Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
9 สิงหาคม 2553

นั่งรถไฟไปดูดอกกระเจียว (6)




ก่อนที่ถนนสาย 205 จะเกิดขึ้น เส้นทางรถไฟสายแก่งคอย-บัวใหญ่
ถือเป็นเส้นทางการคมนาคมเพียงทางเดียว สำหรับชาวบ้านในแถบถิ่นนั้น
ที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานในเขตป่าดงพญาไฟ ที่ใช้สัญจรไปมาระหว่างกัน
เราจะมาจินตนาย้อนกลับไปในเวลานั้นร่วมกัน

ป้ายสถานีบ้านวะตะแบกมีความแปลกไปจากสถานีอื่นๆ คือมีสองชื่อซ้อนกัน
ซึ่งบ้านวะตะแบกคือชื่อเก่าที่มีมานาน โดยเป็นที่ตั้งค่ายพักแรมของนายฮ้อย
พ่อค้าวัว ควายในสมัยโบราณ ขณะที่เทพสถิตนั้นเป็นอำเภอที่ถูกยกฐานะขึ้น
ในปี 2526 แต่ก็อยู่ใกล้กับสถานีวะตะแบกมาก

จนการรถไฟมีความคิดที่จะเปลี่ยนชื่อสถานีให้เป็นสถานีเทพสถิต
เพื่อมิให้ประชาชนสับสน แต่ทางกรมศิลปากรไม่เห็นด้วย
เพราะชื่อวะตะแบกนี้มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า
จึงน่าจะเก็บเอาไว้ จึงกลายเป็นสถานีบ้านวะตะแบก(เทพสถิต)



จากสถานีวะตะแบกรถไฟค่อยๆ ไต่ขึ้นเขา ราวสิบกว่านาทีหลังจากนั้นก็ถึง
สถานีช่องสำราญ หมู่บ้านช่องสำราญนั้นเป็นหมู่บ้านที่เกิดขึ้นภายหลังจาก
การการสร้างทางรถไฟ โดยชาวบ้านที่อยู่ในป่าแถบถิ่นนั้นได้พากันออกมา
ตั้งบ้านอยู่ริมทางใกล้ช่องเขา เกิดเป็นชื่อหมู่บ้านช่องสำราญตามชื่อสถานีรถไฟ

จากสถานีนี้รถไฟจะลอดอุโมงค์ที่เจาะทะลุเขาพังเหย ที่มีความยาว 200 เมตร
ซึ่งเปรียบได้ดั่งประตูที่ใช้ใช้ผ่านเข้าออกไปมาระหว่างภาคกลาง
และภาคตะวันออกฉียงเหนือ อุโมงค์เขาพังเหยนี้ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า
ช่องสำราญมากกว่า และอุโมงค์ในตอนก่อสร้างนั้นก็เจาะผ่านได้ลำบากมาก
เพราะเนื่องจากภายในภูเขามิได้เป็นหินทั้งหมดแต่มีดินปนอยู่มาก
ทำให้ไปอุดเครื่องเจาะทำให้ต้องเสียเวลาในการทำความสะอาด

ช่องสำราญหรือช่องสำมะรานเป็นหนึ่งในหลายช่องเขาบนเทือกพังเหย ก่อนหน้าชื่อนี้
ชาวบ้านรู้จักกันดีคือชื่อช่องตานุด โดยช่องสำมะรานที่แท้จริงนั้นอยู่เหนือขึ้นไปอีก
โดยมีตำนานเล่าขานว่า ตานุดคนบ้านหินลับได้ตั้งตัวเป็นดูแลช่องเขานี้
ส่วนชื่อสำมะรานได้มาจากชื่อต้นสมอจานที่ขึ้นมากในแถบนั้น



หลังจากพ้นความมืดในอุโมงค์ รถไฟจะไต่เลียบหุบผา ทางซ้ายเป็นภูเขา
ด้านขวาเป็นหุบเหว ที่พื้นที่เบื้องล่างเป็นที่ราบภาคกลางของจังหวัดลพบุรี
เป็นภาพทิวทัศน์อันกว้างไกล ไปจนถึงสถานีโคกคลี

สถานีโคกคลีเป็นชื่อของด่านกักสัตว์ หลังจากผ่านค่ำคืนบนพื้นที่ราบสูงลงสู่ที่ราบเบื้องล่าง
ก็จะผ่านชุมชนเก่ากาลที่เป็นตลาดซื้อขายวัวควายของเหล่านายฮ้อย
เท่ากับภาระหน้าที่ของการป้องกันสินค้าจากเหล่าโจรป่าได้หมดสิ้นลง
ปัจจุบันการซื้อขายได้เปลี่ยนเป็นการบรรทุกบนรถสิบล้อ
สถานีกักสัตว์จึงย้ายออกมาตั้งที่ริมถนนแทน

นอกจากสถานีกักสัตว์ ที่นี่ยังเป็นหนึ่งในสถานีที่คึกคักจากการเดินทางมาติดต่อราชการ
บนที่ว่าการอำเภอลำสนธิที่อยู่ใกล้ๆ หากจะแวะลงที่สถานีโคกคลีก็จะมีสถานที่ท่องเที่ยว
นั่นก็คือป่าซับลังกา ผืนป่าดงพญาไฟผืนสุดท้ายของจังหวัดลพบุรี
มีพื้นที่ทั้งหมด 96,875 ไร่ อันเป็นต้นน้ำของลำสนธิ
โดยประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ในปี พ.ศ. 2529



Create Date : 09 สิงหาคม 2553
Last Update : 6 มีนาคม 2555 10:48:42 น. 5 comments
Counter : 1372 Pageviews.  

 
อันนี้คือจะเดินทางต่อไปถึงบัวใหญ่ใช่ไหมครับ


โดย: NATSKI13 วันที่: 9 สิงหาคม 2553 เวลา:13:09:13 น.  

 
เราจะย้อนเส้นทางกลับ มาดูกันว่าแต่ละสถานีมีที่มาอย่างไร

เมื่อย้อนไปในวันเวลาแห่งอดีต

และมีอะไรที่น่าสนใจในแถบนั้นบ้าง


โดย: VET53 วันที่: 9 สิงหาคม 2553 เวลา:13:22:02 น.  

 
เคยแต่นั่งรถ
คราวหน้าต้องลองรถไฟมั่ง
ละเอียดดีจิงๆ blog นี้


โดย: Ezy-SeaHill วันที่: 9 สิงหาคม 2553 เวลา:15:55:37 น.  

 
ไม่ได้ลอดถ้ารถไฟมาหลายปีมากแล้วค่ะ ตอนเด็ก ๆ ชอบมาก ตื่นเต้นดี


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 9 สิงหาคม 2553 เวลา:17:03:23 น.  

 
มาอ่านความรู้ดีๆ ค่ะ



โดย: addsiripun วันที่: 9 สิงหาคม 2553 เวลา:19:57:05 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]