เซ็น: วิถีแห่งความสุขที่แท้
ผมรู้จัก "นิกายเซ็น" ครั้งแรก เมื่อตอนเด็ก ๆ ตอนดูการ์ตูน เรื่องอิคคิวซัง

โตขึ้นมาอีกที ได้ยินคว่า "เซ็น" ที่เป็นร้าอาหารญี่ปุ่นตามห้าง แล้วก็ "เซ็น" ที่ท่านพุทธทาสภิกขุยกมาสอดแทรกในคำสอน แต่ผมก็ไม่ได้สนใจหาความหมายหรือที่มาของมันอะไรมากมายนัก

จนกระทั่งได้มาอ่านหนังสือ เรื่อง "เซ็น วิถีแห่งความสุขที่แท้" เล่มนี้ ถึงเข้าใจและรู้สึกได้เลยว่า คำสอนของท่านพุทธทาสนั้นสอดคล้องกับความคิดแบบเซ็น ในหลาย ๆ ประเด็น



จะต่างก็ คงเป็นเพราะว่าหนังสือท่านพุทธทาสหลายเล่ม นั้นเขียนด้วยการถอดเทป การเทศนา เลยจับประเด็นได้ยากสักหน่อย หากจะเทียบ กับการเล่าเรื่องอย่างกระชับในรูปแบบนิทานสั้น ๆ ซึ่งเรียบเรียงโดย วรรธนะ มโนภินิเวศ แล้วก็คงจะเข้าใจง่าย และถูกจริต กับคนสมาธิสั้นอย่างผม อยุ่ไม่น้อย

ถ้าอ่านหนังสือธรรมะ ร่วมสมัยมาบ้าง ก็จะพบว่า จริง ๆ แล้วคำสอนทางพุทธศาสนา ไม่ว่าจะ เป็นเซ้น หรือ เถรวาท ต่างก็ล้วนแล้วแต่ มีความเป็น สัมพันธบท กันอยู่ อย่าง แนวคิดเรื่องที่ ฌาณจารย์สอนให้ฝึกสมาธิในขณะทำงาน การไม่ยึดติด ไม่ยึดมั่นพยายามเกินไป ก็มาปรากฏอยู่ใน หนังสือ เรื่อง "การทำงานคือการปฏิบัติธรรม" ของท่านพุทธทาสภิกขุ หรือไม่ก็ "คนสำราญงานสำเร็จ" ของ ว.วชิรเมธี รวมไปจนถึงชีวประวัติของหลวงพ่อชา สุภทโท ขณะที่ไปปฏิบัติธรรมในวัดของหลวงปู่กินรี

ไม่ใช่แต่เฉพาะประเด็นเรื่องการทำงานคือการปฏิบัติธรรม หรือ ที่ท่าน ว.วชิรเมธีเรียกว่า "ใจอยู่กับกิจจิตอยู่กับงาน" จนเกิดเป็น "ฌาณ" เท่านั้น

ลักษณาการให้อรรถาธิบาย เรื่อง "ความว่าง" หรือสุญตา คือว่าง จาก "ตัวกูของกู" ที่ท่านพุทธทาสพร่ำสอนนั้นก็น่าจะประกอบสร้างมาจากกุศโลบายในการเทศนาแบบเซ็นอยู่ไม่มากก็น้อย

การศึกษาแนวคิดที่เรียบง่ายแต่ลุ่มลึกแบบเซ็น ประกอบกับการศึกษาธรรมะ ของพระนักเทศน์ร่วมสมัยในไทย น่าจะช่วยให้เราเข้าใจและปะติดปะต่อที่มาที่ไป และแนวคิดและหัวใจของพุทธศาสนาโดยที่มิได้มีไสยศาสตร์ มาเจือปนได้มากขึ้น



Create Date : 29 เมษายน 2552
Last Update : 29 เมษายน 2552 22:37:57 น.
Counter : 1272 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend