเคยบอกว่า คนเล่นหุ้น 10 คน เจ๊ง 8 คน เสมอ 1 คน ได้กำไร 1 คน ส่วนตัวขอเป็น 2 ใน 10 คนที่ไม่เจ๊งก็พอ ทุกวันนี้ยึดอาชีพนักลงทุนอย่างเดียว ภรรยาเป็นแม่บ้าน มีลูกสาว 2 คน หลายคนอยากออกมาทำธุรกิจเล็กๆ ของตัวเอง การลงทุนในหุ้นก็เป็นเจ้าของกิจการได้เหมือนกัน แถมมีข้อดีมากกว่าด้วยเพราะถ้ากิจการไม่ดีเราสามารถขายหุ้นไปลงทุนกิจการใหม่ได้

ฉัตรชัย บอกว่า รู้สึกตะขิดตะขวงใจทุกครั้งเวลาฟังรายการวิทยุมีนักลงทุนโทรไปถามนักวิเคราะห์ว่าติดหุ้นตัวนี้ควรซื้อหรือขายดี นักวิเคราะห์ก็จะถามกลับว่าต้นทุนเท่าไร อยากถามว่าต้นทุนมันเกี่ยวอะไรกัน เราซื้อหุ้นต้องดูที่อนาคตไม่ใช่ต้นทุน สมมติติดหุ้นราคา 20 บาท ราคาตลาด 15 บาท แต่หุ้นมีโอกาสวิ่งไป 30 บาท ฉะนั้นคำแนะนำแบบนั้นมันใช้ได้มั้ย!

เขาบอกว่า เท่าที่สัมผัสนักลงทุนส่วนมากชอบ "สูตรสำเร็จ" การลงทุนไม่มีสูตรสำเร็จ และสูตรสำเร็จของแต่ละคนและแต่ละสถานการณ์ก็ไม่เหมือนกัน อยากจะเล่าให้ฟังสมัยก่อนตอนเกิดวิกฤติแบล็คมันเดย์ คนที่ทน "ถือหุ้น" หรือ "ซื้อเพิ่ม" เขาได้กำไรกันถ้วนหน้า เพราะหุ้นตกไม่นานก็ขึ้น พอมาวิกฤติปี 2540 คนก็ยังคิดว่าตลาดหุ้นจะเป็นแบบนั้นอีก ก็พากันแห่ไปไล่ซื้อ สุดท้ายหุ้นตกจาก 1,700 จุด ตกเหลือ 200 จุด

"สุดท้ายเจ๊งกันหมด บางบริษัทปิดตัวไปเลย ฉะนั้นคุณต้องรู้จักประเมินมูลค่าธุรกิจ และวิเคราะห์สถานการณ์ให้ออก การลงทุนมันไม่สูตรสำเร็จว่าถ้าเกิดวิกฤตแล้วต้องซื้อหุ้นเท่านั้น ขายเท่านี้..มันไม่มี"

เซียนหุ้นวีไอร้อยล้าน กล่าวปิดท้ายว่า กลยุทธ์การลงทุนที่เน้นให้ซื้อหุ้นตอนวิกฤติ เพราะจะได้ของถูก คนพูดแบบนี้แปลว่าประสบการณ์เขายังน้อยคงยังไม่เคยโดนวิกฤติตอนปี 2540 (หัวเราะ) ถ้าผ่านมาแล้วจะไม่พูดแบบนี้ ส่วนตัวไม่เคยขายหุ้นตอนวิกฤติ หากมั่นใจหุ้นตัวนั้นพื้นฐานดีจริงๆ วันหนึ่งมันต้องกลับมา

'กำไรสุทธิ' สำคัญน้อยกว่า 'กระแสเงินสด'ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้นวีไอ "ร้อยล้าน" จะให้น้ำหนักการวิเคราะห์ลักษณะกิจการที่น่าลงทุนโดยพิจารณา 3 ส่วนหลักๆ คือ หนึ่ง..กระแสเงินสดของกิจการ บริษัทที่ดีต้องมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานปกติเติบโตสม่ำเสมอ ไม่ใช่กระแสเงินสดจากรายการพิเศษที่รับครั้งเดียว สอง..อัตราการจ่ายเงินปันผล ต้องสมเหตุสมผล สาม..คุณภาพสินทรัพย์ "ต้องดี" ส่วนพวกค่า P/E ยิ่งต่ำๆ ยิ่งดี แต่ไม่ได้ยึดติดเท่าไร ส่วนค่า P/BV ไม่ได้ดูเลย

สำหรับวิธีการดูงบการเงินอย่างย่อ ขั้นตอนแรก..เราจะต้องอ่าน "งบดุล" ของบริษัทนั้นก่อน ในงบดุลจะแสดง "สินทรัพย์" และ "หนี้สิน" สิ่งที่จะต้องไล่ดูคือ บริษัทนั้นทำธุรกิจอะไร สินทรัพย์สำคัญของบริษัทนั้นคืออะไรและมันสอดคล้องกับการทำธุรกิจนั้นหรือไม่ ยกตัวอย่าง บางบริษัทมีเงินลงทุนในพอร์ตหุ้นจำนวนมากถ้าเป็นแบบนั้นคงไม่ใช่หุ้นที่ดี เราต้องมองโครงสร้างธุรกิจให้ขาด

จากนั้นก็ดู "คุณภาพสินทรัพย์แต่ละรายการ" ว่ามีมูลค่าตามที่บันทึกในบัญชีหรือไม่ เพราะบางครั้งมีการแต่งตัวเลขได้ ให้ดูลูกหนี้การค้า "ผิดนัดชำระ" เยอะมั้ย! แล้วมีการ "ตั้งสำรอง" เพียงพอหรือไม่ จากนั้นก็มาดูว่าบริษัทดังกล่าวมีหนี้สินเทียบกับทุนจดทะเบียนเยอะขนาดไหน เมื่อตรวจสอบครบแล้วเราก็เอางบดุล 3 ปี มาเปรียบเทียบกันจะทำให้เรารู้ว่าที่ผ่านมางบการเงินของเขาเป็นอย่างไร

ขั้นตอนต่อไปให้ดู “งบกำไรขาดทุน” ให้เน้นที่ “กำไรขั้นต้น” บริษัทที่ดีควรมีกำไรขั้นต้นอยู่ในระดับสูงทั้งในปัจจุบัน และอนาคตอีก 3 ปีข้างหน้า จากนั้นจะดูว่าบริษัทมี "อัตรากำไรสุทธิ" เท่าไร ถ้าตัวเลขอยู่สูงๆ จะดีมาก เพราะจะบ่งบอกได้ว่า บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันค่อนข้างดี ไม่ใช่มาร์จิ้นบางเฉียบแค่ 1% หรือครึ่งเปอร์เซ็นต์ แบบนี้ไม่เอาปล่อยผ่านไป

"ผมชอบบริษัทที่มีกำไรขั้นต้นประมาณ 20% มีรายได้และกำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ยปีละ 15% ที่สำคัญบริษัทนั้นต้องมีต้นทุนขายลดลงหรือเสมอตัว ไม่เพิ่มเติมไปกว่าเดิม หากจะมีต้องมีเหตุผลที่สนับสนุนและต้องไม่ผันผวน"

ฉัตรชัย บอกว่า ส่วนตัวไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ "กำไรสุทธิ" มากเท่าไร เคยมีคำพูดประโยคหนึ่ง “Profit is opinion cash is real” กำไรเป็นเพียงความคิดเห็น กระแสเงินสดคือของจริง เพราะในงบกำไรขาดทุนบางอย่างมันขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ทางบัญชี โดยเฉพาะการกำหนดระยะเวลาการตัดค่าเสื่อมราคา ซึ่งมันสามารถทำให้ตัวเลขกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ทั้งๆ ที่เราค้าขายเหมือนเดิม

เขาเล่าต่อว่า ขั้นตอนสุดท้าย จะดู “งบกระแสเงินสด” เพราะมันจะบ่งบอกถึง "วงจรธุรกิจ" บางบริษัทมีกำไรดีแต่ไม่มีเงินให้ผู้ถือหุ้นเลย ได้เงินมาเท่าไรต้องนำไปซื้อเครื่องจักรรุ่นใหม่ หรือลงทุนตลอดเวลา บริษัทที่ดีต้องมีกระแสเงินสดเติบโตทุกปีเฉลี่ย 10-15% กระแสเงินสดจะบอกอะไรได้เยอะมาก เพราะจะทำให้เรารู้ว่าเงินเข้ามาจากการขายของ หรือไปกู้แบงก์หรือได้มากจากรายการพิเศษ

งบกระแสเงินสด แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. จากการดำเนินงาน เงินรับเข้าและจ่ายออก 2. การลงทุน เช่น ซื้อเครื่องจักร ขายที่ดิน ขายเครื่องจักร ฯลฯ 3. กิจกรรมการจัดหาเงิน เช่น เพิ่มทุน กู้ยืมเงิน จ่ายเงินกู้ ซึ่งเงินสดจากการดำเนินงานสำคัญที่สุด เพราะมันจะบ่งบอกว่าบริษัทดำเนินธุรกิจแล้วมีเงินสดเหลือหรือไม่

สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนไม่ควรลืมดู นั่นคือ หมายเหตุประกอบงบการเงิน เพราะจะบ่งบอกว่าวิธีการตั้งบัญชีมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง การรับรู้รายได้ขั้นตอนไหนถึงเรียกว่าเป็นรายได้ บางบริษัทบอกว่า “ฉันจะมีรายได้ตั้งแต่เอาหนังสือไปตั้งขาย แต่บางบริษัทบอกไม่ใช่ฉันจะมีรายได้เมื่อขายหนังสือได้แล้ว”

เขาระบายความในใจสั้นๆ ว่า นักลงทุนสมัยนี้เข้ามาลงทุนแล้วอยาก “รวยเร็ว” อยากได้สูตรสำเร็จให้คนเก่งช่วยกรองให้ว่า หุ้นที่ดีต้องมีค่า P/E เท่าไร ผลตอบแทนต้องเท่าไร ถ้าบริษัทไหนเข้าหลักเกณฑ์ฉันจะซื้อเลย ในความเป็นจริง “มันไม่ใช่” ถามว่าคุณเข้าใจหรือไม่ว่า การคำนวณราคาหุ้นด้วยค่า P/E คืออะไร..ผมเชื่อเลย “ไม่เข้าใจ”

สมมติหุ้นตัวนี้มีค่า P/E 10 เท่า หมายความว่า กำไร 1 บาท ราคาหุ้น 10 บาท นั่นแปลว่า ซื้อหุ้นแล้วอีก 10 ปีคืนทุน ตกกำไรปีละ 1 บาท แต่บางธุรกิจกำไรมันผันผวนจะให้มีกำไร 1 บาททุกปี มันเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นการใช้ค่า P/E คำนวณราคาหุ้นต้องใช้กับบริษัทที่เติบโตสม่ำเสมอ จริงอยู่การเล่นหุ้นด้วยการดูค่า P/E มันใช้ง่าย เพราะมันโชว์อยู่ในหนังสือพิมพ์ทุกวัน แต่มันไม่ใช่สูตรสำเร็จ ไม่อย่างนั้นนักลงทุนคงกำไรกันทั้งโลก

"ผมอยากให้นักลงทุนต้องศึกษารายละเอียดให้ลึก บางคนถามว่าบริษัทที่ดีควรมีอัตราหนิ้สินต่อทุนเท่าไร มันก็ไม่มีสูตรเหมือนกันขึ้นอยู่กับว่าบริษัทนั้นทำธุรกิจอะไร แต่ถ้าเป็นบริษัททำธุรกิจปกติทั่วไปหนี้สินต่อทุนควรอยู่ระดับ 2 ต่อ 1 ไม่ควรมากกว่านี้"





______________________________________________________

สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(แห่งประเทศไทย) ตอนที่ 4

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=prachaya555&month=11-01-2013&group=63&gblog=4





 

Create Date : 06 มกราคม 2556   
Last Update : 27 กันยายน 2556 22:24:06 น.   
Counter : 3283 Pageviews.  


สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย) ตอนที่ 2



การเงิน - การลงทุน : ถนนนักลงทุน
วันที่ 21 สิงหาคม 2555
จาก 'เสื้อกาวน์' สู่ 'เซียนหุ้นวีไอ' 'น.พ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ'
(ตอนที่ 1)
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์





เปิดตัวคุณหมอนักลงทุน 'น.พ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ' ผู้มุ่งมั่นออกเดินทางเพื่อค้นหา
Financial Freedom จากแพทย์สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักด์ ก้าวสู่เซียนหุ้นวีไอชั้นแนวหน้า
ใครๆ ก็มีฝันอยากมีอิสระในการเลือกใช้ชีวิตอย่างที่ตัวเองต้องการ ภายใต้สภาวะความมั่นคงทางการเงิน หนึ่งในนั้น "หมอมุข" น.พ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ อดีตหมอสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักด์ มุ่งมั่นออกเดินทางเพื่อค้นหาความหมาย Financial Freedom ความคิดนี้วนเวียนอยู่ในสมองของเขา! หลังเล่นหุ้นแบบไม่มีหลักการมานานหลายปี..ปัจจุบันนายแพทย์ประมุขในวัย 43 ปี ค้นพบปลายทางของจุดหมาย "อิสรภาพทางการเงิน" อยู่บนถนนสายตลาดหุ้นที่เขาเลือกเดิน!!

ไม่เพียงเขาเป็นหนึ่งในเซียนหุ้นวีไอชั้นแนวหน้าเท่านั้น น.พ.ประมุขยังมีบทบาทเป็นอุปนายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) เจ้าของล็อกอิน Paul vi ในเว็บไซต์ "ไทยวีไอ" ที่สมาชิกรู้จักดี หมอมุขมี “รอยยิ้ม” เป็นเอกลักษณ์ประจำตัว มีประวัติการเรียนดีมาตลอด

เขาจบมัธยมต้นที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒปทุมวัน จบมัธยมปลายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ก่อนจะตีตั๋วเข้าเป็นนักศึกษาแพทย์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 98 รุ่นเดียวกับ น.พ.ธเนศ พัวพรพงษ์ ศัลยแพทย์โรงพยาบาลวิภาวดี ผู้พัฒนาเว็บไซต์ //www.thaiclinic.com รวมถึง น.พ.สมพงษ์ พัฒนกิจไพโรจน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางสะพานน้อย เจ้าของรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่นประจำปี 2553

หลังเรียนจบหมอหนุ่มเลือกไปประจำที่โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักด์ แถวหนองแขม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลให้อยู่แผนกสูติ-นรีเวช ส่วนภรรยาที่เรียนแพทย์มาด้วยกันประจำอยู่แผนกเด็ก เขาทำงานเพียง 3 ปี ก็ลาออกไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เป็นเวลา 3 ปี ส่วนภรรยาก็ลาออกไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี

คุณหมอนักลงทุนย้อนประวัติการการศึกษาให้กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า เหตุผลที่เลือกเรียนคณะสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เป็นวิชาที่รวมทั้งการผ่าตัดและยาเข้าด้วยกัน ไม่ได้เน้นด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างจากภาควิชาอายุกรรม หรือภาคอายุศาสตร์ที่จะมีความเป็นวิชาการสูงมาก

"ช่วงหนึ่งผมเคยชื่นชอบภาควิชา หู คอ จมูก เป็นวิชาที่มีความถนัดมากที่สุด เรียนแพทย์เคยได้เหรียญทองแดง 3 วิชา (เหรียญทองแดงเป็นเหรียญที่มีคะแนนสอบสูงสุด) แบ่งเป็นสาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิก เหรียญนี้ได้ตอนเรียนปี 3 และภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา (หู คอ จมูก) ได้ตอนเรียนปี 5 และสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (การป้องกันโรค และป้องกันการบาดเจ็บ) ได้ช่วงเรียนปี 6"

หลังจบแพทย์เฉพาะทาง น.พ.ประมุข ไปทำงานที่โรงพยาบาลกลาง แผนกสูติ-นรีเวช ทำได้เพียงครึ่งปี ก็ถูกส่งตัวไปช่วยงานที่โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักด์ ส่วนภรรยาแยกไปทำงานที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ก่อนจะกลับมาทำงานที่โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ เพราะโรงพยาบาลขาดแคลนแพทย์ ทำได้ 3 ปี ก็ลาออกมาเปิดคลีนิคในต่างจังหวัดเกี่ยวกับสูติ-นรีเวช

"ผมเปิดคลีนิคมาแล้ว 18 ปี (ไม่บอกชื่อคลีนิค) ส่วนภรรยาก็ทำงานในโรงพยาบาลประมาณ 10 ปี ก่อนจะลาออกมาเปิดคลีนิคส่วนตัวเกี่ยวกับหมอเด็ก เปิดมาแล้ว 6-7 ปี คลีนิคของเรา 2 คน อยู่ห่างกันไม่มาก เหตุผลที่ลาออกเพราะอยากเป็น "นายตัวเอง" ช่วงที่ออกมาเปิดคลีนิคส่วนตัวก็รับเป็นที่ปรึกษาตามโรงพยาบาลเอกชน 2-3 แห่ง สัปดาห์ละ 1 วัน ทำงานวันละ 4 ชั่วโมง ตอนนี้ไม่ได้รับงานเป็นที่ปรึกษาแล้ว"

สำหรับจุดเริ่มต้นที่ก้าวเข้ามาในตลาดหุ้น คุณหมอ เล่าว่า สนใจมาตั้งแต่ปี 2534 ช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย สมัยยังเป็นนักศึกษาแพทย์ก็คิดแล้วว่าอยากทำงานอิสระ ไม่อยากมีเจ้านาย มีเงินสักก้อนอยากลงทุนทำเงินให้งอกเงยตอนนั้นก็มองไว้หลายอย่าง..สุดท้ายมองว่าลงทุนในตลาดหุ้นน่าจะตอบโจทย์ได้ทั้งหมด

"ช่วงนั้นผมเริ่มไปหาหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับการลงทุนมาอ่าน ยังไม่มีพ็อกเก็ตบุ๊คเกี่ยวกับการลงทุนให้อ่านมากเหมือนสมัยนี้ บางครั้งก็อาศัยถามรุ่นพี่ ถามเพื่อนที่เขาลงทุนอยู่แล้ว จำได้ว่าเคยถามเพื่อนว่าตัวเลขสีเขียวๆ แดงๆ ที่วิ่งอยู่ตามหน้าจอโทรทัศน์มันคืออะไร..ผมศึกษาข้อมูลต่างๆ จนคิดว่ารู้แน่นปึก หลังจบออกมาทำงานเก็บเงินได้ก้อนหนึ่งก็ไปเปิดพอร์ตลงทุนจำได้ว่าปี 2535 ทุนเริ่มต้น "หลักหมื่นบาท" ช่วงนั้นยังเล่นหุ้นแบบไม่มีข้อมูล ซื้อหุ้นตามสตอรี่ และไม่สนใจดูงบการเงิน เน้นลงทุนระยะสั้น 3 วัน 7 วัน นานสุด 1 เดือน"

ประสบการณ์เล่นหุ้นช่วงแรกกำไรครั้งละ 5-10% สูงสุด 20% บางตัวเคยกำไรสูงถึง 80-90% แต่มาเสียหนักตรงที่ยึดนโยบาย “ไม่ขาย ไม่ขาดทุน” (หัวเราะ) เคยขาดทุนวอร์แรนท์ตัวหนึ่งถือไว้นานจนราคาหุ้นแทบจะกลายเป็น "ศูนย์"

"ครั้งหนึ่งผมเคยขาดทุนหุ้น บงล.เอกชาติ ตอนนั้นเจ็บใจมากซื้อมาหมื่นกว่าหุ้น มาร์เก็ตติ้งบอกหุ้นตัวนี้ดีมาก ตอนแรกๆ ราคาขึ้นมา ก็คิดว่าน่าจะสูงกว่านี้ พอหุ้นลงก็คิดอีกว่าเดี๋ยวมันขึ้นมาใหม่ สุดท้ายราคาก็ลงเรื่อยๆ จนทำให้จำนวนเงินในพอร์ตหายไปประมาณ 80-90%"

บทเรียนการขาดทุนครั้งนั้นทำให้ น.พ.ประมุข มีความคิดว่าการลงทุนในหุ้นเหมือน "เล่นพนัน" ดีๆ นี่เอง ลงทุนแบบไร้ทิศทางอยู่ 2-3 ปี ก็ "ถอยออกมา" ช่วงนั้นต้องออกมาเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง แต่ก็มีซื้อหุ้นปันผลและเก็บหุ้นที่ขาดทุนติดพอร์ตไว้ 2-3 ตัว จากปกติจะถือประมาณ 20 ตัว

“ทุกครั้งที่นึกย้อนกลับไปในช่วงที่เลิกลงทุน ผมถือว่าเป็นคนที่ “โชคดีมาก" (ลากเสียงยาว) เพราะช่วงนั้นเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าขืนลงทุนอยู่ต่อชีวิตผมคงต้องเดือดร้อนแน่นอน"

หลังเรียนจบแพทย์เฉพาะทางปี 2541 หมอหนุ่มก็ยังไม่คิดจะกลับมาลงทุน ช่วงนั้นตลาดหุ้นซึมๆ ซื้อขายวันละ 1,000-2,000 ล้านบาท โบรกเกอร์ถึงขนาดนั่งตบยุง ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าการที่ตลาดหุ้นเป็นแบบนี้มันเหมาะมากที่จะหาซื้อหุ้นดีๆ เป็นอย่างยิ่ง!!! กว่าที่เขาจะกลับมามองตลาดหุ้นอีกครั้งก็ปี 2544

การกลับมาครั้งนี้ น.พ.ประมุข พัฒนาตัวเองโดยหาหนังสือแนวธุรกิจและการลงทุนมาอ่าน เล่มหนึ่ง "พ่อรวยสอนลูก" ของโรเบิร์ต คิโยซากิ ที่สอนว่าเงินมี 4 แบบ คือ 1.E (Employee) เงินเดือนที่ได้จากการทำงานให้กับกิจการที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ ข้อนี้..ผมไม่ชอบ ข้อ 2. S (Self-Employed) กิจการส่วนตัวหรือเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ข้อ 3. B (Business Owner) เจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่หรือเจ้าของบริษัท สุดท้าย คือ I (Investor) นักลงทุน

ในหนังสือเขาจะแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ซ้ายมือ จะเป็น E กับ S เป็นด้านที่อยู่ในวนเวียนของกับดักหนู คือ ไม่มีทางได้พบอิสระทางการเงิน ส่วนขวามือ คือ B กับ I หลายคนทำอยู่ด้วยการให้เงินเป็นคนทำงาน ซึ่งข้อ 4 “ถูกใจ” ผมมากที่สุด และช่วงนั้นเป็น “แฟนคลับ” ของ ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ผู้ก่อตั้งชมรมคนออมเงิน ซื้อหนังสือของอาจารย์มาอ่านเกือบทุกเล่ม และก็เป็นแฟนคลับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เพราะทันทีที่อาจารย์ออกหนังสือ “ตีแตก” ก็ซื้อมาอ่าน..อ่านจบก็ปิ๊งๆๆ เลย

ก่อนจะหันมาลงทุนแนว VI ช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลง น.พ.ประมุข ยังคงลงทุนระยะสั้นเหมือนเดิม เพียงแต่จะมีหลักการมากขึ้น โดยเริ่มวิเคราะห์กิจการและแนวโน้มธุรกิจ หลังวิกฤติปี 2540 เริ่มจะมองออกว่าธุรกิจอะไรจะ “รุ่ง” ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนตัวโดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวกับส่งออกดีมาก ช่วงนั้นบอกตรงๆ งบการเงินไม่ดูเลยไม่รู้เรื่อง เป็น “ไม้เบื้อไม้เมา” อ่านทีไรหลับทุกที (หัวเราะ)

"แม้ไม่ค่อยสนใจงบการเงิน แต่ผมก็ได้กำไรเกือบทุกตัว ส่วนใหญ่เล่นหุ้น "พิมพ์นิยม" กลุ่มแบงก์ และพลังงาน ฯลฯ เอากำไรไม่มาก 10-20% ตอนนั้นเริ่มมีหลักกการ จิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวไปตามตลาด เชื่อหรือไม่! ผมไม่ขาดทุนเลย เล่นหลักการแบบนี้จนถึงปี 2547 วันหนึ่งผมกลับมานอนคิดว่า ถ้าเรายังลงทุนแบบนี้ต่อไป ก็คงไม่ต่างอะไรจากการซื้อมาขายไป ไม่ใช่นักลงทุนที่แท้จริง สุดท้ายจะมีอิสระภาพทางการเงินได้อย่างไร ทำให้ต้องกลับมาค้นหาเส้นทางสู่ Financial Freedom ใหม่อีกครั้ง"

น.พ.ประมุข เริ่มมาดูเรื่องการลงทุนใหม่ๆ เช่น อสังหาริมรัพย์ และหุ้นกู้ สุดท้ายก็รู้ว่าตัวเองไม่ถนัดอสังหาริมทรัพย์ เป็นคนหน้าบางทวงเงินใครไม่เป็น และไม่ใช่นักต่อรอง จึงหันไปลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 3-5% ของพอร์ต เพื่อกระจายความเสี่ยง เลือกลงทุน 3 กองทุนที่จ่ายเงินปันผลทุกไตรมาส ถึงปัจจุบันได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10% โดยไม่เคยนำเงินปันผลมาใช้ มีแต่นำไป "ทบต้น"

นอกจากนี้ เมื่ออยากเจอกับคำว่า “อิสระทางการเงิน” ก็เป็นแฟนคอลัมน์ Value Way ในน.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจ BizWeek เขียนโดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ และ มนตรี นิพิฐวิทยา ที่เอามาลงในเว็บไซต์ พออ่านแล้วรู้สึก “ตรงใจ” ยิ่งได้มาอ่านหนังสือ “ตีแตก” ยิ่งตอกย้ำเลยว่า "ใช่"

ช่วงแรกๆ หมอแทบ "ถอดใจ" ในเว็บไซต์พูดถึงแต่เรื่องงบการเงินที่ตัวเองไม่ถนัด ไม่รู้เรื่องเลย แต่โชคดีมีเพื่อนนักลงทุนคอยให้กำลังใจตลอด ทุกคนพูดว่า “มาใหม่ๆ ก็เป็นแบบนี้แหละ” จึงตัดสินใจ “ฮึด” ใหม่อีกครั้ง คราวนี้ไปหาซื้อหนังสือเกี่ยวกับงบการเงินและวิเคราะห์ธุรกิจมาอ่านหลายเล่มมาก มีหนังสือของ ดร.นิเวศน์ 3-4 เล่ม กวาดมาหมด หนังสือ One Up On Wall Street ของ ปีเตอร์ ลินช์ และหนังสือแนวคิดของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ หนังสือที่แปลโดย พรชัย รัตนนนทชัยสุข หน้า 400-500 หน้า อ่านจบภายในระยะเวลาไม่นาน พออ่านมากๆ ทำให้รู้ถึงแก่นแท้ของแนวทางวีไอมากขึ้น

คุณหมอ บอกว่า หนังสือเกี่ยวกับการลงทุนแนว VI จะสอนให้เราดูตัวเลขการเงินสำคัญๆ ไม่จำเป็นต้องดูทุกตัว แรกๆ จะสอนให้เราดูง่ายๆ ก่อน เช่น อัตราส่วนราคาหุ้นและกำไรต่อหุ้น (P/E) รวมถึงอัตราส่วนราคาหุ้นกับมูลค่าทางบัญชีของบริษัท (P/BV) และอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) เมื่อเริ่มยากขึ้นเขาจะสอนให้ดูอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) และอัตราส่วนราคาต่อผลกำไรสุทธิต่อหุ้นเทียบกับการเพิ่มของผลกำไร (PEG Ratio)

"เมื่ออ่านจบทำให้ผมรู้ว่า เราไม่จำเป็นต้องเก่งตัวเลขทางการเงินทุกตัว การเป็นนักลงทุนแนว VI ที่ดี ไม่จำเป็นต้องเก่งบัญชี แต่ให้เน้นมองภาพใหญ่ของธุรกิจให้ออก “อาจารย์นิเวศน์” ยังเคยบอกว่า ตัวเขาก็ไม่ได้ดูงบการเงินเป็นทุกตัว เน้นดูแนวโน้มธุรกิจ"

เรื่องราวของ น.พ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ ยังไม่จบ!!! สัปดาห์หน้าตามต่อ "เทคนิคการลงทุน" เขามีกลยุทธ์อย่างไรจึงค้นพบ Financial Freedom โดยเฉพาะในปี 2554 มีกำไรจากการลงทุนสูงถึง 75%

___________________________________________________



การเงิน - การลงทุน : ถนนนักลงทุน
วันที่ สิงหาคม 2555
จาก 'เสื้อกาวน์' สู่ 'เซียนหุ้นวีไอ' 'น.พ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ'
(ตอนที่ 2)
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์





ใครๆ ก็ฝันอยากมีอิสระในการเลือกใช้ชีวิตอย่างที่ตัวเองต้องการ ภายใต้สภาวะความมั่นคงทางการเงิน
หนึ่งในนั้น คือ "หมอมุข" นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ อดีตหมอสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
มุ่งมั่นออกเดินทางเพื่อค้นหาความหมาย Financial Freedom
ปัจจุบันเขาค้นพบปลายทางของจุดหมาย "อิสรภาพทางการเงิน" อยู่บนถนนสายตลาดหุ้นที่เขาเลือกเดิน !!
กับการก้าวสู่เซียนหุ้นวีไอชั้นแนวหน้า
เปิดตัวคุณหมอนักลงทุน 'นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ' ผู้มุ่งมั่นออกเดินทางเพื่อค้นหา Financial Freedom จากแพทย์สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ก้าวสู่เซียนหุ้นวีไอชั้นแนวหน้า
"หมอมุข" นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ อดีตหมอสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ มุ่งมั่นออกเดินทางเพื่อค้นหาความหมาย Financial Freedom ความคิดนี้วนเวียนอยู่ในสมองของเขา! หลังเล่นหุ้นแบบไม่มีหลักการมานานหลายปี...ปัจจุบันนายแพทย์ประมุขในวัย 43 ปี ค้นพบปลายทางของจุดหมาย "อิสรภาพทางการเงิน" อยู่บนถนนสายตลาดหุ้นที่เขาเลือกเดิน!!
ไม่เพียงเขาเป็นหนึ่งในเซียนหุ้นวีไอชั้นแนวหน้านพ.ประมุขยังมีบทบาทเป็นอุปนายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
เจ้าของล็อกอิน Paul vi ในเว็บไซต์ "ไทยวีไอ" ที่สมาชิกรู้จักดี
เขาจบแพทย์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 98 รุ่นเดียวกับ นพ.ธเนศ พัวพรพงษ์ ศัลยแพทย์ โรงพยาบาลวิภาวดี ผู้พัฒนาเว็บไซต์ //www.thaiclinic.com รวมถึง นพ.สมพงษ์ พัฒนกิจไพโรจน์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลบางสะพานน้อย เจ้าของรางวัลแพทย์ชนบท ดีเด่นประจำปี 2553 หลังเรียนจบไปประจำที่โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ แถวหนองแขม ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ให้อยู่แผนกสูติ-นรีเวช ส่วนภรรยาที่เรียนแพทย์ มาด้วยกันประจำอยู่แผนกเด็ก ทำงานเพียง 3 ปี ก็ลาออกไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เป็นเวลา 3 ปี ส่วนภรรยาก็ลาออกไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางภาควิชากุมารเวช- ศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี คุณหมอนักลงทุนย้อนประวัติการการศึกษาให้กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า เหตุผลที่เลือกเรียนคณะสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เป็นวิชาที่รวมทั้งการผ่าตัดและยาเข้าด้วยกัน ไม่ได้เน้นด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างจากภาควิชาอายุรกรรม หรือภาคอายุรศาสตร์ที่จะมีความเป็นวิชาการสูงมาก
"ช่วงหนึ่งผมเคยชื่นชอบภาควิชา หู คอ จมูก เป็นวิชาที่มีความถนัดมากที่สุด เรียนแพทย์เคยได้เหรียญทองแดง 3 วิชา (เหรียญทองแดงเป็นเหรียญที่มีคะแนนสอบสูงสุด) แบ่งเป็นสาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิก เหรียญนี้ได้ตอนเรียนปี 3 และภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา (หู คอ จมูก) ได้ตอนเรียนปี 5 และสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (การป้องกันโรค และป้องกันการบาดเจ็บ) ได้ช่วงเรียนปี 6"
หลังจบแพทย์เฉพาะทาง นพ.ประมุข ไปทำงานที่โรงพยาบาลกลาง แผนกสูติ-นรีเวช ทำได้เพียงครึ่งปี ก็ถูกส่งตัวไปช่วยงานที่โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ส่วนภรรยาแยกไปทำงานที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ก่อนจะกลับมาทำงานที่โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ เพราะโรงพยาบาลขาดแคลนแพทย์ ทำได้ 3 ปี ก็ลาออกมาเปิดคลินิกในต่างจังหวัดเกี่ยวกับสูติ-นรีเวช
"ผมเปิดคลินิกมาแล้ว 18 ปี (ไม่บอกชื่อคลินิก) ส่วนภรรยาก็ทำงานในโรงพยาบาลประมาณ 10 ปี ก่อนจะลาออกมาเปิดคลินิกส่วนตัวเกี่ยวกับหมอเด็ก เปิดมาแล้ว 6-7 ปี คลินิกของเรา 2 คน อยู่ห่างกันไม่มาก เหตุผลที่ลาออกเพราะอยากเป็น "นายตัวเอง" ช่วงที่ออกมาเปิดคลินิกส่วนตัวก็รับเป็นที่ปรึกษาตามโรงพยาบาลเอกชน 2-3 แห่ง สัปดาห์ละ 1 วัน ทำงานวันละ 4 ชั่วโมง ตอนนี้ไม่ได้รับงานเป็นที่ปรึกษาแล้ว"
สำหรับจุดเริ่มต้นที่ก้าวเข้ามาในตลาดหุ้น คุณหมอ เล่าว่า สนใจมาตั้งแต่ปี 2534 ช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย สมัยยังเป็นนักศึกษาแพทย์ก็คิดแล้วว่าอยากทำงานอิสระ ไม่อยากมีเจ้านาย มีเงินสักก้อนอยากลงทุนทำเงินให้งอกเงยตอนนั้นก็มองไว้หลายอย่าง..สุดท้ายมองว่าลงทุนในตลาดหุ้นน่าจะตอบโจทย์ได้ทั้งหมด "ช่วงนั้นผมเริ่มไปหาหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับการลงทุนมาอ่าน ยังไม่มีพอคเก็ตบุ๊คเกี่ยวกับการลงทุนให้อ่านมากเหมือนสมัยนี้ บางครั้งก็อาศัยถามรุ่นพี่ ถามเพื่อนที่เขาลงทุนอยู่แล้ว จำได้ว่าเคยถามเพื่อนว่าตัวเลขสีเขียวๆ แดงๆ ที่วิ่งอยู่ตามหน้าจอโทรทัศน์มันคืออะไร..ผมศึกษาข้อมูลต่างๆ จนคิดว่ารู้แน่นปึก หลังจบออกมาทำงานเก็บเงินได้ก้อนหนึ่งก็ไปเปิดพอร์ตลงทุนจำได้ว่าปี 2535 ทุนเริ่มต้น "หลักหมื่นบาท" ช่วงนั้นยังเล่นหุ้นแบบไม่มีข้อมูล ซื้อหุ้นตาม สตอรี่ และไม่สนใจดูงบการเงิน เน้นลงทุนระยะสั้น 3 วัน 7 วัน นานสุด 1 เดือน"
ประสบการณ์เล่นหุ้นช่วงแรกกำไรครั้งละ 5-10% สูงสุด 20% บางตัวเคยกำไรสูงถึง 80-90% แต่มาเสียหนักตรงที่ยึดนโยบาย "ไม่ขาย ไม่ขาดทุน" (หัวเราะ) เคยขาดทุนวอร์แรนท์ตัวหนึ่งถือไว้นานจนราคาหุ้นแทบจะกลายเป็น "ศูนย์"
"ครั้งหนึ่งผมเคยขาดทุนหุ้น บงล.เอกชาติ ตอนนั้นเจ็บใจมากซื้อมาหมื่นกว่าหุ้น มาร์เก็ตติ้งบอกหุ้นตัวนี้ดีมาก ตอนแรกๆ ราคาขึ้นมา ก็คิดว่าน่าจะสูงกว่านี้ พอหุ้นลงก็คิดอีกว่าเดี๋ยวมันขึ้นมาใหม่ สุดท้ายราคาก็ลงเรื่อยๆ จนทำให้จำนวนเงินในพอร์ตหายไปประมาณ 80-90%"
บทเรียนการขาดทุนครั้งนั้นทำให้ นพ.ประมุข มีความคิดว่าการลงทุนในหุ้นเหมือน "เล่นพนัน" ดีๆ นี่เอง ลงทุนแบบไร้ทิศทางอยู่ 2-3 ปี ก็ "ถอยออกมา" ช่วงนั้นต้องออกมาเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง แต่ก็มีซื้อหุ้นปันผลและเก็บหุ้นที่ขาดทุนติดพอร์ตไว้ 2-3 ตัว จากปกติจะถือประมาณ 20 ตัว
"ทุกครั้งที่นึกย้อนกลับไปในช่วงที่เลิกลงทุน ผมถือว่าเป็นคนที่ "โชคดีมาก" (ลากเสียงยาว) เพราะช่วงนั้นเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าขืนลงทุนต่อชีวิตผมคงต้องเดือดร้อนแน่นอน"
หลังเรียนจบแพทย์เฉพาะทางปี 2541 หมอหนุ่มก็ยังไม่คิดจะกลับมาลงทุน ช่วงนั้นตลาดหุ้นซึมๆ ซื้อขายวันละ 1,000-2,000 ล้านบาท โบรกเกอร์ถึงขนาดนั่งตบยุง ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าการที่ตลาดหุ้นเป็นแบบนี้มันเหมาะมากที่จะหาซื้อหุ้นดีๆ เป็นอย่างยิ่ง!!! กว่าที่จะกลับมามองตลาดหุ้นอีกครั้งก็ปี 2544
การกลับมาครั้งนี้ นพ.ประมุข พัฒนาตัวเองโดยหาหนังสือแนวธุรกิจและการลงทุนมาอ่าน เล่มหนึ่ง "พ่อรวยสอนลูก" ของ โรเบิร์ต คิโยซากิ ที่สอนว่าเงินมี 4 แบบ คือ 1.E (Employee) เงินเดือนที่ได้จากการทำงานให้กับกิจการที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ ข้อนี้..ผมไม่ชอบ ข้อ 2.S (Self-Employed) กิจการส่วนตัวหรือเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ข้อ 3.B (Business Owner) เจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่หรือเจ้าของบริษัท สุดท้าย คือ I (Investor) นักลงทุน
ในหนังสือเขาจะแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ซ้ายมือ จะเป็น E กับ S เป็นด้านที่อยู่ในวนเวียนของกับดักหนู คือ ไม่มีทางได้พบอิสระทางการเงิน ส่วนขวามือ คือ B กับ I หลายคนทำอยู่ด้วยการให้เงินเป็นคนทำงาน ซึ่งข้อ 4 "ถูกใจ" ผมมากที่สุด และช่วงนั้นเป็น "แฟนคลับ" ของ ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ผู้ก่อตั้งชมรมคนออมเงิน ซื้อหนังสือของอาจารย์มาอ่านเกือบทุกเล่ม และก็เป็น แฟนคลับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เพราะทันทีที่อาจารย์ ออกหนังสือ "ตีแตก" ก็ซื้อมาอ่าน..อ่านจบก็ปิ๊งๆ ๆ เลย
ก่อนจะหันมาลงทุนแนว VI ช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลง นพ.ประมุข ยังคงลงทุนระยะสั้นเหมือนเดิม เพียงแต่จะมีหลักการมากขึ้น โดยเริ่มวิเคราะห์กิจการและแนวโน้มธุรกิจ หลังวิกฤติปี 2540 เริ่มจะมองออกว่าธุรกิจอะไรจะ "รุ่ง" ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาท อ่อนตัวโดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวกับส่งออกดีมาก ช่วงนั้นบอกตรงๆ งบการเงินไม่ดูเลย ไม่รู้เรื่อง เป็น "ไม้เบื่อ ไม้เมา" อ่านทีไรหลับทุกที (หัวเราะ)
"แม้ไม่ค่อยสนใจงบการเงิน แต่ผมก็ได้กำไรเกือบทุกตัว ส่วนใหญ่เล่นหุ้น "พิมพ์นิยม" กลุ่มแบงก์ และพลังงาน ฯลฯ เอากำไรไม่มาก 10-20% ตอนนั้นเริ่มมีหลักการ จิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวไปตามตลาด เชื่อหรือไม่! ผมไม่ขาดทุนเลย เล่นหลักการแบบนี้จนถึงปี 2547 วันหนึ่งผมกลับมานอนคิดว่า ถ้าเรายังลงทุนแบบนี้ต่อไป ก็คงไม่ต่างอะไรจากการซื้อมาขายไป ไม่ใช่นักลงทุนที่ แท้จริง สุดท้ายจะมีอิสรภาพทางการเงินได้อย่างไร ทำให้ต้องกลับมาค้นหาเส้นทางสู่ Financial Freedom ใหม่อีกครั้ง"
นพ.ประมุข เริ่มมาดูเรื่องการลงทุนใหม่ๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ และหุ้นกู้ สุดท้ายก็รู้ว่าตัวเองไม่ถนัดอสังหาริมทรัพย์ เป็นคนหน้าบางทวงเงินใครไม่เป็น และไม่ใช่นักต่อรอง จึงหันไปลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 3-5% ของพอร์ต เพื่อกระจายความเสี่ยง เลือกลงทุน 3 กองทุนที่จ่ายเงินปันผลทุกไตรมาส ถึงปัจจุบันได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10% โดยไม่เคยนำเงินปันผลมาใช้ มีแต่นำไป "ทบต้น"
นอกจากนี้ เมื่ออยากเจอกับคำว่า "อิสระทางการเงิน" ก็เป็นแฟนคอลัมน์ Value Way ใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ BizWeek เขียนโดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ และ มนตรี นิพิฐวิทยา ที่เอามาลงในเว็บไซต์ พออ่านแล้วรู้สึก "ตรงใจ" ยิ่งได้มาอ่านหนังสือ "ตีแตก" ยิ่งตอกย้ำเลยว่า "ใช่"
ช่วงแรกๆ หมอแทบ "ถอดใจ" ในเว็บไซต์พูดถึงแต่เรื่องงบการเงินที่ตัวเองไม่ถนัด ไม่รู้เรื่องเลย แต่โชคดีมีเพื่อนนักลงทุนคอยให้กำลังใจตลอด ทุกคนพูดว่า "มาใหม่ๆ ก็เป็นแบบนี้แหละ" จึงตัดสินใจ "ฮึด" ใหม่อีกครั้ง คราวนี้ไปหาซื้อหนังสือเกี่ยวกับงบการเงินและวิเคราะห์ธุรกิจมาอ่านหลายเล่มมาก มีหนังสือของ ดร.นิเวศน์ 3-4 เล่ม กวาดมาหมด หนังสือ One Up On Wall Street ของ ปีเตอร์ ลินช์ และหนังสือแนวคิดของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ หนังสือที่แปลโดย พรชัย รัตนนนทชัยสุข หน้า 400-500 หน้า อ่านจบภายในระยะเวลาไม่นาน พออ่านมากๆ ทำให้รู้ถึงแก่นแท้ของแนวทางวีไอมากขึ้น
คุณหมอ บอกว่า หนังสือเกี่ยวกับการลงทุนแนว VI จะสอนให้เราดูตัวเลขการเงินสำคัญๆ ไม่จำเป็นต้องดู ทุกตัว แรกๆ จะสอนให้เราดูง่ายๆ ก่อน เช่น P/E, P/BV เมื่อเริ่มยากขึ้นเขาจะสอนให้ดูอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) และอัตราส่วนราคาต่อผลกำไรสุทธิต่อหุ้นเทียบกับการเพิ่มของผลกำไร (PEG Ratio)
"เมื่ออ่านจบทำให้ผมรู้ว่า เราไม่จำเป็นต้องเก่งตัวเลขทางการเงินทุกตัว การเป็นนักลงทุนแนว VI ที่ดี ไม่จำเป็นต้องเก่งบัญชี แต่ให้เน้นมองภาพใหญ่ของธุรกิจให้ออก "อาจารย์นิเวศน์" ยังเคยบอกว่า ตัวเขาก็ไม่ได้ดูงบการเงิน เป็นทุกตัว เน้นดูแนวโน้มธุรกิจ"
เรื่องราวของ นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ ยังไม่จบ!!! สัปดาห์หน้าตามต่อ "เทคนิคการลงทุน" เขามีกลยุทธ์อย่างไรจึงค้นพบ Financial Freedom โดยเฉพาะในปี 2554 มีกำไรจากการลงทุนสูงถึง 75%
"ช่วงปี 2541 ตลาดหุ้นซึมๆ ซื้อขายวันละ 1,000-2,000 ล้านบาท โบรกเกอร์ถึงขนาดนั่งตบยุง ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าการที่ตลาดหุ้นเป็นแบบนี้มันเหมาะมากที่จะหาซื้อหุ้นดีๆ เป็นอย่างยิ่ง!!!"

___________________________________________________




การเงิน - การลงทุน : ถนนนักลงทุน
วันที่ 28 สิงหาคม 2555
วิธีดูหุ้น 'นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




เปิด 7 กลยุทธ์เฟ้นหาสุดยอดหุ้นสูตร 'นายแพทย์ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ' เลือกหุ้นแบบไหนสร้างผลตอบแทนได้ 4-5 เท่า..ตั้งแต่เปลี่ยนมาลงทุนแนว VI ซื้อหุ้น 'ไม่เคยขาดทุน'
จากหมอสูติ-นรีเวช ก้าวสู่เส้นทาง “เซียนหุ้นวีไอ” ต้องการมีอิสระภาพทางการเงิน นายแพทย์ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ คุณหมอวัยกลางคนวัย 43 ปี เคยล้มเหลวจากการลงทุนเพราะยึดนโยบาย “ไม่ขาย ไม่ขาดทุน” ทำให้ “ขาดทุน” จากวอร์แรนท์ตัวหนึ่งถือไว้จนราคาหุ้นแทบเป็น "ศูนย์" จากนั้นก็หยุดเล่นหุ้นไปพักใหญ่ก่อนจะกลับมาซื้อขายอีกครั้งในปี 2544 ด้วยแนวทาง Value Investor อย่างเต็มตัว ปัจจุบันคุณหมอเป็นเจ้าของพอร์ตหุ้นหลักเท่าไร “ไม่รู้” เพราะเจ้าตัวกอดความลับนี้ไม่ยอมเปิดเผย บอกเพียงว่าไม่แตกต่างอะไรจากคณะกรรมการสมาคมวีไอคนอื่นๆ...ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า "พอร์ตคงใหญ่ไม่ใช่เล่น"

หมอมุขเจ้าของชื่อล็อกอิน Paul vi ในเว็บไซต์ไทยวีไอ เปิดเผยกลยุทธ์การลงทุนส่วนตัวให้ฟังว่า หลักๆ จะเน้นดู 7 ข้อ คือ 1.หุ้นตัวนั้นต้องมีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) สูง 15-20% ขึ้นไป ROE จะบ่งบอกความสามารถของผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น “ยิ่งสูง ยิ่งดี” แต่บางครั้งก็มีตัวหลอกเหมือนกัน หากบริษัทนั้นมีหนี้สินจำนวนมาก ฉะนั้นต้องดูดีๆ อย่ารีบเชื่อทันที!

ข้อ 2. หุ้นตัวนั้นต้องมีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) สูงกว่า 10% ข้อ 3.ต้องมี PEG ratio น้อยกว่า 1 เท่า คือการเทียบค่า P/E ratio กับการเจริญเติบโตของกำไรสุทธิ (Growth) หาโดยเอาค่า P/E ratio ตั้งหารด้วยเปอร์เซ็นต์การเจริญเติบโตนั้น บริษัทใดที่ราคาหุ้นต่ำจะน่าซื้อ ถ้าค่า PEG ratio เกิน 1 แสดงว่าราคาหุ้นสูงเกินไป

ข้อ 4.ต้องมีอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) อยู่ในระดับ 3.5-4% ขึ้นไป ถามว่าทำไมต้องเป็นตัวเลขนี้ เพราะเป็นตัวเลขที่มากกว่าอัตราเงินเฟ้อที่ปกติจะอยู่ระดับ 3% ข้อ 5. หุ้นตัวนั้นต้องมีกระแสเงินสดสูงๆ ยิ่งไม่ต้องจ่ายหนี้ "ผมจะชอบมากเป็นพิเศษ"

ข้อ 6. ผู้บริหารต้องไว้ใจได้ (โปร่งใส) พูดแล้วทำได้จริง ซึ่งเราต้องไปคุยกับผู้บริหารบ่อยๆ ยิ่งเขาถือหุ้น 20-25% ผมยิ่งชอบเพราะมันจะบ่งบอกว่า เขาจะทุ่มเทในการทำงานมากขนาดไหน ข้อสุดท้าย จะดูปัจจัยทางกายภาพ ธุรกิจนี้มีความแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน โอกาสเติบโตของรายได้และกำไรเป็นอย่างไร สินค้าหรือธุรกิจหลักจะเติบโตไปตามชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ และลูกค้านิยมชมชอบสินค้ามากหรือน้อยแค่ไหน ที่สำคัญจะดูว่าคู่แข่งของเขามีใครบ้าง หากจะมีคู่แข่งเกิดขึ้นใหม่จะเข้ามาในธุรกิจนี้ได้ง่ายหรือยาก

“ผมไม่นิยมดูเส้นเทคนิคและไม่เคยนำมาประยุกต์ใช้ เพราะไม่เข้าใจในหลักการ ส่วนใหญ่จะดูเพียงราคา ณ ปัจจุบัน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับมูลค่าที่ประเมินไว้ว่ามันมีส่วนลด (Margin of Safety) เป็นที่น่าพอใจหรือไม่ เช่น ถ้ามีส่วนลด 40-50% จากมูลค่าที่คิดไว้ก็พอใจที่จะซื้อแล้ว”

เซียนหุ้นคุณพ่อลูกสอง กล่าวต่อว่า ในพอร์ตมีหุ้นที่สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ประมาณ 4-5 เท่า อยู่ใน 3 กลุ่มหลักๆ คือ 1.กลุ่มโมเดิร์นเทรด (ไม่บอกชื่อหุ้น) ตัวนี้ชอบมากที่สุด เพราะเป็นธุรกิจที่มีกระแสเงินสดค่อนข้างมาก มีอำนาจการต่อรองกับซัพพลายเออร์สูง ที่สำคัญการขยายสาขาส่วนใหญ่จะใช้โมเดลเดิมๆ ใช้เงินลงทุนไม่มากสามารถทำซ้ำๆ ได้ตลอดเวลา

ข้อดีของหุ้นโมเดิร์นเทรดตัวที่ลงทุนเขายังสามารถขยายสาขาได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะตามจังหวัดหัวเมืองขนาดใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา และหาดใหญ่ รวมถึงหัวเมืองรองๆ เช่น ราชบุรี และนครปฐม เป็นต้น ฉะนั้นเมื่อโมเดิร์นเทรดรายใหญ่ไปเปิดสาขาใหม่ พวกโมเดิร์นเทรดเล็กๆ ก็จะตามไปเปิดด้วย

รองลงมา คือ กลุ่มที่จะได้ผลประโยชน์จากการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ เช่น กลุ่มสื่อสาร โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นเบอร์ต้นๆ ของเมืองไทย เพราะเขาจะมีอำนาจการต่อรองกับผู้บริโภคสูง และมีแนวโน้มจะเติบโตไปตามวิถีชีวิตของประชาชน

“จุดเด่นของหุ้นสื่อสารตัวนี้ (ที่ลงทุน) คือเขาจะมีกระแสเงินสดเยอะ ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อยี่ห้อสูงไม่ค่อยเปลี่ยนค่าย รวมถึงได้เปรียบในความใหญ่ ที่สำคัญสเปกทางการเงินของเขาตรงใจผมทุกอย่าง (หัวเราะ)"

กลุ่มที่สาม คือ หุ้นเทิร์นอะราวด์ กลุ่มนี้เคยสร้างผลตอบแทนได้ดีมาก โดยมักจะเข้าไปซื้อในช่วงที่ไม่มีนักลงทุนรายใดสนใจ หลังพบว่าธุรกิจนั้นเกิดความผิดพลาดเพียงชั่วคราวหากศึกษาแล้วพบว่าอนาคตเขากำลังจะดีขึ้นจะเข้าไปซื้อไว้ จากการตรวจสอบของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบว่า นพ.ประมุข เคยเข้าไปลงทุนในหุ้นเทิร์นอะราวด์ อาทิ หุ้นทาพาโก้, ไดเมท (สยาม), พรีบิลท์ และ ซิงเกอร์ประเทศไทย เป็นต้น

“นอกจากนี้ผมก็ชอบลงทุนหุ้นปันผลที่ให้ผลตอบแทน 7-10% เพราะมันจะทำให้พอร์ตของผมมั่งคงมากขึ้น ปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนของผมอยู่ในรูปเงินสด หุ้นกู้ และสินทรัพย์อื่นๆ 10-20% ที่เหลือ 80% จะลงทุนในหุ้น โดยจะเน้นลงทุนหุ้นเติบโต 80% อีก 10-20% จะลงทุนหุ้นปันผล"

หมอมุข เล่าต่อว่า ตอนนี้มีหุ้นอยู่ในพอร์ต 8 ตัว ปกติจะถือลงทุนไม่เกิน 10 ตัว มากกว่านี้จะดูไม่ทัน หลังจากที่ซื้อหุ้นตัวไหนแล้วก็จะถือไปจนกว่าราคาหุ้นจะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง ถ้าราคาหุ้นขึ้นมาถึงราคาที่เหมาะสมแล้วแต่ยังหาตัวใหม่ที่ดีกว่าไม่ได้ ก็จะยังไม่ขาย บางตัวเคยถือนาน 2-3 ปี ระยะสั้นที่สุด 8 เดือน

"ตั้งแต่ผมเปลี่ยนมาลงทุนแนว VI "ผมไม่เคยขาดทุน" เพราะราคาที่ซื้อจะพิจารณาด้วยความระมัดระวัง ไม่ค่อยไล่ราคา..ผมรอได้ ไม่อยากติดบนรถไฟนานๆ (หัวเราะ) อีกอย่างราคาที่ซื้อคิดแล้วไม่แพงเกินไป และทุกครั้งที่ซื้อหุ้นตัวไหนผมจะจดไว้เสมอว่า ซื้อเมื่อไร ซื้อเพราะอะไร ราคาเป้าหมายเท่าไร และจะขายเมื่อไร”

นพ.ประมุข บอกว่า เมื่อราคาหุ้นขึ้นไปถึงเป้าหมาย ก็จะย้อนกลับไปดูว่าหุ้นตัวนั้นขึ้นเพราะเหตุผลนี้(ที่จดไว้)หรือไม่ ถ้าขึ้นมาเร็วเพียงเพราะอารมณ์ชั่ววูบของนักลงทุน แต่ราคายังไม่ถึงเป้าหมายก็อาจจะขายออกไปก่อน แล้วอาจกลับมาซื้อใหม่ถ้าราคาลดลง ตรงกันข้ามหากราคาหุ้นขึ้นเพราะจะมีข่าวดีที่ไม่เคยรับรู้มาก่อนก็จะถือต่อไป การลงทุนจะถือคติว่า “การเป็นนักลงทุนแนว VI ไม่จำเป็นต้องซื้อจุดต่ำสุด ขายจุดสุงสุดเสมอไป”

คุณหมอ อธิบายยุทธวิธีการซื้อหุ้นของตัวเองให้ฟังว่า หากมั่นใจ 100% จะเข้าซื้อหุ้นตัวนั้น 30% ของพอร์ต (ไม่เกินนี้) วิธีการซื้อจะไม่ซื้อครั้งเดียว 30% แต่จะแบ่งซื้อเป็น 5-10 ไม้ ไม้ละ 10-20% มีทั้งเคาะซื้อทันที และตั้งรอ (ช่อง Bid) เพื่อเฉลี่ยต้นทุนและเพื่อความปลอดภัย เพราะถ้าซื้อทีเดียวบางครั้งความคิดเราอาจยังไม่ตกผลึกพอ แม้จะทำการบ้านมาดีแค่ไหนก็มีโอกาสพลาดได้

"บางคนใจร้อนไม่ยอมรอ..อาจพลาดได้ เวลาซื้อหุ้นกรุณาใจเย็นๆ จงให้ความสำคัญกับการรักษาเงินต้นก่อนเสมอ ทุกครั้งที่ผมลงทุนถ้ามีความมั่นใจ 100% มักจะได้กำไร 3-4 เท่า แต่หากมั่นใจหุ้นตัวนั้นเพียง 50% ผมจะซื้อเพียง 10% ของพอร์ต เน้นซื้อแบบตั้งรับ (ตั้งรอ) ไม่ซื้อทันที โดยจะถอยไป 2-3 ช่องราคา บางครั้งก็ไม่ซื้อเลย ขอดูเรื่อยๆ ขอต่อรองราคา ผมจะไม่รู้สึกเสียดายถ้าตกรถไฟ เพราะถ้าเราไม่เข้าใจธุรกิจ..อย่าซื้อ!!”

จากสถิติการลงทุนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คุณหมอได้รับผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจมาก ในปี 2553 ได้กำไร 100% ปี 2554 ทำกำไรได้ประมาณ 75% น้อยกว่าปี 2553 เพราะราคาหุ้นหลายตัวขึ้นมาสูงแล้ว และหาหุ้นดีๆ ได้ยากขึ้น รวมถึงมูลค่าพอร์ตเริ่มใหญ่ขึ้น ส่วนในปี 2555 ตอนต้นปีตั้งเป้าผลตอบแทนไว้ 40-50% แต่มาถึง ณ วันนี้ กำไรเกินมามากแล้ว เจ้าตัวบอกถ้าเฉลี่ยแต่ละปีได้กำไร 20% ก็ถือว่า “หรู” มากแล้ว

ส่วนคำถามประจำ..คุณหมอมีพอร์ตลงทุนเท่าไร? ความลับนี้เจ้าตัวไม่ยอมเปิดเผยโดยบอกเพียงว่า ทุกวันนี้ได้พบกับ “อิสระภาพทางการเงิน” แล้ว (อยู่ได้โดยให้เงินทำงานให้) คุณหมอบอกว่า กำลังค้นหา "หุ้นที่โลกลืม" ที่มีแนวโน้มจะเติบโตสูงในอนาคต ถ้าใครค้นพบหุ้นลักษณะนี้จะให้ผลตอบแทนที่สูงมาก บางครั้งได้กำไร 3-4 เด้ง ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีครึ่ง นั่นเป็นเพราะไม่มีใครสนใจ

"ผมเคยซื้อหุ้นตัวหนึ่ง ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่เขาเข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้น เพราะงบการเงินเขาตรงสเปกผมทุกอย่าง โดยเฉพาะในแง่ของกระแสเงินสด เขามีเยอะมาก ตอนนั้นมีคนบอกผมว่า ประเมินหุ้นตัวนี้ยากนะ แต่หลังจากผมหาข้อมูลจนครบถ้วนก็ซื้อเลยเพราะเชื่อว่าหุ้นตัวนี้ไปได้ไกลแน่นอน สุดท้ายก็เป็นจริง"

สำหรับหุ้นที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวด้วยเลย นพ.ประมุข กล่าวว่า หุ้นที่มีการฟ้องร้องทางกฎหมายมีคดียาวเป็นหางว่าว รวมถึงหุ้นที่มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง และหุ้นที่มีปัญหาด้านศีลธรรม ยิ่งเป็นหุ้นที่มีผู้บริหารไม่โปร่งใสออกแนวสีเทาๆ "ผมไม่ซื้อเลย"

"ผมไม่ค่อยชอบพวกหุ้นโรงงานที่มีการลงทุนเยอะๆ และหุ้นวัฎจักร เช่น คอมมูนิตี้ น้ำมัน และเหล็ก เพราะคาดการณ์ลำบาก ต้องติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา แต่หากเป็นธุรกิจที่มีวัฎจักรยาวๆ เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์บางตัวที่ราคาหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่า ก็ยังพอลงทุนได้"

แม้ชีวิตจะพบกับอิสระภาพทางการเงินแล้ว แต่คุณหมอและภรรยาจะยังยึดอาชีพ "หมอรักษาคนไข้" ต่อไป แต่อาจลดเวลาการทำงานลงบ้างตามอายุ ทุกวันนี้คุณหมอจะสอนลูกทั้ง 2 คน (ผู้หญิงคนโตอายุ 14 ปี และลูกชายอายุ 8 ปี) เกี่ยวกับการลงทุนโดยคนโตเริ่มซึมซับบางแล้ว ส่วนลูกๆจะเลือกเดินทางไหนทั้งสองหมอให้อิสระเต็มที

สุดท้าย นพ.ประมุข ฝากบอกนักลงทุนมือใหม่ว่า นักลงทุนที่ดีควรจะเป็น “นักสำรวจ” ที่ดีด้วย ต้องหมั่นไปดูสินค้าที่เราเป็นเจ้าของ เช่น ไปเยี่ยมชมเคาน์เตอร์ หรือไปดูสินค้าตามห้าง และไปถามว่าเขาขายดีหรือไม่ เราจะได้กลับมาประเมินอนาคตของหุ้นตัวนั้นได้ถูก
"หนทางนี้จะนำท่านไปสู่คำว่า "อิสระภาพทางการเงิน" ได้หรือไม่..อยู่ที่ตัวของท่านเองแล้ว” คุณหมอกล่าวปิดท้าย
--------------------------------------






การเงิน - การลงทุน : ถนนนักลงทุน
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2555
อดีตพนักงาน SCC 'ณัฐชาต คำศิริตระกูล'รับปันผล'หลักล้าน'ต่อปี
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




พอร์ตใหญ่เท่าไรไม่ยอมบอก แต่รับเงินปันผล 'หลักล้านบาท'
ต่อปี 'กานต์' ณัฐชาต คำศิริตระกูล อดีตมนุษย์เงินเดือน 'เครือซิเมนต์ไทย' วัย 32 ปี


เคยเป็นพนักงานบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่ใครๆ ก็อยากไปทำงานด้วย แต่ “กานต์” ณัฐชาต คำศิริตระกูล อดีตวิศวกรฝ่ายการตลาด บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) วัย 32 ปี เขาเลือกที่จะทิ้งเงินเดือนหลายหมื่นบาท หน้าที่การงานที่ใครหลายคนมองว่าเป็นอาชีพที่มั่นคง มีโอกาสก้าวหน้า และมีสวัสดิการดีเป็นเลิศ ตัวเขากลับมองว่าอาชีพลูกจ้างชาตินี้คงหาความมั่นคงไม่ได้ ทันทีที่สิ้นเสียงความคิด! มนุษย์เงินเดือนอย่างเขาก็พร้อมสบัดเก้าอี้ที่เคยนั่งทำงานทุกวัน เพื่อออกไปแสวงหาความยั่งยืนให้กับชีวิต ด้วยการเล่นหุ้นอย่างมีสติ

ณัฐชาต เป็นหนึ่งในสมาชิกวีไอ เข้าร่วมงานกับสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) รับหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของสำนักงาน และรับสมัครสมาชิก หน้าที่ใหม่ที่ต้องทำงานด้วยความสมัครใจควบคู่ไปกับการเป็นนักลงทุนเต็มเวลา ขณะที่ในเว็บไซต์ "ไทยวีไอ" เขาคือ “Mario" ร่วมอุดมการณ์เดียวกับทางสมาคมฯ ต้องการสอนนักลงทุนให้จับปลากินเอง ไม่ใช่รอคน(เซียนหุ้น)หาปลามาให้

ร้านกาแฟเล็กๆ ข้างสำนักงานของสมาคมฯ คือจุดนัดพบระหว่างเขากับ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek เซียนหุ้นหนุ่มเตรียมตัวที่จะมาให้สัมภาษณ์เป็นอย่างดี เห็นได้จากกระดาษช็อตโน้ตที่เขาจดรายละเอียดต่างๆ ที่คิดว่า "บิซวีค" จะต้องตั้งคำถาม

"ผมลงทุนแนว Value Investor มา 7 ปีแล้ว เพิ่งลาออกจากงานประจำเมื่อปี 2554 เพื่อมาลงทุนอย่างจริงจัง อีกอย่างต้องการทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับสมาคมฯ และต้องการมีเวลาดูแลครอบครัว (พ่อ-แม่) มากขึ้น ตอนนี้ตั้งใจจะนำเงินที่ได้จากการลงทุนไปซื้อที่ดิน เพื่อปลูกบ้านให้พ่อกับแม่ที่จังหวัดขอนแก่น และกำลังจะหาซื้อคอนโดมิเนียมเป็นของตัวเอง ทุกวันนี้ยังเช่าเขาอยู่"

มีวีไอจำนวนไม่น้อยที่คิดคล้ายๆ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร แม้ตอนนี้กานต์จะมีเงินสำหรับซื้อบ้านราคาแพงๆ อยู่อย่างสบายจากกำไรหุ้นมหาศาลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่เขากลับคิดว่าตอนนี้อาจยังไม่ใช่สิ่งจำเป็น เขาเล่าว่า ครอบครัวเป็นคนจังหวัดขอนแก่น มีพี่น้อง 3 คน ตนเองเป็นลูกชายคนโต (คนรองห่างกัน 5 ปี คนเล็กห่างกัน 7 ปี) หลังจากสอบเทียบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6 ก็มาเรียนปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นก็ต่อภาควิชาวิศวกรรมบริหารการก่อสร้างที่จุฬาฯ จนเรียนจบปริญญาโท

เริ่มเข้าทำงานที่บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย ตอนปี 2547 ได้เงินเดือน 20,000 บาท ทำงานได้ 1 ปี บริษัทก็ให้โบนัส 3 เดือน บวกกับเงินเก็บที่ได้จากการทำงานราว 200,000 บาท ก็มานั่งคิดว่าจะเอาเงินไปทำอะไรดีที่สามารถสร้างความมั่นคงให้กับตัวเองและครอบครัว ทำธุรกิจดีมั้ย! หรือลงทุนอย่างอื่น ตอนนั้นก็พอมีความรู้เรื่องบัญชีอยู่นิดหน่อย

"ผมเริ่มค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ก็ไปเจอเว็บไซต์ Thaivi.com เปิดเข้าไปอ่านเห็นเขาพูดกันเรื่องการลงทุน ดูมีเหตุมีผลมาก ผมก็เริ่มสนใจ เพราะก่อนหน้ามีเพื่อนที่เรียนปริญญาโทด้วยกัน เขาเล่นหุ้นแบบเก็งกำไรรายวัน ผมไม่ค่อยชอบแนวนั้นดูมันเสี่ยงๆ"

จากนั้นก็ไปหาหนังสือมาอ่าน เริ่มตั้งแต่หนังสือ “ตีแตก” ของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เผยแพร่แนวความคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่าคนแรก ในหนังสือก็จะอธิบายว่า ซื้อหุ้นต้องมองให้เป็นธุรกิจ ยอมรับว่าหนังสือเล่มนี้เปลี่ยนความคิดเรื่องหุ้นอย่างสิ้นเชิง หนังสือเกี่ยวกับการลงทุนที่ พรชัย รัตนนนทชัยสุข กรรมการในสมาคมฯ เป็นคนแปล ก็ซื้อมาอ่าน

ช่วงนั้นมีโอกาสไปลงเรียนคอร์สสั้นๆ เกี่ยวกับบัญชี ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เขาจะเชิญผู้มีความรู้เกี่ยวกับบัญชีมาสอน ยอมรับว่าแรกๆ เดินหน้าหาความรู้ใส่หัวสมองอย่างเดียว พวกรายงานประจำปี 56-1 และงบการเงิน อ่านหมดทุกอย่าง เคยได้อ่านเกี่ยวกับทฤษฎี “ดอกเบี้ยทบต้น” ซึ่งคนที่ลงทุนเร็ว เงินต้นเยอะ และลงทุนถูกวิธี เขาได้กำไรกันถ้วนหน้า พออ่านจบก็มาทำตารางเปรียบเทียบใน Microsoft Excel ว่า ถ้ามีเงินเดือนเท่านี้ลงทุนอย่างนี้อีก 10 ปีข้างหน้าจะมีเงินเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไร แต่ทั้งหมดต้องยืนอยู่บนวินัยการลงทุนที่ดี

"โชคดีที่ผมเป็นคนค่อนข้างรู้จักใช้เงิน เมื่อก่อนช่วงแรกๆ ที่ทำงานผมยังไม่ซื้อรถ และมาเช่าหอพักใกล้ๆที่ทำงาน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาการเดินทาง"

เซียนหุ้นหนุ่ม เล่าต่อว่า เปิดพอร์ตครั้งแรกในปี 2548 กับ บล.ซีมิโก้ เพราะค่าคอมมิชชั่นมันถูก ช่วงแรกๆ ลงทุนค่อนข้างกระจัดกระจาย รู้แค่ว่าต้องซื้อหุ้นที่มี P/E ต่ำๆ และเงินปันผลเยอะๆ สุดท้ายก็มารู้ว่าหุ้นลักษณะนี้เป็น “หุ้นวัฎจักร” กำไรมันเยอะ เพราะอยู่ในช่วงพีคของธุรกิจ

"ผมโชคดีที่รู้ตัวเร็ว ถือหุ้นไม่ถึงเดือนก็ขายออกมา ไม่ได้กำไรหรือขาดทุน ตอนนั้นซื้อหุ้น สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI) หุ้นปูนซิเมนต์ไทย (SCC) และหุ้นโทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) หลังขายหุ้นหมด ก็กลับมาตั้งหลักใหม่ คราวนี้เริ่มไม่สนใจราคาหุ้นหรือค่า P/E มากจนเกินไปแล้ว ใช้เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่จะเน้นดูพื้นฐาน และอัตราการเจริญเติบโตเป็นหลัก ช่วงนั้นผมเดินสายไปฟังงานสัมมนาต่างๆ เกือบทุกเดือน"

เขาเดินสายไปทุกงาน โดยเฉพาะงานที่มีดร.นิเวศน์เป็นวิทยากร ช่วงนั้นสมองเริ่มซึมซับแนวคิดการลงทุนแนว VI มากขึ้น เพราะทำให้รู้วิธีคิดของคนเก่งๆ ทำไมเขาถึงซื้อหุ้นตัวนี้ มีกลยุทธ์การลงทุนอย่างไร ใช้เหตุผลอะไรในการเลือก เขาต้องการเรียนรู้วิธีการจับปลา ไม่ใช่รอให้เซียนหุ้นบอกใบ้หุ้นให้ ซึ่งมันไม่ยั่งยืน

เซียนหุ้นรายนี้ ไม่ขอเปิดเผยรายชื่อหุ้นที่ลงทุนแล้วประสบความสำเร็จ แต่บอกกว้างๆ ว่าสนใจหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคภายในประเทศ อาทิเช่น กลุ่มอาหาร ค้าปลีก และโรงพยาบาล เพราะเป็นธุรกิจใกล้ตัว เข้าใจง่าย ที่สำคัญกำไรมีอัตราเติบโตปีละ 20% ธุรกิจมีเงินสดเยอะ ไม่มีหนี้ แถมผลตอบแทนจากเงินปันผลดี ยิ่งตัวไหนให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8-9% เมื่อราคาลงมาก็จะสะสมไปเรื่อยๆ ทุกวันนี้ในพอร์ตมีหุ้นเฉลี่ย 5 ตัว โดยจะถือนาน 1-2 ปีขึ้นไป ส่วนมูลค่าพอร์ตลงทุนขอไม่พูดถึง เอาเป็นว่าทุกปีได้เงินปันผลมากกว่าเงินที่ลงทุนไปในช่วงแรกเยอะมาก ตอนนี้ก็ปาเข้าไป "หลักล้านบาท" ต่อปีแล้ว

“ผมลงทุนในตลาดหุ้นมา 7 ปี โดย 4 ปีแรก ได้กำไรเฉลี่ยปีละ 30-40% จากนั้นในปี 2551 เจอวิกฤติซับไพรม์ ทำให้พอร์ตขาดทุน 10-20% แต่หลังจากนั้นผลตอบแทนก็เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ”

แม้ ณัฐชาต จะไม่เปิดเผยพอร์ตการลงทุน แต่จากการตรวจสอบของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบว่า ณัฐชาต คำศิริตระกูล จะลงทุนคู่กับ รุ่งศักดิ์ คำศิริตระกูล ในทิศทางเดียวกัน ปัจจุบันถือหุ้น เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น (AS) ของ ปราโมทย์ สุดจิตพร รวมกัน 3,799,200 หุ้น มูลค่าประมาณ 56 ล้านบาท ถือหุ้น บีจีที คอร์ปอเรชั่น (BGT) ของ นพดล ธรรมวัฒนะ รวมกัน 5,844,400 หุ้น มูลค่าเกือบ 10 ล้านบาท และถือหุ้น มาสเตอร์ แอด (MACO) ของ นพดล ตัณศลารักษ์ รวมกัน 2,072,400 หุ้น มูลค่าเกือบ 20 ล้านบาท เท่ากับว่า ณัฐชาต และ รุ่งศักดิ์ ถือหุ้น 3 ตัวนี้ (AS, BGT, MACO) รวมกันมูลค่าประมาณ 86 ล้านบาท

ถามถึงกลยุทธ์การลงทุนในปัจจุบัน เซียนหุ้นหนุ่มวัย 32 ปี เล่าว่า จะเลือกหุ้นที่จะสามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 20-30% ต่อปี ถ้าได้ผลตอบแทนในระดับนี้ผ่านไป 3 ปี เงินต้นจะเพิ่มขึ้นทันที 1 เท่าตัว ขอแค่อย่ามีการขาดทุนหนักๆ ก็พอ พวกหุ้นที่มีกระแสเงินสดที่ดี หนี้สินน้อย และมีการเติบโตสม่ำเสมอ ก็น่าสนใจ ส่วนใหญ่หุ้นประเภทนี้จะทำธุรกิจเกี่ยวกับการบริโภคภายในประเทศ แต่ไม่ใช่ว่าเจอแล้วซื้อดะ ต้องมาดูก่อนว่าหุ้นตัวนั้น “ป็อปปูล่า” มากหรือเปล่า! ถ้ามากก็ "ยังไม่ซื้อ"

“เมื่อก่อนแม้จะขาดทุน แต่ไม่เคยหนักหนา ทุกครั้งที่คิดผิดเต็มที ก็จะขาดทุนแค่ 10% ส่วนตัวที่ถือแล้วได้กำไรบางครั้งก็ปล่อยให้มัน Let Profits Run (ปล่อยให้กำไรไหลไปเรื่อยๆ) ถือไปให้นานที่สุด”

เขาเล่ากลยุทธ์การทำกำไรว่า ส่วนตัวจะชอบหุ้น “นอกสายตานักลงทุนรายย่อย" หุ้นประเภทนี้จะมีเพื่อนน้อย เพราะบอกไปก็ไม่มีใครเชื่อ (หัวเราะ) หุ้นแบบนี้จะไม่มีใครเชียร์ ไม่มีใครพูดถึง เพราะมาร์เก็ตแคปไม่ใหญ่ แต่พวกนี้น่าสนใจมาก ยิ่งเป็นผู้นำของกลุ่มและกำลังจะดีขึ้นรีบซื้อเลย อาทิเช่น ผลการดำเนินงานเริ่มดีขึ้น นโยบายบางอย่างกำลังเปลี่ยนไป หรือผู้บริหารกำลังเปลี่ยนมาเป็นเจ้าของ เป็นต้น ส่วนพวกหุ้นนอกสายตาสถาบัน ก็ “ปลื้ม” นะ โดยเฉพาะธุรกิจที่ทำมาจนมีมาร์เก็ตแคปใหญ่ขึ้นระดับหนึ่ง แต่บังเอิญติดเงื่อนไขบางอย่างที่ทำให้นักลงทุนไม่สนใจ เช่น สภาพคล่องต่ำ เป็นต้น ฉะนั้นหากทุกอย่างเริ่มดีขึ้น และตัวเราเข้าใจ ก็ควรรีบซื้อดักทางไว้ก่อน แต่ต้องเลือกตัวที่ดีที่สุด

“ทุกครั้งที่ซื้อหุ้นผมจะถามตัวเองเสมอว่า นี่คือการลงทุนหรือการเก็งกำไร ถ้าเป็นการลงทุนเราจะตอบได้ว่าหุ้นตัวนั้นมีเงื่อนไขตรงกับที่ต้องการหรือไม่ ถ้าตรงจะกล้าซื้อ 20-30% แต่ถ้าไม่มั่นใจจะซื้อแค่ 5-10% เพื่อดูพัฒนาการของเขา พวกหุ้นผีบอก หุ้นกระซิบ ผมไม่เอาเลย”

ถามถึงเป้าหมายการลงทุนจากนี้ เขาบอกว่า จากนี้อยากมีผลตอบแทนจากการลงทุนเติบโตเฉลี่ย 25% ต่อปี นั่นแปลว่าทุกๆ 3 ปี เงินในพอร์ตจะเพิ่มเป็น 1 เท่า และ 10 ปีข้างหน้า ตัวเลขจะเปลี่ยนหลัก (เหมือนที่ ดร.นิเวศ พูดกับวีไอ) โดยสัญญากับตัวเองว่าจะไม่เดินนอกเกมส์ ไม่โลภจนคุมตัวเองไม่ได้ และจะไม่เปลี่ยนหุ้นบ่อยๆ


“ผมอยากฝากบอกนักลงทุนว่า อย่าไปอยากรู้เลยว่านักลงทุนคนนั้นคนนี้เขาซื้อหุ้นตัวไหน การซื้อตามคนอื่นจะทำให้เราไม่มีความแน่ใจตลอดเวลา ทุกครั้งที่หุ้นลงเราจะใจสั่น และต้องคอยถามคนอื่นจะขายหรือยัง จะขายเมื่อไร สำหรับคนที่เพิ่งเรียนจบควรเริ่มมองหาความมั่นคงให้ชีวิตตัวเอง การลงทุนแนว VI ก็เป็นทางเลือกอย่างหนึ่ง" อดีตมนุษเงินเดือน แนะนำ

____________________________________________________

สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(แห่งประเทศไทย) ตอนที่ 3



//www.bloggang.com/mainblog.php?id=prachaya555&month=06-01-2013&group=63&gblog=3




 

Create Date : 23 สิงหาคม 2555   
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2556 22:39:37 น.   
Counter : 2679 Pageviews.  


1  2  

P_ปรัชญา
 
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 63 คน [?]




หยิ่ง
กับตัวเองบ้าง
ในบางครั้ง

เบื่อ
ชีวิตความผิดหวัง
ในบางหน

เกลียด
ความไม่จริงใจ
ในบางคน

ยอมทน
คนหยามเหยียดได้
ในบางที


[Add P_ปรัชญา's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com