การพูดเป็นพัฒนาการที่สำคัญ ในช่วง 2 ขวบปีแรกของชีวิต

ปัญหาเรื่องการพูดของเจ้าตัวน้อยผู้ปกครองสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายและพบได้บ่อย  หากสามารถวินิจฉัยความผิดปกติและได้รับการฝึกพูด โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขการพูด เพื่อจัดโปรแกรมการฝึกที่เหมาะสมได้เร็วมากขึ้นเท่าไร ก็จะช่วยบำบัดรักษาและแก้ไขความบกพร่องด้านการพูด การได้ยินและการออกเสียง ซึ่งเป็นผลดีต่อพัฒนาการในอนาคต

การฝึกพูดในเด็ก

ในปัจจุบันมีเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้าจํานวนมากที่ไม่สามารถเข้ารับบริการฝึกพูดตามสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้านได้เนื่องจากข้อจํากัดด้านบุคลากรที่มีความรู้ด้านการแก้ไขการพูดและถึงแม้สามารถเข้ารับบริการในสถานบริการสาธารณสุขที่มีบุคลากรด้านนี้แต่การให้บริการยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการในด้านความรวดเร็วและความถี่ของการฝึก  ส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้ขาดโอกาสในการพัฒนาความสามารถทางภาษาและการพูดตั้งแต่ในระยะต้นๆ

การฝึกพูดในเด็กที่พูดช้าดําเนินไปร่วมกับการรักษาสาเหตุที่ทําให้เด็กพูดช้า เช่น เด็กที่พูดช้าเนื่องจากมีการได้ยินผิดปกติก็ต้องได้รับการใส่เครื่องช่วยฟังเพื่อให้เด็กได้ยินดีขึ้นแล้วจึงสอนพูด  ถ้าเด็กมีความผิดปกติทางระบบประสาทก็ต้องได้รับการรักษาทางระบบประสาทร่วมด้วย

ส่วนพวกที่มีปัญหาทางอารมณ์บางรายต้องการการรักษาจากทางจิตเวชกุมารร่วมด้วยมีเด็กพูดช้าจํานวนไม่น้อยที่มีสาเหตุหลายอย่างร่วมกันเช่นสมองพิการ หูตึง ปัญญาอ่อน ฯลฯ  ซึ่งในเด็กกลุ่มนี้การฝึกพูดมักจะทําได้ลําบากและได้ผลน้อยวิธีการแก้ไขทางด้านการพูดเน้นในเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและการพูดให้เร็วที่สุด โดยใช้หลักการเรียนรู้และพัฒนาการทางการพูดของเด็กปกติเป็นแนวทาง  บิดา มารดา และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กเป็นบุคคลที่มีความสําคัญอย่างมากในการสอนพูดเด็กเหล่านี้ ต้องแสดงให้เด็กเห็นความสําคัญของการพูดกระตุ้นให้เด็กสนใจการพูด โดยใช้กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้การพูด ได้แก่ การกระตุ้นด้วยของเล่น ที่มีเสียง การพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจําวัน สอนให้เด็กเรียกชื่อสิ่งของที่คุ้นเคย ชื่ออวัยวะของร่างกาย ร้องเพลงกล่อมเด็กทําท่าประกอบเพลง เล่านิทานจากภาพ ฯลฯ เด็กที่พูดช้าต้องได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องและกระทําอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้การฝึกพูดได้ผลดี

เด็กที่ควรมารับการฝึกพฤติกรรมและภาษากับนักแก้ไขการพูด
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง หรืออวัยวะที่ใช้พูด เช่น เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ เด็กที่มีเส้นยึดใต้ลิ้นสั้นกว่าปกติ เด็กที่มีปัญหาด้านการได้ยิน หรือเด็กปัญญาอ่อน ภาวะอาการดังกล่าวทำให้เด็กมีปัญหาด้านการพูดได้ เช่น พูดช้า พูดไม่ชัด
  • เด็กที่ขาดการกระตุ้นที่เหมาะสมหรือขาดโอกาสในการพูด เช่น คุณพ่อคุณแม่ หรือพี่เลี้ยงปล่อยให้เด็กดูแต่โทรทัศน์ จึงทำให้เด็กไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพูด และในที่สุดจะส่งผลให้เด็กไม่พูด หรือพูดช้าได้ ส่วนกรณีที่เด็กพูดไม่ชัด อาจเกิดจากการที่ไม่มีแบบอย่างการพูดที่ถูกต้อง หรือมีพี่เลี้ยงพูดไม่ชัด จึงทำให้เด็กพูดตามเสียงที่ได้ยินมาผิดๆ
  • เด็กที่มีความบกพร่องด้านพัฒนาการทางภาษา และสังคม  ได้แก่ เด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น ซึ่งส่วนใหญ่เด็กกลุ่มนี้จะมีปัญหาด้านการพูด ปัญหาหลักที่พบในเด็กกลุ่มนี้นั้น จะอยู่ที่การมีความล่าช้าของพัฒนาการทางด้านภาษาที่ไม่สมวัย ร่วมกับการไม่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในวัยเดียวกันได้ 

คุณแม่สามารถพาลูกมารับการประเมินด้านภาษาและการพูด เพื่อจัดโปรแกรมฝึกที่เหมาะสม  ทั้งที่มารับการฝึกที่โรงพยาบาล  หรือ  ในกรณีที่ไม่ค่อยสะดวกในการเดินทางมาบ่อย ๆ ก็อาจจัดทำ Home Program  โดยให้ญาติมารับการอบรมวิธีฝึก และนำไปปฎิบัติใช้ที่บ้าน  ร่วมกับการมาฝึกที่คลินิคเป็นระยะ ๆ ได้

Credit: ข้อมูลบางส่วนจาก คู่มือการฝึกพูดในเด็ก สถาบันราชานุกูล

สอบถามรายละเอียดได้ที่: ศูนย์การได้ยิน  การพูด  การทรงตัว  เสียงในหู

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์การได้ยิน การพูด เสียงในหู

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 25 สิงหาคม 2558
Last Update : 25 สิงหาคม 2558 13:55:26 น.
Counter : 1151 Pageviews.

1 comment
การเสริมจมูก

เป็นการทำศัลยกรรมตกแต่งที่มีการทำกันมากที่สุดอย่างหนึ่ง เพื่อช่วยให้ใบหน้าดูโดดเด่นมากขึ้นและอาจจะเนื่องมาจากทำง่าย ได้ผลดีและมีภาวะแทรกซ้อนน้อย หรือกรณีมีปัญหา ก็สามารถผ่าตัดแก้ไขได้ใหม่ไม่ยุ่งยากมากนัก

การวางแผนผ่าตัด

เกือบจะทั้งหมดใช้การเสริมด้วยสารซิลิโคน ผ่านทางรอยผ่าตัดขนาดเล็กที่ด้านในจมูก ซึ่งแผลผ่าตัดนี้จะมองไม่เห็น แพทย์จะเริ่มผ่าตัดโดยการออกแบบซิลิโคนให้เข้ากับรูปหน้าและโครงจมูกก่อน จากนั้นจึงเริ่มการเสริมโดยการฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณรอบจมูก บางรายอาจใช้ยานอนหลับร่วมด้วย โดยการฉีดหรือรับประทานในกรณีที่ผู้ป่วยตื่นเต้นหรือกลัวมาก แต่ส่วนใหญ่แล้วใช้ยาชาเฉพาะที่ก็เพียงพอแล้ว หลังผ่าตัดก็สามารถกลับบ้านได้ทันที แพทย์จะนัดติดตามอาการอีกครั้งประมาณ 7 วัน

การดูแลหลังผ่าตัด

โดยทั่วไปแล้วมักไม่จำเป็นต้องมีการปิดแผลบริเวณจมูกเลย สามารถเดินทางกลับบ้านได้โดยที่คนทั่วไปอาจไม่สังเกตเห็นความผิดปกตินอกจากอาการบวม แต่แพทย์บางท่านนิยมใช้พลาสเตอร์ปิดบริเวณสันจมูกหรือใช้เฝือกดามบริเวณสันจมูกด้วย แล้วแต่ความนิยมและประสบการณ์ของแพทย์แต่ละท่าน เมื่อกลับถึงบ้านให้ใช้ผ้าเย็นประคบรอบจมูกประมาณ 1-2 วัน เพื่อไม่ให้มีเลือดออก จากนั้นวันที่ 3 และ 4 ให้เปลี่ยนมาประคบด้วยผ้าอุ่นเพื่อลดอาการบวม

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

พบได้น้อยมากหากได้รับการผ่าตัดมาอย่างถูกต้องและมีการดูแลที่ดีพอ แต่อย่างไรก็ดีอาการแทรกซ้อนเหล่านี้ก็อาจเกิดขึ้นได้

  • จมูกที่เสริมไว้เอียง ถ้าตรวจพบในระยะ 1-2 สัปดาห์แรก แพทย์อาจช่วยดัดให้เข้าที่ได้ ถ้าเกิดภายหลังอาจเกิดจากการชนหรือกระแทกบริเวณจมูก จะไม่สามารถดัดให้เข้าที่ได้ง่าย อาจจะต้องทำการผ่าตัดใหม่
  • จมูกอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้ามีการติดเชื้อบริเวณที่ผ่าตัดหรือบางครั้งเกิดจากการอักเสบของผิวหนังบริเวณใกล้เคียง เช่น เป็นสิวบริเวณจมูก บ่อยครั้งที่มักเกิดจากการเสริมจมูกที่โด่งเกินไป เกิดการแดงที่บริเวณปลายจมูก และเกิดการอักเสบตามมา

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวพรรณและศัลยกรรมความงาม

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 21 สิงหาคม 2558
Last Update : 21 สิงหาคม 2558 11:30:04 น.
Counter : 1002 Pageviews.

1 comment
ภาวะเบาหวานขี้นจอตา

เบาหวานขึ้นจอตาคืออะไร

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ  ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดที่จอตาด้วย  เลือดและสารต่างๆจะรั่วซึมออกจากหลอดเลือดที่ผิดปกติเหล่านี้และทำให้เกิด ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา       ( diabetic  retinopathy , DR )  ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะตามความรุนแรงของโรคคือ ระยะที่ยังไม่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ และระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่  ผู้ป่วยที่มีเบาหวานขึ้นจอตาในระยะแรกมักไม่รู้สึกผิดปกติใดๆ เมื่อตรวจตาอาจพบจุดเลือดออกที่จอตา  หากมีการรั่วซึมของหลอดเลือดจะพบจอตาบวมและเริ่มมีอาการตามัว  หากโรคลุกลามมากขึ้นจนเกิดการอุดตันของหลอดเลือดจะทำให้เกิดภาวะจอตาขาดเลือด  ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ ( neovascularization ) หลอดเลือดเหล่านี้มีลักษณะเปราะและแตกง่าย  ทำให้เลือดออกในตาและเกิดพังผืดดึงรั้งจอตา  ผู้ป่วยมักมีสายตาแย่ลงอย่างมากทั้งจากเลือดออกและจอตาลอก

อาการตามัวอาจเกิดจากการบวมบริเวณจุดภาพชัด (macular  edema)  ซึ่งเกิดจากน้ำและไขมันรั่วออกจากหลอดเลือด  จุดภาพชัดเป็นบริเวณสำคัญที่ใช้ในการมองภาพ  ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติบริเวณนี้จึงส่งผลต่อการมองเห็นอย่างมาก  ในรายที่เป็นรุนแรงหลอดเลือดบริเวณจุดภาพชัดอาจเกิดการอุดตัน  ทำให้เกิดภาวะจุดภาพชัดขาดเลือด ( macular  ischemia ) ส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร

ทราบได้อย่างไรว่ามีเบาหวานขึ้นจอตา

ผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอตานั้น อาจไม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติใดๆ  ดังนั้นเมื่อมีอาการตามัว จึงแสดงว่า โรคเบาหวานขึ้นจอตาเป็นมากแล้ว  ผู้ป่วยเบาหวานทุกคนควรได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์  โดยจะได้รับการหยอดยาขยายรูม่านตาและตรวจจอตาอย่างละเอียด  หากพบว่ามีภาวะเบาหวานขึ้นจอตา  แพทย์จะพิจารณาให้คำแนะนำและการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

รักษาอย่างไร

ความผิดปกติที่เกิดจากเบาหวานขึ้นจอตานั้นไม่สามารถแก้ไขให้กลับมาเป็นสภาพปกติได้  การรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบันมุ่งหวังให้โรคไม่ลุกลามไปจากระยะที่เป็นอยู่  การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลสะสมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติรวมทั้งการดูแลโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคไตอย่างเหมาะสม  สามารถชลอความรุนแรงของโรคได้  การรักษาภาวะเบาหวานขึ้นจอตาในปัจจุบันมี 3 วิธีคือ

การรักษาด้วยเลเซอร์

เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษาโดยมีข้อบ่งชี้คือ  ผู้ป่วยที่มีเบาหวานขึ้นจอตาในระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่และผู้ป่วยที่มีจุดภาพชัดบวม  เลเซอร์จะทำให้หลอดเลือดใหม่ที่ผิดปกติฝ่อลง  ส่งผลให้จอตายุบบวมและป้องกันการเกิดเลือดออกในตา  การรักษาด้วยเลเซอร์นั้นอาจต้องแบ่งยิงหลายครั้ง เพื่อป้องกันภาวะจอตาบวมจากเลเซอร์  ภาวะแทรกซ้อนจากการักษา โดยเลเซอร์พบได้น้อยมาก  หากผู้ป่วยร่วมมือและได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การรักษาด้วยยา

เป็นการรักษาวิธีใหม่โดยการฉีดยาเข้าวุ้นตาโดยยาจะมีคุณสมบัติลดการรั่วของหลอดเลือด และทำให้หลอดเลือดที่เกิดใหม่ฝ่อลง  การรักษาโดยวิธีนี้ได้ผลค่อนข้างดีแต่ฤทธิ์ของยาอยู่ได้ไม่นานและมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดยาเข้าวุ้นตาได้แก่ การอักเสบติดเชื้อ  เลือดออกในวุ้นตาและการเกิดจอตาลอก  ซึ่งมีโอกาสเกิดน้อยมาก  

การรักษาด้วยการผ่าตัด

ผู้ป่วยที่มีเลือดออกในวุ้นตาส่วนใหญ่เลือดจะถูกดูดซึมหมดไปเองในระยะเวลา 2-3 เดือน ในรายที่เลือดไม่ถูกดูดซึมหมดไปหรือมีจอตาลอกจากพังผืดดึงรั้ง  การผ่าตัดวุ้นตา อาจช่วยป้องกันไม่ให้โรคลุกลามและสามารถซ่อมแซมจอตาที่ลอกให้กลับเข้าที่เดิม  แต่การมองเห็นอาจไม่กลับมาเป็นปกติ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยแต่ละราย

ผู้ป่วยเบาหวานควรรับการตรวจตาเมื่อไหร่

ภาวะเบาหวานขึ้นจอตาสามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นด้วยเครื่องมือการตรวจและการรักษาที่มีในปัจจุบัน  ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานทุกคนควรได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยที่สุดปีละ1 ครั้ง  หากแพทย์ตรวจพบความผิดปกติที่เกิดจากเบาหวานขึ้นจอตา แพทย์จะนัดตรวจติดตามต่อเนื่องหรือพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมตามระยะโรคที่ตรวจพบ  การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยชลอความรุนแรงของโรคได้  นอกจากนั้นแล้วผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์ ควรรับการตรวจตาในช่วง 3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงในระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลให้ภาวะเบาหวานขึ้นตารุนแรงได้

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 19 สิงหาคม 2558
Last Update : 19 สิงหาคม 2558 11:18:55 น.
Counter : 964 Pageviews.

1 comment
ระวังโรคถามหาเมื่อไขมันในเลือดสูง

ภาวะไขมันในเลือดสูง

เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบตัน เราสามารถควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้ การเริ่มป้องกัน หรือรักาตั้งแต่อายุประมาณ 35-40 ปี จะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ และโรคอัมพาตได้อย่างมาก

ไขมันในเลือด ประกอบด้วย คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ คอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เอ็ช ดี แอล ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดหลอดเลือดแข็ง และ แอล ดี แอล ซึ่งทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง และหลอดเลือดตีบตัน ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง และ/หรือมีระดับ เอ็ช ดี แอล ต่ำ มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน มากกว่าผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลปกติ

ค่าปกติของไขมันในเลือด

ระดับคอเลสเตอรอลน้อยกว่า 200 มก.

ระดับเอ็ช ดี แอล35-85 มก.

ระดับแอล ดี แอลน้อยกว่าหรือเท่ากับ 130 มก.

การปฏิบัติตัวเพื่อลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด

การควบคุมอาหาร

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

  • อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ปลาหมึก กุ้ง และเครื่องในสัตว์
  • ไขมันจากสัตว์ ได้แก่ มันและหนังสัตว์
  • กะทิ
  • อาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันและทอดเจียว
  • ขนมหวาน แป้ง ข้าวต่างๆ  และเครื่องดื่มประเภทเบียร์ จะสะสมเป็นไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bangkokpattayahospital.com/th/newsroom-th/health-articles-th/item/2612-blood-fat-th.html

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 17 สิงหาคม 2558
Last Update : 17 สิงหาคม 2558 15:53:22 น.
Counter : 1320 Pageviews.

1 comment
รู้สึกบ้านหมุน เวียนศีรษะ เสียการทรงตัว พบแพทย์ด่วน!

อาการรู้สึกหมุน (Vertigo) หรืออาการเวียนศีรษะ คือความรู้สึก “หลอน” ทางประสาทว่าได้มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติของสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือของตนเองในลักษณะหมุน ทำให้ผู้นั้นไม่สามารถควบคุมการทรงตัวอยู่ได้ในลักษณะปกติ อาการรู้สึกหมุนดังกล่าวเกิดจากการเสียภาวะสมดุลของระบบการทรงตัวของร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุต่างๆมากมายหลายประการ ความรู้สึกจึงอาจแตกต่างกันได้มาก ตั้งแต่ บ้านหมุน มึนงง เดินเซ

สาเหตุการเสียการทรงตัวแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  • การเสียการทรงตัวที่ระบบทรงตัวส่วนปลายในหูชั้นใน ได้แก่ โรคต่างๆทางหู หูชั้นกลางอักเสบ หูน้ำหนวก โรคของหูชั้นใน การกระทบกระเทือนของอวัยวะทรงตัวในหูชั้นใน การได้รับสารพิษหรือยาที่เป็นอันตราย ตลอดจนเนื้องอกของประสาททรงตัว ซึ่งอาจลุกลามถึงสมอง
  • การเสียการทรงตัวที่ระบบประสาทส่วนกลางและสมอง ได้แก่ เนื้องอกประสาททรงตัวที่ลุกลามไปสู่สมอง การแพร่ของมะเร็งจากส่วนอื่นไปยังสมอง ศูนย์ทรงตัวในก้านสมองขาดเลือดไปเลี้ยงการชอกช้ำของก้านสมองจากการกระทบกระเทือนที่ศีรษะเป็นต้น
สาเหตุของอาการเวียนศีรษะที่พบบ่อย
  • โรคหูน้ำหนวก (Otitis Media) หูน้ำหนวกที่เป็นอย่างเฉียบพลันอาจมีพิษของเชื้อโรคลุกลามเข้าสู่หูชั้นใน (Toxic Labyrinthitis)
  • ความผิดปกติของหูชั้นกลางเนื่องจากหวัด (Eustachian Tube Dysfunction) การเป็นหวัดอาจทำให้มีเชื้อโรคลุกลามเข้าสู่หูชั้นกลางได้ หรืออาจเกิดการบวมของท่อ Eustachian
  • การได้รับยาหรือสารที่เป็นพิษต่อประสาททรงตัว (Toxic Labyrinthitis) ได้แก่ ยาปฏิชีวนะพวก อะมิโนกลัยโคไซด์ และควินีน ยาเหล่านี้อาจเป็นพิษต่อปลายประสาททรงตัวและประสาทได้ยินในหูชั้นในและมีการทำลายของปลายประสาทอาจทำให้เสียการได้ยินด้วย
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head Injury) อาจทำให้เกิดกระโหลกศีรษะร้าวผ่านส่วนที่เป็นอวัยวะทรงตัวในหูชั้นใน หรือมีเลือดออกในหูชั้นในจากแรงกระเทือน หรือเกิดการตกเลือดในสมองส่วนที่เกี่ยวกับการทรงตัว นอกจากนี้หรือการไอหรือจามอย่างรุนแรงอาจทำให้เกิดการทะลุของเยื่อที่ปิดช่องทางติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน ทำให้เกิดแรงกระเทือนเป็นอันตรายต่อปลายประสาทในหูชั้นใน เกิดมึนงง เสียการทรงตัวได้
โรคที่ทำห้เกิดการเวียนศีรษะและหูอื้อ
  • Meniere’s disease (Endolymphatic Hydrops) เป็นความผิดปรกติในหูชั้นในที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจเกิดจากการคั่งของน้ำในหูชั้นใน หรือภาวะภูมิแพ้ของหูชั้นใน

อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-th/hearing-speech-balance-tinnitus-th/health-article2-th/item/2529-vertigo-dizziness-th.html

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์การได้ยิน การพูด เสียงในหู

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 14 สิงหาคม 2558
Last Update : 14 สิงหาคม 2558 9:52:31 น.
Counter : 1147 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  

pigget mui
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เป็นโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยได้รับการรับรองมาตราฐานระดับสากล JCI สามารถให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลโรคที่มีความซับซ้อนได้อย่างครบวงจรและทันสมัยมากที่สุดในภาคตะวันออก
All Blog