ต้นงิ้ว

ซื้อดินมาถมสวน700คันรถ
คนขนดินบอกว่า บ่อดินมาจากริมแม่น้ำพอง
หลังจากถมดิน ผ่านหน้าฝน ต้นหญ้าต้นไม้ก็เกิดงอกขึ้นมาไม่น้อย
และที่เก็บไว้ไม่ได้ถางหรือตัดทิ้ง คือต้นเสี้ยวป่าหลายต้น
มีต้นงิ้ว 2ต้นที่ไม่ตัดทิ้ง ต้นงิ้วเติบโตรวดเร็ว2ปีสูงกว่า2เมตร



ใบและยอดของต้นงิ้ว ลักษณะคล้ายอะไรดี



ลำต้น หนามเพียบ



ต้นยังเล็กอยู่
หากต้นใหญ่ ใครต้องการซ้อมปีน ติดต่อได้



มีตำนานต้นงิ้ว /b>

__________________________________________________

งิ้ว วิมานฉิมพลีของนางกากี
โบราณเปรียบหญิงมากชู้หลายผัว ว่าเป็น ‘นางกากี’ ซึ่งมีเค้าเรื่องมาจาก ‘กากาติชาดก’ ว่า พระโพธิสัตว์ครั้งเกิดเป็นพระราชาผู้ครองเมืองพาราณสี มีพระเทวีนามว่า ‘กากาติ’ ซึ่งทรงมีพระสิริโฉมงดงามยิ่ง วันหนึ่งมีพญาครุฑชื่อว่า ‘ท้าวเวนไตรย’ แปลงร่างเป็นมนุษย์มาเล่นสกา (การพนันชนิดหนึ่ง) กับพระราชา ท้าวเวนไตรยเห็นพระนางกากาติ ก็เกิดความรักใคร่ จึงแอบพาหนีไปอยู่ที่วิมานฉิมพลีซึ่งเป็นที่อยู่ของตน เมื่อพระราชาทราบเรื่องจึงมีรับสั่งให้คนธรรพ์ชื่อ ‘กุเวร’ นำพระเทวีกลับมา

กุเวรได้ไปแอบซุ่มอยู่ในดงตะไคร้ข้างสระ พอพญาครุฑบินไปจากสระก็แอบกระโดดเกาะปีกไปจนถึงวิมานฉิมพลี แล้วแอบได้เสียกับพระเทวีที่วิมานนั้น จากนั้นก็เกาะปีกพญาครุฑกลับมาเมืองพาราณสีอีก วันหนึ่งขณะที่พญาครุฑเล่นสกากับพระราชา คนธรรพ์ก็ขับร้องเป็นเพลงว่า “หญิงรักคนรักของเราอยู่ ณ ที่แห่งใด กลิ่นของนางยังหอมฟุ้งมาที่แห่งนั้น ใจของเรายินดีในนางใด นางนั้นชื่อกากาติ อยู่ไกลจากที่นี้”

พญาครุฑพอได้ฟังแล้วสะดุ้งจึงถามกลับไปว่า“ท่านข้ามทะเลมหาสมุทรทั้ง ๗ แห่งไปได้อย่างไร แล้วขึ้นวิมานฉิมพลีได้อย่างไร” คำตอบที่ได้รับคือ “เราข้ามทะเลมหาสมุทรทั้ง ๗ แห่งได้ก็เพราะท่าน ขึ้นวิมานฉิมพลีได้ก็เพราะท่านอีกนั่นแหละ”
เมื่อพญาครุฑได้ทราบความจริงก็กล่าวติเตียนตัวเองว่า มีร่างกายใหญ่โตเสียเปล่า แต่ไม่มีความคิด จึงเป็นพาหนะให้ชายชู้ของเมีย ดังนั้นจึงได้นำพระเทวีกากาติมาคืนพระราชา และไม่กลับมาเล่นสกากับมนุษย์อีกเลย

วิมานฉิมพลีของพญาครุฑ ก็คือ ‘ต้นงิ้ว’ ซึ่งเรียกในภาษาบาลีว่า ‘สิมพลี’นั่นเอง !!

ต้นงิ้วเป็นพืชในสกุลBombax มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bombax ceiba Linn. เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูงราว 15-20 เมตร เรือนอยดทรงกลมแผ่กว้าง ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลอมเทา มีหนามแหลมคมทั่วทั้งลำต้น ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 5-7 ใบ ใบรูปรี ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา

ดอกมีสีส้มแดง แดงเหลือง หรือขาว มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งๆ มีดอกราว 3-5 ดอก มีกลิ่นหอมและร่วงง่าย ออกดอกราวเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ส่วนผลมีลักษณะกลมรี เปลือกแข็ง ภายในผลมีเมล็ดกลมสีดำมากมายซึ่งมีปุยสีขาวหุ้มห่ออยู่ เมื่อแก่จัดผลหรือฝักนี้จะแตกออก

ประโยชน์ของงิ้วมีมากมาย อาทิเช่น เนื้อไม้ เป็นไม้เนื้ออ่อน จึงนำมาทำดินสอ ไม้จิ้มฟัน เยื่อกระดาษ, เปลือก ใช้ทำเส้นใย เชือก, น้ำมันจากเมล็ดใช้ปรุงอาหาร ทำสบู่ และปุยสีขาวใช้ยัดหมอนและที่นอนเช่นเดียวกับนุ่น ส่วนสรรพคุณทางยาพื้นบ้านหรือยาสมุนไพรนั้นก็มีไม่น้อย อาทิ เปลือก ใช้สมานแผลแก้ท้องร่วง กระเพาะอาหารอักเสบ ดอก ใช้แก้ไข้ ท้องร่วง บิด แผลฝีหนอง ห้ามเลือด ฟกช้ำบวม อักเสบ แก้คัน แก้กระหายน้ำ ยางใช้ห้ามเลือด ราก ใช้สมานแผล แก้แผลใน กระเพาะอาหาร บำรุงกำลัง เป็นต้น


ในพระสูตรที่ว่าด้วย ‘เทวทูตสูตร’ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงให้เห็น
ถึงมหานรก ที่มีการลงโทษคนที่กระทำความชั่วอย่างน่าสะพรึงกลัว
ก็ได้กล่าวถึงต้นงิ้วไว้ในความตอนหนึ่งว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย และนรกเถ้ารึงนั้น มีป่างิ้วใหญ่
ประกอบอยู่รอบด้าน ต้นสูงชลูดขึ้นไปโยชน์หนึ่ง
มีหนามยาว ๑๖ องคุลี มีไฟติดทั่วลุกโพลงโชติช่วง
เหล่านายนิรยบาลจะบังคับให้สัตว์นั้นขึ้นๆ ลงๆ ที่ต้นงิ้วนั้น
สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบอยู่ที่ต้นงิ้วนั้น
และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุดฯ”


และใน ‘นารทชาดก’ได้พูดถึงเรื่องต้นงิ้ว ดังนี้

“...ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ
เต็มไปด้วยหนามเหล็กคมกริบ กระหายเลือดคน
หญิงผู้ประพฤติล่วงสามี และชายผู้หากระทำชู้ภรรยาผู้อื่น
ถูกนายนิรยบาลผู้ทำตามสั่งของพระยายม
ถือหอกไล่ทิ่มแทงให้ขึ้นต้นงิ้วนั้น...”


__________________________________________________




 

Create Date : 03 ธันวาคม 2554   
Last Update : 21 มกราคม 2555 18:18:55 น.   
Counter : 5470 Pageviews.  


ต้นไม้ ปลูกที่สวน ปี 2554

ข้อมูล จาก...นสพ.ไทยรัฐ





พันจำไม้ดอกหอม ไม่ผลัดใบ

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Vatica cinerea

วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

ชื่อไทยพื้นเมือง : สักน้ำ,ยางหนู,สะเดาปัก

พันจำเป็นต้นไม้ที่วรรณคดีไทยเก่าๆกล่าวถึงอยู่หลายเล่ม
จึงเข้าว่าชื่อของต้นไม้สกุลนี้จะเป็นชื่อเดิมที่เรียกกันมาตั้งแต่
โบราณแล้ว แต่ก็ไม่อาจแน่ใจได้ว่า ในวรรณคดีไทย จะหมายถึง
จำพันชนิดนี้หรือพันจำขน ซึ่งมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “พันจำ” เช่นเดียวกัน

พันจำ เป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่มีการผลัดใบมึ้นอยู่ทั่วไปในป่าดงดิบทุกแห่ง
ของประเทศไทย เป็นไม้ขนาดกลางสูงตั้งแต่ 10-15 เซนติเมตร
ลำต้นเปลาตรง แต่มักมีพูนพอนต่างๆตามบริเวณโคนต้น เปลือก
ลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลเข้ม ใบมนรีรูปใบหอก ปลายใบแหลม
โคนใบสอบโค้งอย่างบิดเบี้ยว เส้นแขนงใบเป็นเส้นร่างแหเห็น
ชัดเจนทั้งสองต้น ดอกสีขาวกลิ่นหอมมาก กลีบดอกและกลีบรอง
ดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ขนาดดอกเล็กกลีบดอกแหลมเรียว
ผลมีรูปร่างเป็นทรงกลมขนาดเล็ก บืกยาวรูปใบพายติดกับผลอยู่ 1 คู่
บืกสั้นติดผลรูปหอกมี 3 บืก มีขนาดยาวราว 1 ใน 3 ของคู่บืกยาว
คู้บืกยาวของผลพันจำยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร

พันจำออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม
พันจำทีเนื้อไม้ที่มีคุณภาพสูง เพราะเป็นไม้เนื้อเหนียว
แข็งแรงทนทาน จึงเป็นที่นิยมใช้ไม้พันจำในการก่อสร้างต่างๆเช่น
ทำเสาเรือน สะพาน เสาโป๊ะ และอื่นๆ ที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน


_______________________________________________________

ต้นเงินหนุน



เป็นไม้ยืนต้นอยู่ในวงศ์ ANONACEAE
เวลามีดอกรูปทรงของดอกและสีสันของดอกสวยงามมาก
เจ้าของจึงตั้งชื่อว่า "เงินหนุน" และที่สำคัญดอกมีกลิ่นหอมดีด้วย
จึงกำลังเป็นที่นิยมปลูกแพร่หลายอยู่ในเวลานี้ อย่างไรก็ตาม
จากการเห็นรูปทรงของดอกจากภาพที่ผู้ขายแขวนไว้กับต้นที่วางขายแล้ว
เชื่อว่าต้น "เงินหนุน" น่าจะอยู่ในสกุลเดียวกับพวกต้น ระฆังภู
ระฆังเขียว ระฆังสายยาว ระฆังใต้ หมาดำ และ หมักห้อ อย่างแน่นอน
ซึ่งไม้เหล่านี้จะมีขึ้นตามป่าธรรมชาติของประเทศไทยเกือบทุกภาค
แต่สีของดอก "เงินหนุน" และช่อดอกจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน

ส่วนรูปทรงของดอกเหมือนกันเปี๊ยบ ผมจึงอยากเรียกชื่อว่า "ระฆังชมพู"
มากกว่า "เงินหนุน" เงินหนุน เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-8 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำ
เป็นพุ่มโปร่ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน
ปลายและโคนใบแหลม ใบมีขนาดใหญ่มาก สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อ
แบบแยกแขนงช่อ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยไม่น้อยกว่า 30-40 ดอก
ขึ้นไป ก้านช่อดอกมีขนละเอียดสีน้ำตาล กลีบเลี้ยงเล็กและสั้น เป็นสีน้ำตาล
เช่นเดียวกับสีก้านดอก ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดรูประฆัง
ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบแหลม ขอบกลีบเป็นสีขาว
ผนังหลอดดอกด้านในและผิวดอกด้านนอกเป็นสีชมพูสดใสและสีชมพูเข้ม
ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วฟุต ดอกมีกลิ่นหอม
เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกัน จะดูสวยงามน่ารักและส่งกลิ่นหอม
กระจายเป็นที่ประทับใจมาก ผล รูปทรงกลม ติดผลเป็นช่อหรือเป็นกลุ่ม
แต่ละช่อจะมีผลไม่น้อยกว่า 20-30 ผล ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด ดอกออกช่วงระหว่างเดือนเมษายนต่อเนื่องไป
จนถึงเดือนสิงหาคม และติดผลแก่ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี ขยายพันธุ์
ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง ปลูก ได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับใน
บริเวณบ้าน เป็นไม้ชอบแดด ไม่ชอบน้ำท่วมขัง หลังปลูกรดน้ำพอชุ่มเช้า
เย็น บำรุงปุ๋ยมูลสัตว์จำพวกขี้วัวหรือขี้ควายแห้งกลบฝังดินรอบโคนต้น
เดือนละ ครั้ง พร้อมตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ "เงินหนุน"


___________________________________________________

สักน้ำVatica pauciflora (Korth.) Bl.



ชื่ออื่น : สัก (ภาคใต้) กล้วย (ตรัง) รือเสาะ (มลายู-นราธิวาส)

ไม้ต้น สูง 25-30 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ หรือค่อน
ข้างกลม ลำต้นกลม เปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลเทาถึงคล้ำถึงเกือบดำ
เรียบ หรือเป็นสะเก็ดเล็กน้อย และมักมียางหรือชันสีเหลืองใสตาม
รอยแตกของเปลือก เปลือกชั้นในสีน้ำตาลมีแนวสีอ่อนกว่าเป็นทาง
ยอดอ่อน กิ่งอ่อน และช่อดอก มีขนสั้น ๆ แผ่นใบ รูปรีแกมรูปขอบ
ขนาน หรือรูปไข่แกมรูปหอกกว้าง 4.5-8 เซนติเมตร ยาว 10-20
เซนติเมตร ปลายใบทู่ถึงเรียวแหลม โคนใบสอบ ผิวใบเกลี้ยง
เส้นแขนงใบ 8-12 คู่ เส้นใบย่อยเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหชัดเจน
ก้านใบยาว 1.5-2 เซนติเมตร ดอก สีขาวนวลถึงสีครีม
เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3 เซนติเมตร ออกเป็นช่อแยกแขนงสั้น ๆ
ตามง่ามใบ หรือเหนือง่ามใบเล็กน้อย ผล รูปไข่ 3 พู
กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร สีน้ำตาล
มีหมวกหนาพัฒนามาจากกลีบรองดอกปิดขั้วผล

ระยะเวลาการเป็นดอก-ผล ออกดอกระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
ผลแก่ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม

ลักษณะทางนิเวศและการกระจายพันธุ์ พบในที่ราบต่ำตามชายฝั่งแม่น้ำ
และในป่าพรุทางภาคใต้ของประเทศไทย
ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

ประโยชน์ เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างได้แข็งแรงทนทาน
______________________________________________________

ต้นจันทน์กระพ้อ




จันทน์กระพ้อ พบมากทางภาคใต้ของไทย ต้นแตกกิ่งจำนวนมาก
เป็นไม้ต้น สูง 6-15 เมตร ที่เรือนยอดเป็นทรงกลม เปลือกแตกและ
มียางใสซึมออกมา โตเร็ว ใช้เวลา 5-7 ปี จึงออกดอก ชอบความชื้นสูง
ทนน้ำท่วมขัง เหมาะจะปลูกในที่โล่งแจ้งริมน้ำ หรือในที่มีน้ำหลาก น้ำท่วม

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปรีแกมขอบขนาน หรือใบหอก สีเขียวเข้มเป็นมัน
ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง

ดอก : ออกเป็นช่อสั้นๆยาว 10 -30 เซนติเมตร ตามซอกใบและปลายกิ่ง
มี 5 กลีบ เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร สีขาวหรือ
เหลืองอ่อน ด้านนอกของกลีบมีขนนุ่มสีน้ำตาล ดอกทยอยบานนาน
1- 2 สัปดาห์ ดอกบานเพียงวันเดียวแล้วร่วงหล่นลงโคนต้น
มีสีขาวเต็มพื้นและส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วบริเวณ

ผล : เป็นรูปเกือบกลม ขนาด 2.5-3 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ
ติดที่ขั้วผล ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาล แตกได้เป็น 3 เสี่ยง
ภายในมี 1 เมล็ด

ฤดูออกดอก : พฤศจิกายน - มีนาคม กลิ่นหอมมากในตอนกลางคืน

สภาพปลูก : ชอบขึ้นอยู่ตามริมน้ำ บริเวณที่มีน้ำหลากหรือน้ำท่วมขัง
ดินชุ่มชื้น แสงแดดจัด ชอบน้ำมาก ชอบอยู่กลางแจ้งที่มีความชื้น
ในอากาศค่อนข้างสูง

ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด เมล็ดมีความงอกต่ำ ควรเพาะทันทีเมื่อเก็บมา
จากต้น ใช้เวลาเพียง 1 เดือนก็เริ่มงอกแทงส่วนรากออกมา พร้อมทั้ง
ชูใบเลี้ยงสีเขียวอวบอ้วนซึ่งเป็นแหล่งสะสมอาหารสำหรับต้นอ่อนออกมา
จากนั้นจึงแทงยอดตามมา ต้นกล้าอายุ 1 ปีจะมีความสูงประมาณ
30 เซนติเมตร และมีใบ 4-7 ใบ ในปีที่ 2 ต้นกล้าจะเจริญเติบโตอย่าง
รวดเร็ว และสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงนี้ถ้าปลูกในกระถาง ควรเปลี่ยน
กระถางให้มีขนาดไม่ต่ำกว่า 10 นิ้ว หรือถ้าปลูกลงดินจะเจริญเติบโต
อย่างรวดเร็วมีทรงพุ่มแผ่กว้าง เมื่ออายุ 5-7 ปี จะมีความสูง 4-5 เมตร
และเริ่มออกดอก ภายในเวลา 5 ปี ถ้ามีการปลูกเลี้ยงที่ดี

การใช้ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ มีทรงพุ่มกลมสวยงาม
ดอกมีกลิ่นหอมค่อนข้างแรงมาก ใช้อบเสื้อผ้า โดยใส่ไว้ในดูเสื้อผ้า
ทำให้มีกลิ่นหอม
_______________________________________________

เจ้าหญิงสีชมพู

//www.akitia.com/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9-melicope-elleryana/07/03/2010/

ปลูก ต้นไม้ที่สวน เมื่อวันที่30เมษายน2554





















บรรยากาศ คลองส่งน้ำชลประทาน
ที่ส่งน้ำมาจาก เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
ถนนลูกรัง หน้าสวน ที่ขับรถมาทีไรก็ฝุ่นตลบฟุ้งตลอด
เป็นเสน่ห์ชนบท ที่ห่างศาลากลางจังหวัดเพียง3-4กม.


เป็นที่จัดรูปของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

__________________________________________________




 

Create Date : 17 เมษายน 2554   
Last Update : 7 พฤษภาคม 2554 22:23:35 น.   
Counter : 15779 Pageviews.  


ต้นแจง

แจงพันธุ์ไม้อันทรงคุณค่าในสยาม : กำลังถูกลืม !
Maerua siamensis (Kurz) Pax Valuable plant on Siam : Being forgotten !


ต้นแจง แกง(นครราชสีมา) หรือแก้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Maerua siamensis (Kurz) Pax.
จัดเป็นพืชอยู่ในวงศ์ Asclepiadaceae
ชื่อพ้อง Niebuhria siamensis Kurz
สกุลแจงมีประมาณ 90 ชนิด ส่วนใหญ่มีเขตการกระจายพันธุ์ใ
นเขตแห้งแล้งของแอฟริกา ถ้าดูตามชื่อวิทยาศาสตร์มีคำว่า “ สยาม ”
อยู่ด้วย หมายถึง ต้นแจงนี้เป็นไม้ในสกุลที่มีเพียงชนิดเดียวในประเทศ
ไทย คือ แจง Maerua siamensis (Kurz) Pax แจงมีเขต
การกระจายพันธุ์เฉพาะในภูมิภาคอินโดจีนรวมทั้งประเทศไทย
จึงสามารถพบได้ในทุกภาค แต่ในภาคใต้พบเฉพาะทางตอนบน
แจงขึ้นได้ในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าแดง และป่าชายหาด
หรือตามป่าโปร่ง ที่โล่ง เป็นต้นไม้ที่มีทรงพุ่มสวยงามใช้ในงาน
ตกแต่งด้านภูมิทัศน์ ให้ความร่มรื่น ร่มเงาได้เป็นอย่างดี และยัง
สามารถใช้อธิบายแจกแจงอายุขัยของวงปีต้นไม้ได้ สังเกตได้จาก
การตัดตามขวางของลำต้นจะเห็นลักษณะของวงปีชัดเจน จึงนิยม
นำไปเป็นตัวอย่างในการเรียนการสอนทางชีววิทยา ต้นแจงที่เคย
พบเห็นทั่วไปในสยามประเทศ ขณะนี้กลายเป็นต้นไม้หายาก
“กำลังถูกลืม” เนื่องจากคนในปัจจุบันไม่รู้จัก ไม่เห็นคุณค่า
และประโยชน์จึงทำการขุดล้อมเพื่อการจำหน่าย และตัดฟัน
ทำลายเพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากพื้นที่ ต้นแจงมีความสำคัญ
และประโยชน์อย่างมากมาย จึงควรช่วยกันอนุรักษ์
และปลูกต้นแจงทดแทนเพื่อให้มีการแพร่กระจายพันธุ์ทั่วทุกพื้นที่
ในประเทศไทยก่อนที่จะสูญพันธุ์ไปจากป่าธรรมชาติต่อไป

ลักษณะของพรรณไม้
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-10 เมตร
ลำต้นเกลี้ยง เปลือกสีเทาดำ แตกกิ่งแขนงมากมาย
ใบ : ใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกสลับกัน
มีใบย่อย 3-5 ก้าน ใบยาว 1.5-6.5 เซนติเมตร ใบย่อยเกือบไร้ก้าน
รูปไข่กลับ
ใบ รูปหอกเรียวเล็กลับหรือขอบขนาน สีเขียวเข้มทึบ
กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-13 เซนติเมตร ปลายใบมน
หรือแหลม โคนใบมน ผิวใบเรียบ ก้านใบย่อยสั้น
ดอก : ช่อแบบกระจุกหรือดอกเดี่ยว จะเกิดตามกิ่ง
และปลายกิ่ง ช่อสั้นๆ ดอกย่อยมีสีเขียวอมขาว ก้านดอกยาว2-6
เซนติเมตร มีใบประดับ รูปริบบิ้น ขนาดเล็ก กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบโคน
เชื่อมกัน รูปขอบขนานยาว 0.7-1 เซนติเมตร. ปลายกลีบแหลม
ผิวกลีบเรียบ ขอบกลีบเป็นขนนิ่ม ไม่มีกลีบดอก ดอกบานเต็มที่เส้น
ผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร. เกสรเพศผู้ 9-12 อัน
ก้านเกสรยาว 10-15 มิลลิเมตร. อับเรณูรูปขอบขนาน ยาว 1.5-2
มิลลิเมตร. ปลายอับเรณูเป็นติ่ง ก้านชูเกสรเพศเมีย ยาว 1.5-2
เซนติเมตร. รังไข่รูปทรงกระบอก ยาว 1.5-2 มิลลิเมตร.
ผล : ออกเดือนมีนาคม - พฤษภาคมทุกปี เป็นผล
สด รูปรี หรือทรงกลมเท่าหัวแม่มือ บิดเบี้ยวเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์
กลาง 2-3 เซนติเมตร ก้านผลยาว 4.5-7.5 เซนติเมตร.
เมื่อผลสุกจะมีสีเหลืองเข้ม ภายในผลจะมีเมล็ดประมาณ 2-3 เมล็ด
เมล็ด : เมล็ดรูปไต
ออกดอก : เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์
ขยายพันธุ์ : เมล็ด
สถานภาพที่เหมาะสม : ชอบแสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินร่วน
ชอบขึ้นตามเขาหินปูน ระดับความสูงไม่เกิน 400 เมตร
แหล่งที่พบ/ระบบนิเวศน์เกิดตามป่าดงดิบแล้งและป่าโปร่งทั่วไป

ประโยชน์
1.ไม้สีขาวอ่อนและล่อนเป็นกาบๆ นิยมนำเอามาเผ่าถ่าน
ใช้ทำถ่านที่มีคุณภาพดี และนำถ่านมาทำดินปืน
นอกจากนี้ยังนิยมนำมาทำถ่านอัดในบั้งไฟ
2.ใบของต้นแจงนั้นสมัยก่อนนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเผาขนสัตว์
3.ยอดอ่อนของต้นแจงสามารถนำมาดองก่อนจึงจะรับประทาน
ได้ หรือที่ภาษาอีสานเรียกว่าคั้นส้ม เช่นเดียวกับการกินยอดผักกุ่ม
ที่ต้องนำไปดองหรือคั้นส้มก่อนรับประทาน เนื่องจากขณะที่ยังสดๆ
“มีสารกลุ่มไซยาไนด์” แต่เมื่อนำไปดองหรือคั้นส้ม สารเหล่านี้จะถูก
ทำให้สลายตัวไป คนอีสานเชื่อว่าถ้าได้กินคั้นส้มของยอดอ่อน
ของต้นแจงปีละครั้งจะช่วยให้ไม่เข้าสู่ สภาวะสายตายาว หรือแก่เฒ่า
แล้วยังมองเห็นอะไรๆ ได้อย่างชัดเจน โดยไม่ต้องพึ่งแว่นสายตายาว
4.ภูมิปัญญาในการผลิตลูกแป้งหรือแป้งข้าวหมากของ
บางหมู่บ้าน มีการใช้ลำต้นของต้นแจงเป็นส่วนผสมที่สำคัญ
ในการผลิตลูกแป้งด้วย

สรรพคุณด้านสมุนไพร
1. รากปรุงรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปัสสาวะพิการ
แก้กระษัย ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ นำมาต้มเอาไอน้ำอบแก้บวม
เปลือก ราก และใบ ต้มน้ำดื่มแก้ดีซ่าน หน้ามืด ตาฟาง ไข้จับสั่น
2.ต้น มีคุณสมบัติเหมือนราก แต่มีคุณสมบัติมากกว่ารากตรง
ที่แก้แมงกินฟัน ทำให้ฟันทน
3.ใบ และยอด ตำใช้สีฟัน แก้แมงกินฟันทำให้ฟันทน และแก้ไข้
4.เปลือกบำรุงกำลัง แก้หน้ามืดตาฟาง แก้ปัสสาวะพิการ
แก้กระษัยปวดเมื่อยตามร่างกาย และเปลือกไม้ ราก
ต้มอาบอบ กิน แก้อัมพฤกอัมพาต
ยอดอ่อนผสมเกลือ รักษาโรครำมะนาด แก้ปวดฟัน
5.แก่นแก้ไข้ตัวร้อน
6.ใช้ทั้งห้าแก้ไข้จับสั่น แก้ดีพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ
7.ยอดอ่อนนำมาต้ม ล้างหน้าแก้ตาฝ้าฟาง
8.สามารถนำมาทำลูกประคบสำหรับหญิงที่คลอดลูกเพื่อลดความปวดเมื่อยล้า ประกอบด้วย 1.ใบแจง 2.ใบมะขาม 3.ไพร
4.หัวหอม และ 5 เกลือแก้อัมพฤกอัมพาตเข้าลูกประคบ
แก้ฟกช้ำ แก้ขัดเบา
9.เอาต้นแจงทั้ง ๕ หนัก ๓ ตำลึง ชะพลู หนัก ๓ ตำลึง
แก่น ไม้สัก ๓ ตำลึง ตัวยาทั้ง๓ นี้ ใส่หม้อดิน กับน้ำ ๓ ส่วน ต้มเคี่ยว
ให้เหลือ ๑ ส่วน ใช้น้ำยารับประทาน เช้า-เย็น แก้ขัดเบาได้ผลชะงัก

สารออกฤทธิ์ที่พบ : Chemiebase
เอกสารอ้างอิง

•Chayamarit, K. (1991).
Capparaceae. In Flora of Thailand Vol. 5 part 3: 266-268
มูลนิธิสุขภาพไทย.2010.
ต้นแจง หรือต้นแก้ง ต้นไม้ที่กำลังถูกลืม !
สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2553
•สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชฏัชนครราชสีมา.2546.
แจง ฐานข้อมูลยาและสมุนไพรพื้นบ้าน
สืบค้นข้อมูลเมื่อ วันที่ 7 มกราคม 2553
จาก //www.library.nrru.ac.th/rLocal/stories.php?story=03/01/02/8992398

•ความรู้จากชื่อชุมชน.2551.สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2553
จาก //www.cha- amcity.go.th/community-detail.php?id=12

•Thaiforestherbs.2552.แจงต้นไม้ประจำถิ่นของโคราช
สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2553 จาก //thaiforestherb.blogspot.com/2009_06_01_archive.html

•BioGANG.2552.ต้นแกง หรือต้นแจง
สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2553
จาก //www.biogang.net/content_detail.php?menu=biodiversity&uid=1217&id=18311


•ฐานข้อมูลสมุนไพร..2540.แจง.
สารนุกรมสมุนไพรรวมหลักเภสัชกรรมไทย ISNB: 974-277-385-8 พิมพ์ครั้งที่ 1 สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2553
จาก //thaiherb.most.go.th/plantdetail.php?id=154


•สารานุกรมพืชในประเทศไทย.2549.
แจง สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2553
จาก //www.dnp.go.th/Botany/detail.aspx?wordsLinkno=0&words=%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B8%87&typeword=word

•บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร.2540.
แจง สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2553
จาก //natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio40-41/40-410003.htm


ต้นกล้าอายุ 11 เดือน


ทรงพุ่ม


ลำต้น


ใบย่อย 3-5 ใบแบบปลายแหลม


ช่อดอกแบบกระจุก


ผล

ภาพแสดงลักษณะของทรงต้น ใบ ดอก และผลของต้นแจง


คณะผู้วิจัย
นายอุดม แก้วสุวรรณ์ นางสาวสมร มณีเนตร
นายประสงค์ สระเพิ่มพูล นายณรงค์ ทองดี นางสาวสุดใจ วรเลข
หน่วยงานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม
โทร. 034-351399 ต่อ 447, 488 หรือ 3682-3 ต่อ 447,488

ข้อมูลและที่มา...
//www.rdi.ku.ac.th/kasetresearch53/group04/udom/udom.html

กำลังศึกษาค้นคว้า จะปลูกต้นแจง
_________________________________________________

อยากได้อยากมี ต้องเอาเงินไปแลกมา
ตัวเลขห้าหลัก เอิ๊กกกกกกกกก

สวยสำเร็จ สวยทันใจ ไม่ต้องรอ...


มองยังไงก็ไม่เท่ห์ อ่ะนะ
หลายกิ่ง ตั้งอย่างไงต้นก็ไม่ตรง วุ๊ย!!!


อีกหนึ่งมุมมอง มองยังไงก็ไม่งามน๊า ซื้อมาได้ยังไง งง!!!


ยอดอ่อนแตกใบ เพียบ


เขาว่ามองดีดีมีเสน่ห์ มองตั้งนานหาเสน่ห์ไม่เจอ เฮ้อ


ตูม เข้าไป หรือ ซูมเข้าไป

บันทึกการปลูก16/3/2554 (ราคาแพงระยับ นับเป็นนิ้ว ฮา)_________________________________________________

วิธีดูขนาดต้นไม้


ที่ทางสวนจะเขียนบอกว่าไม้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่าไหร่

หรือบางที่จะเรียกว่าไม้หน้าอะไร

หมายความว่า

เวลาวัดจะวัดจากโคนต้นไม้ขึ้นมา 30 เซนติเมตรแล้ววัดเส้นรอบวง

จากนั้นเอา 3 หาร จะได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตามที่ทางสวนบอก

เช่น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 นิ้ว หรือ หน้า 15

หมายความว่าจะวัดจากโคนขึ้นมา 30 เซนติเมตรจากนั้นวัดเส้นรอบวงได้

45 นิ้วเอา 3 หาร ได้ 15 นิ้วคือเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นไม้

ข้อมูลวิธีการคิด จาก...สวนขวัญพันธุ์ไม้
เวป//kwan_garden.weloveshopping.com/shop/shop.php?shopid=211393
______________________________________________________




 

Create Date : 14 มีนาคม 2554   
Last Update : 13 เมษายน 2554 11:43:13 น.   
Counter : 6028 Pageviews.  



P_ปรัชญา
 
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 63 คน [?]




หยิ่ง
กับตัวเองบ้าง
ในบางครั้ง

เบื่อ
ชีวิตความผิดหวัง
ในบางหน

เกลียด
ความไม่จริงใจ
ในบางคน

ยอมทน
คนหยามเหยียดได้
ในบางที


[Add P_ปรัชญา's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com