มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault): ธีรยุทธ บุญมี
ด้วยจุดอ่อนในการหนังสือข้อหนึ่งก็คือว่า ผมเป็นคนที่อ่อนวิชาปรัชญามาก ๆ เลย อ่านหนังสือแนวนี้ไม่ค่อยรู้เรื่อง

ปกติแล้ว
วิธีการวิธีหนึ่งที่จะช่วยทำให้ผมอ่านหนังสือรู้เรื่อง มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือประเภทใด ก็คือ ผมจะพยายามฝืนอ่านงานของคน ๆ นั้นก่อนแม้จะไม่รู้เรือ่งก็ตาม จากนั้นผมก็จะศึกษาประวัติชีวิตของนักเขียนคนนั้น แล้วก็อ่านสรุป ย่อ ๆ แนวคิดโดยภาพกว้างของเขา พอจับใจความได้บ้าง แล้วค่อยย้อน กลับไปอ่านไอ้เล่มที่อ่านไม่รู้เรื่องนั่นแหละ

สุดท้ายก้พออ่านจับใจความได้ พอถูไถมาได้ทุกที

--------------

งานของนักเขียนนักคิดหลังโครงสร้างนิยมชาวฝรั่งเศสอย่างมิเชล ฟูโก้ (Michel Foucault) มักจะสร้างปัญหาให้ผมในการทำความเข้าใจ

ผมก้เหมือนกับคนทั่วไปนั่นแหละ ที่เวลาอ่าน อะไรไม่เข้าใจแล้วก็จะชอบโทษนักเขียนว่า เขียนไม่ดีบ้างอะไรบ้าง (แต่ผมก็ไม่เคยไล่นักเขียนไปเรียน คอร์สการเขียนเพื่อการสื่อสารที่เด็กป.ตรี ปีหนึ่งเขาเรียนกันนะ สาบานเถอะสาบาน เพราะผมเชื่อว่า งานระดับตีพิมพ์แบบนี้ มันก็ต้องมีดีของมันบ้างล่ะ)

แต่ พอคิดไปคิดมาแล้ว
การไปโทษคนอื่น โดยที่ไม่ดูตัวเอง นั้น จริง ๆ แล้วมีแต่จะสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น โดยที่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาของตัวเอง คือ อ่านไม่รู้เรื่อง เลยแม้แต่น้อย

ก็เลยพยายาม หาทางทำความเข้าใจ ว่าทำไมถึงอ่านไม่รู้เรื่อง

นอกเหนือไปจาก เนื้อหาหนังสือแนวคิดฟูโก้ที่แปลมาจากภาษาฝรั่งเศสเป็นอังกฤษ อาจจะมีความวกวน ขนาดเจ้าของภาษาฝรั่งเศสฟังเอง ก็ยังงงแล้ว ยิ่งมาแปล เป็นอังกฤษ ก็ยิ่งงงใหญ่

ก็จะแนะนำให้คนที่รู้ฝรั่งเศสลองไปอ่านภาษาฝรั่งเศส อาจช่วยได้บ้าง แต่สรุปแล้วก็มึนงงไม่ได้ต่างกันเลย

เหตุผลอื่นนอกเหนือจากประเด็น "lost in translation" ที่ความหมายตกหล่นระหว่างแปล ฝรั่งเศสเป็นอังกฤษ แล้วก็น่าจะเป็นเพราะพื้นฐานความรู้ทางด้านแนวคิดของฟูโก้ของผมมีน้อยมาก

นักคิดคนนี้ตั้งคำถาม และวิพากษ์ การเมือง มานุษย์วิทยา สังคมวิทยา กระแสหลัก ที่เป็นพื้นฐาน ของการมองโลก ของคนที่จัดได้ว่า "มีการศึกษา" ส่วนใหญ่ในโลกเขามองกัน

ฉะนั้นก่อนที่จะอาจหาญไปเข้าใจแนวคิดฟูโก้ ที่ตั้งคำถาม กับความรู้กระแสหลัก

ผู้อ่านก็ควรมีความเข้าใจกับแนวคิดทางการเมืองของยุโรป บรรยากาศของคริสตจักร ตลอดจนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่แนวคิดอะไรต่าง ๆ แผ่ขยายไปยังประเทศ อาณานิคม และประเทศที่พยายามจะดิ้นรนเพื่อไม่ตกเป้นอาณานิคมทั่วโลกว่าเป้นความรู้ที่ถูกต้อง

(มีคนบอกว่าให้ผมไปทบทวนวรรณกรรม โดยอ่านงานนิทเช่เดอร์ไคม์ แล้วก็เวเบอร์ แล้วก็จะรู้เรื่องมากขึ้น แต่กว่าจะรู้เรื่อง ผมคงตายก่อน)

ประหนึ่งว่า ก่อนที่จะรอบรู้เรื่องรายละเอียดของ "หลังเขาฟากกระโน้น" เราก็ต้อง "ปีนเขา" เพื่อ ทำความรู้จัก กับ บรรยากาศ บน "ยอดเขา" เสียก่อน

แต่กว่าจะทำอย่างงั้นได้ ก็ลำบาก ต้องใช้เวลา นานเหมือนกัน

กลวิธีหนึ่งที่หนึ่งจากความคิดส่วนตัวของผมที่ผมจะช่วย ให้ การ "ข้ามเขา" สะดวก ขึ้น หรือ เตรียมพร้อมรับมือ กับความสูงชันของภูเขา ได้ดีขึ้น ก็คงจะหนีไม่ผล การอ่าน มุมมอง ของคนที่เขา ปีนข้ามเขาไปแล้ว แล้วเขา สรุป "เส้นทาง" ให้เราฟัง โดยสังเขป

อย่างหนังสือ มิเชล ฟูโก้ (Michel Foucault) ของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมี เล่มนี้ก็ช่วยให้ผม ทำความเข้าใจกับ แนวคิดของฟูโก้ได้เยอะ หลังจากที่ตะลุย อ่านบทความ งานเขียน บทเล็กเชอรืของฟูโก้มาหลาย ชิ้น แต่ก็ไม่ค่อยจะกระจ่างเสียที

คำศัพท์ภาษาไทย ที่ อาจารย์ธีรยุทธใช้ อาจจะต่างจาก นักวิชาการหลังโครงสร้างนิยมบางท่านในเมืองไทย บ้าง แต่ก็พอจะเข้าใจได้ ว่ามันหมายถึง คำไหนในภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาฝรั่งเศส


อย่างเช่น คำว่า les corps dociles เคยมีคนแปลเป็นภาษาไทย ว่า "ร่างกายใต้บงการ" แต่อาจารย์ ธีรยุทธ ใช้คำว่า "ร่างกายที่เชื่องเชือ" (แล้ววงเล็บ เป็นภาษาอังกฤษไว้ว่า docile body) อ่านแล้วก็ได้อรรถรส ของการสื่อความ ไปอีกแบบ

โดยรวม แล้ว ผมอ่านงานฟูโก้เข้าใจมากขึ้น ก้เพราะ งานสรุป ผลงาน และแนวคิด รวมถึงประวัติของ มิเชล ฟูโก้ ของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมี เล่มนี้
ที่นอกจาก จะช่วยให้ ผมอ่าน หนังสือของนักปรัชญาหลังโครงสร้างนิยมชาวฝรั่งเศสผู้นี้ได้เข้าใจยิ่งขึ้นแล้ว

ยังเป็นหนังสือเล่มแรก ของอาจารย์ที่ธีรยุทธ ที่ผมอ่าน แล้วพอจะเห็นภาพอีกด้วย

เพราะเล่มอื่น ที่แกเขียน ผมอ่านไม่เคยรู้เรื่องเลย

แต่กระนั้นผมก็คงไม่ถึงขนาดแบบจะไล่ให้อาจารย์ไปเรียน คอร์สการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ของ เด็กป.ตรี ปีหนึ่งหรอกนะ



Create Date : 27 มิถุนายน 2552
Last Update : 23 กรกฎาคม 2552 17:51:15 น.
Counter : 1247 Pageviews.

1 comments
  
ผมเรียนมาด้านนี้ผมก็ยังอ่านไม่ค่อยรู้เรื่องเลยครับ

ส่วนเรื่องแปล นี่ผมทำใจนานแล้ว แปลเองอ่านเอง และเข้าใจเอง

คนอย่างเราโง่ตลอด
โดย: I will see U in the next life. วันที่: 27 มิถุนายน 2552 เวลา:20:42:32 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend