ยุทธศาสตร์ทางเลือกใหม่ในการแก้ปัญหาวิกฤติแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน (ท่าจีนตอนล่าง)
Entry นี้อาจจะหนักหน่อยนะครับแต่ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่าน ดังนั้นจึงพยายามที่จะสื่อให้อ่านเข้าใจง่ายครับ
ที่มาของปัญหา
แม่น้ำท่าจีนเป็นแหล่งน้ำที่มีความสำคัญอันดับสองของประเทศและลุ่มน้ำภาคกลางรองจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีนแยกจากฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ตอนต้นของแม่น้ำเรียกว่าคลองมะขามเฒ่า ช่วงไหลผ่านจังหวัดสุพรรณบุรีเรียกว่าแม่น้ำสุพรรณ เมื่อไหลผ่านจังหวัดนครปฐมเรียกว่าแม่น้ำนครชัยศรี และไหลออกสู่อ่าวไทยบริเวณจังหวัดสมุทรสาครมีความยาวทั้งหมด 325 กิโลเมตร มีประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำกว่า 2 ล้านคนซึ่งมีการกระจายตัวส่วนใหญ่ตามริมแม่น้ำท่าจีน มีการใช้ประโยชน์คือการเกษตร 76% ป่าไม้ 7.5% อุตสาหกรรม 0.1% (ปัจจุบันเพิ่มขึ้นปีละกว่า 18%) ชุมชน 13% แหล่งน้ำ 1% อื่นๆ 2.4%
แม่น้ำท่าจีนตอนล่างตั้งแต่ภายในจังหวัดนครปฐมไปจนถึงจังหวัดสมุทรสาครมีความเสื่อมโทรมมากจัดให้อยู่ระดับ 5 ในปัจจุบัน ซึ่งในอดีตนั้นอยู่ในระดับ 4 โดยเฉพาะคลองบางแก้วและคลองเจดีย์บูชามีคุณภาพน้ำที่วิกฤติคือมีปัญหากลิ่นเหม็น แมลงวันและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ แหล่งกำเนิดน้ำเสียในพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม การเกษตร (ฟาร์มเลี้ยงหมูและการเกษตรเชิงพาณิชย์ที่ใช้สารเคมี) และวัชพืชในคูคลอง

เหตุผลที่ผู้่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาควรเลือกแนวคิดยุทธศาสตร์ทางเลือกใหม่มาใช้ในการแก้ปัญหา

อัตราความเจริญเติบโตของประชากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้นความต้องการทางด้านที่อยู่อาศัย การบริโภค อุปโภคของมนุษย์จึงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ตัวอย่างเช่นการทำฟาร์มสุกรในพื้นที่ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของโรงงานอุตสาหกรรม การทำการเกษตรจากวิถีดั่งเดิมที่เปลี่ยนมาเป็นเชิงพาณิชย์ ความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยของชุมชน ถึงแม้ว่าเราสามารถเพิ่มกิจกรรมดังที่กล่าวมานี้ได้แต่ระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมก็มีขีดจำกัดในการรองรับของเสียที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมเหล่านั้น มนุษย์จึงมีความคิดที่จะควบคุมระบบนิเวศแทนธรรมชาติเพื่อสนองต่อความต้องการ แต่เราจะปฏิเสธไม่ได้ว่าการควบคุมระบบนิเวศของเมนุษย์โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่รู้เท่าไม่ถึงการนั้นจะเป็นการเลื่อนเวลาของผลกระทบออกไป หรือเป็นแค่เพียงย้ายผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมไปไว้ในพื้นที่อื่น ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นที่ตำบลแพรกหนามแดงในสมัยก่อน ในระยะแรกๆ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอาจจะไม่ส่งผลทันที แต่จะส่งผลในระยะต่อมาเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างการทำลายสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่เกิดตามมาไม่ได้มีความสัมพันธ์เป็นเส้นตรง อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือแม่น้ำท่าจีนตอนล่างมีการจัดการแบบ Open Access คือไม่มีการจัดการปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจึงทำให้ทรัพยากรเสื่อมโทรมเพราะผู้ใช้ทรัพยากรดังกล่าวจะตักตวงผลประโยชน์เฉพาะหน้าก่อนที่จะคำนึงถึงผลประโยชน์ในระยะยาว รวมถึงการที่ชุมชนดังกล่าวไม่เข้มแข็งหมายถึงแรงจูงใจในการช่วยกันอนุรักษ์ไม่เกิดขึ้น ในขณะที่การแก้ปัญหาของภาครัฐก็ไม่ได้ผลเนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ทำให้งบประมาณที่นำไปใช้แก้ไขปัญหาสูญเสียไปอย่างไร้ประโยชน์

ยุทธศาสตร์ทางเลือกใหม่นี้จะทำให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ดังต่อไปนี้

 1. การสร้างขอบเขตของทรัพยากรและสมาชิกผู้ใช้ทรัพยากร
      2. การจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
     3. การมีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากร
     4. การตรวจสอบและติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
     5. การสร้างกฏ ควบคุมและลงโทษภายในชุมชน
     6. การจัดการแก้ไขความขัดแย้ง
     7. การพึ่งพาตนเอง
     8. การสร้างเครือข่ายภายนอก ภาครัฐจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการของชุมชน

จากการเรียนรู้ดังกล่าวจะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนแบบแผนของความสัมพันธ์ของสมาชิกในชุมชนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การจัดการทรัพยากรร่วม นำมาซึ่งการเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำของสมาชิกในชุมชน



Create Date : 11 กรกฎาคม 2553
Last Update : 11 กรกฎาคม 2553 1:11:32 น.
Counter : 495 Pageviews.

0 comments
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
พบเจอภาพอะไร? ส่วนหนึ่งของภาพน่าสนใจจึงตัดมาใช้ คุกกี้คามุอิ
(1 ม.ค. 2567 03:56:23 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Lovesiam.BlogGang.com

boyberm
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.