Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2556
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
10 มิถุนายน 2556

นั่งรถไฟไปดูหนัง : การเดินทาง



รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนเป็นโครงการจากมติครม. เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2550
แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ช่วงแรก จากรังสิต –บางซื่อ ที่ยังไม่ได้เริ่มลงมือก่อสร้าง
และช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 15 กม ที่ระบบรางเสร็จแล้วในช่วงตลิ่งชัน – บางซ่อน

เหลือเฉพาะจากบางซ่อน - บางซื่อที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง
เนื่องจากติดปัญหาที่การรถไฟไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ดังกล่าวให้ผู้รับเหมาได้

หากใครเคยนั่งรถไฟในช่วงนี้ จะพบว่าต้องเบาทางไม่เกิน 20 ก.ม.ต่อชั่วโมง
เนื่องจากมีการรุกล้ำทางรถไฟเข้ามามาก ทำให้การรถไฟไม่สามารถเข้ามา
ขยายเส้นทางหรือซ่อมบำรุงทางให้สามารถทำความเร็วได้เท่าที่ควรจะเป็น

เมื่อโครงการยังไม่สำเร็จ จึงยังไม่มีการสั่งซื่อขบวนรถไฟมาใช้งาน
การรถไฟเจ้าของโครงการ จึงนำรถดีเซลรางมาให้บริการ
ในช่วงสถานี ตลิ่งชัน – บางบำหรุ - บางซ่อน ไปพลางๆ ก่อน
โดยมีขบวนรถในตอนเช้า 6 ขบวน และตอนเย็นอีก 6 ขบวน



จาก Blog ก่อนหน้านี้ในตอน นั่งรถไฟไปสวนสน
นั้นตรงกับวันที่ 5 ธ.ค. 55 ที่เป็นวันเดินรถวันแรก
นับจากตอนนั้นจนถึงวันนี้ ผมยังไม่ได้นั่งรถไฟสายนี้เลย
โจทย์ของการเดินทางในครั้งนี้ก็คือ เราจะสามารถไปเที่ยวที่ไหนได้บ้าง

เปิดทีวีรายการหนึ่ง เค้าพาไปเที่ยวหอภาพยนตร์แห่งชาติ
แต่ที่นี่ต้องเข้าชมเป็นรอบๆ ตามเวลา 10.00 น., 13.00 น. และ 15.00 น.
และวันเสาร์อาทิตย์จะมีการฉายภาพยนตร์เวลา 13.00 น. อีกด้วย
ผมจึงใช้หอภาพยนตร์เป็นจุดหมายในการเดินทางด้วยรถไฟในครั้งนี้

ทางเลือกเดียวที่เป็นไปได้คือ เที่ยวพิพิธภัณฑ์ 10.00 น. ต่อด้วยดูหนังเวลา 13.00 น.
เพราะหากเลือกดูหนังแล้วไปชมพิพิธภัณฑ์ จะเลิกเวลา 17.00 น.ซึ่งเกินเวลาเดินรถไป

ตารางรถไฟจากตลิ่งชันไปศาลายาพบว่า
ข. 257 ธนบุรี – น้ำตก จะออกจากชุมทางตลิ่งชันเวลา 8.04 น.
ส่วนตารางเวลาเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงจาก บางซ่อนถึงตลิ่งชันนั้น
มี ข. 997 (1) ถึงตลิ่งชัน 7.00 น. และ ข. 997 (2) ถึงตลิ่งชันในเวลา 8.10 น.
ขบวนแรกต้องไปรอ 257 ชั่วโมงกว่าๆ ในขณะที่ใช้ขบวนต่อมาจะตกรถไป 6 นาที

ผมเลือก ข. 997 (2) เพราะเชื่อว่า ข. 257 ไม่น่าจะมาตรงเวลาได้




พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประพาสสิงคโปร์
เป็นช่วงเดียวกับที่คณะหนังเร่ของนาย Thomas Edison ได้เดินทางมาสิงคโปร์
นับว่าพระองค์เป็นคนไทยคนแรกที่ได้ทอดพระเนตรภาพยนตร์
ซึ่งยังคงเป็นหนังที่สามารถชมได้เพียงคราวละหนึ่งคนหรือภาพยนตร์แบบถ้ำมอง

พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสทวีปยุโรป
ครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัท Lumiere ได้บันทึกภาพยนตร์
การเสด็จกรุง Bonnไว้ 1 ม้วน ความยาวประมาณ 1 นาที
นับว่าเป็นฟิล์มภาพยนตร์ม้วนแรกที่บันทึกเกี่ยวกับประเทศไทย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ
ได้ตามเสด็จ พระองค์ได้ทรงจัดซื้อเครื่องถ่ายภาพยนตร์ยี่ห้อปาเต๊ะกลับมา
แต่ไม่พบหลักฐานว่าทรงเริ่มถ่ายภาพยนตร์เมื่อไร จนกระทั่งถึง พ .ศ. 2443
จึงพบบันทึกว่าทรงเป็นช่างถ่ายทำภาพยนตร์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของ รัชกาลที่ 5
นับว่าพระองค์ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่เป็นช่างถ่ายภาพยนตร์

พ.ศ. 2444 พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ ทรงก่อสร้างวังสรรพสาตรศุภกิจ
ซึ่งต่อมาทรงใช้จัดฉายภาพยนตร์เก็บค่าดูจากสาธารณชนขึ้นที่วังนี้
และทรงทำการออกร้านฉายภาพยนตร์ในงานประจำปีวัดเบญจมบพิตรเป็นประจำ
นอกจากนี้ยังทรงเป็นผู้ดำเนินธุรกิจจัดฉายและให้เช่าภาพยนตร์เป็นรายแรก

พระองค์จึงได้รับการถวายพระเกียรติว่าเป็น พระบิดาแห่งภาพยนตร์ของไทย
พ.ศ. 2510 อดีตวังแห่งนี้ได้ถูกไฟไหม้เสียหาย เหลือไว้แต่เพียงความทรงจำในนาม แพร่งสรรพศาสตร์



10 ม.ย. พ.ศ. 2440 เอส. จี. มาร์คอฟสกี นักฉายภาพยนตร์เร่
ได้เข้ามาได้จัดฉายภาพยนตร์ ที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ
นับเป็นการฉายภาพยนต์แบบเก็บเงินเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

พ.ศ. 2447 คณะฉายภาพยนตร์แบบหนังเร่ชาวญี่ปุ่นนำหนังเข้ามาโดยเป็นการกางกระโจมฉาย
เนื้อหาเป็นเหตุการณ์การสู้รบระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซีย เมื่อเห็นว่าการฉายหนังมีรายได้ดีจึงกลับมาอีกครั้ง
และสร้างโรงฉายแบบถาวรขึ้นบริเวณหลังวัดตึก ถนนเจริญกรุง คนไทยเรียกว่า โรงหนังญี่ปุ่น
นับเป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกของประเทศไทย

หลังจากนั้นจึงมีโรงหนังอีกหลายแห่งเปิดตาม ๆ กันมา เช่น
นิยมไทย เฉลิมไทย เฉลิมกรุง เฉลิมธานี เป็นต้น ในช่วงแรกนั้นเป็นหนังเงียบ
ก่อนภาพยนตร์ฉายจะมีวงดนตรีเล่นหน้าโรงเพื่อเป็นการเรียกคนดู
เมื่อหนังเริ่มฉายก็จะยกเครื่องดนตรีเข้าไป ใช้เล่นประกอบการรับชม

พ.ศ. 2465 ได้มีกลุ่มนักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกันจากบริษัทยูนิเวอร์แซล
ได้มาถ่ายทำภาพยนตร์โดยใช้คนไทยในการแสดงเรื่อง นางสาวสุวรรณ
โดยได้รับความช่วยเหลือจากกรมมหรสพหลวงและกรมรถไฟหลวง
นับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีนักแสดงเป็นคนไทย

ก่อนหน้านี้เชื่อว่า ไม่เหลือฟิล์มต้นฉบับของหนังเรื่องนี้แล้ว
แต่เมื่อไม่กี่ปีก่อน มีการพบกล่องฟิล์มในหีบเหล็กโดยบังเอิญ
อยู่ใต้ถุนตึกเก่าหลังหนึ่งในทำเนียบรัฐบาล ปัจจุบันไม่ทราบสถานะที่แน่ชัด
ว่าสามารถจะอนุรักษ์และนำกลับมาฉายใหม่ได้หรือไม่



Create Date : 10 มิถุนายน 2556
Last Update : 16 สิงหาคม 2564 9:46:16 น. 3 comments
Counter : 1375 Pageviews.  

 
สบายดีเหมือนกันนะคะ ไม่ต้องขับรถ หาที่จอด ฯลฯ ค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 10 มิถุนายน 2556 เวลา:16:39:36 น.  

 
เดินทางด้วยรถไฟ ทำไมยังไม่ได้ไปซักทีไม่รู้ค่ะ ลูกก็อยากไป แม่ก็จดๆ จ้องๆ ตั้งท่า ไม่เริ่มซักที

ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติพระนคร เคยพาลูกไปทำรายงานครั้งเดียว ยังไม่ได้ไปอีกเลยค่ะ พอไปถึง อ้าว ลืมทุกครั้งว่าเค้าปิดวันจันทร์-อังคาร


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 12 มิถุนายน 2556 เวลา:13:28:19 น.  

 
โห หมวดนี้ร้างราจนฝุ่นจับหละ



โดย: หอมกร วันที่: 19 สิงหาคม 2564 เวลา:7:40:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]