สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน: วินทร์ เลียววาริณ
มีนักวิชาการในวงการวรรณกรรมท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า

"หนังสือที่ดีไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือที่ขายได้ แต่หนังสือที่ขายได้และเป็นหนังสือที่ดีด้วยได้ยิ่งดี"

หลายครั้งหลายคราว เรามักมีความเชื่อกันว่า งานศิลปะที่ดี อาจจะไม่ใช่ งานที่ ขายได้ทำกำไรได้ดี

ส่วนหนึ่ง หนังสือที่ "ดี" ที่ว่า แม้ว่า ลักษณะการเขียนเชิงวรรณศิลป์ที่งดงาม เนื้อหาซับซ้อแต่ถ้าผู้อ่านต้องปีนกำแพงอ่าน และ/หรือ เนื้อหาเน้นเขียนตามใจ ตามโลกผู้เขียนเป็นหลัก ซึ่งอาจจะ หาจุดร่วม กับ "กระแสหลัก" ของสังคม จนกระทั่งว่า ไม่ว่าจะใช้กลไก กลยุทธ์เพียงใด ก็คงยาก ที่จะ ขาย ออกมา ในระดับท็อปชาร์ต ได้

ว่ากันตรง ๆ ตาม กลไกตลาด ไม่ว่าจะเป็นเพลง หรือเป็น หนังสือ หรืออะไร ก็ตามที่ผลิตออกมา แล้ว "โดน" คนส่วนใหญ่ อ่าน/ฟัง แล้วสื่อสารได้ เลย โดยไม่ต้องตีความ
นั่นแหละ จึงจะเป็นหนังสือที่ขายดี

ซึ่งเราเชื่อกันนักหนา ว่า หนังสือที่ "ดี" ตามคำนิยามของผู้มีอำนาจทางวงการวรรณกรรม จึงอาจขายไม่ดี เพราะว่าไม่ต้องจริต กับความชอบของผู้บริโภค ด้วยสาเหตุ อย่างนี้

----------------

ก่อนหน้าที่จะมาได้อ่าน หนังสือชุดรวมเรื่องสั้นของ วินทร์ เลียววาริณ เรื่อง "สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน" ผมเคยอ่านนวนิยายระดับคุณภาพ ของวินทร์ สองเล่ม คือ "ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน" และ "ปีกแดง" ซึ่งผมมองว่า งานทั้งสองล้วนแล้วแต่แฝงไปด้วย กลวิธีในการเล่าเรื่องที่แยบยล ยิ่ง "ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน" ได้รับรางวัลซีไรต์ และมียอดขายที่สูงด้วยแล้ว ผมยิ่งไม่น่าแปลกใจเลย หากจะบอกว่า งานของวินทร์ นั้นเป็นได้ทั้งหนังสือ ที่ดี และ ก็ขายได้ดีด้วย

หนังสือรวมเรื่องสั้น เรื่อง "สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน" ของวินทร์ เล่มนี้ ก็ยิ่งตอกย้ำวาทกรรม "หนังสือที่ดีและขายได้" เข้าไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วินทร์ ได้พยายาม เขียนเสนอแนะทางออกให้กับนักเขียน ที่งานมักจะขายไม่ได้ เพราะยึดติด กับ อัตตาคติในแบบเก่า ๆ จนแทบไม่มีจะกิน ในเรื่องสั้น ที่ มีฉากประธานสมาคมนักเขียนถูกจับเป็นตัวประกัน เพื่อให้เรียกร้องให้รัฐบาลหันมาเหลียวแล ชีวิตนักเขียนบ้าง

ในบทสนทนาเรื่องสั้นเรื่องนั้น เหมือนกระตุ้นให้ นักเขียนทั้งหลายได้รู้สึกว่า เราจะมามั่วโอดครวญกับ รายได้ที่ลดลง เพราะ จำนวน ผู้บริโภคหนังสือน้อยลง อย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องรู้จักปรับตัวให้ทันสมัย พร้อมจะเปลี่ยนแปลง ไปตามกระแสบริโภคทุกวันนี้ด้วย หากต้องการจะอยู่รอด

การตลาดและการโปรโมทหนังสือ จึงเป็นเรื่องสำคัญ
แน่นอน การพยายามเขียนงานเพื่อล่ารางวัล แล้วมีการแปะประทับตาการันตี ดีกรีรางวัลนั้นย่อมเป็นการตลาดชนิดหนึ่งซึ่งอาช่วยเพิ่มยอดขาย ขึ้นได้บ้าง

แต่หากเราจะรอ หวังว่าสักวันจะได้รางวัลสักชิ้น เพียงประการเดียว ก่ว่าวันนั้นจะมาถึง นักเขียนหลายคนคงต้องสิ้นชื่อ เพราะไม่มีอะไรกินไปเสียก่อน

วินทร์จึงเสนอทางเลือกอยู่กราย ๆ ว่า คงจะเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อย หากนักเขียน จะสามารถ บูรณาการเส้นทางสองสาย คือเขียน เพื่อ ให้เป็นหนังสือที่ดี ในสายตา ผู้มีอำนาจในวงการวรรณกรรม (คือกรรมการตัดสินทั้งหลาย) และ เป็นหนังสือที่ดีในสายตาของผู้บริโภคในกระแส ไปพร้อม ๆ กัน

ถ้าจะเปรียบเทียบหลักการเชิงการตลาด ก็คงจะไม่ต่างจาก
ผู้คิดรถ กระบะมี แค็บ ซึ่ง มีแนวคิดผสมผสาน ระหว่าง "รถเก๋ง" + "รถกระบะ" พอผลิตรถมีแค็บ ออกมาทำให้ เขาอาจขายได้ ทั้งคนที่ชอบรถเก๋ง และรถกระบะ ลูกค้าจึงอาจเพิ่มขึ้น

ซึ่งจุดนี้ยิ่งพัฒนา ขึ้นมา เป็น "ยานยนตร์ลูกผสม" ระหว่างรถเก๋ง กับ รถบรรทุก อย่าง ซีอาร์วี หรือ ฟอร์จูนเนอร์ ที่มีแนวโน้มที่จะดึงลูกค้า เป็นคนสองกลุ่ม มาเพิ่ม ยอดการขายได้

งานเขียนก็ไม่น่าจะแตกต่างกันเท่าใดนัก หาก ว่านักเขียนสามารถ เขียนให้ "ดี" ได้ในสายตาของกรรมการที่คาดหวัง ความงดงามทางด้านวรรณศิลป์ ความยอดเยี่ยมทางด้านความคิดที่สื่อออกมาในงาน และ ผู้เสพย์ ที่คาดหวัง การเข้าถึงเนื้อหาและความเพลิดเพลินที่จะอ่านงานเขียนนั้น

-------------------



เรื่องสั้นเรื่อง "เชงเม้ง" ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่วินทร์ เล่าเรื่องของชีวิตชาวไทยเชื้อสายจีน คนหนึ่ง กับ ความยากลำบากในวัยเด็ก ที่ต้องปรับตัวเข้ากับสังคมไทย เมื่อเขามักจะโดนล้อว่า เป็น "เจ๊ก" อยู่บ่อย ๆ

อยู่บ้าน เตี่ย กับ ม้า ก็บังคับให้พุดแต่ภาษาจีน ทั้งที่เขา เกลียดการโดนเพื่อนแกล้งและล้อใจจะขาด

เนื้อหาสาระในเรื่องสั้นเรื่อง "เชงเม้ง" เรื่องนี้ สื่อให้เห็นถึง "สภาวะข้ามชาติ" ที่คนกลุ่มหนึ่งมีความภักดี ต้อง รัฐชาติ สองรัฐ นั้นคือ รัฐไทย และรัฐจีน

แต่แม้จะเรื่องราวที่สื่อให้เห็นถึงประเด็นด้านการเมือง และมานุษยวิทยา แต่วินทร์ ก็ยังสามารถสอดแทรกเนื้อหาทางด้านการตลาด เข้าไปในเนื้อเรื่องได้อย่างแยบยล ชนิดที่ว่า ผู้อ่าน ที่เป็นนักววรณกรรม และ นักรัฐศาสตร์หลังโครงสร้างนิยมที่พอมีความรู้ด้านบริหารธุรกิจ หากได้มีโอกาสมาอ่าน ก็ต้องทึ่งกับเรื่องสั้นเรื่องนี้

------------
เรื่องที่สร้างความประทับใจ ให้กับผมมากที่สุด ก็คือเรื่องปิดท้าย ของหนังสือเรื่องสั้นชุด "สิ่งมีชิวิตที่เรียกว่าคน" ก็คือเรื่องที่บรรยาย ถึง ไก่ พระ มอด หรืออะไรทำนองนั้น ที่บอกเล่าถึงความสัมพันธ์ แบบซิมไบโอซิส หากจะกล่าวในภาษาเชิงชีววิทยา มาในรูปแบบของปัญหาการเมือง สังคม วัฒนธรรมในปัจจุบัน

หากแต่จะอ่านระหว่างบรรทัดให้ดี เราจะรู้ว่า สิ่งที่วินทร์สื่อ โดยนัยยะ นั้นเป็นประเด็น ทางพุทธศาสนาอันลึกซึ่ง เรื่อง อิททัปปัจยตา หรือ ปฏิจสมุปบาท ที่ ผมอ่านงานของท่านพุทธทาสภิกขุ กี่เล่มต่อกี่เล่ม ก็ "ไม่เก็ท" และ "ไม่เห็นภาพ" เท่ากับอ่านเรื่องสั้นแนวนี้

ประเด็นมันอาจจะพอ เรื่องราวที่ท่านพุทธทาสเทศนานั้น เป็นประเด้นเชิงคอนเส็ปและนามธรรม แต่ของวินทร์ เลียววาริณ เป็นวัตถุสภาพมากกว่า อ่านแล้วจับต้องได้ และโดนใจผมจริง ๆ

เมื่อเป็นเช่นนี้ แล้ว ผมจึงขอยืนยัน ต่ออีกครั้งว่า หนังสือเรื่องสั้นเรื่อง "สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน" เป็นหนังสือที่ดี แล้วก็ขายได้ด้วย เพราะดีทั้งในสายตาของผู้มีอำนาจในวงการวรรณกรรมที่ยกให้หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าเล่มหนึ่ง

และ ก็ "ดี" สำหรับคนในกลุ่มที่กว้างขึ้น ที่สามารถเข้าถึงเนื้อหาสาระ ของหนังสือได้ไม่ยาก ตามความสะดวก ประสบการณ์ ปูมหลัง และความสบายใจของแต่ละคน

เพราะฉะนั้น "กลุ่มเป้าหมาย" ของนักเขียนที่เขียนหนังสือได้อย่างวินทร์ จึงน่าจะกว้างขึ้นตามไปด้วย






Create Date : 13 กรกฎาคม 2552
Last Update : 14 ธันวาคม 2552 21:34:13 น.
Counter : 542 Pageviews.

2 comments
  
เป็นเรื่องที่หวานเย็นใช้เวลาอ่านนานที่สุดเลยค่ะ
โดย: หวานเย็นผสมโซดา วันที่: 14 กรกฎาคม 2552 เวลา:14:31:16 น.
  
ชอบเหมือนกันค่ะเล่มนี้

อ่านไปแต่ละบทรู้สึกว่าคุณวินทร์เขาช่างสรรหาวิธีการนำเสนอได้แปลกใหม่ดีจัง
โดย: ละอองลม (wind_drizzle ) วันที่: 14 กรกฎาคม 2552 เวลา:14:54:56 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend