Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
15 มิถุนายน 2554

ขบวนรถไฟสายรัตติกาล (2)




การรถไฟในสมัยนั้นได้เปิดเดินรถไป-กลับชุมทางหนองปลาดุก
วันละ 4 ขบวน คือรถรวม 347/348 เและขบวน 345/346
โดย 348 ออกจากสุพรรณเวลา 7.00น. ถึงหนองปลาดุกเวลา 9.00 น.
จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นขบวน 349 ออกจากหนองปลาดุกเวลา 9.50 น.
ถึงกาญจนบุรี เวลา 11.10 น

แล้วรอทำขบวน 350 กลับจากกาญจนบุรีเวลา 12.00 น.
ถึงหนองปลาดุกเวลา 14.10 น. แล้วเปลี่ยนเป็นขบวน 347
ออกจากหนองปลาดุกเวลา 15.45 น. ถึงสุพรรณบุรี 17.45 น

ส่วนขบวน 345/346 นั้นน่าจะออกจากสุพรรณบุรีในตอนสาย
ถึงชุมทางหนองปลาดุกในราวเที่ยงวันแล้วทำขบวนกลับมาในตอนบ่าย
ซึ่งหมายความว่าชาวสุพรรณบุรีสามารถเดินทางโดยขบวนรถไฟ
ได้ทั้งตอนเช้ากับรถรวมหรือจะเป็นตอนสายกับขบวนรถท้องถิ่น

ชุมทางหนองปลาดุกจึงกลายเป็นชุมทางสำคัญของรถไฟถึง 3 สาย
โดยนอกจากเป็นสถานีรถไฟของสายใต้แล้ว สายสุพรรณบุรีจะแยก
ออกจากสายหลักที่นี่ เมื่อออกจากสถานีนี้ไปไม่ใกลสายกาญจนบุรี
ก็จะแยกตัวออกจากสายหลัก แล้วขนานไปกับทางสายหลักระยะหนึ่ง
เมื่อใกล้สถานีบ้านโป่งแล้วจึงโค้งขึ้นหนีไปในทางทิศเหนือ

ทางรถไฟสายสุพรรณบุรีมีสถานีต่างๆ ที่มีหลักฐานให้ค้นหาได้ดังนี้
1. สถานียางประสาท ต.บ้านยาง อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม
2.สถานีดอนขุนวิเศษ ต.ห้วยหมอนทอง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
3. สถานีกำแพงแสน ต.ห้วยหมอนทอง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
4.สถานีหนองฟัก ต.ทุ่งบัว อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
5. สถานีบ้านโพธิ์งาม
6. สถานีทะเลบก ตำบลกระตีบ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
7. สถานีสะพังเขิน ต.ดอนมะนาว อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี



8. สถานีศรีสำราญ บ้านศร่สำราญ บางปลาม้า จ. สุพรรณบุรี
9. สถานีหนองผักชี วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ. สุพรรณบุรี
12. สถานีบ้านมะขามล้ม บ้านโพธิ์เวีย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
13. สถานีสะแกย่างหมู บ้านโพธิ์เวีย อ.บางปลาม้า จ. สุพรรณบุรี
14. สถานีสุพรรณบุรี ต.รั่วใหญ่ อ. เมืองสุพรรณบุรี จ. สุพรรณบุรี

โดยในเส้นทางนี้มีรางหลีก 2 สถานี คือ กำแพงแสนและศรีสำราญ

15 มีนาคม 2508
เปิดที่หยุดรถดอนสงวนบ้านดอนสงวน บางปลาม้า สุพรรณบุรี เป็นที่หยุดรถแห่งแรก

10 เมษายน.2509
ยุบสถานีสะพังเขิน เปิดที่หยุดรถเถาวัลย์เปรียง สองพี่น้อง สุพรรณบุรี แทน

ไม่ทราบปี
เปิดป้ายหยุดรถดอนทอง

พ.ศ. 2511
เปิดการเดินรถถึงกรุงเทพโดยตรงคือ ข.115/116
โดย116 ออกจากสุพรรณบุรี 06.50 น ถึงสถานีธนบุรี 10.35 น.
และ115 ออกจากสถานีธนบุรี 14.10 น. ถึง สุพรรณบุรี 18.05 น.
เท่ากับในเวลานั้นมีการเดินรถไฟถึง 6 ขบวนต่อวัน

15 ก.พ. 2514
เปลี่ยนขบวนรถโดยสารที่ 115/116 ระหว่างธนบุรี-สุพรรณบุรี เป็นดีเซลราง

15 ธ.ค. 2519
ยุบสถานีกำแพงแสนเป็นเป็นที่หยุดรถแห่งแรก และทยอยยุบสถานีรายทาง
จนถึงสถานีศรีสำราญเป็นสถานีแห่งสุดท้ายก่อนปี พศ. 2528
เหลือเพียงสถานีปลายทางสุพรรณบุรีเพียงแห่งเดียว
ทำให้ทางรถไฟสายนี้มีตอนการเดินรถซึ่งนับจากสถานีหนึ่ง
ไปยังอีกสถานีหนึ่งที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

1 มี.ค. 2520
เลิกเดินขบวนรถรวม 347/348 และเปลี่ยนแปลงเส้นทางขบวนรถ 345/346
ซึ่งเคยเดินถึงเพียงชุมทางหนองปลาดุก เป็นการเดินถึงสถานีธนบุรี
ทำให้ในตอนนี้ป้ายที่บอกทางไปกาญจนบุรีต้องถูกทิ้งร้าง
และมีการเดินรถในเส้นทางสายนี้ จำนวน 4 ขบวนต่อวัน



Create Date : 15 มิถุนายน 2554
Last Update : 6 มีนาคม 2555 11:01:34 น. 5 comments
Counter : 1810 Pageviews.  

 
ติดตามอ่านต่อด้วยความดีใจครับ ที่ช่วยรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลไว้เป็นองค์ความรู้ ก่อนที่จะกระจัดกระจายหายไปครับ
เป็นประโยชน์จริง ๆ ครับ


โดย: หม่องวิน มอไซ (หม่องวิน มอไซ ) วันที่: 15 มิถุนายน 2554 เวลา:11:47:26 น.  

 
เดี๋ยวผมจะลงกระทู้ต้นฉบับไว้ในตอนหน้า
คนที่สนใจจะได้ตามไปอ่านต้นฉบับกัน

คงต้องยกเครดิตให้คุณ หม่องวิน ไว้ล่วงหนา
ในฐานะคนที่สนใจและบุกเบิกเส้นทางสายนี้ครับ


โดย: VET53 วันที่: 15 มิถุนายน 2554 เวลา:13:28:10 น.  

 

ขอบคุณที่นำมาฝากค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 15 มิถุนายน 2554 เวลา:13:56:09 น.  

 
สวัสดีคะ

ติดตามมาอ่านคะ

รอตอนต่อไปอย่างใจจดจ่อนะคะ


โดย: เจ้าช่อมาลี (PP_Skywalker ) วันที่: 15 มิถุนายน 2554 เวลา:14:36:57 น.  

 
เอาละรู้แล้วค่ะว่าพูดถึงตรงไหน

ไม่คยทราบเลยว่ารถไฟไปไหนบ้างแถบนั้น ทราบแต่ว่ามีไปกาญ มีไปใต้


โดย: เจ้าแม่กูเกิลแมป (tuk-tuk@korat ) วันที่: 15 มิถุนายน 2554 เวลา:15:08:33 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]