Intelligence Reframed
เมื่อสิบปีที่แล้ว เมื่อ ตอนจะขึ้นม.ปลาย แล้วต้องเลือก ว่าจะเรียนศิลป์ หรือเรียนวิทย์ที่โรงเรียนมัธยมในต่างจังหวัด เรามักจะได้ยินผู้ปกครองหลาย ๆ คนที่เดียว ที่ส่งเสริม สนับสนุนให้ลูกตัวเอง ไปเรียน สายวิทย์ เพราะเชื่อกันว่า ถ้าลูกของตนเรียนแผนนี้ จะเพิ่มโอกาสในชีวิตมากกว่า และ/หรือ ดู "ฉลาด" กว่า

ส่งผลให้จำนวนห้องเรียนแผนวิทย์ มีออกมาถึงสิบห้าห้อง
ในขณะที่ศิลป์ฝรั่งเศสมีเพียงห้องเดียวคือห้องสุดท้ายนั่นเอง

ผู้ปกครองบางคน ถึงขนาดพูดกัน ให้เราได้ยินโดยบังเอิญว่า

"ลูกชั้น มันเรียนไม่ค่อยเอาไหน ไม่สนใจเรียน ก็ให้มันเรียนศิลป์ฝรั่งเศสไปนั่นแหละ"

สภาวะตรงนี้ เกิดขึ้นเมื่อสิบปีที่แล้ว ที่โรงเรียนมัธยม ในจังหวัด บ้านเกิดของเรา เราไม่ทราบแน่ว่า สถานทีอื่น ๆ ในยุคสมัยปัจจุบัน ยังเป็นอย่างนี้หรือเปล่า

แต่ที่แน่ ๆ ค่านิยมแบบนี้สะท้อนให้เห็นถึง ความเชื่อเป็นนัย ๆ ที่คนระดับเป็นผุ้ปกครองไม่ว่าจะตามแฟนชั่นหรือชั่งใจเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม มักจะมองว่า คนที่เรียนแผนวิทย์ อาจจะดู "ฉลาด" และ หรือ ดูดีมีอนาคตมากกว่า

---------------------

พอโตขึ้นมาหน่อย เราเริ่มได้ยินมาว่าในประเทศตะวันตกต้นตำรับศิลปวิทยาการในยุโรปหลาย ๆ ประเทศ นั้น ค่านิยม ของผู้ปกครอง ไม่ได้เป็นเช่นเดียวกับทีเราได้พบเห็น มาสมัยจะขึ้นม.ปลาย

แต่ จำนวนนักเรียนที่เรียนวิทย์หรือศิลป์ จะไม่แตกต่างกันมโหฬารมากนัก อย่างดี ๆ แต่ก็เป็นเพียงสิ่งที่เราได้ยินได้ฟังมาโดย ยังไม่ทราบว่าจริงเท็จประการใด หรือไม่

แต่อย่างน้อย ก็ยังมีกรณีตัวอย่างให้เห็นว่า ในหลาย ๆ พื้นที่ไม่ได้มองว่า คนที่มีความสามารถทางศิลป์ หรือทางภาษา มิได้มี ความ "ฉลาดน้อย" กว่าผู้ที่เรียนแผนวิทย์ หรือช่ำชองเชิงคณิตศาสตร์และการใช้ตรรกะแต่ประการใด

หากแต่เป็นความถนัด ซึ่งแต่ละคน เติบโตมาในครอบครัวที่แตกต่าง เลี้ยงดูแผกวิธีการ ก็ย่อมจะชำนาญในทักษะที่ต่างกันเสียมากกว่า

จนเมื่อเราได้มาอ่านหนังสือเรื่อง Intelligence Reframed ของ Howard Gardner เรายิ่งรุ้สึกประหลาดใจยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ผุ้แต่งนิยามว่า คนจะฉลาด จะต้องมีทักษะ สองอย่างในระดบที่สูงกว่าผู้คนทั่วไปอยู่สองทางคือ 1. ทักษะการแก้ไขปัญหา และ 2. ทักษะการสร้างสิ่งใหม่ ๆ
โดยความฉลาด นี้ เราตีความว่า มันไม่ใช่แค่การท่องจำอย่างเดียว แต่ต้องสามารถเข้าใจและนำไปใช้ได้ในสถานการณ์ความผันผวนในชีวิตจริงได้ (ลองย้อนกลับไปดูที่บทความ "จะรู้ไปทำไม")


และที่น่าสนใจยิ่งกว่าก็คือ Gardner แบ่งความ "ฉลาด" ออกมากกว่าสองทักษะ เสียอีก

คนฉลาดในสหัสวรรษใหม่จากนิยามของ Gardner อาจมีวิถีที่แตกต่างกันออกไป 7 ถึง 9 แนวทางใหญ่ ๆ ไม่จำเป็นจะต้อง เป็นทักษะทางภาษา หรือทางการคำณวน อย่างเดียว

หากแต่ยังมี ทักษะทางงานฝีมือ การจำแนกประเภท ทางดนตรี มนุษย์สัมพันธ์ และทางด้านการมีบารมี ที่จะส่งอิทธิพลต่อผู้อื่นอีก

ผุ้แต่งบอกว่า เป็นไปไมได้ที่จะให้คนเรา เก่งไปทั้ง 7-9 อย่าง แต่กระนั้นก็ดีคนจะประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับได้ การจะมีความเฉลียวฉลาดสองด้านเป็นคุ่กันเป็นอย่างน้อย ไม่จำกัดตายตัวว่าจะเป็นคู่ไหนโดยเฉพาะ

อย่างกวี จะให้เป็นที่ยอมรับ จะให้เก่งที่ทางด้านภาษาอย่างเดียวก้คงไม่เพียงพอ บางคนอาจจะมี เรื่องอภิปรัชญา จิตวิญญาณ เข้ามาผสม หรือถ้าไม่มีตรงนี้ ก็อาจจะมี มนุษย์สัมพันธ์ จนสร้างเครือข่ายขึ้นมาให้โด่งดังได้

แต่จุดหนึ่งที่น่าแปลกก็คือ เขาระบุไว้ว่า ผุ้ที่มีความฉลาดด้านดนตรี (ต้องเป็นดนตรีคลาสสิคด้วยนะ ดนตรีป็อบแจ๊ซฮิปฮอปไม่นับ) มักจะมีความฉลาดทางด้านการคำนวณด้วย เพราะเป็นเรื่องการมองอะไร ๆ ที่เป็นโครงสร้าง คล้ายกัน ๆ

ก็เขาว่ามาอย่างนั้น เราก็ฟัง ๆ ไว้



Create Date : 16 พฤษภาคม 2551
Last Update : 16 พฤษภาคม 2551 18:59:53 น.
Counter : 260 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend