ความเป็นจีนหรือความเป็นไทย: จดหมายจากเมืองไทยของโบตั๋น
"จดหมายจากเมืองไทย" เป็นหนังสือ"หนึ่งร้อยเล่มที่คนไทยควรอ่าน"
มาเป็นตัวบทเสริมให้นักศึกษาได้อ่านกันก็คือเรื่อง "จดหมายจากเมืองไทย" ของ โบตั๋น

นวนิยายเล่มนี้กล่าวถึงชีวิตชาวจีนโพ้นทะเล ที่มาเติบโตสร้างเนื้อสร้างตัวทางธุรกิจ และชีวิตครอบครัวในเมืองไทย เมื่อราวหลังน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ พ.ศ. 2485

ตอนท้าย ๆ เล่มที่เมืองไทยน่าจะอยู่ในช่วง จอมพล สฤษดิ์ เพิ่งถึงแก่อสัญกรรม ผู้อ่านจะได้อ่านความคิดตัวละครตัวหนึ่งที่วิพากษ์วิจารณ์ "อัตลักษณ์ความเป็นชาติ" แล้วรู้สึกอดไม่ถามไม่ได้ ว่ามันคล้าย ๆ กับแนวคิดของนักคิดหลังอาณานิคมหลาย ๆคนที่ครั้งหนึ่งผมเคยท่อง ๆ แบบหลับหูหลับตาไม่รู้ว่าไอ้คำใหญ่ ๆ เหล่านั้น มันคืออะไร

คล้าย ๆ ว่าโบตั๋นจะเชื่อว่า อัตลักษณ์ เมื่อปะทะกัน ย่อมปนเปื้อน และหล่อเลี้ยง ประกอบสร้างกันขึ้น อัตลักษณ์ไม่ว่า "ความเป็นไทย" หรือ "ความเป็นจีน" ก็ไม่แข็งทื่อตายตัว แต่เปลี่ยนแปลงตลอด

ฉะนั้นการไปจำแนกแยกแยะ แล้วสรุปว่า คนจีนต้องเป็นอย่างนั้น หรือคนไทยต้องเป็นอย่างนี้ จึงเป็นวิธีการมองโลกที่ง่ายเกินไป ในความเป็นจริง เราไม่สามารถสรุปอะไรแบบเหมารวมได้ เหมือนกับที่ตัวละครเอกที่มักเหมารวมว่าคนไทยต้องเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ท้ายที่สุดเขาก็เรียนรู้ว่า จะให้ไปสรุปแบบนั้น แล้วเหมารวม อาจจะไม่เหมาะเสียทีเดียว

อ่านอย่างนี้แล้วเห็นภาษาของ Gayatri Spivak ลอยมาในหัวคือ อัตลักษณ์มีลักษณะ ที่ต้องแสดงและผลิตขึ้นใหม่อยู่เรื่อย (performativity) แถมยังมีความแตกต่างหลากหลายรายละเอียดยิบย่อยอีก



Create Date : 01 พฤษภาคม 2555
Last Update : 1 พฤษภาคม 2555 7:54:16 น.
Counter : 1085 Pageviews.

1 comments
  
เล่มนี้เป็นเล่มที่อ่านหลายรอบ ตั้งแต่อายุน้อยอ่านไม่ค่อยเข้าใจ จนถึงวัยที่อ่านแล้วชอบ แต่เป็นประสบการณ์ความรู้ของผู้เขียน ทัศนคติเป็นตามประสบการณ์ และบางอย่างเข้าใจว่าเป็นจริงซะส่วนใหญ่ค่ะ
โดย: ~:พุดน้ำบุศย์:~ วันที่: 1 พฤษภาคม 2555 เวลา:9:51:49 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend