ตำนาน พระธาตุขามแก่น

ตำนาน พระธาตุขามแก่น



ได้มีโอกาส กราบนมัสการ พระธาตุขามแก่น
บ่ายวันที่ 16 มีนาคม 2552 วันที่ฟ้าโปร่งไส ไม่มีเมฆหมอก



มีพุทธศานิกชน หลายคนที่ตั้งใจมีศรัทธาแวะมากราบไหว้พระขอพร
พระธาตุขามแก่น
ให้เป็นมงคลชีวิต คนที่มาอาศัยร่มไม้ชายคาอาณาเขตจังหวัดขอนแก่น
ควรมากราบไหว้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง ขอพรท่านคุ้มครองดลบันดาล
ให้การดำรงชีวิตได้พบสิ่งดีงาม ยึดถือเป็นที่พึ่งทางใจ ทำความดีมีคุณธรรม
ปฎิบัติตนอยู่ในศีลธรรม สังคมก็จะน่าอยู่ มองคนรอบข้าง
ด้วยความปราถนาดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกัน
ผลบุญกุศล จะทำให้สุขกายสบายใจ มีความสุขสบายตามอัตภาพ สาธุ



ประวัติ แต่ดั่งเดิม ขององค์พระธาตุขามแก่น

พระธาตุขามแก่น เป็นเจดีย์ที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุด
องค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ องค์พระธาตุขามแก่น ประดิษฐานอยู่ที่
วัดเจติยภูมิ อำเภอน้ำพอง ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่น
ไปตามถนนขอนแก่น - ยางตลาด เลี้ยวซ้ายบริเวณบ้านพรหมนิมิตร
อำเภอเมืองขอนแก่น ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นเจดีย์ที่สำคัญ
ที่รู้จักกันดีแห่งหนึ่งในภาคอีสาน เป็นจุดยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
และเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์คู่อีสานอีกแห่งหนึ่ง นอกเหนือจาก
พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม และพระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร
ไม่ปรากฏอายุการสร้างที่แน่นอน

พระธาตุขามแก่น มีประวัติความเป็นมา
เป็นเรื่องเล่าสืบขานกันมาช้านาน ว่าภายหลังจากที่องค์สมเด็จ
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพานในวันอังคาร
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ที่กรุงกุสินารา เมื่อพระองค์ดับขันธ์
ปรินิพพานแล้ว พระมหาปัสสปเถระเจ้า พร้อมด้วยราชบริพาร
ได้มานมัสการถวายพระเพลิง เมื่อถวายพระเพลิงแล้วก็ประกาศให้
กษัตริย์ในชนบทต่างๆมารับแจกพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
กษัตริย์นครต่างๆ เมื่อได้รับแจกแล้วก็นำไปประดิษฐานไว้ในเมือง
ของตน เว้นแต่นครที่อยู่ในปัจจันตประเทศ
(ประเทศที่อยู่ห่างไกลมัชฌิมประเทศ) จึงมิได้รับแจก

ครั้งต่อมา โฆริยกษัตริย์ เจ้าผู้ครองเมืองโฆรีย์ ที่อยู่ใน
ปัจจันตประเทศ อยู่ห่างไกลกรุงกุสินาราซึ่งได้นามเมืองว่าเมืองกัมพูชา
(เขมรเดี๋ยวนี้) รับทราบข่าวมารับแจกพระสารีริกธาตุ (กระดูก)
ไม่ทัน เพราะมีการแจกไปหมดแล้ว เหลือแต่พระอังคาร (เถ้าถ่านที่เผาศพ)
จึงได้แต่พระอังคาร กษัตริย์โฆริยะจึงนำพระอังคารบรรจุไว้ในกระอูบทอง
เพื่อจะนำกลับนครโฆรีย์ ไปสักการะบูชา

ครั้นกาลเวลาล่วงเลยไป 3 ปี พระมหากัสสปเถระเจ้า ประสงค์
ที่จะนำเอาพระอุรังคะธาตุของพระพุทธเจ้าไปประดิษฐานไว้ในภูกำพร้า
(คือ พระธาตุพนมปัจจุบันี้) จึงได้จัดการก่อสร้างพระธาตุพนมขึ้น

เมื่อกษัตริย์โฆริยะพร้อมด้วยพระอรหันต์ในเมืองโฆรีย์ทราบข่าว
จึงมีศรัทธาที่จะนำพระอังคารของพระพุทธเจ้าที่ได้รับมา ไปบรรจุไว้
ในพระธาตุพนมร่วมกับพระอุรังคะของพระพุทธเจ้า จึงได้อัญเชิญ
พระอังคารของพระพุทธเจ้ามุ่งหน้าไปพระธาตุพนม พร้อมด้วยพระอรหันต์
ทั้ง 9 องค์ และยังมีพระยาหลังเขียว เจ้านครพร้อมด้วยราชบริพาร
อีก 90 คน ออกเดินทางไปยังภูกำพร้าสถานที่ประดิษฐานพระธาตุพนม

การเดินทางได้พากันมุ่งหน้ามาทางทิศเหนือ แต่พอมาถึงดอนมะขาม
แห่งหนึ่ง (ที่ตั้งพระธาตุขามแก่นปัจจุบัน) เป็นเวลาค่ำพอดี ประกอบกับ
ภูมิประเทศที่ราบเรียบ มีห้วยสามแยก น้ำไหลผ่านรอบๆดอน
ภายในบริเวณนั้นมีต้นมะขามใหญ่ต้นหนึ่งตายล้มลงแล้ว
เปลือกกะพี้กิ่งก้านสาขาไม่มี เหลือแต่แก่นข้างในเท่านั้น
จึงได้ใช้เป็นที่เก็บรองรับพระอังคารของพระพุทธเจ้า

ครั้นรุ่งเช้าก็ออกเดินทางต่อ แต่เมื่อไปถึงปรากฎว่าการก่อสร้าง
พระธาตุพนมได้เสร็จเรียบร้อยแล้วจะเอาอะไรเข้าบรรจุอีกไม่ได้
คณะจึงได้แต่เพียงพากันนมัสการพระธาตุพนม แล้วเดินทางกลับถิ่นเดิม
แต่เมื่อเดินทางมาถึงดอนมะขาม ที่เคยพักแรมเดิม
(ที่ตั้งองค์พระธาตุขามแก่นปัจจุบัน) เห็นต้นมะขามที่ตายล้มแล้วนั้น
กลับลุกขึ้นผลิดอกออกผล แตกกิ่งก้าน สาขา มีใบเขียวชะอุ่ม
แลดูงามตายิ่งนัก จะเป็นด้วยนิมิตหรืออำนาจอภินิหารของพระอังคาร
พระพุทธเจ้าก็มิทราบได้ คณะพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์และพระยาหลังเขียว
จึงได้ตกลงเห็นดีในการก่อสร้างพระธาตุครอบต้นมะขาม
บรรจุพระอังคารของพระพุทธเจ้าไว้พร้อมด้วยเงินทอง
แก้วแหวนแสนสารพัดนึก โดยทำเป็นพระพุทธรูปแทนพระองค์
เข้าบรรจุไว้ในพระธาตุนี้ เมื่อการก่อสร้างเสร็จ พระยาหลังเขียว
ก็จัดการสร้างบ้านสร้างเมืองขึ้น บริเวณใกล้ๆกับพระธาตุนั้น
มีกำแพงทั้ง 4 ทิศ ( ซึ่งซากศิลากำแพงที่หักพังยังมีหลักฐาน
อยู่ห่างจากองค์พระธาตุประมาณ 25 เส้น ) ส่วนพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์
ก็จัดการสร้างวัดวาอารามขึ้น คือ วิหารและพัทธสีมา เคียงคู่กับพระธาตุ

เหตุการณ์เป็นดังนี้ จึงปรากฎนาม "พระธาตุขามแก่น" และเมื่อกาลเวลา
ล่วงเลยมา พระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ ได้ดับขันธ์ปรินิพพานในสถานที่นี้
ทุกองค์ สรีระธาตุของท่านทั้ง 9 ก็ได้บรรจุไว้ในพระธาตุองค์เล็ก
ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระธาตุใหญ่ ด้วยเหตุนี้ประชาชน
จึงนิยมเรียกพระนามพระธาตุบ้านขามว่า "ครูบา ทั้ง 9 เจ้ามหาธาตุ"
จนถึงปัจจุบัน

แหล่งข้อมูล ประชาสัมพันธ์จังหวัด
_______________________________________________________



ประเพณี
งานฉลองและนมัสการพระธาตุขามแก่น ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
การสักการะ ใช้ธูป เทียน ดอกไม้ ขันแปดเก้า ในวันขึ้น 15 ค่ำ
ของทุกเดือน พระธาตุขามแก่น พระธาตุขามแก่นเป็นปูชนียสถาน
สำคัญคู่เมืองขอนแก่นและเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดขอนแก่น
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเจติภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง
อยู่ห่างจากจังหวัดขอนแก่นประมาณ 30 กิโลเมตร เดินทางไปตาม
ถนนสายขอนแก่น -กาฬสินธุ์ เลี้ยวซ้ายที่หลักกิโลเมตรที่ 12 บ้านโคกสี
เป็นถนนราดยางตลอด มีป้ายบอกทางไปพระธาตุ ขามแก่นเป็นระยะๆ
จนถึงองค์พระธาตุ พระธาตุขามแก่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสามเหลี่ยม
ทรงอีสาน องค์พระธาตุสูง 19 เมตร



ฐานด้านทิศตะวันออกและตะวันตกกว้าง 10.90 เมตรเท่ากัน
รอบองค์พระธาตุมีกำแพงแก้วล้อมรอบ ทั้ง 4 ด้าน สูง 1.20 เมตร
กำแพงแก้วห่างจากองค์พระธาตุโดยเฉลี่ย 2.30 เมตร ทุกด้านมีประตู
เข้าออก ด้านทิศเหนือ 2 ช่อง และทิศใต้ 2 ช่อง กว้างช่องละ 1 เมตร
ตำนานพระธาตุขามแก่น ประมาณ พ.ศ. 3 พระมหากัสสปได้นำเอา
พระอุรังคธาตุของพระ พุทธเจ้ามาประดิษฐานที่ภูกำพร้าและได้สร้าง
องค์พระธาตุพนมขึ้น พระยาหลังเขียวโมรียกษตริย์ทราบ ข่าวดังนั้น
เกิดศรัทธาใคร่นำพระอังคารมาบรรจุไว้ด้วยกัน จึงได้เดินทางมา
พร้อมกับข้าราชบริพาร และพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์



ในระหว่างเดินทางได้ผ่านดอนมะขามแห่งหนึ่งเป็นเวลาค่ำพอดี
จึงได้พา กันพักแรมในสถานที่นี้ ในบริเวณที่พักมีต้นมะขามตาย
ต้นใหญ่ต้นหนึ่ง มีแต่แก่นข้างใน จึงได้เอาพระ อังคารเก็บไว้
ในต้นมะขามต้นนี้ ครั้งเมื่อเดินทางต่อไปยังภูกำพร้า ปรากฏว่า
องค์พระธาตุพนมสร้างเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว จึงต้องเดินทางกลับ
ถิ่นเดิม เมื่อเดินทางมาถึงดอนมะขามบริเวณที่พักที่เดิมก็พบว่า
ต้นมะขามที่ตายเหลือแต่แก่นต้นนั้น กลับยืนต้นแตกกิ่งก้านสาขา
มีใบเขียวชะอุ่ม และดูงามตาเป็นอัศจรรย์ พระยาหลังเขียวและ
พระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ จึงตกลงใจสร้างพระธาตุครอบต้นมะขาม
โดยบรรจุพระอังคารของพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยแก้วแหวนเงินทอง
โดยทำเป็นพระพุทธรูปแทนพระองค์เข้าบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ
และก่อสร้างบ้านเรือน ณ บริเวณใกล้ๆพระธาตุ

ส่วนพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ ก็ได้จัดสร้างวัดเคียงคู่พระธาตุ
เมื่อพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ได้ดับขันธ์ปรินิพพาน ประชาชนได้
นำพระธาตุของพระอรหันต์บรรจุไว้ในพระธาตุองค์เล็กซึ่งอยู่ใกล้
พระธาตุขามแก่นเรียกว่าครูบาทั้งเก้า เจ้ามหาธาตุ มาจนทุกวันนี้
0ทุกวันเพ็ญ เดือน 6 จะมีงานฉลององค์พระธาตุขามแก่นเป็นงานประจำปี



ประวัติเมืองขอนแก่นและท้าวเพียเมืองแพน
ในปี พ.ศ. 2332 ท้าวเพียเมืองแพน ได้พาบุตรพร้อมด้วยผู้คน
ประมาณ 330 ครอบครัว อพยพจากบ้านชีหล่นแขวงเมืองสุวรรณภูมิ
(ปัจจุบันอยู่ในเขตท้องที่ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด)
มาตั้งอยู่ที่บ้านบึงบอน
(บ้านเมืองเก่า ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น ปัจจุบันนี้)
เดิมขึ้นอยู่กับพระยานครราชสีมา ต่อมามีใบบอกลงมายังกรุงเทพฯ
และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มีพระบรมราชโองการยกฐานะบ้านบึงบอนขึ้นเป็น "เมืองขอนแก่น"
เมื่อ พ.ศ. 2340 ตั้งให้
"ท้าวศักดิ์" ซึ่งเป็น "ท้าวเพียเมืองแพน" เป็นเจ้าเมืองขอนแก่น มีนามว่า
"พระนครศรีบริรักษ์บรมราชภักดี" หรือผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น
คนแรก ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา



คำขวัญจังหวัดขอนแก่น

"พระธาตุขามแก่น
เสียงแคนดอกคูณ ศูนย์รวมผ้าไหม เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่
ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเทห์เหรีญทองมวยโอลิมปิค"

______________________________________________________

......ไปขอนแก่น ไปกินข้าวเหนียว
ไปผูกเสี่ยว ไปเที่ยวงานไหม
พอถึงเดือนหก ก็เที่ยวบุญบั้งไฟ
ไผ๋บ่เคยไป สิบ่เห็นแก่นขอน
......ไปขอนแก่น ไปชมบึงงาม
ริมฝั่งน้ำ เป็นตาออนซอน
นั่งอยู่สายหล่าย เคียงคู่สลอน
เป็นตาออนซอน มางามหลายแท้นาง
......ชาวขอนแก่น เป็นคนใจดี
ฮักน้องพี่ บ่มีจืดจาง
ผู้สาวขอนแก่น สุดสวยสำอางค์
ถ้าได้เห็นนาง สิบ่อยากไปไส
......ไปขอนแก่น ไปกินลาบก้อย
ส้มปลาน้อย ก้อยปลาซิวใหญ่
อ่อมหอย แกงเห็ด ลาบเป็ดลาบไก่
สนุกถึงใจ ถ้าได้ไปเมืองขอนแก่...นนน
.......(ผู้ได๋สิไปมาเด้อ...มหาเดสิพาเที่ยว..
ว่าจั่งได๋สาวผู้ฮ้าย..วะซั่นแหมะ ......)

_______________________________________________________




 

Create Date : 16 มีนาคม 2552   
Last Update : 16 มีนาคม 2552 19:54:08 น.   
Counter : 8740 Pageviews.  


ศาลเจ้าพ่อมอดินแดง



วันนี้ตั้งใจขับรถ ตรงไปเพื่อไหว้ เจ้าพ่อมอดินแดง
เลยแวะถ่ายรูป ทางเข้ามหาลัยขอนแก่น ปากทางเข้าโรงพยาบาลศรีนครินทร์



____________________________________________________________________


ศาลเจ้าพ่อมอดินแดง
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำมหาลัยขอนแก่น
เป็นที่เคารพบูชา สักการะ ของคนทั่วไป




แต่ละปี นักศึกษาและข้าราชการ พ่อค้าประชาชน
จะมากราบไหว้ ขอพร บนบานศาลกล่าวกันตลอดปี



เมื่อเดินผ่านซุ้มประตู เข้าไปตามทางเดิน
ก็จะพบช้างหินตัวใหญ่ ตั้งตรงกลางทางเดิน
และสองฟากถนนเข้าศาลเจ้าพ่อมอดินแดง
ก็จะเต็มไปด้วย ช้างแก้บน เสือ ละคร อื่นๆ
วางเรียงรายแบบนับไม่ถ้วน















ตามทางเดินที่ทอดยาว ต้นเฟรินข้าหลวงกำลังสวย



และอีกมุมหนึ่ง



มองแบบไกลๆ



หน้าศาล ด้านทิศใต้





แทบจะเชื่อได้ว่า นักศึกษาร้อยละ99คน
มากราบไหว้ ฝากเนื้อฝากตัว ฝากความหวังกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ให้ช่วยเป็นกำลังศรัทธาในการเล่าเรียนปริญญาตรี
ให้จบอย่างไม่มีอุปสรรค สาธุ



ด้านหน้าศาลจะมีโต๊ะวางเครื่องไหว้



ที่ปักธูปเทียน



ด้านหลังตอนก้มลงกราบ จะได้ยินเสียง กุ๊ง กริ๊ง กุ๊ง กริ๊ง กุ๊ง กริ๊ง



เป็นเสียง โมบาย



เป็นโมบาย ที่นักศึกษษและประชาชน
นำมาแขวนตลอดแนวรั้วหน้าศาลเจ้าพ่อมอดินแดง



และแขวนตามต้นไม้ เต็มทั่วไป เสียงดังใสใส คล้ายเสียงของระฆัง



เป็นแผ่นป้าย บอกเล่าการภาวนาไหว้เจ้าพ่อ



แมลงปอเกาะกิ่งไม้ ใกล้ๆน้ำพุข้างศาล



หากนักศึกษาคนไหน ไม่เคยมาไหว้หรือมาชมศาลเจ้าพ่อมอดินแดง
ก็คงจะมาไม่ถึงมหาวิทยาลัยขอนแก่นกระมั่งครับ



เรื่อง ลึกลับ
ความศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ผมไม่มีเอกสารยืนยันเลยไม่ขอนำมาเล่านะครับ



ด้วยจิตศรัทธา ขอสักการะเจ้าพ่อมอดินแดง
ด้วยความเคารพนับถือ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
ให้คิดดี ทำดี ประพฤกปฏิบัติดี ด้วยกาย วาจา ใจ
สาธุ สาธุ สาธุ




 

Create Date : 18 ตุลาคม 2548   
Last Update : 15 มกราคม 2550 8:17:32 น.   
Counter : 7712 Pageviews.  


สัตว์มงคล

เส้นสายบนชายคากับลูกมังกรทั้งเก้า

พวกเขาปรากฏอยู่ทั่วไปในงานศิลปะตกแต่งที่แฝงกลิ่นอายโบราณของจีน ทั้งที่มีเพียงคำเล่าขานในหมู่ชนว่า “ลูกมังกรทั้งเก้า ไม่เป็นมังกร แต่ต่างมีดีที่ตน”

หากได้ไปชมสถาปัตยกรรมโบราณของจีน ตามวัดวาอาราม พระราชวัง ตำหนัก หอ ศาลา ฯลฯ เราจะได้พบเห็นงานศิลปะตกแต่งที่งดงามประหลาด ซุกซ่อนอยู่ตามสถานที่ต่างๆ อาทิ ขอบมุมอาคาร บานประตู สะพาน ระฆัง ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชวังต้องห้ามที่นครปักกิ่ง อันเป็นสถานที่สถิตสถาพรของโอรสแห่งสวรรค์ หากแหงนคอเงยหน้าขึ้น ก็จะพบว่าบริเวณสันหลังคาของสถาปัตยกรรมโบราณเหล่านี้ เรียงรายด้วยรูปสัตว์ที่ทำขึ้นจากกระเบื้องสีเขียวบ้าง เหลืองบ้างในลักษณะที่แตกต่างกันไป

รูปปั้นและลวดลายเหล่านี้ ส่วนหนึ่งเป็นรูปลักษณ์ของลูกมังกรทั้งเก้าจากตำนานเทพเจ้ายุคโบราณของจีน และต่างก็มีพัฒนาการไปตามกาลเวลาเช่นเดียวกับลวดลายมังกร จากบันทึกสมัยราชวงศ์หมิงหลายฉบับได้กล่าวถึงลักษณะพิเศษเฉพาะของลูกมังกรแตกต่างกันไป ซึ่งในส่วนที่เห็นพ้องกันโดยมาก ได้แก่

1. ปี้ซี่ (赑屃)มีรูปเป็นเต่า แต่ปี้ซี่จะมีฟัน ซึ่งแตกต่างจากรูปเต่าโดยทั่วไป มีพละกำลังมหาศาล โดยมากเป็นฐานของแผ่นศิลาจารึก สามารถพบเห็นได้ตามวัดวาอารามต่างๆ กล่าวกันว่าหากได้สัมผัสจะนำพาโชคลาภมาให้

2. ปี้อ้าน (狴犴)หรือเซี่ยนจาง รูปเป็นพยัคฆ์ น่าเกรงขาม มักเกี่ยวข้องกับคดีความ โดยมากจึงสลักรูปสัญลักษณ์นี้ไว้บนประตูเรือนจำ เสือเป็นสัตว์ที่ทรงอำนาจ ดังนั้นปี้อ้านจึงมีส่วนในการข่มขวัญเหล่านักโทษในเรือนจำให้มีความเคารพต่อสถานที่

3. เทาเที่ย (饕餮)รูปคล้ายหมาป่า มีนิสัยตะกละตะกลาม ดังนั้น ในสมัยโบราณผู้คนจึงนำมาประดับไว้บนภาชนะที่บรรจุของเซ่นไหว้ และเนื่องจากเทาเที่ยเป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้ายและตะกละ ดังนั้น จึงมีคำเปรียบเปรยถึงบุคคลที่เห็นแก่กินและละโมบโลภมาก ว่าเป็นพวกลูกสมุนของเทาเที่ย นอกจากนี้ เนื่องจากเทาเที่ยดื่มกินได้ในปริมาณมาก จึงพบว่ามีการนำเทาเที่ยมาประดับที่ด้านข้างของสะพานเพื่อป้องกันเหตุน้ำท่วม

4. ผูเหลา (蒲牢)มีรูปคล้ายมังกรตัวน้อย ชอบร้องเสียงดัง กล่าวกันว่า ผูเหลาอาศัยอยู่ริมฝั่งทะเล และเกรงกลัวปลาวาฬเป็นที่สุด ทุกครั้งที่ถูกปลาวาฬเข้าทำร้าย ผูเหลาจะส่งเสียงร้องไม่หยุด ดังนั้น ผู้คนจึงนำผูเหลามาประดับไว้บนระฆัง จากนั้นสลักไม้ตีระฆังเป็นรูปของปลาวาฬ เมื่อนำไปตีระฆัง จะได้เสียงที่สดใสดังกังวาน
5. ฉิวหนิว (囚牛)มีรูปเป็นมังกรสีเหลืองตัวน้อยที่มีเขาของกิเลน ชอบดนตรี ผู้คนจึงมักสลักรูปของฉิวหนิวไว้ที่ด้ามซอ

6. เจียวถู(椒图)มีรูปคล้ายลวดลายก้นหอย มักจะปิดปากเป็นนิจสิน เนื่องจากธรรมชาติของหอยนั้น เมื่อถูกรุกรานจากศัตรูภายนอก ก็จะปิดเปลือกสนิทแน่น ผู้คนจึงมักจะวาดหรือสลักลวดลายของเจียวถูไว้ที่บานประตู เพื่อแทนความหมายถึงความปลอดภัย

7. ชือเหวิ่น(鸱吻)หรือชือเหว่ย เฮ่าว่าง เป็นต้น มีรูปคล้ายมังกรแต่ไม่มีสันหลัง ปากอ้ากว้าง ชอบการผจญภัย และยังชอบกลืนไฟ กล่าวกันว่า ชือเหวิ่นอาศัยอยู่ในทะเล มีหางคล้ายเหยี่ยวนกกระจอก สามารถพ่นน้ำดับไฟได้ เชื่อว่าป้องกันสิ่งชั่วร้ายและอัคคีภัยได้ ดังนั้น หากพบมังกรที่มีหางขดม้วนเข้าประดับอยู่บนสันหลังคา นั่นก็คือ ชือเหวิ่น

8. ซวนหนี (狻猊)แต่เดิมซวนหนีเป็นคำเรียกหนึ่งของสิงโต ดังนั้น ซวนหนีจึงมีรูปเป็นราชสีห์ ชอบเพลิงไฟ และชอบนั่ง เนื่องจากสิงโตมีรูปลักษณ์เป็นที่น่าเกรงขาม ทั้งได้รับการเผยแพร่เข้ามาในจีนพร้อมกับพุทธศาสนา โดยมีคำกล่าวเปรียบพระพุทธเจ้าเป็นดั่งราชสีห์ ดังนั้น ผู้คนจึงนำลวดลายของซวนหนีมาประดับที่แท่นอาสนะของพระพุทธรูป และบนกระถางธูป เพื่อให้ซวนหนีได้กลิ่นควันไฟที่โปรดปราน

9. หยาจื้อ (睚眦)มีรูปคล้ายหมาไน ชอบกลิ่นอายการสังหาร คำว่า หยาจื้อ เดิมมีความหมายว่าถลึงตามองด้วยความโกรธ ต่อมาแฝงนัยของการแก้แค้น ซึ่งก็ย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงจากการเข่นฆ่า จึงมักจะนำมาประดับอยู่บนด้ามมีดและฝักดาบ เป็นต้น

ตำนานลูกมังกรทั้งเก้า
ตำนานของลูกมังกรทั้งเก้า เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง (ปี 1368 – 1644) โดยมีจุดเริ่มจากหลิวป๋อเวิน(刘伯温)เสนาบดีคู่บัลลังก์มังกร กล่าวกันว่า หลิวป๋อเวินเดิมเป็นเทพบนสวรรค์ที่อยู่ข้างกายอวี้ตี้หรือเง็กเซียนฮ่องเต้ เมื่อถึงปลายราชวงศ์หยวน แผ่นดินจีนลุกเป็นไฟ การศึกสงครามไม่สิ้น ราษฎรอดอยากยากแค้น เง็กเซียนฮ่องเต้จึงส่งหลิวป๋อเวินลงมาถือกำเนิดบนโลกมนุษย์ เพื่อช่วยกอบกู้ภัยพิบัติ พร้อมทั้งได้มอบกระบี่ประกาศิต ที่สามารถสั่งการต่อพญามังกรได้ แต่เนื่องจากในเวลานั้น พญามังกรเฒ่าสังขารร่างกายอ่อนล้า จึงส่งให้บุตรทั้งเก้าของตนมารับภารกิจนี้แทน

ลูกมังกรทั้งเก้าต่างมีอิทธิฤทธิ์แกร่งกล้า พวกเขาติดตามหลิวป๋อเวินออกศึกนับครั้งไม่ถ้วน หนุนเสริมจูหยวนจางสถาปนาแผ่นตินต้าหมิง ทั้งช่วยเหลือจูตี้ให้ได้มาซึ่งบัลลังก์มังกร ต่อเมื่อภารกิจเสร็จสิ้นสมบูรณ์ จึงคิดจะกลับคืนสู่สรวงสวรรค์ แต่จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่หรือจูตี้ กลับต้องการให้พวกเขาอยู่ข้างกาย เพื่อช่วยให้ตนเองเป็นใหญ่ในแผ่นดินตลอดไป ดังนั้นจึงอ้างเหตุก่อสร้างพระราชวังต้องห้ามที่ปักกิ่ง หยิบยืมดาบประกาศิตจากหลิวป๋อเวิน เพื่อสั่งการต่อลูกมังกรทั้งเก้า แต่ลูกมังกรต่างไม่ยอมสยบ

จูตี้เห็นว่าไม่อาจควบคุมลูกมังกรไว้ได้ จึงออกอุบาย โดยกล่าวกับปี้ซี่ที่เป็นพี่ใหญ่ว่า “ปี้ซี่ เจ้ามีพลังมากมายมหาศาล สามารถยกวัตถุนับหมื่นชั่งได้ ถ้าหากเจ้าสามารถแบกป้ายศิลาจารึก “เสินกงเซิ่งเต๋อเปย” ของบรรพบุรุษข้าไปด้วยได้ ข้าก็จะปล่อยพวกเจ้าไป” ปี้ซี่เห็นว่าเป็นเพียงป้ายศิลาเล็กๆก้อนหนึ่ง จึงเข้าไปแบกรับไว้โดยไม่ลังเล แต่ทำอย่างไรก็ไม่อาจยกเคลื่อนไปได้ ที่แท้ ป้ายศิลาจารึกนี้ ได้จารึกคุณความดีของ “โอรสสวรรค์” เอาไว้ (จากคติของจีนที่กล่าวว่า คุณความดีนั้น ไม่อาจชั่งตวงวัดได้) ทั้งยังมีตราประทับลัญจกรของฮ่องเต้สองสมัย สามารถสยบเทพมารทั้งปวงได้

ลูกมังกรที่เหลือเห็นว่าพี่ใหญ่ถูกกดทับอยู่ใต้ศิลาจารึก ต่างไม่อาจหักใจจากไป จึงได้แต่รั้งอยู่บนโลกมนุษย์ต่อไป เพียงแต่ ต่างก็ให้สัตย์สาบานว่า จะไม่ปรากฏร่างจริงอีก ดังนั้น แม้ว่าจูตี้สามารถรั้งลูกมังกรทั้งเก้าเอาไว้ได้ แต่ก็เป็นเพียงรูปสลักของสัตว์ทั้งเก้าชนิดเท่านั้น หลิวป๋อจือเมื่อทราบเรื่องในภายหลังจึงผละจากจูตี้ กลับคืนสู่สวรรค์ จูตี้รู้สึกเสียใจและสำนักผิดต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ จึงจัดวางหน้าที่ให้กับลูกมังกรทั้งเก้า สืบทอดเรื่องราวสู่คนรุ่นหลังไม่ให้เดินตามรอยความผิดพลาดของตน
เรียบเรียงจาก เชียนหลงเน็ต(นสพ.ผู้จัดการ)

___________________________________________________________




ปี๋ห่าว ของที่สะสมไว้



เต่าหัวมังกรทอง



เต่าหัวมังกร

คำว่าชิงถงถัวหลงเป็นชื่อเรียกโบราณวัตถุในพระราชวังกู้กง
เป็นเต่ามังกรทองสัมฤทธิ์บางทีเรียกจระเข้ทองสัมฤทธิ์
จริงๆแล้ว เต่ามังกร อาจเรียกว่า "ถัวหลง " เท่านั้น


____________________________________________________________________




กบนำโชค




เซียมซู่

เป็นสัตว์นำโชคหน้าตาคล้ายคางคก แต่มี 3 ขา
มีความหมายมงคล คือ โชคลาภ เงินทอง
และอายุยืนเพราะคนโบราณเชื่อว่าเนื้อเซียมซู้
เป็นยาอายุวัฒนะกินแล้วหายจากโรคภัย
ถ้าเลี้ยงไว้จะร่ำรวย



____________________________________________________________________



ผีซิ่วหรือปีเซี้ย ขจัดเสนียดจัญไร นักพนันถือเป็นสัญลักษณ์ กินรวบไม่ต้องจ่าย นำโชคในการทำธุรกิจแบบเสี่ยง



___________________________________________________________________



ปีเซี๊ยะปีเซี๊ยะ

เบญจลักษณ์แห่งความมั่คั่งร่ำรวย

ลักษณะของปี๋เซี้ยะ สตว์แห่งสรวงสวรรค์ มีดังนี้

หัวเป็นมังกร

ตัวเป็นกวาง

ขาเป็นสิงห์

ปีกเป็นนก

และหางเป็นแมว

ก่อนปี2546 จนถึงปี2566
โหราจารย์จีนทำนายไว้ว่า...เป็นช่วงเวลาแห่งธาตุดิน
ช่วงเวลาดังกล่าวมา คยามเจริญมั่งคั่ง ของโลกจะได้เคลื่อนย้าย
มาสู่ภูมิภาคเอเชีย

ปี๋เซี้ยะมีเบญจธาตุครบถ้วนตามลักษณะ ฮวงจุ้ย
ธาตุทอง ลักษณะสี่เท้าของสิงโต คือ ธาตุทอง
ธาตุน้ำ ลักษณะของเขาและลำตัวกวางอันอ่อนช้อย คือ ธาตุน้ำ
ธาตุไฟ ลักษณะมีปีกแบบนกคือ ธาตุไฟ
ธาตุไม้ ลักษณะศีรษะคล้างมังกรคือ ธาตุไม้


ลักษณะสำคัญ 8 ประการ
1) ปากกว้างใหญ่ อ้าปากรับทรัพย์
2) หางยาวคอยตวัดรับโชคลาภ
3) หัวเป็นมังกร เป็นมหาอำนาจ เป็นที่เกรงขามของสัตว์อื่น
4) เท้าเป็นสิงโต ตะปบเหยื่อและตะปบเงินทอง
5) ขาก้าวไปข้างหน้าอันหมายถึงความก้าวหน้า
6) มีลิ้นยาว คอยเก็บเกี่ยวตวัด โชค,ลาภและเงินทอง
7) มีร่างกายองอาจน่าเกรงขาม บั้นท้ายใหญ่ ไม่มีรูทวารขับถ่าย
แต่ระบายของเสียทางรูขุมขนเพียงเล็กน้อย
8) กินเงินทองแทนอาหาร กินเก่ง กินแล้วนำไปเก็บไว้ที่บั้นท้าย
ใช้จ่ายขับถ่ายเพียงเล็กน้อย จึงมีเหลือเก็บสะสมมากมาย

จีนกลาง เรียกว่า...ปี๋เซี้ยะ
จีนแต้จิ๋ว เรียก......ผี่ซิ่ว
จีนกวางตุ้ง เรียก...พีเย่า

คือเกล็ดความรู่เกี่ยวกับสัตว์สรวงสวรรค์ที่คนจีนนำมาเป็นเครื่องรางของขลังแบบจีน

__________________________________________________________________________




 

Create Date : 18 ตุลาคม 2548   
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2549 20:33:55 น.   
Counter : 4106 Pageviews.  


ท้าวกุเวรมหาราช (ไฉ่ชิ๋งเอี้ย)



ภาพถ่าย ท้าวกุเวร จากหน้าผาของประเทศจีน



องค์นี้อยู่ที่ กทม.



องค์นี้เป็น รูปจากประเทศธิเบต








*****ท้าวกุเวร*****
วัดถ้ำคูหาพิมุข ถ้ำพระนอน
อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ตามตำนาน องค์ท้าวกุเวร
บางตำนานก็เรียก...พระเศรษฐี
เรียก....ไฉ่ฉิงเอี๊ย เรียก....ท้าวเวสสุวรรณ


ในความเป็นมนุษย์ ย่อมมีศรัทธาเป็นที่ตั้ง
มีหลายสิ่งหลายอย่างเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
ความเชื่อในศาสตร์ ความเชื่อในศิลปวัฒนธรรม
มีตำนาน มากมายอ้างอิงถึงประวัติของแต่ละความเชื่อ
ให้ยึดมั่นถือมั่นในความดี มีศีลธรรม
คิดดีประพฤติดี มีสัจจะ ทั้งทางกาย วาจา ใจ

องค์ท้าวกุเวร (ชัมภล) หรือ เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย
พระหัตถ์ด้านขวาถือลูกแก้ววิเศษ
พระหัตถ์ด้านซ้ายถือพังพอน
ที่กำลังคาย เพชร,นิล,จินดา,แก้วแหวนเงินทอง
พระบาทซ้ายเหยียบหอยโข่ง นั่งท่ามหาราชเทวา
ความเชื่อในพระปางนี้มีมาตั้งแต่อินเดีย
ผ่านไทยไปถึงเมืองจีน
ที่เมืองจีนเรียกไฉ่ฉิงเอี้ย
สลักที่หน้าผาหิน
_________________________________________________________________






ไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ
หากเอ่ยถึงเทพเจ้าต่างๆ ที่ชาวจีนกราบไหว้บูชาแล้ว จะเห็นได้ว่ามีอยู่ด้วยกันนับสิบสิบองค์ และองค์หนึ่งที่ชาวจีนมัก
บูชาเพื่อความโชคดี ความมั่งคั่ง ความร่ำรวยมีโชคมีลาภก็คือ ไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภนั่นเอง ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์แรก
ที่ชาวจีนทุกครอบครัวกราบไหว้บูชากันในวันแรกของปีใหม่ ตามคติของชาวจีนคือวันชิวอิก ตรุษจีนของปี เพื่อขอให้ท่านประ
ทานความมั่งมีศรีสุข โชคลาภ ความร่ำรวย ชาวจีนให้ความเคารพนับถือและกราบไว้บูชากันมาหลายพันปีแล้ว

ประวัติความเป็นมาของไฉ่ซิงเอี้ย นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายตำนาน เท่าที่ศึกษาดูและพอจะมีหลักฐาน เค้าความจริงอยู่ด้วย
กันหลายเรื่อง มีอยู่ด้วยกัน 2 ภาค คือ เทพเจ้าแห่งโชคลาภฝ่ายบู๊ (บูไฉ่ซิงเอี้ย) และเทพเจ้าแห่งโชคลาภฝ่ายบุ๋น (บุ่งไฉ่ซิงเอี้ย)
ตามตำนานกล่าวกันว่า เทพเจ้าแห่งโชคลาภฝ่ายบู๊ก็คือ เจ้ากงหมิง ซึ่งบำเพ็ญพรตอยู่บนเขาง้อไบ๊ สำเร็จมรรคผลเป็นเซียนที่มี
อิทธิฤทธิ์สูงมาก หน้าตาดุร้าย มีหนวดเครารุงรัง มีสมุนร้ายกาจมาก คือ เสือดำ บางตำราว่าเป็นเสือโคร่ง และยังมีของวิเศษ
อีกหลายอย่าง เช่นแส้เหล็ก ไข่มุกวิเศษ เชือกล่ามมังกร แม้แต่ เจียงไท่กง ซึ่งเป็นเทพผู้ใหญ่ซึ่งมีหน้าที่แต่งตั้งเทพเจ้าองค์ต่างๆ
ยังสู้เจ้ากงหมิงไม่ได้และตอนหลังยังได้ของวิเศษอีก 4 อย่าง คือเจียป้อ หนับเตียง เจียใช้ หลี่ฉี ซึ่งเป็นของวิเศษที่สามารถเรียก
เงินทองให้ไหลมาเทมา ช่วยให้การค้าราบรื่นได้กำไรงาม ประชาชนจึงพากันกราบไหว้ เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภเงินทองความ
มั่งคั่ง เทพเจ้าแห่งโชคลาภฝ่ายบุ๋น ตามตำนานกล่าวกันว่า คือ ปี่กาน อัครมหาเสนาบดีของจักรพรรดิอินโจ้ว ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์
สุดท้ายแห่งราชวงศ์อินหน้าตาสะอาดหมดจด รับใช้ราชสำนักด้วยความจงรักภักดี แต่ถูกนางสนมเอกของจักรพรรดิอินโจ้ว
กลั่นแกล้ง โดยจะขอหัวใจของปี่กานมาเป็นยา ซึ่งปี่กานก็รู้ว่าถูกกลั่นแกล้ง แต่ก่อนที่จะควักหัวใจให้ไปปี่กาน ได้รับยาวิเศษจาก
เจียงไท่กงผู้ใดกินแล้วถึงแม้ไม่มีหัวใจและกินเข้าไปก่อนแล้วก่อนควักหัวใจ จึงทำให้มีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องมีหัวใจ พอควัก
หัวใจให้ไปแล้วก็เดินออกจากวังไป ตอนหลังเร่ร่อนไปตามหมู่บ้านต่างๆ เที่ยวโปรยเงินโปรยทองกลายเป็นเทพเจ้าแห่งทรัพย์
สินเงินทอง และโปรยเงินทองให้ประชาชนอย่างทั่วถึง

ลักษณะที่สำคัญอันเป็นเอกลักษณ์
เนื่องจากไฉ่ซิงเอี้ยเป็นเทพแห่งความโชคดี ความมั่งคั่งและความร่ำรวยและเป็นที่นิยมนับถือกันในหมู่ชาวจีนโดยเฉพาะ
ชาวจีนที่ประกอบการค้า ดังนั้นจึงปรากฏว่ามีการสร้างรูปเคารพของไฉ่ซิงเอี้ยขึ้นมา
เพื่อสักการะบูชากัน ซึ่งมีตั้งแต่เป็นภาพ
วาด, รูปปั้นเซรามิค (กระเบื้อง) และรูปหล่อโลหะ (มีน้อยไม่ค่อยพบเห็นเพราะจัดสร้างยาก ต้นทุนสูง)
ลักษณะที่ปรากฏในรูป
เคารพดังกล่าว จึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. รูปเคารพของไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบู๊

รูปเคารพของไฉ่ซิงเอี้ยในลักษณะนี้ จะเป็นรูปของไฉ่ซิงเอี้ยที่อยู่ในวัยกลางคนสวมใส่ชุดนักรบจีนโบราณ
อันประกอบ
ไปด้วยชุดเกราะ, หมวกขุนพลจีนโบราณ มือขวาจะถือกระบอง มือซ้ายถือเงินหยวน (หยวนเปา) ใบหน้าดุดันค่อนข้างไปใน
ทางเหี้ยมโหด และมีพาหนะเป็นเสือโคร่งลาดพาดกลอนตัวใหญ่

2. รูปเคารพของไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบุ๋น

รูปเคารพของไฉ่ซิงเอี้ยในลักษณะนี้ เป็นรูปของไฉ่ซิงเอี้ยอยู่ในชุดขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของจีนโบราณ สวมหมวกขุนนาง
มีปีกออกไปสองข้าง (ลักษณะเดียวกับหมวกของเทพลก) ชุดขุนนางจีนชั้นผู้ใหญ่ก็จะครบเครื่องครบครันทั้งเสื้อนอกเสื้อใน
มือซ้ายจะถือเงินหยวน (หยวนเปา) หรือบางที่ไม่ได้ถืออะไรดังกล่าวเลย แต่มือทั้งสองจะถือแผ่นผ้าจารึกอักษร (ปัก) ที่คลี่ออก
มาเป็นคำอวยพรที่เป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชาท่าน

อานุภาพของไฉ่ซิงเอี้ย

ไฉ่ซิงเอี้ยเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ความมั่งคั่ง และความร่ำรวยของชาวจีนย่อมจะต้องมีอานุภาพในด้านอำนวยความมี
โชคลาภ ความมั่งคั่ง และความร่ำรวยให้แก่ผู้บูชา ซึ่งหากบูชาได้ถูกวิธีก็จะดียิ่งขึ้น
สำหรับอานุภาพของไฉ่ซิงเอี๊ยนั้นขอจำแนก
ออกเป็นภาคเพื่อจะได้เข้าใจได้ชัดเจนดียิ่งขึ้น

1. ไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบู๊ ไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบู๊นี้ชาวจีนที่นับถือเชื่อกันว่าจะมีอานุภาพ
ให้คุณแก่ผู้บูชาในเรื่องของหนี้สินกล่าว
คือ จะช่วยดลบันดาลให้ผู้บูชาที่เป็นเจ้าหนี้สามารถทวงหนี้
จากลูกหนี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ลูกหนี้ไม่คิดที่จะเบี้ยวหรือหนีให้เจ้าหนี้
ต้องลำบากลำบน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงอานุภาพ
ในการช่วยดูแลควบคุม
บริวารลูกจ้างทั้งหลายให้อยู่ในกรอบในระเบียบให้
ขยันทำการทำงาน โดยเฉพาะตามโรงงานใหญ่หรือบริษัทใหญ่ๆ ตลอดจนกิจการงานที่มีลูกน้องมากๆ ต่างนิยมบูชาไฉ่ซิงเอี๊ย
ในภาคบู๊นี้ด้วย มีความเชื่อว่าท่านจะช่วยกำกับดูแล ลูกน้องให้ดีเป็นหูเป็นตาให้แก่ผู้บูชาหรือเจ้าของกิจการ
ทั้งนี้และทั้งนั้นยัง
รวมไปถึงบรรดาข้าราชการทหาร ตำรวจที่อยู่ในระดับหัวหน้า (ชั้นสูงๆ) ที่มีผู้ใต้บังคับบัญชามากๆ ต่างนิยมบูชาไฉ่ซิงเอี๊ยใน
ภาคบู๊ด้วยกันทั้งสิ้น (ของจีน) นอกจากนี้ยังมีอานุภาพ
ในการคุ้มครองบุตร ภรรยา (ของผู้บูชา)
ทั้งที่อยู่ในบ้านและต่างถิ่นแดน
ไกลให้ทำตนเป็นคนดี มีความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน

2. ไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบุ๋น ชาวจีนเชื่อว่า

ไฉ่ซิงเอี้ยในภาคบุ๋นนี้จะอำนวยพรให้ผู้บูชา
มีความมั่งคั่ง และมีความร่ำรวย และ
มีโชคลาภเป็นประจำ โชคลาภที่ได้เป็นรายได้พิเศษ ที่นอกเหนือไปจากรายได้ประจำไฉ่ซิงเอี้ย
ในภาคนี้จะมีอานุภาพในด้าน
เกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ และโชคลาภที่ถือเป็นรายได้รายรับที่จะทำให้ผู้บูชา
ที่มีความมั่งคั่งและมีความร่ำรวยเปรียบดังนักการฑูต
ที่ดีมีความสามารถในการเจรจาโน้มน้าวให้ต่างชาติ
ต่างภาษามีความเชื่อถือในประเทศของตน และเช่นเดียวกัน
ทำให้ลูกค้า
เชื่อถือในคุณภาพสินค้า และบริการและกลายเป็นลูกค้าประจำ
ดังนั้นผู้ที่จะบูชาไฉ่ซิงเอี้ยก็ควรอย่างยิ่งที่จะต้องบูชาไฉ่ซิงเอี้ย
ให้ครบชุด กล่าวคือ จะต้องมีรูปไฉ่ซิงเอี้ยทั้งในภาคบู๊
และภาคบุ๋นคู่กัน เพื่อท่านจะได้อำนวยความเป็นสิริมงคล
ให้ครบทุกๆ ด้าน ดังกล่าวมาแล้ว

รูปแบบการจัดสร้าง เทพเจ้าแห่งโชคลาภ "ไฉ่ซิงเอี้ย"

รูปหล่อบูชาไฉ่ซิงเอี๋ยในชุดนักรบยืนเหยียบเสือขนาดสูง 16 นิ้ว
มือซ้ายถือเงินทองและไข่มุกวิเศษ
มือขวาถือดาบคล้าย
กระบอง สวมใส่เสื้อมังกร เหน็บแส้ไว้ข้างลำตัว
จัดเป็นปางที่สวยสมบูรณ์แบบที่สุดของเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ยปางบู๊
ก็ว่าได้ซึ่งรูป
แบบจะเห็นได้ถึงความลงตัวของงานศิลปะจีน
ที่สวยงามอลังการยิ่งนัก
ปั้นแบบโดยประติมากรชื่อดังซึ่งปั้นงานศิลปะจีนได้
สวยงามที่สุดแห่งยุค (ขอสงวนนาม)
องค์เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ยอยู่ในชุดนักรบเหยียบเสือ สวมใส่เสื้อมังกรชุดนักรบมือซ้ายถือก้อน
เงินก้อนทองจีนมีไข่มุกวิเศษมุกไฟ
ล่อมังกรเป็นการเรียกทรัพย์โชคลาภ
ข้างลำตัวเหน็บแส้เหล็กไว้ พระพักตร์เต็มไปด้วยเมตตา
ปกติบู๊ไฉ่ซิงหน้าตาจะดุมาก
ลักษณะต่างๆ ถูกต้องตามโหงวเฮ้งยิ่งนัก
จมูกเจ้าทรัพย์เป็นมหาเศรษฐี เป็นเคล็ดว่าผู้บูชาจะได้
ร่ำรวยเป็นสิริมงคล มีอำนาจบารมีประกอบกับปางบู๊เหยียบเสือนี้
มีความหมายยิ่งนัก เพราะเสือเป็นราชาแห่งสัตว์ป่าทั้งมวล
บ่งบอกถึงอำนาจ ราชศักดิ์ความสง่าผึ่งผาย ความกล้าหาญ
ความทรงพลังทางอำนาจ ตลอดจนการค้าอีกด้วยและในภาวะ
เศรษฐกิจโลก ปัจจุบันเปิดกว้างถึงกันหมด
การค้าขายก็ไม่ผิดอะไรกับสงครามการค้าดีๆ นี่เอง
จึงควรบูชาบู๊ไฉ่ซิงเอี้ย เพื่อขอ
พระให้ท่านช่วยให้ทำการค้าประสบผลสำเร็จ
และปางเหยียบเสือนี้สอดคล้องกับปีนักษัตรจอ
ที่จะมาถึงในปี พ.ศ.2549 ยิ่งนัก
เพราะเสือกับจอเป็นคู่มิตร (ซาฮะ)
จะหนุนเสริมเติมพลังให้กันและกัน ผู้บูชาจะทำให้ธุรกิจการค้าพุ่งไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
และเจริญก้าวหน้า เสื้อที่องค์ไฉ่ซิงเอี้ยสวมใส่นอกจากชุดนักรบยังมีเสื้อมังกรอยู่ทั้งด้านหน้า
และด้านหลัง มังกรนั้นเป็นสัตว์
ในเทพนิยายจีนที่มีรูปลักษณะเด่นสะดุดตาหลายสิ่งหลายอย่าง
รวมกันถึง 9 ประการกล่าวคือ
หัวคล้ายอูฐมีเขาสวมอยู่คล้าย
เขากวางมีตาเหมือนกระต่าย
มีหูเหมือนหูวัว คอเหมือนงู
ลำตัวยาวเหมือนจระเข้ มีเกล็ดยาวตลอด
ลำตัวคล้ายเกล็ดปลา ขากรง
เล็บเหมือนนกเหยี่ยว ฝ่าเท้าเหมือนเท้าเสื้อเลื้อยแล่นวิ่งชอนไช
อยู่บนก้อนเมฆบนท้องฟ้า บางครั้งก็พบกำลังเลื้อยแล่นโต้คลื่น
อยู่ในทะเล ใกล้หัวมังกร มีลูกกลมเป็นไข่มุกไฟลอยหมุนอยู่
มังกรถือเป็นสัตว์เทพเจ้ามีความเป็นอมตะ
จะตายก็ต่อเมื่อสมัคร
ใจเองและไม่มีกำหนด มังกรจึงเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของชาวจีน
ซึ่งล้วนแต่เป็นสิริมงคลเป็นพื้นฐาน
ของความเมตตา กรุณา พลัง
อำนาจวาสนาความแคล้วคลาดปลอดภัย
เป็นผู้พิทักษ์อำนาจของเทวดาที่คอยเฝ้าดูอยู่เหนือจักรวาล
และมวลมนุษย์แม้แต่ฉลอง
พระองค์จักรพรรดิจีน ยังต้องมี "มังกร 9 ตัว" เป็นหัวใจ

รูปแบบที่มือขวาถือดาบคล้ายกระบอง
เป็นการช่วยในเรื่องของการค้า การเจรจา
อำนาจให้ดูมีบารมีน่าเกรงขาม แส้เหล็ก
ที่เหน็บข้างลำตัวไว้ปราบเสือ
เหมือนดั่งเอาไว้ควบคุมบริวารให้อยู่ในโอวาทไม่คดโกง
มือซ้ายถือก้อนเงินก้อนทองไข่มุกวิเศษ
ล้วนมีความหมายเป็นสิริมงคล
ให้ผู้บูชามีทรัพย์สินเงินทอง ร่ำรวย มีอำนาจ วาสนา
ยศฐาบรรดาศักดิ์ เกียรติยศชื่อเสียง

____________________________________________________________________


ท้าวกุเวรมหาราช (พระธนบดีศรีธรรมราช)
ผู้ประทานโชคลาภและความมั่งคั่ง แห่งอาณาจักรทะเลใต้

จำลองจากต้นแบบองค์ที่สวยที่สุดในโลก
ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์กีเม่ต์ ประเทศฝรั่งเศส







พระธนบดี ศิลปะศรีวิชัย เนื้อสำริดสนิมเขียว อายุประมาณ 1,200 ปี
ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ กีเม่ต์ ประเทศฝรั่งเศส
องค์นี้มีความงดงามสุดยอด เป็นศิลปะศรีวิชัยบริสุทธิ์ นำมาเป็นต้นแบบจัดสร้างในครั้งนี้

พระธนบดีศรีธรรมราช (เจ้าแห่งโชคลาภ)
จัดสร้างขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจำลองแบบมาจากรูปหล่อท้าว
กุเวรเจ้าแห่งขุมทรัพย์ที่สร้างขึ้นในสมัยศรีวิชัย
โดยมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น พระธนบดี พระกุเวร พระรัตนครรภ์
เจ้าพ่อขุมทรัพย์ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ
โบราณถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง
ที่มีหน้าที่ประทานความมั่งคั่ง ความมีโชคดีให้
กับผู้บูชา ฯลฯ

ท้าวกุเวร เป็นเทพผู้รักษาทิศเหนือ ตามลัทธิศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ
ประวัติของท้าวกุเวรกล่าวไว้ว่า
พระองค์ได้บำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นเวลาหลายพันปี จนพระพรหมทรงเห็นใจโปรดให้เป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง
จากมหากาพย์ รามายณะกล่าวว่า เทพกุมาร ได้รับยานที่ขับเคลื่อนไปในอากาศได้ตามประสงค์ของเจ้าของคือ
บุษบก บางตำรากล่าวว่าท้าว
กุเวรมีม้าสีขาวเป็นพาหนะ มีมเหสีนาม จารวี หรือ
ฤทธี มีโอรส 2 องค์ ชื่อ มณีครีพ หรือ วรรณกวี
กับ นุลกุพล หรือ มยุราช
มีธิดา 1 องค์ชื่อ มีนากษี ในรามเกียรติ์กล่าวว่า ท้าวกุเวรทรงเป็นบิดาคันธมาทน์ นายทหารของพระราม
และมีสวนชื่อเจตรถ
อยู่บนยอดเขามันทร ท้าวกุเวรยังมีชื่อเรียกตามเรื่องราวและคุณสมบัติอีกหลายชื่อ
เช่น กุตนุ (มีรูปร่างน่าเกลียด) รัตนครรภ
(มีเพชรเต็มพุง) ราชราช (เจ้าแห่งราชา)
นรราช ธนบดี (เป็นใหญ่ในทรัพย์)
ยักษราช (เจ้าแห่งยักษ์)
รากชเสนทร์ (เป็นใหญ่ในพวกรากษส) ฯลฯ



พระเศรษฐีชัมภล หรือพระธนบดี หรือ ท้าวกุเวร
พิมพ์ต่างๆ ในสมัยโบราณ ซึ่งมีสร้างทั้งศรีวิชัยและทวารวดี

ตามเรื่องรามเกียรติ์ เรียกชื่อท้าวกุเวรว่าท้าวกุเปรัน
แต่ชื่อที่คนไทยคุ้นเคย คือ ท้าวเวสสุวัณ
(สันสกฤต-ไวศรวณบาลี-เวสสวณ) ในคัมภีร์ไตรเพท
กล่าวว่า ทรงเป็นอธิบดี ของพวกอสูร รากษสและภูติผี
ในกลุ่มพวกนับถือศาสนา
พุทธลัทธิมหายานในประเทศจีนกล่าวว่า
โลกบาลทิศอุดร มีชื่อว่า "โตบุ๋น" แปลว่า " ได้ยินทั่วไป " มีพวกยักษ์เป็นบริวาร
มีกายสีดำ ถือดวงแก้วและงู
ส่วนพวกธิเบตกล่าวว่าถือธงและพังพอน สีกายเป็นสีทองคำ ในประเทศญี่ปุ่นถือว่า โลกบาลทิศ
นี้เป็นเทพเจ้าประจำโชคลาภมีนามว่า
" พิสะมอน " ตรงกับนามว่า " ธนบดี " หรือ ธเนศวร อันเป็นนามหนึ่งของท้าว
กุเวร แปลว่า เป็นเจ้าใหญ่แห่งพชทรัพย์ ส่วนหนึ่งของที่ถือนั้น มีแก้วมณีกับทวนหรือธง

ศาสนาพุทธนิกายมหายาน
ลัทธิวัชรยานในคัมภีร์สาธนมาา
กล่าวถึงท้าวกุเวรว่ามีหน้าที่เป็นทั้งธรรมบาล
คือ ผู้มีตำแหน่งเทียบเท่าพระโพธิสัตว์ มีหน้าที่ทำสงครามปราบปรามปีศาจและยักษ์มารต่างๆ ซึ่งเป็นศัตรูต่อพระพุทธ
ศาสนา ทรงเป็นโลกบาล (มีชื่อว่า เวสสุวัณหรือไวศรวีณ) คือ เทพผู้มีหน้าที่ปกป้องทิศทั้ง 4 (เฉพาะทิศเหนือ) อยู่บนเขา
พระสุเมรุซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
และคอยเฝ้าคอยดูแลทางเข้าสวรรค์ (ดินแดนสุขาวดี) *

*** พระธนบดีที่เก่าที่สุด เท่าที่พบในประเทศไทย มีการสร้างมาตั้งแต่ครั้งยุคสมัยศรีวิชัย
เมื่อกว่า 1,000 ปีก่อน แสดงให้
เห็นถึงความสำคัญได้อย่างดี พระธนบดียังถือว่าเป็นนิรมาณกายอีกปางหนึ่งของพระโพธิสัตว์ และยังเป็นส่วนหนึ่งของพระ
มหากษัตริย์ตามคำภีร์พระมนู
ซึ่งจะหมายถึงปางหนึ่งของจตุคารามเทพก็ได้ ที่จะประทานความอุดมสมบูรณ์และความมั่ง
คั่งให้กับโลกมนุษย์การสร้างพระธนบดีครั้งนี้
จึงสร้างขึ้นจากศาสตร์ความรู้ที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ



พระธนบดี หินแกะสลักที่มหาเจดีย์บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย
ศิลปะศรีวิชัยที่งดงาม ประจักษ์พยานถึงความสำคัญของพระธนบดี
ผู้ประทานสมบัติพระจักรพรรดิแห่งอาณาจักรทะเลใต้

ในอดีตยุคสมัยที่อาณาจักรศรีวิชัยเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด ประเพณีการสร้างรูปเคารพนิยมสร้างขึ้นใน
รูปของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
ปรากฏไปทั่วตลอดน่านน้ำทะเลใต้ ตั้งแต่ไชยา
ไปจนกรดเกาะชวา หรืออินโดนีเซียใน
ปัจจุบัน แต่มีรูปเคารพอยู่อีกหนึ่งองค์ที่มีการสร้าง
และยังคงมีหลักฐานปรากฏให้เห็น คือ พระธนบดี
ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์
ของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเป็นที่เคารพกราบไหว้กันทั่วไป แม้แต่ในประเทศจีน ทิเบต เนปาล ฯลฯ ที่นับถือพระพุทธ
ศาสนามหายานก็มีการนับถือกันแพร่หลาย
เรียกกันในชื่อของ "ชัมภล" ในภาษาไทยก็คือ ท้าวชุมพล
ซึ่งมีรากมาจากภาษา
สันสกฤษต ตามคัมภีร์เก่าแก่กล่าวไว้ว่า
ท่านเป็นผู้ประทานความมั่งคั่ง แผ่นดินใดที่อุดมสมบูรณ์พระมหากษัตริย์ปกครอง
แผ่นดินโดยธรรม ทรงเปี่ยมไปด้วยพระบรมเดชานุภาพเหนือกว่า
พระราชาทั้งปวงหรือที่เรียกว่า "จักรพรรดิ" ท้าวกุเวร
หรือชัมภลนี้จะเป็นผู้ประทาน "สัตตัตนมณี" แก้วเจ็ดประการหรือสมบัติแห่งจักรพรรดิอันมี
ช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนพลแก้ว
ขุนคลังแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว จักรแก้ว

การประทานสมบัติเจ็ดประการของมหาจักรพรรดิ เพื่อความรุ่งเรืองแห่งแผ่นดิน มีดังนี้

ประการที่ 1 จักรรัตนะ คือ จักรแก้ว หมายถึง การมีอำนาจหรือเดชานุภาพแผ่ขยายไปทั่วทุกทิศ

ประการที่ 2 หัตติรัตนะ คือ ช้างแก้ว หมายถึง การแสดงออกซึ่งความมีบารมีที่ยิ่งใหม่ความมั่นคง

ประการที่ 3 อัสสรัตนะ คือ ม้าแก้ว หมายถึง การมีบริวารข้าทาสรับใช้ที่ดี

ประการที่ 4 มณีรัตนะ คือ มณีแก้ว หมายถึง ความสว่าง ความมีสติปัญญา ความรู้

ประการที่ 5 อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หมายถึง ได้คู่ครองที่ดีมีความงดงาม

ประการที่ 6 คหปติรัตนะ คือ ขุนคลังแก้ว หมายถึง ความมีทรัพย์สิน เงินทองบริบูรณ์

ประการที่ 7 ปริณายกรัตนะ คือ ขุนพลแก้ว หมายถึง ที่ปรึกษาคู่ใจ ผู้ให้ความรู้ ผู้ปกป้องคุ้มครอง บุตรที่ดี

ดังนั้น อานุภาพแห่งพระธนบดีนี้
สามารถอธิษฐานขอพรได้ 7 ประการดัวยกันตามคุณลักษณะ
ของสมบัติจักรพรรดิ 7 ประการ
ซึ่งประทานให้โดยมหาราชผู้เป็นท้าวจตุโลกบาล
ซึ่งคุ้มครองดูแลโลกมนุษย์ตลอดกาล อาณาจักรศรีวิชัย
เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มีพระราชาธิราชที่มี
พระบรมเดชานุภาพเหนือกว่าพระราชองค์อื่นปกครอง
ทั่วน่านน้ำอาณาจักรทะเลใต้ มีพระมหากษัตริย์ที่ประกาศตนยิ่งใหญ่
ประดุจพระอาทิตย์ พระจันทร์ มีจารึกกรุงศรีวิชัยประกาศความยิ่งใหญ่
ปรากฏชัดเจน

ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ. 1318 ตามโบราณราชประเพณีจักต้องมีการสถาปนาองค์พระธนบดี
ดังปรากฏรูปเคารพขององค์ธนบดี ที่เรียกกันว่า ท้าวชุมภล สร้างขึ้นเป็นพระเครื่องเนื้อดินดิบบรรจุอยู่ตามถ้ำต่างๆ
ในเขตภาคใต้ และรูปหล่อเนื้อโลหะสำริด
ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา และพบเป็นจำนวนมากในชวาหรืออินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
อาณาจักรศรีวิชัยโบราณ นอกจากนั้นที่มหาเจดีย์บุโรพุทโธยังปรากฏ
รูปสลักหินพระธนบดีศิลปะศรีวิชัยเป็นหลักฐานว่า

เรื่องราว ของพระธนบดีนั้นมีที่มาที่ไปอย่างเด่นชัด

และภายในวิหารพระทรงม้าวัดพระบรมธาตุ
ก็ปรากฏรูปปั้นของท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณอยู่ที่ตีน
บันได้ทางขึ้นลานพระบรมธาตุ เพียงแต่อยู่ในรูปปางของ
มหาพญายักษ์ ซึ่งเป็นอีกนิรมานกายหนึ่งของพระธนบดี
ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในสี่ของจตุโลกบาลคุ้มครองปกป้อง
องค์พระบรมธาตุและพระพุทธศาสนา

___________________________________________________________________



เทพแห่งทรัพย์และการคุ้มครอง
ในคัมภีร์รามายณะและมหาภารตะได้บันทึกไว้ว่า ท้าวเวสสุวรรณมีอีกนามหนึ่งคือ ท้าวกุเวร
(ท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวมหากาพย์ หมายถึง
เทพผู้มีภารกิจคุ้มครองปกป้องโลกทั้งสาม) ซึ่งเป็นเทพแห่งยักษ์เป็นอสูรเทพ ท้าวเวสสุวรรณนี้เป็นเจ้าแห่งอสูรเทพทั้งมวลนั่นเอง พระปุลัสตย์นั้นเป็นพระบิดาของท้าวเวสสุวรรณ
และท้าวเวสสุวรรณได้มีโอรสองค์หนึ่งชื่อว่า พระวิศรวัส


ท้าวเวสสุวรรณแม้จะเป็นเทพอสูรแต่เป็นอสูร
ที่มีชาวบ้านชาวเมืองเคารพนับถือเป็นอันมาก
ดังจะเห็นว่าแม้ในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีพระรูปของท้าวเวสสุวรรณติดไว้ตามบ้านต่างๆ
เพื่อให้พระองค์ได้คุ้มครองดูแลปกป้องบ้านเรือนของครอบครัวนั้น

ส่วนใหญ่พระรูปของท้าวเวสสุวรรณจะถูกชาวบ้านชาวเมือง
นำมาติดไว้ที่ประตูหรือหน้ารั้วเพื่อให้พระองค์ได้ปกป้องคุ้มครอง
เพราะอีกนัยหนึ่งนั้นมีความเชื่อในหมู่ชาวอินเดียโบราณว่า
ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งทรัพย์สินด้วย

พระนามในบางคัมภีร์ของท้าวเวสสุวรรณ
อาทิ ยักษราช มยุราช รากษสเสนทร์ และธนวดี
ซึ่งหมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์สินนั่นเอง

การที่คนในพุทธศาสนาได้ทำบุญแล้วอธิษฐานอุทิศส่วนกุศล
ให้เจ้ากรรมนายเวรนั้น จริงๆ แล้วในความเชื่อของพราหม์ถือว่า
หมายถึงท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวจตุโลกบาลนั่นเอง

ท้าวเวสสุวรรณในบางคัมภีร์
เป็นอสูรเทพ เป็นยักษ์ 3 ขา มีฟัน 8 ซี
แต่พระวรกายขาวกระจ่าง สวมอาภรณ์งดงาม
มีมงกุฎทรงอยู่บนพระเศียร แต่มีรูปกายพิการ
และมีพาหนะคือม้าสีขาวนวลราวกับปุยเมฆ
******************************

ท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวกุเวร

ธิเบตเรียก นัม.โถ.เซ.

จีนเรียก ใช้ป๋อเทียนอ๊วงหรือพีซามึ้งเทียนอ๊วงหรือแป๊ะไช้ซิ้ง

ท่านมีสองสถานะคือสถานะเทพผู้ประทานทรัพย์องค์ขาว
และสถานะหนึ่งในท้าวจตุโลกบาล
ตำนานได้กล่าวไว้ว่า เมื่อก่อนพระศากยะมุนีพุทธเจ้าจะปรินิพพาน
ได้สั่งความแก่ท้าวจตุโลบาลไว้ว่าในอนาคตต่อไป
พุทธศาสนาจะประสพกับอุปสรรคมากมายพวกนอกศาสนา พวกไม่หวังดีต่อพุทธศาสนาจะทำร้ายพุทธศาสนา
ขอให้ท้าวจตุโลกบาลช่วยกันปกป้องรักษาพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ได้ทำหน้าที่ปกป้องพิทักษ์รักษา
พุทธศาสนาและผู้ปฏิบัติธรรมเสมอมา

คาถาประจำองค์ โอม.ไว.ซา.วา.นา.เย.โซ.ฮา

____________________________________________________________________

คนเราอยากรวยก็ต้องทำงาน รู้จักวิธีบริหารเงินให้งอกเงย

โปรดช่วยเหลือตัวเองก่อน ที่จะใ้ห้ผู้อื่นช่วยเหลือ ตนเป็นที่พึ่งเเห่งตน

____________________________________________________________________




 

Create Date : 07 ตุลาคม 2548   
Last Update : 22 มกราคม 2549 10:51:31 น.   
Counter : 23047 Pageviews.  


พระพิฆเณศ


______________________________________________________________

คาถาบูชาพระพิฆเณศ เทพแห่งความสำเร็จ
______________________________________________________________

คาถาบูชาพระพิฆเณศ

โองการพินธุ นาถังอุปปันนัง พรหมมะโน จะอินโธ

พิฆฆะเนศโต มหาเทโว อะหังวันทา มิสัพพะทา สิทธิกิจจัง

สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง ประสิทธิเม

_______________________________________________________________





ลักษณะทางประติมากรรมของพระพิฆเณศ

พระคเณศนั้นมีหลายปาง และมีให้เลือกสรรการบูชาตามความเหมาะสม แต่ภาพโดยสรุป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศียรก็ดี สัตว์พาหนะ ตลอดจนถึงเครื่องประดับและอิริยบทต่างก็ดี พอจะแยกได้ดังนี้

เศียร
พระคเณศมีตั้งแต่ 1 เศียรหรือพระพักตร์เดียว ไปจนถึง 2-5 เศียร
ซึ่งปาง 5 เศียรนี้นิยมใช้ในปางเหรัมภะซึ่งแพร่หลายในอินเดียและเนปาล ส่วนพระคเณศในแบบของคนไทยนั้นจะมีเพียงเศียรเดียวเท่านั้นส่วนใหญ่แล้ว
พระคเณศจะมีเพียงสองตาเท่านั้น ส่วนตาที่ 3 บริเวณหน้าผาก (บ้างใช้เปลวไฟเป็นสัญลักษณ์แทน ) นิยมใช้ในลัทธิตันตระที่ชัดเจนมากเห็นจะเป็นพระพิฆเณศวร์ในศิลปะแบบธิเบต
นอกจากนี้บริเวณหน้าผากทั่วไป อาจจะเป็นรูปจันทร์เสี้ยว
หรือเส้น 3 เส้นตามลักษณะของไศวะนิกาย หรือพระเศียรอาจจะสวมมงกุฎชนิดแบบราบ(กรัณฑมุกุฎ) หรือสวมชฎาทรงสูงก็ได้ ส่วนงานั้น จะมีเพียงงาเดียวข้างขวาเท่านั้นส่วนงาข้างซ้ายนิยมทำหักไว้

งวง
มีลักษณะที่ห้อยตรงแต่ส่ายปลายไปทางซ้ายหรือขวาแต่ที่นิยม
คือหันงวงไปทางซ้าย และหยิบขนม
บตะสะ (โมทกะ)จากถ้วยขนมที่ถืออยู่ในซ้ายมือ
หรือบางทีก็เป็นพวกผลไม้ป่า

กร
มีจำนวนกรตั้งแต่ 2-4 เรื่อยขึ้นไปถึง 10 กว่ากรหรือมากกว่านั้น สัญลักษณ์ที่ถือตามพระกรต่าง ๆเช่น งาหัก,ผลมะนาว, ผลไม้ป่า,มะขวิด,ลูกหว้า,หัวผักกาด,ขนมโมทกะ,
ผลทับทิม,ส่วนอาวุธนั้นมีมากมายอาทิ ขวาน,บ่วงบาศ,ดาบ,ตรีศูล ฯลฯ สิ่งอันเป็นมงคล เช่น สังข์,แก้วจินดามณี,ครอบน้ำ ฯลฯ

ท่าทาง
พระคเณศในยุคแรกนั้นจะเป็นพระคเณศ
ในรูปแบบของการยืนเสียเป็นส่วนใหญ่
จากนั้นจึงได้พัฒนาเป็นการนั่ง ซึ่งมีการนั่งถึง 4 ลักษณะด้วยกันคือ
1. ท่ามหาราชลีลา หรือเข่าข้างหนึ่งยกขึ้น อีกข้างหนึ่งงอพับบนอาสนะ (ซึ่งมีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12)
2. นั่งขาไขว้กัน
3. นั่งห้อยพระบาทข้างใดข้างหนึ่งส่วนอีกข้างวางพับอยู่บนอาสนะ
4. นั่งโดยขาทั้งสองพับอยู่ทางด้านหน้า ฝ่าเท้าทั้งสองอยู่ชิดกัน (ศิลปชวา,บาหลี)

เครื่องประดับ
ในยุคแรกไม่นิยมการทรงเครื่องประดับต่อมาจึงเริ่มมีเครื่องทรงมากขึ้น เริ่มจากสายยัชโญปวีต (สายศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาพราหมณ์ บางทีก็เป็นงูธรรมดา ส่วนผ้าที่นุ่งนั้น จะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นที่สร้างรูปเคารพส่วนเครื่องทรง
นั้นมีการเพิ่มเติมมากขึ้นเช่น มงกุฏ ,สร้อยคอ,สร้อยข้อมือ,สร้อยข้อเท้า,สร้อยกระดิ่ง

พาหนะ เท่าที่พบในปัจจุบันมีเพียง หนู นกยูงและสิงโตเท่านั้น

//www.geocities.com/ganes108/ganes13.htm

ข้อมูลอ้างอิง

______________________________________________________________

ความหมายของหนูกับช้าง

หนูกับช้างเป็นสัญลักษณ์ของการพึ่งพาและปรองดอง ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงอำนาจและความมีชัยของฝ่ายที่อยู่เหนือกว่า

ในทางมนุษยวิทยาแล้วมีผู้วิเคราะห์ไว้ว่า

หนูกับช้างเป็นสัญลักษณ์ของชนเผ่าสองกลุ่ม เผ่าที่มีชัยเหนือกว่าอาจจะเป็นชนกลุ่มที่นับถือช้างอยู่แต่เดิม จึงได้สร้างและยึดเอาประเพณีการนับถือช้างเป็นเทพเจ้ามาเป็นตัวแทนกลุ่ม
หรืออีกอย่างที่เป็นไปได้คือ คนสมัยดั้งเดิมนั้นประกอบอาชีพทางด้านกสิกรรม และแน่นอน หนูย่อมเป็นศัตรูอันร้ายกาจของไร่นา ภาพที่แสดงออกในรูปของช้างและงูที่เป็นสังวาลนั้น ได้แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้ทำลายหนูอันเป็นศัตรูสำคัญของผลิตผล
ทางการเกษตรอย่างชัดเจน ทั้งการนำหนูมาเป็นบริวารนั้น

เนื่องจากหนูขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วเพราะหนู
ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีความฉลาดและกัดทุกอย่างให้ขาดได้ ดังนั้นจึงเป็นความเหมาะสมสำหรับการเป็นพาหนะของเทพเจ้าแห่งปัญญา อันมีคุณสมบัติในการขจัดซึ่งอุปสรรค

_______________________________________________________________



พิธีกรรม การบูชาต่อพระพิฆเณศ

การนับถือบูชาพระคเณศในประเทศไทยปรากฏเป็นรูปธรรมอย่างเด่นชัดในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะว่าพระราชพิธีที่สำคัญ ๆ ในราชสำนักจะมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการบูชาพระคเณศประกอบเข้ามาในพิธีต่าง ๆ ดังกล่าวด้วย ซึ่งพิธีกรรม ที่มีการบูชาพระคเณศตามคติพราหมณ์ที่ปฏิบัติอยู่ในประเทศไทย
สมัยปัจจุบันก็คือ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
พระราชพิธีต่างๆเหล่านี้จะมีการอ่านโคลกสรรเสริญบูชาเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ โดยจะเริ่มด้วยคาถาบูชาพระคเณศก่อนเป็นอันดับแรกสุด ก่อนจะบูชาพระศิวะเสียอีกทั้งนี้เพื่อให้พระคเณศประทานพรให้สามารถทำพิธีนั้นให้สำเร็จ ได้ด้วยดี

พิธีกรรมที่มีการบวงสรวงบูชาพระคเณศในฐานะเทวรูปประธานในพิธีที่น่าสนใจได้แก่

๑. พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย
พระราชพิธีนี้เป็น ๒ พิธีต่อเนื่องกันคือ พิธีตรียัมปวาย กับ พิธีตรีปวายจะกระทำในเดือนยี่ของทุกปีเป็นเวลา ๑๕ วัน พิธีนี้จัดเป็นพิธีใหญ่ของศาสนาพราหมณ์ และ แต่เดิมจะมีการโล้ชิงช้าด้วย ในพิธีดังกล่าวจะมีการอ่านโคลกสรรเสริญ และถวายโภชนาหารแด่เทพพระเจ้า ณ เทวสถานทั้ง ๓ หลัง คือ สถานพระอิศวร สถานพระคเณศ และ สถานพระนารายณ์ เรียงกันไปตามลำดับ มีการอัญเชิญเทวรูปพระอิศวร พระอุมา พระมหาวิฆเนศวร และ พระนารายณ์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมแล้วอัญเชิญมาเข้าพิธีโดยรถยนต์หลวง

๒. พิธีจับเชิง
พิธีนี้เป็นการขอขมาโทษต่อช้างสำคัญ ที่สำคัญที่จะได้เป็นใหญ่เป็นโตต่อไป พิธีนี้ต้องมีการผู้มัดช้างเพื่อฝึกสอนช้าง การฝึกบางครั้งต้องดุหรือลงโทษประกอบด้วย จึงต้องขอขมาเสียก่อน และเพื่อเป็นการกล่อมเกลานิสัยช้างป่าที่ดุร้ายให้เชื่องขึ้น พิธีจับช้างนี้ภายในปะรำพิธีตรงข้ามกับเบญจภาคจะจัดตั้งโต๊ะ หมู่บูชาพระมหาวิฆเนศวร์อันประกอบด้วยดอกไม้ ธูปเทียน ขันน้ำมนต์ (ขันสาคร) และ กำหญ้าคา ถัดไปทางซ้ายตั้งโต๊ะเชือกบาศก์ ชะนัก (ขอสับช้าง) และเชือกมะนิลาหุ้มด้วยผ้าขาว พิธีนี้จะมีการบูชาพระรัตนตรัย บูชาพระมหาวิฆเนศวร์โดยกราบตามวิธีรำพัดชา
กล่าวคำสรรเสริญพระมหาวิฆเนศวร
์และขอพรตามแต่ปรารถนา เสร็จแล้วอัญเชิญพระมหาวิฆเนศวร์ลงสรงในขันน้ำมนต์ แล้วอัญเชิญกลับไปโต๊ะหมู่บูชา น้ำสรงในขันสาครนี้จะใช้ประพรมให้ผู้ฝึกช้างทุกคนถือเป็นสวัสดิพิพัฒน์มงคล

๓. พิธีน้อมเกล้าถวายและพระราชพิธี
ีขึ้นระวางสมโภชในวันพระราชพิธีฯ จะมีการแห่ช้างสำคัญในกระบวนแห่ พราหมณ์จะอัญเชิญพระเทวกรรมเข้าในพิธีด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมายังโรงพิธี ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธปฏิมาพระชัยหลังช้าง และจุดธูปเทียนบูชาพระเทวกรรม พร้อมกับทรงศีลในตอนท้ายพระราชพิธีนี้ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พราหมณ์ คู่สวดอ่านฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างเป็นอันเสร็จพระราชพิธี

๔. พิธีบวงสรวงพระคเณศก่อนการดำเนินการจัดสร้างพระเมรุมาศ
การจัดสร้างพระเมรุมาศเพื่อใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิง
พระบรมศพของพระมหากษัตริย์และ พระบรมวงศานุวงศ์องค์สำคัญ ๆ
ณ บริเวณท้องสนามหลวง ก่อนที่จะดำเนินการจัดสร้างพระเมรุมาศ
จะต้องประกอบพิธีบวงสรวงพระพิฆเณศวร์เสียก่อน เพื่อความสวัสดีและการจัดสร้างจะได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี แต่ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพจะไม่มีการ
อัญเชิญพระพิฆเณศวร์มาเข้าพิธี แสดงว่าพระพิฆเณศวร์จะเกี่ยวกับพิธีทางช่างเท่านั้น (พิธีศพไม่เกี่ยว)

๕. พิธีไหว้ครูทางนาฎกรรมและการช่าง
ในทางนาฏกรรมนั้นบรมครูจะปรากฏรูปเคารพในลักษณะ
ของหัวโขนซึ่งจะอัญเชิญมาประกอบวิธีไหว้ครูพร้อมกับเครื่องใช้ในการแสดงต่างๆ หัวโขนที่ใช้ประกอบการแสดงอันได้แก่ ศีรษะของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ (เทพเจ้าสูงสุด) คือพระอินทร์ พระคเณศ พระปรคนธรรพ์ และ พระปัญจสีขร ซึ่งเป็นเทพเจ้าฝ่ายดุริยางค์ศิลป์ โดยเฉพาะศีรษะพระคเณศนั้นจะอัญเชิญไปประดิษฐานไว้โต๊ะหมู่บูชา
ที่จัดไว้โดยเฉพาะแยกจากศีรษะเทพองค์อื่นๆสำหรับการบูชาเป็นพิเศษ
ส่วนศิลปะทางการช่างนั้น แม้จะไม่ได้นับถือพระคเณศเป็นเทพสำคัญโดยตรง เช่นเดียวกับพระวิษณุ แต่พระคเณศก็มีบทบาทไม่น้อยในพิธีไหว้ครูศิลปะการช่าง ตามคติดั้งเดิมที่ว่า ในการเล่าเรียนศิลปวิทยาการทั้งปวงต้องมีการสวดบูชาพระคเณศก่อน ซึ่งพระคเณศนั้นทางนาฏศิลป์ถือว่ามีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้ศึกษาทางการนี้จะเชื่อกันว่าครูแรง หากไม่เคารพบูชาหรือทำการใดๆอันไม่เหมาะสมเป็นการลบหลู
่ก็มักจะประสบภัยพิบัติ

๖. การไหว้ครูของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยช่างศิลป์ นาฏศิลป์
สถาบันต่างๆเหล่านี้มีรูปของพระคเณศเป็นตราสัญลักษณ์ ของสถาบันเมื่อมีการไหว้ครู ก็จะต้องไหว้บรมครูทางงานศิลปะคือพระคเณศเสียก่อน
โดยจะมีการประกอบพิธีตามรายละเอียดที่กล่าวไว้แล้วในข้างต้น

๗. การบูชาพระคเณศในพิธีคเณศจตุรถี
พิธีคเณศจตุรถีหรือพิธีอุทิศต่อพระคเณศนี้เป็นพิธีที่ชาวฮินดู
ในประเทศอินเดียกระทำกันในวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ดังได้กล่าวรายละเอียดไว้แล้ว

๘. การบูชากราบไหว้พระคเณศของคนธรรมดาทั่วๆไป
การบูชาพระคเณศจากคติความเชื่อของพ่อค้าวาณิชในสมัยโบราณ โดยเฉพาะพ่อค้าชาวอินเดีย จะกราบไหว้บูชาพระคเณศในแง่ของเทพผู้อำนวยความสำเร็จทางการค้าและความร่ำรวย จวบจนกระทั่งปัจจุบันคติความเชื่อดังกล่าวกลับมาได้รับความนิยมกันอีก ดังจะเห็นได้จากบรรดาร้านค้าต่างๆ จะมีหิ้งบูชาพระคเณศเป็นการบูชาพระคเณศเพื่ออำนวยความสำเร็จ
และความร่ำรวยทางการค้าให้แก่ผู้บูชาโดยจะบูชาทุกวัน ด้วยผลไม้บ้าง ขนมหวานบ้าง อ้อยควั่น ดอกไม้สีแดงสดใส น้ำนมเปรี้ยว น้ำสะอาด ฯลฯ

_______________________________________________________________________



(ภาพประกอบ เป็นพระพิฆเณศ องค์บูชาที่บ้าน...
ประกอบพิธีกรรมหล่อจาก...วัดถลุงทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช)
_______________________________________________________________________


ปางพระพิฆเณศ

แม้ว่าพระคเณศจะมีพระนามมากมายถึง 108 พระนามไปจนถึง 1008 พระนาม แต่ในแง่เทวประติมานั้นมีอยู่เพียง 8 ถึง 9 ปางเท่านั้นที่คนนิยมบูชา โดยการบูชาในแต่ละปางก็ให้คุณที่แตกต่างกันออกไป เชิญเลือกบูชาได้ตามอัธยาศัย

ปางพาลคเณศ
เป็นพระคเณศในวัยเด็กรูปลักษณ์ที่เห็น มักจะเป็นพระคเณศยังคลานอยู่กับพื้น หรือยังอยู่ในอิริยบถไร้เดียงสาอย่างเด็ก ๆ ถ้าโตขึ้นมาหน่อย จะนั่งขัดสมาธิเพชรบนดอกบัวมี 4 กร ถือขนมโมทกะ กล้วย รวงข้าว ซึ่งหมายถึงความเป็นสุขภาพดีของเด็ก ๆในครอบครัวรวมความหมายถึงให้เด็ก ๆได้ระลึกถึงการเคารพรักในบิดา มารดา ปางนี้นิยมบูชากันในบ้านที่มีเด็กเล็กและเด็กในวัยเรียน

ปางนารทคเณศ
ปางนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นพระคเณศมักจะอยู่ในอิริยาบถยืน มี 4 กร ในคัมภีร์และหม้อน้ำกมัลฑลุ ไม้เท้า และร่ม ซึ่งถ้าเป็นศาสนาพุทธแล้ว คงเปรียบได้กับพระสีวลี ซึ่งเป็นพระธุดงค์ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ผู้มีลาภมาก แต่สัญลักษณ์ของพระคเณศนั้น หมายถึงการเดินทางไกล แต่มักจะเป็นการเดินทางไปเพื่อการศึกษาต่อ หรือเป็นปางที่เหมาะสมกับวิชาชีพของคนที่เป็นครูบาจารย์เท่านั้น

ปางลักษมีคเณศ
ปางนี้พระคเณศจะประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมี 6 กร และพระหัตถ์หนึ่งโอบพระลักษมีเทวีไว้ การบูชาปางนี้เสมือนหนึ่งได้บูชาเทพทีเดียวกันถึง 2 พระองค์ในลักษณะของทวิภาคี (คเณศ -ลักษมี) กล่าวคือ ลักษมีคเณศ ย่อมมีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ พูนสุข ความมั่งคั่ง มั่งมีอย่างหาที่สิ้นสุดมิได้

ปางวัลลยภาคเณศ
ปางนี้พระคเณศจะอุ้มพระชายาทั้ง2 ไว้บนตักทั้งซ้ายและขวา ซึ่งชายาทั้งคู่คือคือนางพุทธิและสิทะ ดังที่ตำนานได้กล่าวไว้ ปางนี้ให้ความหมายในลักษณะของความสมบูรณ์ของการเป็นครอบครัวมีทรัพย์สินและบริวารมากมาย

ปางมหาวีระคเณศ
เป็นพระคเณศที่มีจำนวนของพระกรมากเป็นพิเศษ อาจจะ 12,14,16, กรแต่ละพระหัตถ์นั้นถือศาสตราวุธหลากหลายชนิดแตกต่างกันไปอาทิลูกศร คันธนู ดาบยาว ตะบอง ขวาน จักร บ่วงบาศ งูใหญ่ หอก ตรีศูล ปางนี้ถือกันว่าเป็นปางออกศึกเพื่อปราบศัตรูหมู่อมิตรทั้งหลาย ดังนั้นจึงเป็นความเหมาะสมพิเศษกับบรรดานักรบ แม่ทัพนายกอง ทหาร ตำรวจและข้าราชการ

ปางเหรัมภะคเณศ
เป็นปางพระคเณศที่ห้อยพระบาทอยู่บนพญาราชสีห์ พระคเณศปางนี้จะมีอยู่ห้าเศียร หรืออาจจะเป็นเศียรตามปกติก็ได้ เพราะสัญลักษณ์ที่แท้จริงของปรางค์นี้ก็คือ สิงโตเท่านั้น เพราะสิงโตเป็นเจ้าป่า ดังนั้นจึงเหมาะสมที่ผู้ใหญ่ที่ต้องมีบริวารในการปกครองมาก นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ที่บรรดดากษัตริย์ทั้งหลายแต่โบราณนิยมบูชากัน เรียกว่าเป็นสุดยอดปางของพระคเณศก็ว่าได้

ปางสัมปทายะคเณศ
เป็นพระคเณศที่เราพบเห็นกันบ่อยคือ มีอาวุธอยู่ในสองพระหัตถ์บน ส่วนพระหัตถ์ล่างด้านซ้ายนั้นถือขนม และด้านขวาอยู่ในท่าประทานพร ซึ่งความหมายของปางนี้คือ การอำนวยพรให้ประสบความสำเร็จนั่นเอง

ปางตรีมุขคเณศ
เป็นพระคเณศที่มี 3 พระพักตร์ 4 กร บ้างก็ว่ามีความหมายถึง 3 โลก บ้างก็ว่าหมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา

ปางปัญจคฌณศ
บางคนเรียกปางนี้ว่า พระคเณศเปิดโลก

ปางวิชัยคเณศ
เป็นปางที่พระคเณศทางขี่หนูเป็นพาหนะมี 4 กร พระหัตถ์ขวาด้านล่างอยู่ในท่าประทานพร ซึ่งมีความหมายถึงการอยู่เหนือบริวารนั่นเอง
_______________________________________________________________________

//www.geocities.com/ganes108/ganes6.htm


ฤทธิ์แห่งปัญญาของพระพิฆเณศ

มีตำนานที่กล่าวถึงความมีสติปัญญาและไหวพริบของพระคเณศไว้หลายตอน อย่างเช่นกรณี ที่ท่านเป็นผู้ลิขิตมหากาพย์ภารตะ

ครั้งหนึ่ง มหาฤาษีวยาสะมีความต้องการที่จะเขียนมหากาพย์ภารตะ แต่เกรงว่าตนจะทำเองไม่สำเร็จ จึงไหว้วานให้ผู้อื่นช่วย แค่ไม่มีใครกล้าอาสาที่จะรับผลงานชิ้นนี้ ฤาษีนารอดเห็นว่าพระคเณศองค์เดียวเท่านั้นที่จะเขียนมหากาพย์ชิ้นนี้ได้ ในที่สุดฤาษีวยาสะจึงต้องทูลขอความช่วยเหลือจากพระคเณศ พระคเณศบอกว่า จะเขียนตามที่ฤาษีบอก แต่ทันทีที่ฤาษีหยุดบอกจะหยุดเขียนทันที ฝ่ายฤาษีบอกว่า สิ่งที่พูดออกไปจากปากของเราต้องตีความให้ถ่องแท้ก่อนที่จะลงมือเขียน ฉะนั้นเมื่อฤาษีต้องใช้การคิดสำหรับโศลกต่อไปก็จะบอกศัพท์ยาก ๆเพื่อให้พระคเณศตีความเสียก่อนเพื่อเป็นการประวิงเวลา พระคเณศจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดอัจฉริยะในฐานะที่เป็นผู้ลิขิต มหาภารตะ ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์มหากาพย์สุดยอดของฮินดู

อย่างไรก็ตาม เรื่องมหากาพย์ภารตยุทธ์นี้ แน่นอน คงไม่มีใครเชื่อว่ามาจากฝีมือพระคเณศแน่ แต่นั่นเป็นภูมิปัญญาของปราชญ์โบราณที่ต้องการจะบอกกับคนในยุคสมัยต่อไปว่า การบูชาครูเพื่อขอดวงปัญญาในการทำงานให้ลุล่วงนั้น เป็นสิ่งสำคัญในลำดับแรก โดยเฉพาะการรจนางานในเชิงพระคัมภีร์ เหมือนเช่นพระมหาธีรราชเจ้า มักจะประพันธ์อักขระเพื่อถวายบูชาต่อพระคเณศก่อนที่จะเริ่มงานประพันธ์ทุกครั้ง
มีอยู่หลายกรณี หลายเหตุการณ์ที่ท่านทรงแสดงความเป็นเทพแห่งปัญญาที่แท้จริง แต่กรณีที่เด่นๆก็อย่างเช่น กรณีเดินทางรอบโลกเพื่อผลมะม่วง

ในคราวหนึ่ง พระนางอุมาได้นำเอาผลมะม่วงมาถวายกับพระศิวะผลหนึ่ง ปรากฏว่าลูกทั้งสองคนคือ พิฆเนศวรและขันธกุมาร ต่างก็อยากจะเสวยมะม่วงผลนี้ด้วยกันทั้งคู่ ด้วยเหตุนี้พระศิวะจึงอยากรู้ว่า ลูกทั้งสองคนนี้ใครจะเก่งกว่ากัน
โดยตั้งโจทย์ว่า ใครก็ตามหากเดินทางรอบโลกถึงเจ็ดรอบและกลับสู่วิมานปาวตา
(วิมานของพระศิวะและพระนางอุมา) ก่อนผู้นั้นจะได้ผลมะม่วงลูกนี้ ว่าแล้วฝ่ายขันธกุมารก็ไม่รอช้า รีบขี่นกยูงตระเวนท่องโลกทันที ฝ่ายพิฆเนศแทนที่จะเอาอย่าง กลับเดินประทักษิณรอบบิดาเจ็ดรอบ และกล่าวว่า
" ข้าแต่พระบิดา พระองค์คือจักรวาล และจักรวาลคือพระองค์ พระองค์ผู้สร้างโลก และทรงเป็นบิดาแห่งข้าพระองค์ ข้าพระองค์ทำประทักษิณพระบิดาเจ็ดรอบ ถือว่าได้กุศลเท่ากับเดินทางรอบโลกเจ็ดรอบ "
มหาเทวะศิวะเทพยินดีในคำตอบและชื่นชมในสติปัญญา
จึงมอบผลมะม่วงให้กับพระพิฆเนศวรทันที

_______________________________________________________________________




บทบาทความสำคัญของพระพิฆเณศ

คนไทยคุ้นเคยกับบรรดาเทพทั้งหลายมาช้านานแต่ในบรรดาเทพทั้งหมดคนไทยรู้จักพระพิฆเณศวร์มากที่สุด
เพราะท่านเป็นมหาเทพที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมากที่สุดจนกล่าวได้ว่าคนไทยยอมรับใน
องค์พระพิฆเณศ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็นตราประจำกรมกองต่างๆมากมาย

พระพิฆเณศ เป็นเทพแห่งปราชญ์
ความรอบรู้ต่างเป็นเทพแห่งขจัดอุปสรรคความขัดข้อง
ดังนั้นหากผู้ใดเป็นผู้รู้และประสบความสำเร็จ
ต่อกิจการทั้งปวงมักจะบูชาพระพิฆเณศ
์ก่อนในอินเดียเองก็มีแนวความเชื่อในเรื่องพระพิฆเณศ
์ในทุกลัทธิศาสนาไม่ว่าลัทธิที่ถือองค์พระศิวะเป็นใหญ่ นับถือพระพรหมเป็นใหญ่หรือพระนารายณ์
เป็นใหญ่ ทุกลัทธิล้วนให้ความสำคัญต่อพระพิฆเณศ ทั้งสิ้น

ด้วยทุกตำราได้กล่าวถึงที่มาของพระพิฆเณศ ไว้สูง สำคัญและฤทธิ์มาก มีความเฉลียวฉลาด มีคุณธรรม คอยช่วยเหลือปกป้องปราบปรามสิ่งชั่วร้ายและ
เป็นยอดกตัญญูแม้พระพิฆเณศ จะเป็นเทพที่มีความเก่งกาจ
สามารถยิ่งแต่ก็เป็นเทพที่สงบนิ่งไม่เย่อหยิ่งทรนง
อันเป็นคุณสมบัติอันประเสริฐอีกประการหนึ่งของผู้ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง

จึงกล่าวได้ว่า พระพิฆเณศเป็นมหาเทพที่ดีพร้อมครบถ้วนด้วยความดีงาม
สมควรแก่การยกย่องบูชาเป็นนิจ

แม้แต่องค์พระศิวะมหาเทพผู้สร้างและพระบิดาแห่งองค์พระพิฆเณศ
์ยังกล่าวว่า ไม่ว่าจะกระทำการสิ่งใดหรือทำพิธีบูชาใด ให้ทำการบูชาพระพิฆเณศ ก่อนกระทำการทั้งปวง



ผู้ใด ต้องการความสำเร็จ ให้บูชาพระพิฆเณศ

ผู้ใด ต้องการพ้นจากความขัดข้องทั้งปวง ให้บูชาพระพิฆเณศ

//www.geocities.com/ganes108/ganes2.htm

_______________________________________________________________________



ความหมายของส่วนต่างๆของพระพิฆเณศ

พระคเณศ ทรงมีรูปร่างเดียว โดยทรงมีพระเศียรเป็นช้าง มีพระกรรณกว้างใหญ่ มีงวงยาว แต่ทรงมีร่างกายเป็นมนุษย์ มี 4 หรือ 6 หรือ 8 กรแล้วแต่พระภาคที่จะเสด็จมา รูปร่างของพระองค์แสดงถึงสิ่งเป็นมงคลดีเยี่ยม ซึ่งทรงสั่งสอนถึงความดีและความสำเร็จพระคเณศ
ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความรู้และปัญญายิ่งใหญ่ แต่ละส่วนของท่านให้ความหมายในเชิงปรัชญาได้ดังนี้

พระเศียร - ทรงใช้เศียรอันใหญ่ที่เต็มด้วยปัญญาความรู้ เป็นที่รวมแห่งปัญญาทั้งหมด

พระกรรณ - ทรงใช้รับฟังคำสวดจากพระคัมภีร์และความรู้ในรูปอย่างอื่น ๆอันเป็นสิ่งแรกแห่งการศึกษา

งวง - เราได้นำเอาความรู้ต่าง ๆที่ได้รับจากการเลือกเฟ้นระหว่างทวิลักษณะ ความผิด-ถูก ความดี-ความชั่ว อันมีงวงช้างที่ยาวและใหญ่ใช้ชั่งน้ำหนักต่อการกระทำหรือการค้นหาสิ่งที่ดีงามต่างๆ อันปัญญานั้นเกิดขึ้นเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาของชีวิตให้หลุดพ้นจากอุปสรรค และพบกับความสำเร็จสมดั่งความมุ่งหมาย

งา - งาข้างเดียวโดยอีกข้างหักนั้น เพื่อแสดงให้รู้ว่าจะต้องอยู่ในเหตุระหว่างความดี-ความชั่ว ซึ่งต้องทำความเข้าใจให้ดีถึงความแตกต่างกัน ดั่งเช่น ความเย็น-ความร้อน การเคารพ-การดูหมิ่นเหยียดหยาม ความซื่อสัตย์-ความคดโกง

หนู - แสดงถึงความปรารถนาของมนุษย์

บ่วงบาศ - ทรงถือโดยทรงลากจูงคนทั้งหลายให้เดินตามรอยพระบาทของพระองค์

ขวาน - เป็นอาวุธทรงใช้ปกป้องความชั่วร้ายและคอยขับไล่อุปสรรคทั้งหลาย
ที่มาก่อกวนต่อบริวารของพระองค์
ขนมโมทกะ - ข้าวสุกผสมน้ำตาลปั้นเป็นลูก
เพื่อประทานให้เราเป็นรางวัลต่อการที่เราปฏิบัติตามรอยพระบาทของพระองค์

ท่าประทานพร - หมายถึงความยิ่งใหญ่แห่งความผาสุกและความสำเร็จให้กับสาวกของพระองค์

//www.geocities.com/ganes108/ganes4.htm

_______________________________________________________________________


ตำนานแห่งการเสียงาของพระพิฆเณศ

มีหลายตำนานมาก พอจะแบ่งได้ดังนี้

ตำนานแรก ปรศุรามใช้ขวานจาม
ปรศุรามนั้นเป็นอวตารของวิษณุเทพ กล่าวว่า ปรศุรามได้ยืมขวานจากพระศิวะไปทำลายเหล่ากษัตริย์ เมื่อเสร็จภารกิจจะเข้าเฝ้าที่เขาไกรลาส ระหว่างนั้นบริเวณพระที่นั่งชั้นใน พระศิวะมหาเทพกำลังสนทนาอยู่กับนางปราวตี พระคเณศไม่ยอมให้ปรศุรามเข้าพบ ปรศุรามโมโหเลยใช้ขวานของพระศิวะขว้างไปยังพระคเณศ พระองค์จำใจต้องใช้ใช้งาข้างซ้ายรับขวานนั้น ด้วยเหตุที่ท่านทรงมีความกตัญญูเป็นอย่างยิ่งในบิดา ครั้นจะต่อสู้กันไปก็อาจทำได้ แต่จะมีประโยชน์อะไรกับการทำลายฤทธิ์เดชของอาวุธซึ่งเป็นของบิดาตนเอง

ตำนานสอง ได้เศียรช้างงาเดียว
เมื่อคราวที่พระศิวะได้ทำพิธีโสกัต์และพระวิษณุเทพพลั้งเผลอเปล่งวาจา ยังผลให้เศียรของกุมารหายไปนั้น ได้มีเทวโองการให้หาเศียรของมนุษย์ที่เสียชีวิตมาต่อให้ แต่ปรากฏว่าในวันอังคารนั้นไม่มีมนุษย์ผู้ใดถึงฆาต มีเพียงช้างงาเดียวที่นอนตายอยู่ทางทิศเหนือ จึงตัดเศียรมาต่อให้

ตำนานสาม โดนพระศิวะใช้ขวานจาม
เมื่อคราวที่กุมารน้อยถือกำเนิดใหม่ ๆและเฝ้าปากทวารห้องสรงน้ำของพระแม่ปราวตีนั้นพระศิวะไม่ทราบว่าเป็นลูก เลยเกิดการต่อสู้กันพระศิวะโมโหจึงใช้ขวานขว้างไปโดนงาของพระคเณศหัก

ตำนานสี่ งาถอดได้เองตามธรรมชาติ
เมื่อคราวที่พระคเณศต่อสู้กับอสูรอสุรภัค พระคเณศแสดงเดชโดยการถอดงาของตัวเองขว้างไปที่อสูร


//www.geocities.com/ganes108/ganes9.htm

_______________________________________________________________________



//www.geocities.com/kanes108/
_______________________________________________________________________




*****พระพิฆเนศ*****
เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ (ความเชื่อของ...ฮินดู)


เป็นเทพเจ้าผู้บันดาลให้เกิดอุปสรรค ความขัดข้องทั้งมวล
หรือจะทรงนำพาข้ามพ้นอุปสรรค จึงมีความเชื่อต่อผู้นับถือ
เป็น...เทพเจ้าผู้บันดาลความสำเร็จแห่งกิจการทั้งปวง

คาถา...โอม ศรีคเณศายะ นมะ

ศาสนาฮินดู นับถือยิ่งนัก

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

เคยออกแบบเทวรูปพระคเณศ สร้างไว้ในวิทยาลัยนาฏศิลปตามจังหวัดต่างๆ
เป็น...ตราสัญลักษณ์ ของ...กรมศิลปกร หรือตามพิพิธภัณฑ์

องค์ที่นับว่าสวยที่สุด ในเมืองไทย

พระคเณศ ณ เทวาลัยหน้าห้างสรรพสินค้าอิเชตัน

_______________________________________________________________________







องค์ที่นำมาเสนอประกอบภาพนี้
เป็นของผมเอง เพื่อไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
ความเชื่อก็คือความเชื่อ เป็นหลักยึดเหนี่ยวทางใจ
ให้คิดดี ทำดี เป็นคนดี พระจะได้คุ้มครอง

-----------------------------------------------------------------------


พระพิฆเนศวร์

พระพิฆเนศวร์ หรือ พระคเณศ เทพเจ้าซึ่งมีเศียรเป็นช้าง มีกำเนิดจากตำนานเทพพื้นเมืองอินเดีย ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเทพเจ้าองค์สำคัญใน ศาสนาฮินดู
ูและได้แผ่ขยายความเชื่อถือศรัทธามาสู่แผ่นดินสยามตั้งแต่ครั้งโบราณ จึงปรากฏรูปประติมากรรมพระพิฆเนศวร์ ณ โบราณสถาน และสักการะสถานหลายแห่ง หลายอายุสมัยทั่วประเทศ

แนวคิดหลักประการสำคัญกล่าวว่า พระพิฆเนศวร์เป็นเทพผู้ประทานความสำเร็จ เป็นเทพที่สามารถขจัดอุปสรรคกีดขวางทั้งปวงได้ บุคคลผู้บูชาจะเกิดความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นด้านกิจการงานใด ๆ

จึงยกย่องว่า พระพิฆเนศวร์

เป็นเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการ

เทพเจ้าแห่งความฉลาด รอบรู้

เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ

เทพประจำเรือน

เทพผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์

เทพผู้คุ้มครองป้องกันขัดขวงสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง

หรือกล่าวได้ว่าเป็น ‘ เทพเจ้าแห่งจักรวาล’

ดังนั้น เมื่อจะประกอบพิธีกรรมใด ๆ ก็มักจะเป็นเทพที่ได้รับการบูชาก่อนการบูชาเทพองค์อื่น ๆ เพื่อความเป็นศิริมงคลให้พิธีกรรมและงานดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไป
ได้ด้วยดีโดยปราศจากอุปสรรค

พิธีกรรมและวันสำคัญบูชาพระพิฆเนศวร์ที่ยึดถือกันมาคือ

ประจำปี วันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๙ และวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๐
ส่วนในแต่ละเดือน บูชาวันขึ้น ๔ ค่ำ และแรม ๔ ค่ำ ของแต่ละเดือน
ของที่ถวายเช่น ขนมโมทกะ ขนมหวาน ผลไม้ นมสด หญ้าแพรก เป็นต้น
สำหรับบทสรรเสริญพระพิฆเนศวร์ มีหลายบท คาถาบูชาจำง่ายสั้น ๆ ดังนี้


“ โอมศรีคเณศายะนะมาฮา ”



ประวัติ กรมศิลปากร

นับแต่อดีตที่ล่วงเลยมาเป็นเวลานานก่อน พ.ศ. ๒๔๕๔ มรดกศิลปวัฒนธรรมไทย โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม การละคร ดนตรี ฟ้อนรำ
งานช่างประณีตศิลป์ การหอสมุด จดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ ฯลฯ อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน กรม กระทรวงต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ไม่มีการรวบรวม จัดไว้ใน ความรับผิดชอบ ของหน่วยงานใด เป็นการเฉพาะ

จนกระทั่งในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ ทรงเล็งเห็นความสำคัญ "มรดกศิลปวัฒนธรรม"
อันเป็นรากเหง้า ของชีวิต และบ้านเมือง จึงทรงมีพระราชดำริ ให้โอนกิจการของช่างมหาดเล็ก จากกระทรวงวัง และกรมพิพิธภัณฑ์ จากกระทรวงธรรมการ มาจัดตั้งเป็น " กรมศิลปากร"

เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๔ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๙

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้โอนงานพิพิธภัณฑ์ ไปอยู่ในความควบคุมดูแลของ กรรมการหอพระสมุดฯ
และได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งราชบัณฑิตยสภา เรียกว่า " ศิลปากรสถาน"

กรมศิลปากร จึงถูกยกเลิกไป ตามประกาศ พระบรมราชโองการฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๗๖ ก็ได้มี พระราชบัญญัติ จัดตั้งกรมศิลปากร ขึ้นมาใหม่ อีกครั้ง โดยสังกัด กระทรวงธรรมการ หลังจากนั้น ได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ส่วนราชการภายใน และย้ายสังกัด เพื่อความเหมาะสม หลายครั้ง จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๐๑ จึงได้ม ีพระราชบัญญัติ โอนกรมศิลปากร มาสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ จนถึงทุกวันนี้

ปัจจุบัน กรมศิลปากรมีหน้าที่ และความรับผิดชอบในการผดุงรักษา อนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ศิลปวิทยาการและวัฒนธรรมของชาติในด้านต่าง ๆ อาทิ ศิลปกรรม วรรณกรรม การศึกษา ค้นคว้า ด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ การจดหมายเหตุแห่งชาติ และการดูแลรักษา บูรณะโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุของชาติ จนถึงทุกวันนี้ รวมเป็นเวลา ๘๘ ปี

ปัจจุบัน การแบ่งส่วน ราชการภายใน และอำนาจหน้าที่ ของกรมศิลปากร ได้เป็นไปตาม พระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๓๘
และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑

บทบาทหน้าที่

๑. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รวมทั้งกฎหมาย และระเบียบอื่น ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวข้อง

๒. บำรุงรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ และเผยแพร่ ศิลปวิทยาการ และวัฒนธรรมชาติในด้าน

พิพิธภัณฑ์ โบราณคดี และโบราณสถาน
วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
นาฎศิลป์ ดุริยางคศิลป์ คีตศิลป์ สถาปัตยกรรม และศิลปกรรม
๓. จัดการศึกษาด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ คีตศิลป์ และช่างศิลป์ ทั้งในระบบและนอกระบบ

จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านช่างศิลป์ นาฎศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และคีตศิลป์ ทั้งไทยและสากล และศิลปวัฒนธรรม
จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านช่างศิลป์ นาฎศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และคีตศิลป์ ทั้งไทยและสากล และศิลปวัฒนธรรม
๔. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ด้านการพิพิธภัณฑ์ โบราณคดี โบราณสถาน ภาษาไทย วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ นาฎศิลป์ คีตศิลป์ สถาปัตยกรรม และศิลปกรรม

๕. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมาย กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กรมหรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

พระพิฆเนศนั้นเป็นดวงตราประจำของกรมศิลปากร โดยลายกลางเป็นพระพิฆเณศ รอบวงกลมเป็นดวงแก้ว 7 ดวงอันหมายถึง ศิลปวิทยาทั้ง 7 แขนงคือ ช่างปั้น, จิตรกรรม, ดุริยางคศิลป์, นาฏศิลป์, วาทศิลป์, สถาปัตยกรรม, อักษรศาสตร์ พระพิฆเณศนั้นสวมสังวาลย์นาค พระหัตถ์ขวาบนถือวัชระ พระหัตถ์ขวาล่างถืองาหัก หัตถ์ซ้ายเบื้องบนถือบ่วงบาศ เบื้องล่างถือครอบน้ำ (ขันน้ำมนต์หรือหม้อน้ำ)

พระพิฆคเณศ เทพผู้ขจัดอุปสรรค

ชาติกำเนิดอย่างเป็นรูปธรรมของ พระพิฆเณศ เริ่มต้นในราวพุทธศตวรรษที่ 11 พระพิฆเณศ อยู่ในฐานะของพระราชโอรสของเทพและพระศรีอุมาเทวี 2 โดยมีพระขันธกุมาร เป็นน้อง พระพิฆเณศนั้นเป็นเจ้าแห่งอุปสรรค ดั้งนั้นการบูชาพระองค์ท่านก็เพื่อช่วยให้พ้นอุปสรรคและความขัดข้องทั้งหลายเสียให้หมดสิ้น และในขณะเดียวกัน พระอง๕ท่านได้ชื่อว่าเป็นบรมครูทางศิลปะทั้งมวล
ดังนั้น ตามหลักประเพณีโบราณนั้นถือว่า พระพิฆเณศต้องรับการบูชาก่อนพระองค์อื่นเสมอ
พระพิฆเณศมีปางต่าง ๆ มากมาย
แต่ละปางล้วนมีความหมายต่างกัน อีกทั้งแต่ละปางก็ยังถืออาวุธอันแตกต่างกันออกไปด้วย

ปางพาลคเณศ เป็นพระในวัยเด็ก รูปลักษณะที่เห็นมักจะอยู่ในท่าที่คลานอยู่กับพื้น ถ้าโตขึ้นมาหน่อย จะนั่งขัดสมาธิเพชรบนดอกบัว มี 4 กร
ถือขนมโมทกะ กล้วย รวงข้าว ซึ่งหมายถึงความมีสุขภพดีของเด็ก

ปางนารทคเณศ ปางนี้จะอยู่ในอริยบทยืน มี 4 กร
ถือคัมภีร์หม้อน้ำกมัลฑลุ ไม้เท้าและร่ม เป็นสัญลักษณ์ของผู้เดินทางไกลไปศึกษาต่อ หรือบุคคลที่อยู่ในอาชีพครู

ปางลักษมีคเณศ ปางนี้มักประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมี 6 กร โดยพระหัตถ์หนึ่งจะโอบพระลักษมีเทวีไว้
และมีโอกาสได้บูชาเทพทั้ง 2 พระองค์ในเวลาเดียวกัน
โดยเฉพาะพระลักษมีเทวีมีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่งและความมั่งมีทั้งหลาย

ปางวัลลยภาคเณศ ปางนี้พระพิฆเณศจะอุ้มพระชายาทั้งสองไว้บนตักทั้งซ้ายและขวา พระชายาทั้งสองหมายถึงนางพุทธิและนางสิทธิ เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของครอบครัว มีทรัพย์สินและบริวารมากมาย

ปางมหาวีระคเณศ เป็นพระพิฆเนศที่มีจำนวนพระกรมากเป็นพิเศษ อาจจะ12, 14, 16 กร แต่ละพระหัตถ์ ถืออาวุธที่ต่างกันไป เช่น ลูกศร, คันธนู, ดาบดาง, ตะบอง, ขวาน, จักร, บ่วงบาศ, งูใหญ่, หอก, ตรีศูล ปางนี้เหมาะแก่การทำศึกสงครามกับหมู่อมิตรทั้งหลาย โดยเฉพาะพวกบรรดาแม่ทัพ นายกอง ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ บูชาดีนักแล

ปางเหรัมภะคเณศ เป็นพระพิฆเณศที่ห้อยพระบาทอยู่บนพระยาราชสีห์ พระพิฆเณศปางนี้จะพิเศษกว่าปางอื่นตรงที่มี 5 เศียร เป็นปางที่เหล่ากษัตริย์บูชามาตั้งแต่โบราณกาล หมายถึงความสำเร็จอันยิ่งใหญ่

ปางสัมปทายะคเณศ เป็นพระพิฆเณศที่เราพบเห็นกันบ่อยมากเป็นปางเพื่อการประทานพรให้ประสพความสำเร็จ

ตรีมุขคเณศ เป็นพระพิฆเณศ 3 พระพักตร์ 4 กร

ปัญจคเณศ เป็นพระพิฆเณศเปิดโลกธาตุ

วิชัยคเณศ เป็นพระพิฆเณศที่ขี่หนูเป็นพาหนะ มีความหมายว่าอยู่เหนือบริวารนั่นเอง

อันตำนานชาติกำเนิดของพระพิฆเณศว่ากันไปหลายทาง
อาทิ พระนางปารวตี มเหสีของพระศิวะมหาเทพ
ทรงมีพระสหายคู่พระทัยอยู่ 2 นาง คือ ชยา และ วิชยา นางทั้งสองได้แนะนำมหาเทวีว่า คนที่รับใช้พระนางอยู่ในขณะนี้นั้นล้วยแต่เป็นบริวารของพระศิวะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น นนที, ภฤงคิ แต่ถ้าพระนางจะมีคนรับใช้ที่เป็นบริวารของพระนางเองคงจะดีไม่น้อย วันนั้น พระนางปราวตีไม่ได้แสดงท่าทีตอบรับแต่อย่างไร จนคราวหนึ่งในระหว่างที่นางกำลังสรงน้ำอยู่ พลันนึกถึงคำพูดของพระสหายทั้งสอง จึงนำเอาเหงื่อไคลของพระนางมาสร้างเป็นบุรุษงาม ลำดับนั้น พระเทวีทรงมีโองการให้ไปเฝ้าหน้าทวารห้ามมิให้ใครเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต วันหนึ่งพระมหาเทพได้เสด็จมายังที่ประทับของพระนาง ขณะนั้นพระนางอยู่ในห้องสรงน้ำพอดี บุรุษผู้นี้ขวางประตูทวารทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีเยี่ยม พระศิวะทรงพิโรธด้วยเห็นว่า บุรุษผู้นี้ไร้กาละเทศะจาบจ้วงมหาเทวะ ผู้เป็นสามีของพระนางปาราวตี จึงทรงมีเทวบัญชาให้ภูติและคณะของพระองค์ทรงสังหารทวารบาลผู้นี้ทันที แต่บรรดาบริวารของพระศิวะเทพกลับไม่มีใครเอาชนะได้ จนต้องไปอัญเชิญพระวิษณุมาช่วย ฝ่ายนางปราวตีได้ยินเสียงอาวุธที่สัปยุทธ์กัน ทั้งพระสหายทั้งสองมารายงานว่า ฝ่ายเทวดายกพลมาโรมรันนายทวารบริวารของพระองค์ นางได้ยินดังนั้นจึงสร้างบริวารขึ้นเพื่อช่วยเหลือนายทวารผู้นั้น พระวิษณุเทพได้ใช้อุบายจนสามารถตัดเศียรของนายทวารผู้นั้นได้ ดังนั้นฝ่าเทวีจึงไม่ยอมเข้าทำการรบพุ่งกับฝ่ายเทวะ
เป็นศึกสงครามระอุไปทั่ว ในที่สุดฤษษีนารัทต้องมาอ้อนวอนสรรเสริญให้พระเทวีเยือกเย็น
และขอให้ยุติศึก พระศิวมหาเทพจึงมีเทวโองการให้เทวดาเดินทางไปยังทิศเหนือ และนำศรีษะของสิ่งมีชีวิตสิ่งแรกที่ได้พบเพื่อมาต่อกับเศียรที่ขาดหายไป เทวดาได้นำศรีษะของช้างซึ่งมีงาเดียวมาต่อเข้ากับพระศอของบุตรพระเทวี ดังนั้น ด้วยเหตุนี้ พระโอรสของพระนางจึงมีนามว่า คชานนะ (มีหน้าเป็นช้าง), เอกทันตะ (มีงาข้างเดียว), เมื่อบุรุตบุตรพระเทวีฟื้นคืนชีพขึ้นจึงทราบว่า พระศิวะนั้นเป็นบิดาจึงได้ขอขมาโทษพระองค์และเหล่าเทวดาทั้งหลาย เนื่องจากตนต้องปฏิบัติตามมอบหมายจากพระเทวี หลังจากนั้นพระศิวะมหาเทพได้ประสาทพรให้พระโอรสเป็นพระคณปิติ
(ผู้มีอำนาจ-ผู้ยิ่งใหญ่) มีอำนาจเหนือภูติทั้งหลาย
จากตำนานดังกล่าวนี้
พระคเณศจึงมีหลายพระนามเช่น คชานนะ, เอกทันตะ, คณปิติ

บางตำนานว่าคราวหนึ่งพระศิวะมหาเทพ
ได้เคยประทานพรแก่ผู้สักการะบูชาพระศิวลึงค์ที่โสมนาถว่า จะไม่ตกนรก ดังนั้นจึงเป็นช่องว่าให้คนชั่วเหล่านั้นพากันไปกราบไหว้บูชา
จนสวรรค์เต็มไปด้วยคนชั่วร้าย ความดังกล่าวรู้ถึงพระเทวี
ดังนั้นวันหนึ่งขณะที่นางสรงน้ำอยู่จึงเอาน้ำมัน
ที่ใช้ในการสรงน้ำผสมกับเหงื่อไคลของพระองค์ ปั้นเป็นรูปคนที่มีหัวเป็นช้าง จากนั้นจึงได้เอาน้ำจากพระคงคามาประพรมให้มีชีวิตขึ้น พระนางบอกกล่าวแกเทวดาทั้งหลายว่า บุรุษผู้มีเศียรเป็นช้างผู้นี้มีหน้าที่ขัดขวางคนชั่วมิให้ไปบูชาศิวลึงค์ที่โสมนาถ
เพื่อให้คนชั่วเหล่านี้ได้ตกนรกทั้ง 7 ขุม

อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่าพระศิวะมหาเทพ
ได้ประทานพรให้ทำการพลีบูชาที่วิหารโสมีศวร ได้ขึ้นสวรรค์ดังนั้นจึงมีพวกศูทร คนบาปและคนป่าเถื่อนทั้งหลายเป็นจำนวนมากนิยมขึ้นสวรรค์ด้วยวิธีนี้
พระอินทร์และเหล่าเทวดาทั้งหลาย

ได้รับความเดือดร้อนป็นอันมากจึงเข้าเฝ้าพระนางปราวตีเป็นลำดับต่อไป
พระนางทรงลูบวรกายเบา ๆ
บังเกิดเป็นเป็นบุรุษหนึ่งเศียรเป็นช้างมี 4 พระกร
พระเทวีตรัสว่า พระองค์ทรงสร้างบุรุษนี้ตามประสงค์ของเทวดา เพื่อสร้างความขัดข้องแกมนุษย์ในการบูชาที่วิหารโสมมีศวร
ทั้งนี้เพื่อให้มนุษย์บาปเหล้านั้นต้องตกนรก

ในปุราณะเดียวกันยังมีอีกตำนานหนึ่งว่า
มีนางรากษสคนหนึ่งนามว่า มาลินี ในคราวหนึ่งนางปราวตีได้เอาคราบไคลและน้ำมัน
มาผสมกันและออกเดินทางไปรับประทาน
ให้นางรากษสตนนั้นซึ่งอาศัยอยู่ที่ปากแม่น้ำคงคา เมื่อนางรากษสได้กินคราบไคลแล้วตั้งครรภ์ขึ้น บังเกิดเป็นบุรุษหนึ่งมีเศียรเป็นช้าง 5 เศียร
นางปารวตีและพระศิวะเทพรับเอาบุตรนางรากษสนั้นมาเป็นพระโอรส พระศิวะมหาเทพทรงรวมเศียรทั้ง 5ให้
เป็นหนึ่งเดียว และพระราชมานนามว่า วิฆเนศวริ (ผู้ขวางเสียซึ่งความขัดข้อง)

อีกตำนานหนึ่งว่า หลังจากงานอภิเษกของพระศิวะมหาเทพกับนางปราวตีแล้ว
ทั้งสองพระองค์อยู่ด้วยกันมาเป็นเวลายาวนาน แต่ไม่ปรากฏว่ามีโอรสและธิดาใด ๆ พระศิวะมหาเทพจึงทรงแนะนำให้พระนางทำพิธีปันยากพรต (บุญยักวริตะ)
ขึ้นเพื่อบูชาพระวิษณุเทพ ในวันที่ 13 ค่ำ เดือนมาฆะ พิธีดังกล่าวจะต้องทำเรื่อย ๆ ไปตลอด 1 ปี พระวิษณุเทพพึงพอใจในการปฏิบัติศาสนกิจของนางปราวตี
จึงมีเทวโองการให้พระกฤษณะอวตารไปเฝ้าพระเทวี
ด้วยรูปร่างอันสง่างามและประทานให้พระเทวีปราวตีเกิดสิ่งปกติ
กล่าวคือ ทรงไปเกิดเป็นพระโอรสที่มีอำนาจเหนือทุก ๆ คน
และเป็นที่สักการะแห่งเทพเจ้าทั้ง 3 โลกและมวลมนุษย์ทั้งหลาย.-
__________________________________________________________________




พระพิฆเณศวร
เทพเจ้าแห่งวิชาการ และศิลปศาสตร์ทั้งปวง
องค์นี้ประดิษฐานอยู่หน้าห้างสรรพสินค้าอิเซตัน

_______________________________________________________________________



โอมนะโม พระคะเณศายะ นะโมนะมะ คันธะมาละ
สิทธาหะนัม กะพะมะนะ สัมมาอะระหัง วันทามิ
สัมมาอะระหัง วันทามิ สัมมาอะระหัง วันทามิ

( คำสวดบูชาพระคเณศ ในบริเวณวิทยาลัยนาฎศิลป )

บุคคลใดยึดมั่นศรัทธาในองค์พระคเณศ
น้อมจิตนมัสการพระองค์ท่านว่า


“นโม คเณสายะ วิฆเนสารายะ”


ย่อมจะได้รับการคุ้มครอง และได้รับการประสิทธิ์ประสาท
ให้เกิดความสำเร็จในกิจการที่ปรารถนาทุกประการ

_______________________________________________________



_______________________________________________________



_______________________________________________________



_______________________________________________________



_______________________________________________________




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2548   
Last Update : 8 มีนาคม 2554 9:10:47 น.   
Counter : 13983 Pageviews.  



P_ปรัชญา
 
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 63 คน [?]




หยิ่ง
กับตัวเองบ้าง
ในบางครั้ง

เบื่อ
ชีวิตความผิดหวัง
ในบางหน

เกลียด
ความไม่จริงใจ
ในบางคน

ยอมทน
คนหยามเหยียดได้
ในบางที


[Add P_ปรัชญา's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com