ก่อกองทราย โดยไพฑูรย์ ธัญญา
ผมอ่านหนังสือชุดรวมเรื่องสั้น "ก่อกองทราย" ของ "ไพฑูรย์ ธัญญา" จบ แล้วเกิดความรู้สึกประทับใจ และก็มีอารมณ์ "คึก" อยากจะลงมือลงไม้ลงมือหัดเขียนเรื่องสั้นกับเขาบ้างให้ได้

ตรงนี้ เป็นเรื่องแปลก ด้วยเพราะถ้าจะให้สารภาพตามตรง กลวิธีการเล่าเรื่องของนักเขียนเรื่องสั้นคนอื่นอย่างวินทร์ เลียววาริณ นั้นค่อนข้างจะถูกจริต หรือ "โดน" กับรสนิยมของผมมากกว่า แต่ เืรื่อง "ก่อกองทราย" ที่บอกเล่าสภาพชีวิตชนบทปักษ์ใต้ (ถ้าให้เดา ๆ น่าจะเป็นแถว ๆ พัทลุงหรืออำเภอบางอำเภอในสงขลาน่าจะได้) กลับทำให้เกิดความรู้สึกพวยพุ่ง อยากจะลงมือเขียนเรื่องของผมเองมันเสียเดี๋ยวนี้ได้มากกว่า

เหตุ ที่เป็นเช่นนั้นน่าจะเป็นเพราะความรู้สึก "โหยหาในสิ่งที่ผมไม่อาจมี" นั่นก็คือ การสัมผัสวิถีชีวิตแบบคนภาคใต้ แล้วนำเอาแนวคิดเล่าเรื่องสั้นแบบท้องถิ่นมาผสมผสานกับประสบการณ์ที่ผมมี อยู่แล้ว นั่นก็คือประสบการณ์ในวัยเด็กที่เติบโตขึ้นมาในภาคอีสาน

คน หน้าอย่างผมเนี่ย เดินไปไหนมาไหน ใคร ๆ ก็รู้เลยว่าเป็นคนใต้ แน่ ๆ ยิ่งไปเดินแถวราม ขี้คร้าน จะมีคนมา "แหลงใต้" ใส่หน้า หารู้ไหมว่า ว่าผมฟังไม่ค่อยออก และพูดไม่เป็นเลย เพราะ ชีีวิตทั้งชีวิต ใช้เวลา อยู่ในพื้นไม่ถึง สิบเดือน คือเกิดที่อุบลก็จริง แต่พออายุได้เดือนสองเดือน ก็ต้องลงไปอยุ่ทีหาดใหญ่เสียแล้ว จากนั้นมาก็วนเวียน อยู่ระหว่าง ชุมพรหาดใหญ่ แล้วพออายุได้หนึ่งขวบ ก็ย้ายมาอยุ่อีสาน จนผ่านไปยี่สิบห้ายี่สิบหกปีนี่แหละครับ

บัดนี้ พูดอีสานคล่องปรื๋อ เรียกว่ากลายเป็นคนอีสานหน้าตาปักษ์ใต้ไปเสียแล้ว

แต่ ในช่วงปีสองปีนี้ ผมมีโอกาสได้ไปภาคใต้แม้จะเป็นครั้งคราวแต่ก็บ่อยขึ้น พอได้พูดได้คุยกับชาวบ้านแล้วรู้สึกว่าอยากหัดพูดภาษาใต้บ้าง เพราะภาษาเพราะ โดนใจ และถูกกับบุคลิกน้ำเสียงการพูดของผมเสียเหลือเกิน เหมือนมันมีเสน่ห์ มาตรึงใจกับคนอย่างผมอย่างไรก็บอกไม่ถูก

--------------------



อย่าง ที่กล่าวไปแล้วว่า ฉากของเรื่องสั้น "ก่อกองทราย" น่าจะอยู่ในพื้นที่ชนบทของเมืองพัทลุง ผมอ่านแล้วรู้สึกประทับใจในความ นำเสนอเรื่องราวของผู้คนในท้องถิ่น แล้วก็แอบคิดในใจว่า น่าจะมีคน นำเรื่องราวในภาคอีสานมาเขียนเป็นเืรื่องสั้นเช่นนี้บ้าง ยิ่งถ้ามีกลวิธีการเล่าเรื่องที่มีกลเม็ด เด็ดพราย การเล่าผ่านมุมมองแนวคิดในรูปแบบของการนำเสนอให้เห็นถึงกระบวนการสร้างความ หมายและอัตลักษณ์ของคนพื้นถิ่นได้ก็คงดีไม่หยอก

น่าเสียดาย ที่ผมไม่มีความาสามารถจะทำอะไรแบบนั้น คงได้แต่เป็นนักฝันหวานและอยากเขียนต่อไป แต่ถ้านักเขียนท่านอื่นท่านใด สามารถทำได้จริง การผสมผสานอัตลักษณ์ของภูมิภาคด้วยการเล่าผ่านมุมมองตะวันตกเช่นนี้ ก็คงจะเป็นนวตกรรมที่สุดยอดของวงการงานเขียนเลยทีเดียว

-----------------------------

จริงๆ แล้ว ถ้าได้อ่านเรื่องหลายเรื่องในก่อกองทราย คนต่างถิ่นอาจต้องใช้จินตนาการนิดหน่อย เพราะไม่คุ้นกับบรรยากาศแวดล้อม ทั้งการชนวัว นกเขา เรือหาปลา พูดไปก็คงจะทำนองเดียวกันกับ ที่ผมต้องพยายามนึกภาพหาข้อมูล เวลาที่อ่าน "เสเพลบอยชาวไร่" ของ รงค์ วงษ์สวรรค์ หรือ คนอื่นที่ไม่ใช่คนอีสาน เวลา อ่าน "ลูกอีสาน" ของ คำพูน บุญทวี นั่นแหละ

เรื่องที่ผมชอบที่สุดในหนังสือเล่มนี้ ก็คือ เรื่องสั้นก่อกองทราย ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับหนังสือเอง เหมือนผู้เขียนจะระบุในคำนำไว้ว่า เคยมีคนบอกว่า การเขียนหนังสือของเขานั้นเปรียบเสมือนกับเด็กเล่นกองทรายอยู่ริมน้ำ คือ ก่อมาเป็นรูปเป็นร่างอะไรขึ้นมา ไม่ช้าไม่เร็ว น้ำก็มาเซาะ จนกองทรายพังไปอยู่ดี

กระนั้นก็ดี จากที่สังเกตในเรื่องสั้น เด็กน้อยผู้นั้น ก็ยังคงมุมานะที่จะก่อกองทรายอยู่ต่อไป แม้ว่าน้ำจะเซาะมาพังกี่ครั้งต่อกี่ครั้งก็ตาม เด็กคนนั้นกะจะก่อให้สูงเทียมวัดเทียมโบสถ์โน่นที่เดียวเชียวหล่ะ

ผม อ่านถึงตรงนั้น แล้วรู้สึก "โดน" มาก ๆ เพราะ ถ้าเปรียบนักเขียน เหมือน เด็กเล่นกองทราย ก่อปราสาททราย แล้วโดนน้ำกัดเซาะ จนปราสาททรายพังอยู่เรื่อย ๆ ชีวิตการหัดเขียนของผม ก็คงไม่ต่างอะไรเท่าใดนัก

จริงอยู่ว่า หลายครั้งหลายหนที่อาจจะมี คนเห็นคุณค่า แต่ ก็มีอีกไม่รู้ต่อกี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ที่โดนคนสบประมาท ว่า "เขียนไ่ม่รู้เรื่อง" บ้าง หรือไม่ก็ ไล่ให้กับไปเรียนวิชาหัดเขียระดับพื้นฐาน" อะไรต่อมิอะไรบ้าง ยิ่ง เวลาที่เขียนกวี แล้วยิ่งโดนหนัก

และผมก็เชื่อ ว่านักเขียน หรือกวี หลาย ๆคนก็อาจจะเจอ ช่วงเวลาคล้าย ๆ อย่างนี้ แต่ ผมยังเชื่อว่า นักเขียนหรือกวี อีกหลาย ๆ ่ท่านนั้นจะยังคงสร้างสรรค์งานของตัวเอง ไม่ว่าจะโดน ใครเหยียดหยาม หรือ จะถูกมองข้าม แค่ไหน ด้วยฉันทาคติ ในการศึกษา พัฒนาทักษะการเขียนต่อไปอย่างสมำ่เสมอ

เหมือนกับ กองทรายของเด็ก ๆ ที่แม้ว่า มันจะโดนน้ำกัดเซาะ แค่ไหน แต่ถ้าคนก่อมีความพยายาม หมั่นคิดตรึกตรอง ฝึกฝนแก้ไข ปรับปรุง สักวัน มันจะสูงเทียมวัดเทียมโบสถ์ได้เหมือนกัน



Create Date : 21 ธันวาคม 2552
Last Update : 21 ธันวาคม 2552 13:55:26 น.
Counter : 2509 Pageviews.

5 comments
  
ขอให้มีโชคหมดทุกข์โศรกโรคภัย
พ้นเคราะห์ที่เลวร้าย พันภัยด้วยเทอญ
โดย: chabori วันที่: 21 ธันวาคม 2552 เวลา:14:27:56 น.
  
ไม่เคยผ่านตาเลยค่ะเล่มนี้
โดย: หวานเย็นผสมโซดา วันที่: 21 ธันวาคม 2552 เวลา:18:15:17 น.
  
สักวัน นะ สักวัน
เคยอ่าน นานแล้ว ลืมแล้ว
โดย: คนขับช้า วันที่: 22 ธันวาคม 2552 เวลา:0:36:09 น.
  
ทุกคนมีสไตล์
ทุกช่วงมีบททดสอบ
เป็นปกติ(ที่เหนื่อย)

โดย: p_tham วันที่: 22 ธันวาคม 2552 เวลา:2:24:03 น.
  
เล่มนี้เราก็ชอบมากเหมือนกันค่ะ
ตอนทำรายงานภาษาไทยส่งก็เลือกเล่มนี้แหละ โหย ผ่านมานานจนเกือบลืมแล้วนะเนี่ย

อยากเอามาอ่านอีกครั้งจัง
โดย: นักเรียนห้องสี่เก่า วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:11:13:44 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend