ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 
ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย

ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย


ข้อมูล ทางธรณีวิทยารายงานว่า สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย เกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีแหล่งกำเนิดจากภายนอกประเทศ ส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย โดยมีแหล่งกำเนิดบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน พม่า ลาว ทะเลอันดามัน ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา โดยบริเวณที่จะรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้แก่ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพฯ


โดยบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูงในประเทศไทย ได้แก่


1. บริเวณอยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ตามแนวรอยเลื่อนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคเหนือและตะวันตก

2. บริเวณที่เคยมีประวัติหรือสถิติแผ่นดินไหวในอดีตและมีความเสียหายเกิดขึ้น จากนั้นเว้นช่วงการเกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะเวลานานๆ จะมีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหว ที่มีขนาดใกล้เคียงกับสถิติเดิมได้อีก

3.
บริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งสามารถขยายการสั่นสะเทือนได้ดี เช่น บริเวณที่มีดินเหนียวอยู่ใต้พื้นดินเป็นชั้นหนา บริเวณที่ลุ่มหรืออยู่ใกล้ปากแม่น้ำ เป็นต้น โดยเฉพาะแถบจังหวัดนนทบุรี อยุธยา ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา เนื่องจากชั้นดินมีความอ่อนตัวมากกว่าแถบอื่น

สมศักดิ์ โพธิสัตย์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่แนวตะเข็บของเปลือกโลกที่เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีโอกาสที่จะขยับตัวได้ แต่ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวเมื่อไร และจากการสำรวจทำแผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในปี
2548 ของกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามี 4จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยมากที่สุด คือ กาญจนบุรี ตาก แม่ฮ่องสอน และเชียงราย โดยมีความเสี่ยงที่ 7-8 เมอร์คัลลี่ เพราะเป็นพื้นที่ใกล้รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ที่สำคัญ ผลกระทบอาจทำให้อาคารที่มั่นคงตามปกติเสียหายได้

ส่วนจังหวัดรองลงมา ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคใต้ อาทิ สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา น่าน ลำปาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร โดยจะมีความเสี่ยงที่ 5-7
เมอร์คัลลี่ ซึ่งจะทำให้อาคารที่สร้างอย่างมั่นคงตามปกติเสียหายเล็กน้อย ส่วนที่ปลอดภัยมากที่สุด คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ




ลักษณะการเกิดแผ่นดินไหว

การเกิดแผ่นดินไหวจะประกอบด้วยการสั่นสะเทือนที่มีขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า Mainshocks หนึ่งครั้ง ติดตามด้วยการสั่นสะเทือนเล็กๆ อีกหลายครั้งที่เรียกว่า Aftershocks

ในบางครั้งอาจมีการสั่นสะเทือนเล็กๆ เกิดขึ้นก่อนหน้า เรียกว่า Foreshocksการสั่นสะเทือนเป็นระลอกดังกล่าว อาจเกิดขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่วินาที จนถึงหลายวันได้ คลื่นแผ่นดินไหว (Seismic wave)แบ่งเป็น 3 ประเภท

(1.) P-waves หรือ Primary waves (คลื่นปฐมภูมิ)

(2.) S-waves หรือ Secondary waves (คลื่นทุติยภูมิ)

(3.) Surface waves (คลื่นพื้นผิว)



การป้องกันและการปฏิบัติตน

ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว

  • ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
  • ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  • ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น
  • ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
  • อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้
  • ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
  • ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้ง ในภายหลัง
  • สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว



ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว

  • อย่า ตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน
  • ถ้า อยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
  • หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
  • ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง
  • อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
  • ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
  • ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
  • หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง

หลังเกิดแผ่นดินไหว

  • ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน
  • ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้
  • ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง
  • ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
  • ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน
  • ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง
  • เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ
  • สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
  • อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง
  • อย่าแพร่ข่าวลือ





ขอบคุณข้อมูลจาก oknation.net



Create Date : 25 มีนาคม 2554
Last Update : 25 มีนาคม 2554 8:34:39 น. 2 comments
Counter : 1479 Pageviews.

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน bigeye


โดย: nsk (tewtor ) วันที่: 11 เมษายน 2554 เวลา:7:46:25 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน bigeye


โดย: nsk (tewtor ) วันที่: 11 เมษายน 2554 เวลา:7:57:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.