ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย
แม้หนังสือเรื่อง "ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย" ของจิตร ภูมิศักดิ์ เล่มนี้ จะยังไม่สมบูรณ์ดีเท่าใดนัก แต่ ต้องยอมรับว่า เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้จบ แล้วไม่ว่าใครก็ตามจะต้องรู้สึกทึ่งในความเป้นปราชญ์ ของผู้เขียนเป็นแน่

ผมเองก็ยังไม่ทราบว่า จิตร เขียนงานชุดนี้ ขึ้นในช่วงเวลาไหนของชีวิต แต่ ถ้าเป็นช่วง เวลาที่ เขาเรียนปริญญาตรี อยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็นับได้ว่า เป็นเรื่องที่น่ามหัศจรรย์เข้าไปใหญ่ ที่นิสิตระดับปริญญาตรี จะเขียน คิด วิเคราะห์อะไร ได้ ละเอียดล้ำลึกเช่นนี้


ตลอดเล่ม ผมได้รู้ได้เข้าใจ ถึงประเด็นการถกเถียงในเรื่องที่มาของคำไทย ต่าง ๆ ซึ่งสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ใส่ใจ ก็คงนึกว่า เป็นคำไทย ๆ แท้ ๆ นี่แหละ

อย่างคำว่า "เดียงสา" นี่ก็เป็นคำยืม จากภาษาเขมร มาจากคำว่า "เดียง" ที่แปลว่า รู้
คำว่า "กลาโหม" นี่ จิตรก็แสดงความเห็นว่าเป็นคำมาจากราชสำนักเขมรสมัยก่อน ในขณะที่ปราชญ์ศักดินา บ้างก็สันนิษฐานว่าเป็นคำมาจากภาษาแขก

หรืออาจจะเป็นคำว่า "จังหวัด" ที่พระยาอนุมานราชธนสันนิษฐานว่าเป็นคำยืมมาจากจีน แต่จิตร ก็ค้านว่า อาจจะเป็นคำเขมรโบราณ ที่มาจากคำว่า "ฉวัด" ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในการแบ่งพื้นที่อาณาเขตเป็นวง จนภายหลังเพี้ยนมาเป็น "จังหวัด" แล้วเขมรยุคเสื่อมโทรม ยืมคำไทย กลับไปใช้อีก จนแม้คนเขมรเอง ก็นึกว่าเป็นคำไทย ไปเสียอย่างนั้น

หรือที่น่าสนใจที่สุดก็เห็นจะเป็น การสันนิษฐานคำในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ว่าด้วยวลี "กูขี่ช้างเบกพล"

สมัยมัธยม เรา ๆ ท่าน ได้ ท่อง ๆ จากการสันนิษฐานของครูบาอาจารย์ กันมาว่า คำว่า "เบกพล" นี่ อาจจะเป็นชื่อช้าง ที่มีชื่อว่า "เนกพล" คือเป็นคำบาลี หรือ อาจจะเป็นคำว่า "แบกพล" คือ คำว่า แบก กำลัง

แต่จิตร ก็แสดงทางเลือก ว่า คำว่า "เบก" อาจเป็นคำเขมร ที่เพี้ยนมาเป็นคำว่า "เบิก" ในปัจจุบัน

เช่นคำว่า เถลง ก็ กลายเป็น เถลิง ในวลี ที่ว่า "เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัยชโย" (อันนี้ผมยกตัวอย่างมาเอง)

หรือ กเวง เป็น กำแพง

ซึ่งคำเขมร ที่จิตรว่านี้ภายหลังจาก ที่อาณาจักรขอม ย้ายราชธานี จาก เมืองพระนคร (นครวัตร) ไปพนมเปญ เสียง สละ "เอ" ก็เปลี่ยนออกเป็นสองทาง บางคำ ก็ เปลี่ยน จาก "เอ" เป็น "แอ" แต่ขณะบางคำก็เปลี่ยนเป็น สระ เสียง "เออ"

เช่นคำว่า
เชง เป็น เชิง
หรือคำว่า เวลง เป็น เพลิง


แต่ถึงจิตร จะเขียน หลังจากเรียนจบปริญญาตรี ผมก็ยังเชื่อว่า ด้วยความคิดเห็นที่โต้แย้ง ตำรับตำราของปราชญ์ศักดินารุ่นเก่า ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็น พระยาอนุมานราชธน หรือ หลวงวิจิตรวาทการ ก็ยังทำให้บทวิเคราะห์ทางนิรุกติศาสตร์ชุดนี้ ก็ยังเปี่ยมด้วยคุณค่าการปฏิวัติทางปัญญาในยุคต้น พ.ศ. 2500 ได้อยู่ดี



Create Date : 22 พฤษภาคม 2551
Last Update : 22 พฤษภาคม 2551 15:12:48 น.
Counter : 890 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend