โรคหลอดเลือดหัวใจและแนวทางรักษา

โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงหัวใจตีบหรืออุดตันจากไขมัน เส้นเลือดจึงต้องทำงานหนัก เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงหัวใจให้ได้เพียงพอ

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ อาจจะรวมถึง

• เจ็บหน้าอก

• หายใจถี่

• ปวดแน่นหน้าอก

• ปวดขากรรไกร ปวดร้าวไปที่แขน

• ปวดแสบปวดร้อนตรงลิ้นปี่หรือท้องส่วนบน

• คลื่นไส้

• อาเจียน

• เหงื่อออกมาก

• หมดสติ

•

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อโรคนี้

ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เช่น

• อายุ

• เพศชาย หรือหญิงในวัยหมดประจำเดือน

• ประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ


แต่ปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่สามารถควบคุมได้ เมื่อท่านได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ควรหันมาใส่ใจและปรับเปลี่ยน

ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ เช่น

โรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้นในการสูบฉีดเลือด แรงดันเลือดสูงจะทำลายหลอดเลือดโดยตรง ทำให้รอยโรคก่อตัวง่ายขึ้น

โรคเบาหวาน เบาหวานเกิดจากการสร้างฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเนื้อเยื่อไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเกินไป จนไปทำลายหลอดเลือดและเส้นประสาท

ภาวะไขมันในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูงเกินไป จะก่อให้เกิดการตีบของหลอดเลือด 

การไม่ออกกำลังกาย การใช้ชีวิตที่ไม่ทำกิจกรรมหรือไม่ออกกำลังกายจะส่งเสริมให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้ง่ายขึ้น

ภาวะอ้วน คนที่มีไขมันเกิน โดยเฉพาะอ้วนลงพุง มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ถึงแม้จะไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วยก็ตาม


วิธีวินิจฉัย โรคหลอดเลือดหัวใจ

หากแพทย์สงสัยว่าท่านอาจเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือท่านแสดงอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรง แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และทำการทดสอบเพิ่มเช่น :


อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bangkokpattayahospital.com/th/newsroom-th/health-articles-th/item/2588.html

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ศูนย์ ศูนย์หัวใจ

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 27 กรกฎาคม 2558
Last Update : 27 กรกฎาคม 2558 14:26:52 น.
Counter : 1014 Pageviews.

1 comment
วินิจฉัยโรคด้วยคุณภาพและความละเอียดสูง MRI 3.0 T

เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging [MRI] ระดับความเข้มของสนามแม่เหล็กสูง 3 เทสลา [3.0 Tesla Unit] สำหรับการวินิจฉัยอาการความผิดปกติทางสมอง ไขสันหลัง ระบบกระดูกและข้อ รวมถึงอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย สามารถแสดงผลตรวจได้อย่างมีคุณภาพและมีความละเอียดสูง โดยเฉพาะการตรวจเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆที่ซับซ้อน หรือมีขนาดเล็ก รวมถึงเนื้องอกและมะเร็งต่างๆ
ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับการตรวจแบบใช้รังสีเอกซเรย์และใช้สารทึบแสงได้ เช่น ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่แพ้สารทึบรังสี หรือผู้ป่วยในภาวะไตวาย รวมถึงผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่สามารถกลั้นหายใจนานๆ ได้ นอกจากนี้ ตัวเครื่องยังมีลักษณะเป็นอุโมงค์สั้นทรงกระบอกในแนวนอนขนาดกระทัดรัดที่สุด ในโลก ซึ่งสามารถช่วยลดอาการกลัวการเข้าไปอยู่ในบริเวณแคบและปิดทึบของผู้ป่วยได้ MRI จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำ และนำไปสู่การรักษาโรคต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีมากยิ่งขึ้น

Better Image Quality, High Resolution
Better Positioning, More Comfort, 70 cm bore
Better Technology, Digital Broadband MR

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์รังสีวินิจฉัย

ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 24 กรกฎาคม 2558
Last Update : 24 กรกฎาคม 2558 15:01:43 น.
Counter : 1188 Pageviews.

1 comment
ทุก 1 นาที มีผู้ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉินเร่งด่วน 2 คน


อุบัติเหตุเป็นส่วนหนึ่งของการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งเมื่อรวมกับโรคหัวใจและหลอดเลือด กับภาวะเส้นโลหิตในสมองตีบหรือแตกเข้าไปด้วย จึงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับที่ 1 ของโลก* คิดเป็น 25% ของสาเหตุของการเสียชีวิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นในโลก 

ในประเทศไทยมีผู้ป่วยฉุกเฉินประเภทนี้ปีละประมาณ 12 ล้านครั้ง**  และมีผู้ที่จำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อรักษาชีวิต หรือรักษาการทำงานของอวัยวะที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประมาณปีละไม่ต่ำกว่า 4 ล้านครั้ง***

ที่น่าตกใจคือในจำนวนนี้มีผู้ป่วยฉุกเฉิน เสียชีวิตนอกโรงพยาบาลประมาณ 60,000 คน****

ที่มา: * องค์การอนามัยโลก 2013; **, **** สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.); *** สำนักสาธารณสุขฉุกเฉิน(สธฉ.) กระทรวงสาธารณสุข

ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา 

พร้อมอยู่เคียงข้างเพื่อดูแลคุณตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยความรวดเร็วและความปลอดภัย เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ โดยทีมแพทย์ พยาบาลและบุคลากรเฉพาะทาง ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในเรื่องการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน อีกทั้งเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย

ครบครันที่จะใช้ในการวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว

พร้อม...ทุกนาทีชีวิต [EVERY SECOND COUNTS!]

ด้วยทีมแพทย์ พยาบาลและบุคลากรเฉพาะทาง และระบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุและระหว่างนำส่งโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงระบบทางด่วนพิเศษ เพื่อดูแลแบบเร่งด่วนในกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง และอุบัติเหตุฉุกเฉิน ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย พร้อมใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง

การดูแลผู้ป่วยก่อนถึงโรงพยาบาล [PRE-HOSPITAL LIFE SUPPORT]

ระบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุและระหว่างนำส่งโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ  โดยทีมแพทย์ พยาบาลและบุคลากรเฉพาะทาง รวมถึงรถพยาบาลที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ช่วยชีวิต ตามมาตรฐานสากล  ได้รับการรับรองจาก JCI (Joint Commission International, USA) เพื่อให้ผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น

TRAUMA FAST TRACK

ระบบทางด่วน สำหรับผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินขั้นวิกฤต ที่จำเป็นต้องได้รับการประเมิน  การจัดการและการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อให้ผู้ป่วย พ้นภาวะวิกฤต และช่วยลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ



ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 23 กรกฎาคม 2558
Last Update : 23 กรกฎาคม 2558 11:21:02 น.
Counter : 1105 Pageviews.

1 comment
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในวันที่ 27-29 กรกฎาคม 2558 ที่ รพ.กรุงเทพพัทยา

รพ.กรุงเทพพัทยา ร่วมกับมูลนิธิโรคตับ จัดโครงการ “เรารักตับ” ครั้งที่ 15 ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ให้กับประชาชนทั่วไป 100 ท่าน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ในวันที่ 27-29 กรกฎาคม 2558 ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ รพ.กรุงเทพพัทยา 


ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 22 กรกฎาคม 2558
Last Update : 22 กรกฎาคม 2558 17:25:04 น.
Counter : 863 Pageviews.

1 comment
การพูดเป็นพัฒนาการที่สำคัญ ในช่วง 2 ขวบปีแรกของชีวิต

ปัญหาเรื่องการพูดของเจ้าตัวน้อยผู้ปกครองสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายและพบได้บ่อย  หากสามารถวินิจฉัยความผิดปกติและได้รับการฝึกพูด โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขการพูด เพื่อจัดโปรแกรมการฝึกที่เหมาะสมได้เร็วมากขึ้นเท่าไร ก็จะช่วยบำบัดรักษาและแก้ไขความบกพร่องด้านการพูด การได้ยินและการออกเสียง ซึ่งเป็นผลดีต่อพัฒนาการในอนาคต

การฝึกพูดในเด็ก

ในปัจจุบันมีเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้าจํานวนมากที่ไม่สามารถเข้ารับบริการฝึกพูดตามสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้านได้เนื่องจากข้อจํากัดด้านบุคลากรที่มีความรู้ด้านการแก้ไขการพูดและถึงแม้สามารถเข้ารับบริการในสถานบริการสาธารณสุขที่มีบุคลากรด้านนี้แต่การให้บริการยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการในด้านความรวดเร็วและความถี่ของการฝึก  ส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้ขาดโอกาสในการพัฒนาความสามารถทางภาษาและการพูดตั้งแต่ในระยะต้นๆ

การฝึกพูดในเด็กที่พูดช้าดําเนินไปร่วมกับการรักษาสาเหตุที่ทําให้เด็กพูดช้า เช่น เด็กที่พูดช้าเนื่องจากมีการได้ยินผิดปกติก็ต้องได้รับการใส่เครื่องช่วยฟังเพื่อให้เด็กได้ยินดีขึ้นแล้วจึงสอนพูด  ถ้าเด็กมีความผิดปกติทางระบบประสาทก็ต้องได้รับการรักษาทางระบบประสาทร่วมด้วย

ส่วนพวกที่มีปัญหาทางอารมณ์บางรายต้องการการรักษาจากทางจิตเวชกุมารร่วมด้วยมีเด็กพูดช้าจํานวนไม่น้อยที่มีสาเหตุหลายอย่างร่วมกันเช่นสมองพิการ หูตึง ปัญญาอ่อน ฯลฯ  ซึ่งในเด็กกลุ่มนี้การฝึกพูดมักจะทําได้ลําบากและได้ผลน้อยวิธีการแก้ไขทางด้านการพูดเน้นในเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและการพูดให้เร็วที่สุด โดยใช้หลักการเรียนรู้และพัฒนาการทางการพูดของเด็กปกติเป็นแนวทาง  บิดา มารดา และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กเป็นบุคคลที่มีความสําคัญอย่างมากในการสอนพูดเด็กเหล่านี้ ต้องแสดงให้เด็กเห็นความสําคัญของการพูดกระตุ้นให้เด็กสนใจการพูด โดยใช้กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้การพูด ได้แก่ การกระตุ้นด้วยของเล่น ที่มีเสียง การพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจําวัน สอนให้เด็กเรียกชื่อสิ่งของที่คุ้นเคย ชื่ออวัยวะของร่างกาย ร้องเพลงกล่อมเด็กทําท่าประกอบเพลง เล่านิทานจากภาพ ฯลฯ เด็กที่พูดช้าต้องได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องและกระทําอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้การฝึกพูดได้ผลดี

เด็กที่ควรมารับการฝึกพฤติกรรมและภาษากับนักแก้ไขการพูด
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง หรืออวัยวะที่ใช้พูด เช่น เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ เด็กที่มีเส้นยึดใต้ลิ้นสั้นกว่าปกติ เด็กที่มีปัญหาด้านการได้ยิน หรือเด็กปัญญาอ่อน ภาวะอาการดังกล่าวทำให้เด็กมีปัญหาด้านการพูดได้ เช่น พูดช้า พูดไม่ชัด
  • เด็กที่ขาดการกระตุ้นที่เหมาะสมหรือขาดโอกาสในการพูด เช่น คุณพ่อคุณแม่ หรือพี่เลี้ยงปล่อยให้เด็กดูแต่โทรทัศน์ จึงทำให้เด็กไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพูด และในที่สุดจะส่งผลให้เด็กไม่พูด หรือพูดช้าได้ ส่วนกรณีที่เด็กพูดไม่ชัด อาจเกิดจากการที่ไม่มีแบบอย่างการพูดที่ถูกต้อง หรือมีพี่เลี้ยงพูดไม่ชัด จึงทำให้เด็กพูดตามเสียงที่ได้ยินมาผิดๆ
  • เด็กที่มีความบกพร่องด้านพัฒนาการทางภาษา และสังคม  ได้แก่ เด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น ซึ่งส่วนใหญ่เด็กกลุ่มนี้จะมีปัญหาด้านการพูด ปัญหาหลักที่พบในเด็กกลุ่มนี้นั้น จะอยู่ที่การมีความล่าช้าของพัฒนาการทางด้านภาษาที่ไม่สมวัย ร่วมกับการไม่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในวัยเดียวกันได้ 

คุณแม่สามารถพาลูกมารับการประเมินด้านภาษาและการพูด เพื่อจัดโปรแกรมฝึกที่เหมาะสม  ทั้งที่มารับการฝึกที่โรงพยาบาล  หรือ  ในกรณีที่ไม่ค่อยสะดวกในการเดินทางมาบ่อย ๆ ก็อาจจัดทำ Home Program  โดยให้ญาติมารับการอบรมวิธีฝึก และนำไปปฎิบัติใช้ที่บ้าน  ร่วมกับการมาฝึกที่คลินิคเป็นระยะ ๆ ได้

Credit: ข้อมูลบางส่วนจาก คู่มือการฝึกพูดในเด็ก สถาบันราชานุกูล

สอบถามรายละเอียดได้ที่: ศูนย์การได้ยิน การพูด การทรงตัว เสียงในหู




Create Date : 16 กรกฎาคม 2558
Last Update : 22 กรกฎาคม 2558 17:11:58 น.
Counter : 1095 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  

pigget mui
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เป็นโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยได้รับการรับรองมาตราฐานระดับสากล JCI สามารถให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลโรคที่มีความซับซ้อนได้อย่างครบวงจรและทันสมัยมากที่สุดในภาคตะวันออก
All Blog