รู้สึกบ้านหมุน เวียนศีรษะ เสียการทรงตัว พบแพทย์ด่วน!

อาการรู้สึกหมุน (Vertigo) หรืออาการเวียนศีรษะ คือความรู้สึก “หลอน” ทางประสาทว่าได้มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติของสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือของตนเองในลักษณะหมุน ทำให้ผู้นั้นไม่สามารถควบคุมการทรงตัวอยู่ได้ในลักษณะปกติ อาการรู้สึกหมุนดังกล่าวเกิดจากการเสียภาวะสมดุลของระบบการทรงตัวของร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุต่างๆมากมายหลายประการ ความรู้สึกจึงอาจแตกต่างกันได้มาก ตั้งแต่ บ้านหมุน มึนงง เดินเซ

สาเหตุการเสียการทรงตัวแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  • การเสียการทรงตัวที่ระบบทรงตัวส่วนปลายในหูชั้นใน ได้แก่ โรคต่างๆทางหู หูชั้นกลางอักเสบ หูน้ำหนวก โรคของหูชั้นใน การกระทบกระเทือนของอวัยวะทรงตัวในหูชั้นใน การได้รับสารพิษหรือยาที่เป็นอันตราย ตลอดจนเนื้องอกของประสาททรงตัว ซึ่งอาจลุกลามถึงสมอง
  • การเสียการทรงตัวที่ระบบประสาทส่วนกลางและสมอง ได้แก่ เนื้องอกประสาททรงตัวที่ลุกลามไปสู่สมอง การแพร่ของมะเร็งจากส่วนอื่นไปยังสมอง ศูนย์ทรงตัวในก้านสมองขาดเลือดไปเลี้ยงการชอกช้ำของก้านสมองจากการกระทบกระเทือนที่ศีรษะเป็นต้น
สาเหตุของอาการเวียนศีรษะที่พบบ่อย
  • โรคหูน้ำหนวก (Otitis Media) หูน้ำหนวกที่เป็นอย่างเฉียบพลันอาจมีพิษของเชื้อโรคลุกลามเข้าสู่หูชั้นใน (Toxic Labyrinthitis)
  • ความผิดปกติของหูชั้นกลางเนื่องจากหวัด (Eustachian Tube Dysfunction) การเป็นหวัดอาจทำให้มีเชื้อโรคลุกลามเข้าสู่หูชั้นกลางได้ หรืออาจเกิดการบวมของท่อ Eustachian
  • การได้รับยาหรือสารที่เป็นพิษต่อประสาททรงตัว (Toxic Labyrinthitis) ได้แก่ ยาปฏิชีวนะพวก อะมิโนกลัยโคไซด์ และควินีน ยาเหล่านี้อาจเป็นพิษต่อปลายประสาททรงตัวและประสาทได้ยินในหูชั้นในและมีการทำลายของปลายประสาทอาจทำให้เสียการได้ยินด้วย
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head Injury) อาจทำให้เกิดกระโหลกศีรษะร้าวผ่านส่วนที่เป็นอวัยวะทรงตัวในหูชั้นใน หรือมีเลือดออกในหูชั้นในจากแรงกระเทือน หรือเกิดการตกเลือดในสมองส่วนที่เกี่ยวกับการทรงตัว นอกจากนี้หรือการไอหรือจามอย่างรุนแรงอาจทำให้เกิดการทะลุของเยื่อที่ปิดช่องทางติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน ทำให้เกิดแรงกระเทือนเป็นอันตรายต่อปลายประสาทในหูชั้นใน เกิดมึนงง เสียการทรงตัวได้
โรคที่ทำห้เกิดการเวียนศีรษะและหูอื้อ
  • Meniere’s disease (Endolymphatic Hydrops) เป็นความผิดปรกติในหูชั้นในที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจเกิดจากการคั่งของน้ำในหูชั้นใน หรือภาวะภูมิแพ้ของหูชั้นใน
  • อาการเวียนศีรษะขณะเปลี่ยนท่า (Positioning Vertigo) อาจเป็นหินปูนของหูชั้นในเคลื่อน หรืออาจเกี่ยวกับการไหลเวียนกระแสโลหิตไปหูชั้นในและสมองบกพร่อง สมองขาดเลือดชั่วระยะ (Vertebro Basilar Arterial Insufficiency) การรักษาแตกต่างกัน
  • การเสื่อมของสมองและศูนย์รับรู้การทรงตัว (CNS Degenerative Change)
  • การอักเสบของประสาททรงตัว (Vestibular neuronitis) กรณีนี้การได้ยินจะไม่เสีย
  • เนื้องอกของประสาททรงตัว (Vestibular schwannoma)
  • ความผิดปรกติของสมองและระบบประสาทส่วนกลางจากสาเหตุอื่น เช่น โรคทางกาย เบาหวาน ความดันไขมันสูง โรคติดเชื้อ โรคไต โรคหัวใจ และธัยรอยด์ผิดปกติ
การวินิจฉัยแยกโรค เพื่อรักษาตามสาเหตุ

1. ประวัติการเวียนศีรษะ

การซักประวัติและหาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับความเป็นมาของอาการเวียนศีรษะเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งซึ่งไม่ควรละเลย เพราะการวินิจฉัยโรคร้อยละ 90 อาจทำได้ตั้งแต่การซักประวัติ ซึ่งประวัติที่ควรรู้ได้แก่ ผู้ป่วยเคยมีประวัติเป็นโรคหูหรือไม่ ประวัติการได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง ประวัติการได้รับยา ประวัติการเป็นโรคต่างๆ และอาการที่เป็นลักษณะเวียนหมุน มึนงง เซ หรือล้ม

2. การตรวจร่างกาย

ขณะซักประวัติ การสังเกตอาการท่าทางของผู้ป่วยเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ป่วยที่มีปัญหาการไหลเวียนของกระแสโลหิตมักเป็นคนสูงอายุ การตรวจร่างกายควรครอบคลุมการตรวจหู คอ จมูกด้วย และตรวจหาความผิดปรกติของร่างกายส่วนอื่นๆ เพื่อการวินิจฉัยแยกโรคซึ่งอาจเป็นต้นเหตุของอาการเวียนศีรษะ

การตรวจพิเศษ
  • การตรวจการได้ยินแบบพิเศษ (Bekesy)
  • การตรวจการเดินและการทรงตัว (Posturogarphy)
  • การตรวจประสาททรงตัวของหูชั้นในโดยการทำ Caloric test
  • การทำ Positioning test
  • การตรวจการเคลื่อนไหวผิดปกติของตาด้วย VNG
  • การตรวจการทำงานของก้านสมองด้วย Brainstem Electrical Response Audiometer (BERA)
สรุป

อาการรู้สึกหมุนหรืออาการเวียนศีรษะ เสียการทรงตัว เดินเซ คืออาการที่ผู้ป่วยรู้สึกคล้ายมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติของร่างกายตนเอง หรือสิ่งแวดล้อม ทำให้ควบคุมการทรงตัวไม่ได้ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อ เหงื่อแตก จะเป็นลม

อาการเวียนศีรษะ เกิดจากการเสียสมดุลของระบบการทรงตัวของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะทรงตัวของหูชั้นในทั้ง 2 ข้าง จนถึงประสาททรงตัวและประสาทสมองส่วนกลาง อวัยวะทรงตัวและอวัยวะรับเสียงจะอยู่ใกล้ชิดสัมพันธ์กันจากหูไปสู่สมอง โรคของระบบทรงตัวจึงมักสัมพันธ์กับการเสียการได้ยิน หูอื้อ และมีเสียงรบกวนในหูได้

การตรวจค้นหาโรคที่เป็นต้นเหตุของอาการเวียนศีรษะ เสียการทรงตัวนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีโรคทางกายหลายอย่างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะได้ เช่น ความดันโลหินสูง เบาหวาน ต่อมธัยรอยด์ โรคติดเชื้อบางอย่าง โรคทางหูและทางการได้ยินโรคทางประสาทและสมอง ดังนั้นแพทย์ต้องซักประวัติการเจ็บป่วยโดยละเอียด ตรวจเช็คภาวะเคมีของเลือด ตรวจภาพถ่ายรีงสีปอดและส่วนที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญคือตรวจหู และตรวจการได้ยิน ตรวจการทรงตัวและตรวจประสาทสมอง แม้สาเหตุของอาการเวียนศีรษะส่วนใหญ่จะไม่ร้ายแรง แต่ก็มีบางสาเหตุส่วนน้อยที่อาจบั่นทอนชีวิตได้ ซึ่งในปัจจุบันได้มีความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์สมัยใหม่ ทำให้การตรวจค้นต่างๆเป็นไปได้อย่างรวดเร็วถูกต้อง

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์การได้ยิน การพูด เสียงในหู

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 21 กันยายน 2558
Last Update : 21 กันยายน 2558 13:27:33 น.
Counter : 1114 Pageviews.

1 comment
มะเร็งเต้านม ตอน 16 ใครที่เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด?

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เต้านม

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 18 กันยายน 2558
Last Update : 18 กันยายน 2558 9:58:48 น.
Counter : 726 Pageviews.

1 comment
การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ

การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมีปัจจัยหลายประการเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยที่ปัจจัยด้านความพร้อมของผู้ขับขี่เป็นปัจจัยประการสำคัญนอกเหนือจาก ปัจจัยด้านสภาวะแวดล้อมและสภาพของรถ เมื่อเห็นภาพข่าวการเกิดอุบัติเหตุ เรามักจะนึกถึงผู้ขับขี่ที่อยู่ในสภาพเมา หลับในหรือไม่ชำนาญเส้นทาง แต่เราไม่เคยตระหนักกันว่าการเสียสมาธิในขณะขับรถ เป็นสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิได้แก่ การคุยกับผู้อื่น ไม่ว่าจะคุยกับผู้โดยสารคนอื่นในรถหรือคุยโทรศัพท์ การปรับเครื่องเสียงหรือวิทยุ การรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่ม การแต่งหน้า แต่งตัว จัดทรงผม และการมีกิจกรรมกับเด็กเล็กที่นั่งอยู่เบาะหลัง

จากการสำรวจจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 ถึง 2555 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่าจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-15 ทุกปี จาก 21 ล้านคนในปี 2548 เป็น 44 ล้านคนในปี 2555 จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุจราจรในประเทศสูงขึ้น

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการวิจัยเรื่อง การสำรวจความเสี่ยงจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถยนต์ในประเทศไทย พ.ศ. 2552 พบว่าจังหวัดที่มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในขณะขับรถจำนวนมาก จะมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูง โดย ทั่วประเทศมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถประมาณ 11,542,723 คน มีการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถจำนวน 729,997 คน และเกือบจะเกิดอุบัติเหตุจำนวน 1,152,999 คน จังหวัดที่มีการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถมากที่สุดคือจังหวัดราชบุรี (ร้อยละ 98.7 ของจำนวนผู้ขับรถ) จังหวัดที่มีการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถน้อยที่สุดคือจังหวัดพิษณุโลก (ร้อยละ 43.2 ของจำนวนผู้ขับรถ) จังหวัดที่มีการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถมาก ที่สุดคือจังหวัดราชบุรี (ร้อยละ 20.9 ของจำนวนอุบัติเหตุ) และจังหวัดที่มีการเกิดอุบัติเหตุน้อยที่สุดคือจังหวัดกำแพงเพชร (ร้อยละ 1.0 ของจำนวนอุบัติเหตุ)

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-th/emergency-medical-service-th/emergency-services-health-article-th/item/2636-the-accident-th.html

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 16 กันยายน 2558
Last Update : 16 กันยายน 2558 13:33:15 น.
Counter : 727 Pageviews.

1 comment
ต้อหิน

“ปาร์ตี้เมื่อคืนสนุกมากเพลงก็มันส์เราเต้ากระจายเลย” ... “อาจเข้าไปสายจองที่ให้ด้วยนะอยากนั่งย่างเธอ” ...เคยไหมคะที่ต้องสะดุ้งกับอาการเบลอทางสายตาเมื่อได้รับข้อความแชทผ่านไลน์ หรือ คอมเม้นต์ในเฟซบุค ผิดไปจากความเป็นจริง ความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดจากการมองเห็นเช่นนี้คือสัญญาณเตือนภัยอย่างหนึ่งที่คุณไม่ควรมองข้าม เพราะมันอาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้ายทางสายตาอย่าง “ต้อหิน” ค่ะ

ในปัจจุบันคนจำนวนมากต้องตกตะลึงเมื่อค้นพบว่าตนเองเป็นต้อหินแม้ว่าอายุจะยังไม่ถึง 40 ปี เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตที่ต้องผูกติดกับสมาร์ทโฟน หรือ แท็ปเล็ต จนแทบจะแยกจากกันไม่ได้ การใช้สายตาอย่างต่อเนื่องทำให้ ตาแห้ง เกิดความล้าทางสายตา ทำให้ความดันในลูกตาสูง อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการลุกลามของต้อหิน นอกจากนี้น้ำที่หล่อเลี้ยงตาจะมีปริมาณลดลงทำให้ระดับความดันภายในลูกตาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างช้าๆ และต่อเนื่อง ซึ่งถ้าเพิ่มขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ขั้วประสาทถูกทำลาย จนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น

โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคต้อหินมักไม่รู้ตัวว่าโรคนี้ได้ก่อตัวขึ้นจนกว่าจะรู้สึกได้ถึงความผิดปกติต่าง ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของต้อหิน  หากคุณเข้าข่ายโรคต้อหินเรื้อรัง (ต้อหินมุมเปิด) คุณจะไม่มีอาการปวดตาหรือตาแดง แต่จะสังเกตพบว่าสายตาค่อยๆ มัวลงในระยะเวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี หากไม่ได้รับการวินิจฉัย และรักษาทันท่วงทีจะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด  ในขณะที่โรคต้อหินฉับพลัน (ต้อหินมุมปิด) จะแสดงอาการตาแดง ปวดตาจนรู้สึกคลื่นไส้ต้องการอาเจียน หรือ ปวดศีรษะในตอนเช้า รวมไปถึง อาการตาพร่าเมื่อมองไปที่ดวงไฟจะเห็นเป็นวงกลมจ้า ซึ่งมักพบบ่อยในกลุ่มผู้ที่ขับรถในเวลากลางคืน  หากไม่รักษาตาจะบอดอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วัน   ส่วนโรคต้อหินชั่วคราวจะเกิดขึ้นหากคุณเคยมีแผลในดวงตา ตาอักเสบ เนื้องอก ตาบวม หรือเคยใช้ยาบางชนิด เช่น ยาหยอดตาบางชนิดที่มีสารสเตอรอยด์ภายหลังการผ่าตัดตา เช่นเปลี่ยนกระจกตา หรือการผ่าตัดต้อกระจก และโรคต้อหินโดยกำเนิด ซึ่งเกิดกับทารกแรกเกิด โดยแม่สามารถสังเกตความผิดปกติได้จากขนาดลูกตาของลูกที่ใหญ่กว่าเด็กปกติ กลัวแสง กระจกตาหรือส่วนของตาดำจะไม่ใสจนถึงขุ่นขาว และมีน้ำตาไหลมาก

การสังเกตลักษณะความผิดปกติของดวงตาสำหรับบุคคลทั่วไปนั้นอาจทำได้ไม่ง่ายนัก การตรวจสุขภาพดวงตาจึงเป็นทางออกที่ดี และสามารถทำได้โดยปราศจากความเจ็บปวด จักษุแพทย์จะเริ่มทำการตรวจเช็คตาโดยละเอียดรวมทั้งการซักประวัติทางร่างกาย ประวัติทางครอบครัว และ ทำการวัดสายตา เพื่อวัดการมองเห็นก่อนว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ ต่อจากนั้นจักษุแพทย์จะวัดความดันตา ซึ่งเป็นการตรวจที่สำคัญมากของการตรวจต้อหินเพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงเพียงอย่างเดียวที่ควบคุมได้ และ ตรวจดูขั้วประสาทตา และจอตา เพื่อตรวจการทำงาน และรูปร่างลักษณะของขั้วประสาทตา ซึ่งเป็นอวัยวะที่กระทบกระเทือนโดยตรงจากต้อหิน  

นอกเหนือจากวิธีดังกล่าวคุณยังสามารถตรวจหาต้อหินได้ด้วยการตรวจพิเศษโดยเฉพาะสำหรับโรคต้อหิน ซึ่งเป็นการตรวจดูมุมตาด้วยเครื่องตรวจลานสายตาอัตโนมัติ ที่ให้ข้อมูลละเอียดกว่าและสามารถตรวจดูการกระจายของเส้นใยประสาทได้ และ การตรวจขั้วประสาทตาด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถถ่ายภาพและวิเคราะห์ขั้วประสาทตาได้ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยถ่ายรูปขั้วประสาทตาได้มุมเฉพาะ แล้วส่งสัญญาณจากกล้องไปที่คอมพิวเตอร์ จากนั้นแสดงออกทางจอภาพได้ทันที ด้วยเครื่องมือนี้จักษุแพทย์สามารถวัดความกว้าง ยาว และลึก ของขั้วประสาทตา ได้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้ในการติดตามผู้ป่วยโรคต้อหินได้อย่างใกล้ชิด และละเอียดละออ

ยิ่่งใกล้ช่วงเทศกาลสงกรานต์เข้ามาทุกที หากใครต้องขับรถในระยะทางไม่ว่าใกล้หรือไกลคงไม่ลืมที่จะตรวจตราสภาพรถก่อนออกเดินทางเพื่อความปลอดภัย เช่นเดียวกับดวงตาของคุณที่ควรได้รับการตรวจเช็คความดันของลูกตา เพราะอาการของต้อหินสำหรับผู้ที่ต้องขับรถนั้นไม่เพียงแต่จะเกิดอาการพร่าเบลอ แต่ยังมีผลต่อความสามารถในการมองเห็นภาพจากด้านข้าง “ต้อหิน” เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่คุกคามดวงตาของเรา ซึ่งอาจนำไปสู่อุบัติเหตุจนทำให้คุณและเพื่อนร่วมทางดับชีวิตก่อนสูญเสียดวงตาคู่สำคัญค่ะ

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 15 กันยายน 2558
Last Update : 15 กันยายน 2558 13:30:24 น.
Counter : 733 Pageviews.

1 comment
กระดูกพรุน” โรคยอดฮิตกลุ่มสูงวัย

Osteoporosis โรคกระดูกพรุนป้องกันและรักษาได้

เป็นภาวะที่กระดูกทั่วร่างกายมีมวลกระดูกหรือปริมาณความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลงจนทำให้กระดูกนั้นเปราะบางและแตกหักได้ง่ายกว่าปกติจากการศึกษาพบว่าโรคกระดูกพรุนเป็นสาเหตุทำให้เกิดกระดูกหักบริเวณกระดูกหลังแขนและสะโพกความหนาแน่นกระดูก (Bone Mineral Density, BMD) จะเป็นตัวสำคัญในการบ่งชี้ถึงความแข็งแรงของกระดูกและความเสี่ยงต่อการหักที่กระดูกนั้นความหนาแน่นกระดูกนอกจากจะช่วยในการวินิจฉัยและบอกถึงความรุนแรงของโรคกระดูกพรุนแล้วยังช่วยในการตัดสินด้านการประเมินผลการรักษาและติดตามผลการรักษาได้อีกด้วย

สาเหตุของโรคกระดูกพรุน

เมื่ออายุสูงขึ้นเกินกว่า35ปีวัยและปัจจัยอื่นๆจะมีผลให้การสร้างกระดูกไม่สามารถไล่ทันกระบวนการเสื่อมของกระดูกได้จึงมีการสูญเสียเนื้อกระดุกไปเรื่อยๆสิ่งที่น่ากลัวคือมีการดำเนินของโรคไปอย่างช้าๆโดยไม่มีอาการใดๆจนเกิดกระดุกหักทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่รู้ตัวมาก่อนว่าเป็นโรคนี้การป้องกันโดยการพบแพทย์เพื่อทำการตรวจสุขภาพกระดุกและทำการรักษาเมื่อพบว่าเป็นหรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดุกพรุนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้พ้นจากอันตรวยของโรคนี้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน

  • ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง
  • หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือหญิงที่ตัดรังไข่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทันทีทำให้เซลล์สลายกระดูกทำงานในอัตราเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
  • คนเอเชียและคนผิวขาวจะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าคนผิวดำ
  • ประวัติครอบครัวมีผู้เป็นโรคกระดูกพรุน
  • ผู้ที่มีรูปร่างเล็กผอมบาง
  • ขาดการออกกำลังกายมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
  • สูบบุหรี่ดื่มสุราชากาแฟ
  • ใช้ยาบางชนิดเช่นเสียรอยด์,ฮอร์โมนบางชนิด
  • รับประทานอารที่มีแคลเซี่ยมน้อย,เบื่ออาหาร
  • เป็นโรคเรื้อรังเช่นเบาหวานตับไตไขข้ออักเสบ

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกการX-Ray ด้วยเครื่องX-ray ธรรมดา

การX-Ray กระดูกธรรมดาสามารถบอกความหนาแน่นกระดูกได้ในระดับหนึ่งโดยแพทย์จะพิจารณาดูจากความเข้มของภาพx-ray      กระดูกนั้นๆการX-Ray ด้วยเครื่อง

Dual Energy X-ray Absorption (DEXA)

การX-Ray กระดูกโดยใช้เครื่องมือวัดความหนาแน่นกระดูกที่มีรังสีX-Ray ต่างกันสองระดับโดยมีซอฟต์แวร์ในการคำนวณความหนาแน่นของกระดูก

  • เป็นวิธีมาตรฐาน
  • รวดเร็วได้ผลที่ถูกต้องปริมาณรังสี

น้อยมากประมาณ1/30เท่าของการเอ็กซเรย์ปอด

ข้อบ่งชี้และประโยชน์ของการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก

เนื่องจากโรคกระดุกพรุนในระยะเริ่มต้นจะไม่ปรากฏอาการผู้ป่วยจึงไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้จนกว่าปริมาณเนื่อกระดุกจะลดลงถึงระดับที่กระดูกเปราะและหักด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ปัจจุบันแทพย์สามารถวินิจฉัยภาวะกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุนในระยะเริ่มแรกได้โดยการวัดความหนาแน่นของกระดุกด้วยเครื่องDEXA Scan[ Dual Energy X-Ray Absorption ]ซึ่งเป็นการตรวจที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถ

ตรวจพบการลดลงของเนื้อกระดูกได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและสามารถใช้ติดตามผลการรักษามีกระบวนการตรวจที่สะดวกสะบายรวดเร็วมีวิธีการประเมินค่าที่ตรวจได้โดยอ้างอิงตามเกณฑ์มาตราฐานขององค์การอนามัยโลก

เครื่องถูกออกแบบให้สามารถตรวจกระดูกได้หลายตำแหน่งแต่บริเวณที่เหมาะสมแก่การตรวจมากที่สุดคือบริเวณกระดูกที่รองรับน้ำหนักของร่างกายคือกระดูกสันหลังกระดูกสะโพกและกระดูกข้อมือและผู้ที่สมควรได้รับการตรวจเป็นอย่างยิ่งคือผู้สูงอายุหญิงวัยหมดประจำเดือนผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงรวมไปถึงผู้ที่มีอายุมากขึ้นและไม่เคยได้รับการตรวจมาก่อน

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 14 กันยายน 2558
Last Update : 14 กันยายน 2558 17:37:44 น.
Counter : 1029 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  

pigget mui
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เป็นโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยได้รับการรับรองมาตราฐานระดับสากล JCI สามารถให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลโรคที่มีความซับซ้อนได้อย่างครบวงจรและทันสมัยมากที่สุดในภาคตะวันออก
All Blog