การอยู่กับผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างเข้าใจ

การเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆของสมาชิกในบ้านโดยเฉพาะโรคที่มีความรุนแรง ทำให้กระทบจิตใจผู้ป่วยอย่างฉับพลัน เช่นโรคมะเร็ง การที่ได้ดูแลผู้ป่วยระยะหนึ่งแล้วมาหมดกำลังใจเมื่อผู้ป่วยแสดงกริยาเกรี้ยวกราด บางครั้งใช้ความหงุดหงิดสาดใส่กัน เหนื่อยกายไม่พอยังต้องเหนื่อยใจตามมาอีก    

การรับรู้ว่าตนเองเป็นโรคร้าย บางรายอาจช็อคไม่พูดไม่จา  เงียบเฉย ปฏิเสธว่าไม่ใช่ไม่เป็น เราก็ดูแลตัวเองมาดีแล้ว เชื่อว่าหมอวินิจฉัยผิด ไปตรวจกับอีกหลายโรงพยาบาล ทำให้ใช้เวลาเป็นเดือนๆ กว่าจะมาตั้งหลักรักษา บางครั้งญาติอาจมีอาการมากกว่าผู้ป่วย ซึ่งจริง ๆ แล้วการรับรู้ข่าวร้ายในผู้ป่วยมีกลไกการปรับตัว 6 ระยะคือ ระยะช็อค  ระยะปฏิเสธ  ระยะโกรธ  ระยะต่อรอง  ระยะซึมเศร้า และ ระยะยอม รับความจริง ผู้ป่วยบางรายอาจมีครบทั้ง 6 ระยะ บางรายอาจเริ่มข้อใดข้อหนึ่งก่อนโดยไม่ครบ 6 ระยะก็ได้ ดังนั้นผู้ดูแลจำเป็นต้องเรียนรู้ เข้าใจอารมณ์จิตใจของผู้ป่วยที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อย่าปล่อยให้เนิ่นนานเพราะว่าใครตั้งหลักได้เร็วก็เป็นกำไรจะได้รับการรักษาก่อนที่โรคจะลุกลามไป

ผู้ดูแลเป็นผู้ที่มีความสำคัญมากต้องมีสติมั่นคงให้กับผู้ป่วยทุกเมื่อ ผู้ดูแลต้องสละเวลา   ความเป็นส่วนตัวเพื่อช่วยผู้ป่วย ดังนั้นร่างกายและจิตใจต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลา ในระยะยาวถ้าเป็นไปได้ต้องมีผู้ช่วยคอยสลับผลัดเปลี่ยน อย่าให้ความรับผิดชอบอยู่กับคนใดคนหนึ่งมากเกินไป   พี่น้อง  ลูกหลานต้องจัดเวลาสลับสับเปลี่ยนช่วยเหลือด้านต่างๆ แสดงถึงความรัก ห่วงใย ความเอาใจใส่ กำลังใจจากครอบครัว ญาติพี่น้อง คนใกล้ชิด  จะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว .. 

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งจะเกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อผู้ดูแลได้เรียนรู้และหันกลับมาดูแล ป้องกันตัวเอง และคนที่คุณรักให้ห่างไกลจากโรคมะเร็ง ....

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์มะเร็ง รพ.กรุงเทพพัทยา  ให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา  08.00 – 17.00 น.

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคมะเร็ง

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 01 ตุลาคม 2558
Last Update : 1 ตุลาคม 2558 11:35:05 น.
Counter : 778 Pageviews.

1 comment
Computer vision syndrome สายตาพังจากการใช้คอมพิวเตอร์

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ แท๊บเล็ท หรือสมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือที่ทำงาน เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยประสบปัญหากับหนึ่งในอาการเหล่านี้ เช่น ปวดเมื่อยตา ตาแห้ง แสบตา เคืองตา ตาพร่ามัว โฟกัสได้ช้าลง ตาสู้แสงไม่ได้ ปวดกระบอกตา ปวดศีรษะ หรือบางครั้งอาจมีอาการปวดหลัง ไหล่หรือต้นคอร่วมด้วย

หากคุณเคยมีอาการเหล่านี้ร่วมกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานหลายชั่วโมงในแต่ละวัน อาจบ่งบอกว่าคุณน่าจะมีกลุ่มอาการที่เรียกว่า “Computer vision syndrome”

Computer vision syndrome คือกลุ่มอาการทางตาที่เกิดจากการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยจะมีอาการดังกล่าวข้างต้น มีการศึกษาพบว่าประมาณ 90% ของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน เคยประสบกับหนึ่งในกลุ่มอาการนี้ ทั้งนี้อาจเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น

  • ขณะเราจดจ่อกับการอ่านหนังสือหรือจ้องจอคอมพิวเตอร์ เราจะกระพริบตาน้อยลงจึงทำให้เกิดอาการตาแห้งง่ายขึ้น
  • แสงสว่างภายในห้องไม่เหมาะสม รวมทั้งการมีแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์
  • การที่ตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ไม่เรียบคมชัดเท่าตัวพิมพ์บนหน้าหนังสือ หรือการมีความไม่นิ่งของสัญญาณในจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เราต้องพยายามในการโฟกัสมากขึ้นจึงก่อให้เกิดอาการตาเมื่อยล้าได้ง่ายขึ้น
  • ระยะห่างจากหน้าจอ ระดับสายตาในการมองจอคอมพิวเตอร์ หรือท่าทางในการในการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม

 แม้ว่ากลุ่มอาการนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อตาหรือการมองเห็น แต่มักก่อให้เกิดความไม่สบายตา และอาจเป็นปัญหารบกวนการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันได้ ซึ่งวิธีง่ายๆที่จะช่วยป้องกันหรือหลีกเลี่ยง Computer vision syndrome มีดังนี้คือ

1.ปรับระดับการมองเห็นและปรับท่านั่งในการทำงานให้เหมาะสม

  • จุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ควรห่างจากตาประมาณ 20-28 นิ้ว
  • แป้นพิมพ์ควรวางอยู่ในระดับต่ำกว่าจอ โดยให้ข้อมือและแขนขนานไปกับพื้น ข้อศอกตั้งฉาก ไม่อยู่ในลักษณะเอื้อมไปข้างหน้า
  • ปรับระดับเก้าอี้โดยให้ฝ่าเท้าวางราบไปกับพื้น เข่าตั้งฉาก ต้นขาขนานกับพื้น อาจมีที่วางข้อศอกและแขนเพื่อลดอาการล้าที่หัวไหล่ แขน และข้อมือ
  • เอกสารสิ่งพิมพ์ หรือหนังสือควรวางอยู่ในระดับและระยะเดียวกับจอ เพื่อไม่ต้องขยับหรือหันศีรษะและเปลี่ยนการปรับโฟกัสมากเกินไป

2.ปรับแสงสว่างจากภายนอกและจากจอคอมพิวเตอร์

  • ปิดม่านหน้าต่าง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีแสงแดดหรือแสงสว่างจากภายนอกส่องกระทบจอคอมพิวเตอร์ แสงภายในห้องทำงานที่สว่างเกินไปจะก่อให้เกิดแสงสะท้อนที่จอได้ง่าย ทำให้รู้สึกไม่สบายตาได้
  • อาจใช้แผ่นกันแสงสะท้อนติดหน้าจอภาพ
  • ปรับความสว่างของหน้าจอและความแตกต่างของสีระหว่างพื้นจอและตัวอักษรให้สามารถมองเห็นได้คมชัดและสบายตาที่สุด

3.พักสายตาระหว่างการทำงาน เมื่อใช้สายตาติดต่อกันนาน 20 นาที ควรละสายตาออกจากจอคอมพิวเตอร์และมองออกไปให้ไกล 20 วินาที นอกจากนี้ทุกๆ 2 ชั่วโมง ควรพักสายตาหรือลุกจากโต๊ะทำงานเพื่อเป็นการผ่อนคลายเป็นเวลาอย่างน้อย 15-20 นาที

4.กระพริบตาบ่อยขึ้น หรือหยอดน้ำตาเทียม เพื่อช่วยลดอาการตาแห้งและช่วยให้สบายตาขึ้น

5.พบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวัดสายตา

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 29 กันยายน 2558
Last Update : 29 กันยายน 2558 17:45:47 น.
Counter : 869 Pageviews.

2 comment
ผ่าตัดลดกระเพาะ เพิ่มชีวิต

โรคอ้วนเป็นโรคยอดฮิต โดยสถิติจะมีคนที่เป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทุกๆปี ซึ่งการลดความอ้วนมีหลายวิธีแตกต่างกัน อาทิ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยา และการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ โดยวิธีการลดน้ำหนักด้วยวิธีผ่าตัดลดขนาดกระเพาะในปัจจุบันมีหลายวิธี ซึ่งการผ่าตัดด้วยวิธี Sleeve Gastrectomy เป็นอีกวิธีใหม่ในทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วน เพราะนอกจากจะช่วยควบคุมโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วนแล้ว ยังควบคุมน้ำหนักในระยะยาวไม่ให้กลับมาอีกด้วย

การผ่าตัดแบบสลีฟ (SLEEVE GASTRECTOMY)

การผ่าตัดคล้ายกับการทำ Gastric Banding แต่ทำการผ่าตัดกระเพาะให้มีรูปร่างคล้ายกล้วยหอมแทนการใส่ Banding โดยตัดกระเพาะส่วนล่างออกไปจากร่างกาย คนไข้จึงมีขนาดกระเพาะที่เล็ก ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง สำหรับคนไข้ที่กังวลเรื่องของโภชนาการในระยะยาว ภาวะของเม็ดเลือดแดงในร่างกายที่มีผลทำให้ตัวซีดหากไม่ทานวิตามินเสริม หรือกังวลเรื่องของกระดูกที่อาจขาดแคลเซียมได้หากเข้ารับการผ่าตัดแบบบายพาส การผ่าตัดแบบสลีฟ ถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนไข้ที่กังวลในเรื่องเหล่านี้ โดยการผ่าตัดแพทย์จะพิจารณาโดยใช้ค่าดัชนีมวลกายเป็นเกณณ์ในการพิจารณาซึ่งผู้ป่วยต้องมีค่า BMI อยู่ที่ 40 ขึ้นไป หรือถ้าผู้ป่วยมีค่า BMI อยู่ที่ 35 ขึ้นไปแต่มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วยแพทย์ก็จะพิจารณาในการผ่าตัดให้

แต่สำหรับผู้ที่อยากผอมหรือน้ำหนักยังไม่ถึงเกณฑ์สำหรับคนอ้วน คุณหมอไม่แนะนำให้รักษาด้วยวิธีนี้ เนื่องจากการผ่าตัดมีความเสี่ยงสูง เพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ในระหว่างผ่าตัดได้ รวมถึงอาจได้ผลลัพธ์ที่ไม่คุ้มค่า เพราะส่วนหนึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และต้องมีการปฏิบัติตนหลังการผ่าตัดอย่างเคร่งครัด ซึ่งหากใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับความอ้วน หรืออยากจะปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีการผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve Gastrectomy) ก็สามารถเข้ามาปรึกษาคุณหมอได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป รพ.กรุงเทพพัทยา

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 28 กันยายน 2558
Last Update : 28 กันยายน 2558 14:41:58 น.
Counter : 989 Pageviews.

2 comment
มะเร็งเต้านม ตอน 17 วิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านมให้หายขาด

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เต้านม

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 24 กันยายน 2558
Last Update : 24 กันยายน 2558 10:27:33 น.
Counter : 937 Pageviews.

1 comment
วิธีดูแลอาการบาดเจ็บง่ายๆ จากการออกกำลังกาย

คงทราบดีกันอยู่แล้วนะครับว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อสุขภาพ  ข้อดีของการออกกำลังกายคือการป้องกันการเกิดโรค เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามหลาย ๆ คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำอาจจะเคยมีการบาดเจ็บจากการออกกกำลังกาย

การบาดเจ็บจะพบบ่อยเมื่อมีการออกกำลังกายที่หนักขึ้น หรือเป็นการเล่นกีฬาประเภทที่มีการแข่งขัน แต่ว่าการบาดเจ็บก็สามารถป้องกันได้ ส่วนใหญ่แล้วการบาดเจ็บจะเป็นเพียงการบาดเจ็บเล็กน้อยไม่รุนแรง เช่น การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ  หรือเส้นเอ็น  

เมื่อมีอาการบาดเจ็บลองนำวิธีนี้ไปใช้ดูครับ

  • ทำการป้องกันส่วนที่บาดเจ็บ โดยการใช้ผ้าพัน หรือการใช้ elastic bandages หรือการ splint ให้อยู่นิ่ง ๆ ไม่ขยับส่วนที่บาดเจ็บ
  • ต้องได้รับการพักทันทีเมื่อมีอาการบาดเจ็บ เช่น บาดเจ็บหัวไหล่จากการเล่นเทนนิส ก็ควรหยุดเล่นสักพัก แต่คุณยังสามารถเล่นกีฬาอื่นที่ไม่ใช้หัวไหล่ได้ เช่น การเดิน หรือ วิ่งจ๊อกกิ้ง
  • การประคบด้วยน้ำแข็งเป็นวิธีลดการอักเสบที่ดี เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดควรประคบ ice pack ประมาณ 10-15 นาที ภายหลังที่มีอาการบาดเจ็บ และทำซ้ำทุก ๆ ชั่วโมงในช่วงสี่ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นทำต่อไปวันละสี่ครั้งเป็นเวลาสองหรือสามวัน
  • การกดหรือการรัด จะช่วยลดอาการบวมและการอักเสบได้ เช่นการใช้ elastic bandage
  • การยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงขึ้นจะเป็นการลดอาการบวม เช่น เจ็บข้อเท้าเวลานอนก็หาหมอนหรือผ้ามารองไว้ใต้ข้อเท้าให้สูงขึ้น เวลานั่งก็หาเก้าอี้อีกตัวมาวางไว้ให้ยกขาขึ้นไป จะช่วยลดอาการบวมได้ครับ

ที่สำคัญ ก่อนการออกกำลังกายทุกประเภท อย่าลืมที่ผมสอนไปในฉบับที่ 11 ว่าต้องมีการอบอุ่นร่างกาย และชะลอหลังการออกกำลังกายทุกครั้ง หรือหากอาการไม่ทุเลาจริงๆ สามารถมารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬาได้ที่ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา หรือโทร 1719

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 22 กันยายน 2558
Last Update : 22 กันยายน 2558 17:03:12 น.
Counter : 1042 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  

pigget mui
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เป็นโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยได้รับการรับรองมาตราฐานระดับสากล JCI สามารถให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลโรคที่มีความซับซ้อนได้อย่างครบวงจรและทันสมัยมากที่สุดในภาคตะวันออก
All Blog