The Seven Spiritual Laws of Success
หนังสือเล่มนี้ไม่เหมือนกับ how to ทั่ว ๆ ไปที่บอกว่าต้องทำอย่างโน้นอย่างนี้ แล้วจะประสบความสำเร็จเห็นผล สีทีเดียว หรือจะว่าเป็นหนังสือธรรมะ ก็ไม่เชิงอีกนั่นแหละ

แต่เสน่ห์ ของมันอยู่ที่ บันได เจ็ดขั้น มีความเกี่ยวข้องกับการค้นหา ความสุข และตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง ที่ต้องอาศัยการฝึกปฏิบัติแบบค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด จึงจะได้รับความสำเร็จที่ยั่งยืนและมั่นคง

ก็คือ

1.The Law of Pure Potentiality หรือ กฎแห่งการเค้นศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน
2. The Law of Giving กฎแห่งการให้
3. The Law of Karma or Cause and Effect คือ กฎแห่งกรรมหรือเหตุและผล
4. The Law of the Least Effort คือ กฎแห่งการพยายามให้น้อยที่สุด
5. The Law of Intention and Desire กฎแห่งความมุ่งมั่นและความปรารถนา
6. The Law of Detachment คือ กฎแห่งการปล่อยวาง
7. The Law of Dharma or Purpose in Life คือ กฎแห่งธรรมะ และเป้าหมายในชีวิต

ด้วยความที่ผู้แต่งคือ Deepak Chopra มีเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน และเป็นผุ้ใฝ่รู้ทางด้านศาสนา พุทธ คริสต์หรือแม้กระทั่งฮินดู เขาจึงสามารถนำศาสตร์หลาย ๆ แขนง มาอธิบายได้อย่างน่าสนใจ

อ่านแล้วนึกถึงงานของ ทันตแพทย์ สม สุจิรา ที่มีกลิ่นอาย ของ กฤษณมูรติอยู่อย่างไรอย่างนั้น

หรือหากจะเทียบกับ หนังสือเรื่อง Siete Poderes เจ็ดพลังอำนาจสู่ความสำเร็จ ของ นักเขียนชาวสเปน อย่าง Alex Rovira Celma แล้ว ก็มีความเหมือน และความต่างอยู่บ้างบางจุด

จากการตีความโดยส่วนตัวของเรา จุดต่างที่น่าสนใจ ที่แนวคิดของ Deepak Chopra ต่างจากทั้ง Alex R. Celma และหนังสือ How To แบบตะวันตกเล่มอื่น ๆ ก็คงจะเป็นในข้อ 4 ที่ว่าด้วย "ความพยายามให้น้อยที่สุด"

ตอนแรก ที่เราอ่าน แล้วเราก็สงสัย ว่า ถ้าให้พยายามให้น้อยที่สุด แล้ว จะประสบผลสำเร็จได้อย่างไร

แต่พออ่าน ไปหนึ่งรอบ จบ เท่าที่พยายามตีความก็เริ่มพอจะเข้าใจ เหมือนกับ Chopra กำลังจะบอกว่า ความพยายามนี้ ถ้าแสดงออกชัดเจนเกินไปอาจจะ มีผลเสียมากกว่าผลดี

และความพยายามให้ "น้อย" ที่สุดนี้ ไม่ได้หมายความว่า ไม่พยายาม เลย

แต่ ควรจะหลีกเลี่ยง ความตั้งใจจนเกินไป เพราะ มันจะขาด ความเป็นธรรมชาติ

เมื่อขาดความเป็นธรรมชาติ ยิ่งพยายาม มากเราก็ยิ่งสุ่มเสี่ยง กับการที่จะผิดหวังแล้วเจ็บมาก

หรือถึงแม้จะประสบความสำเร็จ ดังใจหวัง สิ่งที่ได้มา นั้นก็อาจจะไม่มั่นคงยั่งยืน เท่ากับ การพยายามให้น้อยที่สุด

มันก็คงจะคล้าย ๆ กับ สิ่งที่ Robert Greene ได้ระบุไว้ในหนังสือ The Art of Power ว่า หากเมื่อใด ที่เราแสดงให้ผู้อื่นเห็นถึงความพยายาม ของเรา จนมากเกินไป เมื่อนั้น เราจะกลายเป็นคนที่แลดู ไม่มี "อำนาจ" ในทันที




Create Date : 19 พฤษภาคม 2551
Last Update : 29 เมษายน 2552 22:35:19 น.
Counter : 579 Pageviews.

2 comments
  
ขอขอบคุณ ที่แนะนำหนังสือดีสู่สาธารณะครับ
และขอAdd blog...
โดย: ... (ขามเรียง ) วันที่: 20 พฤษภาคม 2551 เวลา:14:37:13 น.
  
ขอบคุณที่แวะไปอ่านขอรับ
โดย: คนสาธารณะ วันที่: 21 พฤษภาคม 2551 เวลา:17:35:00 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend