โรคเมอร์ส

องค์การอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) รายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ณ วันที่ 7 มกราคม 2559 จากรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 26 ประเทศ พบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 1,626 ราย เสียชีวิต 586 ราย

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของยุโรป (ECDC: European Centre for Disease Prevention and Control)  รายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ณ วันที่ 14 มกราคม 2559 รวมแล้ว ผู้ป่วย 1,649 ราย เสียชีวิต 638 ราย โดยพบรายงานผู้ป่วยทั้งหมด จาก 26 ประเทศ ดังนี้ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ จอร์แดน โอมาน คูเวต อียิปต์ เยเมน เลบานอน อิหร่าน ตุรกี อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี กรีซ เนเธอร์แลนด์ ออสเตเรียตูนีเซีย แอลจีเรีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา และไทย

สถานการณ์ในประเทศไทย  วันนี้ (24 มกราคม 2559) กระทรวงสาธารณสุข รายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ รายที่ 2 ของประเทศไทย ซึ่งเป็นชายชาวโอมาน อายุ 71 ปี ขณะนี้รักษาตัวในห้องแยกโรคที่สถาบันบำราศนราดูร วันนี้ผู้ป่วยมีอาการรู้สึกตัวดี เหนื่อย ได้รับออกซิเจนและยาบรรเทาอาการ เนื่องจากมีอาการอักเสบที่ปอด รับประทานอาหารได้ 

สธ.พบผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางรายที่ 2 ของประเทศไทย เป็นชาวโอมาน 

กระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส รายที่ 2 ของประเทศไทย เป็นชายชาวโอมาน ขณะนี้รักษาตัวในห้องแยกโรคที่สถาบันบำราศนราดูร มีผู้สัมผัสผู้ป่วยรายนี้ทั้งหมด 252 คน เสี่ยงสูง 37 คน ทั้งหมดยังไม่ใช่ผู้ป่วย ยังไม่แพร่โรค ขณะนี้ทราบชื่อและที่อยู่ และดำเนินการติดตามทั้งหมด ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ยึดมาตรการ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ หากกลับจากพื้นที่เสี่ยงโรคระบาด มีไข้ ไอ รีบพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง สงสัยโทร สายด่วน 1422  

ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ผู้แทนโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์  แถลงข่าว การดำเนินการเฝ้าระวัง คัดกรองผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการเฝ้าระวังคัดกรองอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง โดยในวันนี้ได้พบผู้ป่วยยืนยันโรครายที่ 2 ของประเทศไทย ผู้ป่วยเป็นชาย อายุ 71 ปี ชาวโอมาน เดินทางเข้าประเทศไทย วันที่ 22 มกราคม 2559 เนื่องจากรักษาที่โรงพยาบาลที่โอมาน ด้วยอาการไข้ ไอ มาประมาณ 1 สัปดาห์ อาการไม่ดีขึ้น จึงเดินทางมาประเทศไทย โรงพยาบาลได้รับตัวในห้องแยกโรค พร้อมส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อเมอร์ส ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ และโรงพยาบาลจุฬาฯ ได้ผลบวก  

ต่อมาในวันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 18.20 น. ได้ส่งต่อมารักษาที่สถาบันบำราศนราดูร พร้อมส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อเมอร์ส ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ผลบวกเช่นกัน  อาการผู้ป่วยในเช้าวันนี้  ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี มีอาการเหนื่อย ได้รับออกซิเจนและยาบรรเทาอาการ เนื่องจากมีอาการอักเสบที่ปอด รับประทานอาหารได้ ยังนอนพักรักษาตัวที่ห้องแยกโรค สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุข ต้องดำเนินการต่อคือ การติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วยรายนี้ ประกอบด้วย ญาติที่เดินทางมาพร้อม 1 คน (เสี่ยงสูง) ลูกเรือและผู้โดยสารบนเครื่องบน 218 คนที่ยังอยู่ในประเทศไทย (จากทั้งหมด 239 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 23 คน เสี่ยงต่ำ 195 คน)  คนขับรถแท็กซี่ 1 คน (เสี่ยงสูง) พนักงานโรงแรม 1 คน และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 30 คน (เสี่ยงสูง 11 คน) 

โดยผู้สัมผัสทั้งหมดนี้ จะนำเข้าระบบเฝ้าระวังติดตามอาการจนครบ 14 วัน จนพ้นระยะฟักตัวของโรค ในจำนวนมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจำนวน 37 คน ประกอบด้วยญาติ 1คน ผู้โดยสารบนเครื่องบิน 23 คน คนขับรถแท็กซี่ 1 คน พนักงานโรงแรม 1 คน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 11 คน จะรับไว้ในสถานที่ที่เตรียมไว้ เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ที่เหลือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ซึ่งจะแนะนำให้แยกตัวเอง ลดการสังคมกับผู้อื่น มีระบบติดตามจากเจ้าหน้าที่

ด้าน นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้ป่วยรายนี้ เป็นรายที่ 2 ของประเทศไทย เรามีประสบการณ์ในการทำงาน ทำให้ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงน้อยลง ระบบตรวจจับได้เร็วขึ้นใช้เวลาเพียง10ชั่วโมงเท่านั้น มีระบบการประสานงานที่ดีทั้งโรงพยาบาลรัฐ เอกชน  ด่านควบคุมโรค ตรวจคนเข้าเมือง ทำให้ทราบชื่อ ที่อยู่ผู้สัมผัสและติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วยได้ทั้งหมด พร้อมให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลที่มีระบบควบคุมป้องกัน เชื้อโรคไม่สามารถออกมานอกโรงพยาบาลได้ ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก ขอให้ประชาชนใช้มาตรการ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ หากเดินทางไปประเทศการระบาดของโรคเมอร์ส กลับมาภายใน 14วัน หากมีไข้ ไอ ขอให้รีบพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง มีข้อสงสัย โทรปรึกษา สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422   

MERS-COV คืออะไร

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 25 มกราคม 2559
Last Update : 25 มกราคม 2559 11:15:32 น.
Counter : 966 Pageviews.

1 comments
  
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาทักทาย สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: nokyungnakaa วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:11:36:17 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

pigget mui
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เป็นโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยได้รับการรับรองมาตราฐานระดับสากล JCI สามารถให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลโรคที่มีความซับซ้อนได้อย่างครบวงจรและทันสมัยมากที่สุดในภาคตะวันออก
All Blog