การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ตอนที่ 3


Accident02

จากการสำรวจจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 ถึง 2558 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่าจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-15 ทุกปี จาก 21 ล้านคนในปี 2548 เป็น 46 ล้านคนในปี 2558 จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุจราจรในประเทศสูงขึ้น

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการวิจัยเรื่อง การสำรวจความเสี่ยงจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถยนต์ในประเทศไทย พ.ศ. 2558 พบว่าจังหวัดที่มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในขณะขับรถจำนวนมาก จะมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูง โดย ทั่วประเทศมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถประมาณ 11,542,723 คน มีการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถจำนวน 729,997 คน และเกือบจะเกิดอุบัติเหตุจำนวน 1,152,999 คน จังหวัดที่มีการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถมากที่สุดคือจังหวัดราชบุรี (ร้อยละ 98.7 ของจำนวนผู้ขับรถ) จังหวัดที่มีการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถน้อยที่สุดคือจังหวัดพิษณุโลก (ร้อยละ 43.2 ของจำนวนผู้ขับรถ) จังหวัดที่มีการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถมาก ที่สุดคือจังหวัดราชบุรี (ร้อยละ 20.9 ของจำนวนอุบัติเหตุ) และจังหวัดที่มีการเกิดอุบัติเหตุน้อยที่สุดคือจังหวัดกำแพงเพชร (ร้อยละ 1.0 ของจำนวนอุบัติเหตุ)

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา มีข้อแนะนำวิธีปฏิบัติเพื่อให้การขับรถมีความปลอดภัย คือ หาก ขับรถในระยะทางใกล้ๆ ใช้เวลาจนถึงที่หมายไม่นานนัก ไม่ควรรับสายหรือโทรออกจนกว่าจะถึงที่หมาย หากขับรถระยะทางไกลและใช้เวลานาน ควรกำหนดจุดหยุดพัก เช่น หยุดพักทุกหนึ่งชั่วโมง แล้วค่อยโทรศัพท์เมื่อถึงจุดหยุดพัก หากจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถ ควรจอดรถข้างทางในที่ที่ปลอดภัยแล้วจึงโทร หากอยู่ในที่ที่รถติดหรือจำเป็นต้องขับรถต่อไป ควรขับชิดซ้ายและชะลอความเร็วลง เตรียมอุปกรณ์เสริมให้พร้อมใช้งาน เมื่อเริ่มสนทนา ควรแจ้งให้คู่สนทนาทราบว่าเรากำลังขับรถอยู่และใช้เวลาในการพูดคุยให้สั้น ที่สุด หลีกเลี่ยงเรื่องสนทนาที่ทำให้เศร้า โกรธ หงุดหงิดหรืออารมณ์เสีย และไม่รับหรือส่งเอสเอ็มเอสหรืออีเมลในทุกกรณี

 เอกสารอ้างอิง

1.กาญจนา ศรีสวัสดิ์ และคณะ การสำรวจความเสี่ยงจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถยนต์ในประเทศไทย พ.ศ. 2552 สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2552

2.Centers for Disease Control and Prevention. Mobile device use while driving – United States and seven European countries, 2011. MMWR 2013; 62(10): 177-182 //www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/mm6210a1.htm>

3.Centre for accident research & road safety – Queensland. Mobile phone use & distraction while driving. //www.police.qld.gov.au/Resources/Internet/news%20and%20alerts/campaigns
/fatalfive/documents/mobile_phones_and_distraction_fs.pdf>

4.Schroeder, P., Meyers, M., & Kostyniuk, L. (2013, April). National survey on distracted driving attitudes and behaviors – 2012. (Report No. DOT HS 811 729). Washington, DC: National Highway Traffic Safety Administration.

5.McEvoy SP, Stevenson MR, McCartt AT, Woodward M, Haworth C, Palamara P, Cercarelli R. Role of mobile phones in motor vehicle crashes resulting in hospital attendance: a case-crossover study. BMJ. 2005;331:428.

 ที่มา: ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

- See more at: //www.bangkokhealth.com/bhr/th/content_detail.php?id=1267&types=#sthash.lUEC0SwU.dpuf

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 26 เมษายน 2559
Last Update : 26 เมษายน 2559 11:50:39 น.
Counter : 1276 Pageviews.

1 comment
การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ตอนที่ 2


Accident


การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมีปัจจัยหลายประการเข้ามาเกี่ยวข้อง  โดยที่ปัจจัยด้านความพร้อมของผู้ขับขี่เป็นปัจจัยประการสำคัญนอกเหนือจากปัจจัยด้านสภาวะแวดล้อมและสภาพของรถ  เมื่อเห็นภาพข่าวการเกิดอุบัติเหตุ เรามักจะนึกถึงผู้ขับขี่ที่อยู่ในสภาพมึนเมา หลับในหรือไม่ชำนาญเส้นทาง แต่เราไม่เคยตระหนักกันว่า “การเสียสมาธิในขณะขับรถ เป็นสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน”  โดยพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิได้แก่ การคุยกับผู้อื่น ไม่ว่าจะคุยกับผู้โดยสารคนอื่นในรถหรือคุยโทรศัพท์  การปรับเครื่องเสียงหรือวิทยุ  การรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่ม การแต่งหน้า แต่งตัว จัดทรงผม และการมีกิจกรรมกับเด็กเล็กที่นั่งอยู่เบาะหลัง

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา มีข้อแนะนำวิธีปฏิบัติเพื่อให้การขับรถมีความปลอดภัยคือ หาก ขับรถในระยะทางใกล้ๆ ใช้เวลาจนถึงที่หมายไม่นานนัก ไม่ควรรับสายหรือโทรออกจนกว่าจะถึงที่หมาย หากขับรถระยะทางไกลและใช้เวลานาน ควรกำหนดจุดหยุดพัก เช่น หยุดพักทุกหนึ่งชั่วโมง แล้วค่อยโทรศัพท์เมื่อถึงจุดหยุดพัก หากจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถ ควรจอดรถข้างทางในที่ที่ปลอดภัยแล้วจึงโทร หากอยู่ในที่ที่รถติดหรือจำเป็นต้องขับรถต่อไป ควรขับชิดซ้ายและชะลอความเร็วลง เตรียมอุปกรณ์เสริมให้พร้อมใช้งาน เมื่อเริ่มสนทนา ควรแจ้งให้คู่สนทนาทราบว่าเรากำลังขับรถอยู่และใช้เวลาในการพูดคุยให้สั้น ที่สุด หลีกเลี่ยงเรื่องสนทนาที่ทำให้เศร้า โกรธ หงุดหงิดหรืออารมณ์เสีย และไม่รับหรือส่งเอสเอ็มเอสหรืออีเมลในทุกกรณี

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 25 เมษายน 2559
Last Update : 25 เมษายน 2559 13:24:01 น.
Counter : 963 Pageviews.

1 comment
ต้อกระจก...สาเหตุอันดับ 1 ทำให้ตามัว


 การตามั่วในผู้สูงอายุดูจะเป็นเรื่องปกติธรรมดา จนหลาย ๆ คนไม่ได้ใส่ใจกับสิ่งนี้เท่าใดนัก เพราะคิดไปว่า“แก่แล้ว หูตาก็ฝ้าฟางเป็นธรรมดา” แต่ในความเป็นจริงแล้ววิทยาการทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถช่วยรักษาอาการตามัวในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้ ดังนั้น อย่าได้นิ่งนอนใจ ถ้าคุณหรือญาติผู้ใหญ่ของคุณตามัวลง

ต้อกระจกคืออะไร?

ต้อกระจก (Cataract) คือภาวะที่เลนส์แก้วตาขุ่น แสงจึงผ่านเลนส์เข้าไปยังจอประสาทตาได้น้อยลง หรือบางครั้งการขุ่นนั้น จะก่อให้เกิดการหักเหแสงที่ผิดปกติไปโฟกัสผิดที่ ทำให้จอประสาทตารับแสงได้ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยจึงตามัวลง โดยไม่มีอาการอักเสบหรือเจ็บปวดใดๆ ยิ่งเลนส์แก้วตาขุ่นขึ้น การมองเห็นก็จะลดน้อยลงเรื่อยๆ ทั้งนี้ ต้อกระจกเป็นสาเหตุที่สำคัญอันดับหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุตามัวลง

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 22 เมษายน 2559
Last Update : 22 เมษายน 2559 13:05:05 น.
Counter : 1359 Pageviews.

1 comment
ฟันคุด


ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาบนช่องปากได้ตามปกติ ที่พบเสมอ ๆ ก็คือ ฟันกลามซี่สุดท้าย ซึ่งจะขึ้นเมื่อประมาณ 18-20 ปี หรือฟันเคี้ยวซึ่งจะขึ้นประมาณ 11-13 ปี ฟันคุดที่เป็นฟันเคี้ยวอาจพบว่าแทงทะลุเพดานปากออกมา หรือชอนใต้รากฟันข้างเคียง หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรไม่โผล่เลยก็ได้

สาเหตุที่เกิดฟันคุดเนื่องจากพื้นที่ของขากรรไกรไม่เพียงพอที่จะให้ฟันซี่นั้นขึ้นได้ตามปกติ ผลเสียของฟันคุดมีหลายอย่าง เช่น ฟันคุดที่ขึ้นได้บางส่วน มักจะเป็นที่กักเศษอาหารได้ง่ายทำความสะอาดลำบาก แปรงฟันไม่ถึง ซึ่งจะมีผลให้ฟันข้างเคียงที่ถูกชน และฟันคุดนั้นผุทั้งคู่ หรือทำให้เหงือกอักเสบ บวม กลิ่นปากเหม็น แก้มบวม อ้าปากไม่ขึ้น การมีฟันคุดอยู่ทำให้มีการละลายตัวของขากรรไกรที่ถูกชน หรือเป็นถุงน้ำ กระดูกขากรรไกรจะเปราะไปกดเส้นประสาททำให้มีอาการปวดหัวโดยไม่รู้สาเหตุ ดังนั้นท่านควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และมอบความไว้วางใจให้ทันตแพทย์ถอนฟันคุดออก

การถอนฟันคุดในช่วงอายุ 16-20 ปีง่าย และแผลหายเร็วกว่าปล่อยไปทำเมื่อสูงอายุ ซึ่งจะเสี่ยง เพราะอาจมีโรคประจำตัว และการถอนยุ่งยากกว่า แผลหายช้า เชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากมีโอกาสใช้น้ำตาลที่สะสมได้มากขึ้น นานขึ้น กรดจะทำให้ความเป็นกรดในช่องปากสูงขึ้น สารอาหารของเนื้อฟันจึงสามารถละลายออกมาสู่ภายนอก ฟันจึงเกิดการผุขึ้นรวดเร็ว และกว้างขวาง และถ้าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อย ทำเป็นนิสัยเด็กจะมีโอกาสฟันผุลุกลามทั้งปาก ซึ่งจะพบฟันผุชนิดนี้ในกลุ่มเด็กที่พ่อแม่ให้นมขณะหลับมากกว่าเด็กที่นมเวลาอาหาร

ข้อแนะนำในการให้นมลูกที่สำคัญ ภายหลังการให้นมลูกทุกครั้งต้องดูดน้ำตาม และทำความสะอาดช่องปากของลูกเสมอ ควรหย่านมเมื่อเด็กอายุ 8-9 เดือน แต่ไม่ควรเกิน 1 ปี เพราะเป็นช่วงอายุที่เด็กมีพัฒนาการที่อยากลองของใหม่ และช่วยตัวเองได้

ที่มา ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรมความงามและรากเทียม

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 21 เมษายน 2559
Last Update : 21 เมษายน 2559 11:44:09 น.
Counter : 1067 Pageviews.

1 comment
ประโยชน์ของการทำอัลตราซาวด์


ultrasound

การทำอัลตราซาวน์หรือการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง เป็นการตรวจดูเพื่อหาความผิดปกติของทารก ความพิการของอวัยวะต่างๆ ตลอดจนการติดตามดูการเจริญเติบโตของทารก กระบวนการตรวจค้อนข้างง่ายไม่ยุ่งยาก เพียงแต่ผู้ตั้งครรภ์นอนบนเตียงตรวจ แล้วแพทย์จะใช้น้ำยาทาบนบริเวณหน้าท้องที่จะตรวจ แล้วใช้หัวเครื่องมือเลื่อนไปมาบนส่วนของหน้าท้อง ถ้าตั้งครรภ์อ่อน ๆ ผู้เป็นแม่จะต้องกลั้นปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะ เพื่อการตรวจจะได้ชัดเจน การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ยังไม่พบว่ามีผลแทรกซ้อนต่อทารก ในผู้เป็นแม่ก็ไม่พบว่ามีผลแทรกซ้อนเช่นเดียวกัน มีบางท่านเท่านั้นอาจแพ้สารตัวกลาง ซึ่งเป็นน้ำยาทาผิวหนังหน้าท้องเท่านั้น และในการตั้งครรภ์โดยทั่วไปกระบวนการฝากครรภ์ตามปกตินั้น อย่างน้อยผู้มาฝากครรภ์ควรจะได้ทำการตรวจด้วยการตรวจคลื่นเสียง1 ครั้ง

ระยะเวลาที่เหมาะสมและความจำเป็นในการตรวจอัลตราซาวน์ จะขึ้นอยู่ในดุลยพินิจของสูติแพทย์ที่ดูแลท่านนะคะ

ที่มา: BangkokHealth.com

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สุขภาพสตรี

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 20 เมษายน 2559
Last Update : 20 เมษายน 2559 13:39:53 น.
Counter : 1029 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  

pigget mui
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เป็นโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยได้รับการรับรองมาตราฐานระดับสากล JCI สามารถให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลโรคที่มีความซับซ้อนได้อย่างครบวงจรและทันสมัยมากที่สุดในภาคตะวันออก
All Blog