83 รายชื่อบุคคล/นิติบุคล “เงินแสนล้าน”กำลังจะหมุนไปๆ แต่ไฉน“แม้ว”จ่ายเพียงร้อยล้าน..!

       ทันทีที่เห็นคำประกาศของคณะทำงานเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้ประกาศ บัญชีรายชื่อบุคคล/นิติบุคล  จำนวน 83 รายที่มีวงเงินหมุนเวียนในช่วงเดือนก.ย. 2552 – พ.ค. 2553 “ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการกระทำหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุก เฉินในช่วงการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ หรือ นปช.” ที่มีวงเงินสูงรวมกันประมาณ 151,941,410,000 บาท ก็เป็นเรื่องที่น่าตกใจยิ่ง....

หรือพูดง่ายๆ สั้นๆ ว่า จำนวน 80 กว่ารายชื่อนั้นเป็นผู้ที่มีการทำธุรกรรมการเงินผิดปกติ ในช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวมาถึงช่วงของการยุติการชุมนุมของ นปช. หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งเบื้องต้นมีหลักฐานที่เชื่อกันได้ว่าการขับเคลื่อนการชุมนุมและการก่อการจลาจลนั้น มีการใช้เงินหรือได้มีการ “ถูกว่าจ้าง”ให้มีการกระทำเกิดขึ้นจริงนั่นเอง

ก่อหน้านี้ได้เคยมีการประกาศรายชื่อออกมาแล้ว แต่ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเลขการเคลื่อนไหวทางการเงิน บางรายยังไม่ปรากฎรายชื่อ แต่ในคราวนี้ถือว่าเห็นมีรายละเอียดความเคลื่อนไหวทางการเงินมากขึ้นพอสมควร และคณะกรรมการฯ คงไม่ได้กล่าวหากันลอยๆ อย่างแน่นอน(เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างในทางการเมือง)

เพราะตัวเลขทางบัญชีเป็นตัวเลขที่สามารถสืบค้นแหล่งที่มาที่ไปกันได้ แต่เชื่อว่าข้อมูลที่เห็นกันบนพื้นที่สาธารณะในขณะนี้นั้น ในทางลึกแล้วยังมีอยู่อีกมาก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเดินหน้าตรวจสอบต่อไปอย่างหนัก....!

เมื่อเห็นข้อมูลที่ได้ถูกเผยแพร่ตามสื่อมวลชนก็ต้องเอาแผ่นกระดาษมานั่งกางออกเป็นผืนใหญ่ เพื่อจะได้ทำความเข้าใจกันใน “ภาพรวม”ผ่านภาพย่อยของแต่ละรายที่ถูกนำเสนอขึ้นมา

เรื่องนี้เป็นสมมุติฐานที่ถูกตั้งขึ้นมาว่า กลุ่มบุคคลหรือนิติบุคล ตามรายชื่อนั้นได้มีการโอนเงินไปมาเพื่อการสนับสนุนกิจกรรมทางการเมืองในช่วงที่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อมีการจับกลุ่มบุคคล/นิติบุคคลแล้วก็อาจทำให้สมมุติฐานเหล่านั้น “คลายความคลุมเครือ”ได้มากขึ้น แล้วก็ได้ลองตั้งคำถามง่ายๆ ที่ไม่ต้องซับซ้อนมากมายนัก เนื่องจากพิจารณาจำเพราะเพียงแค่ตัวเลขและหลักฐานจากที่ปรากฎเห็นตามสื่อเท่านั้น...

จุดที่น่าสนใจมีอยู่ไม่กี่จุด (แต่ละจุดมีความซับซ้อนยุ่งเหยิงยิ่งนัก) ดังนี้คือ

1.    กลุ่มนิติบุคลที่เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง ปรากฎว่ามีมูลค่าตัวเงินการเคลื่อนไหวรวมกันแล้วสูงมาก และมีความเสี่ยงต่อการถูกตรวจสอบได้ง่ายโดยระบบภาษี เช่น

บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  เงินหมุนเวียน  4,690 ล้านบาท บริษัท เวิร์ธซัพพลายส์ จำกัด เงินหมุนเวียน 11,911 ล้านบาท บริษัท บี.บี.ดี. ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เงินหมุนเวียน 15,633 ล้านบาท บริษัท บี.บี.ดี. พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เงินหมุนเวียน  11,221 ล้านบาท บริษัท บี.พี. พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เงินหมุนเวียน  46 ล้านบาท บริษัท ประไหมสุหรี พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เงินหมุนเวียน  3,600 ล้านบาท บริษัท พี.ที. คอร์ปอเรชัน จำกัด เงินหมุนเวียน  22,403 ล้านบาท (ส่วนใหญ่จะเป็นการโอน/ฝาก/ถอนเงิน ในวันเดียวกัน)

บริษัท เอสซีเค เอสเทต จำกัด เงินหมุนเวียน  15,467 ล้านบาท บริษัท เอสซี ออฟฟิซ ปาร์ค จำกัด เงินหมุนเวียน 17,403 ล้านบาท (โอนเงินเข้าบัญชีครั้งละ  14-16 ล้านบาท) บริษัท เอสซี ออฟฟิซ พลาซ่า เงินหมุนเวียน  634 ล้านบาท

กลุ่มบริษัท โอเอไอ ได้แก่ บริษัท โอเอไอ คอนซัลแต้นท์ แอนด์ แมนเนจเม้นท์ จำกัด เงินหมุนเวียน  419 ล้านบริษัท โอเอไอ แมนเนจเม้นท์ จำกัด เงินหมุนเวียน  14,714 ล้านบาทบริษัท โอเอไอ ลิสซิ่ง จำกัด เงินหมุนเวียน 220 ล้านบาท บริษัท โอเอไอ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด เงินหมุนเวียน  540 ล้านบาท

รวมเงินหมุนเวียนในบัญชีของกลุ่มนิติบุคคลที่กล่าวมาข้างต้น มีประมาณ 120,000  ล้านบาท ...เป็นจำนวนมากมายมหาศาล...เทียบกับจำนวนเงินที่รัฐบาลช่วยเยียวยาผู้เดือดร้อนได้รับผลกระทบแล้วน่าจะมากกว่า

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? และมีแหล่งทีมาที่ไปของเงินกันอย่างไร ? มีความเชื่อมโยงกันหรือไม่ หรือเกี่ยวข้องกับกลุ่มใดบ้าง? ฯลฯ

หากมีการ “สำรองจ่าย”เพื่อ “นายใหญ่”ก่อนก็เป็นคำถามที่ชวนสงสัยว่าเงินย้ายไปอยู่ ณ จุดใด หากเป็นจริงก็แสดงว่ามีการ “ยักย้ายถ่ายเท”กันไปมาอย่างสนุกมือ ซึ่งน่าจะผิดปกติเกินวิสัยจากยอดรายรับรายจ่าย รายได้และเงินลงทุนของบริษัทในแต่ละปีที่ผ่านๆ มา

นิติบุคลเหล่านี้จะมีการเชื่อมโยงกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรอย่างไร หากการชุมนุมสำเร็จตามเป้าหมายของการเรียกร้อง

เมื่อดูจุดสำคัญของเรื่องกลับพบเรื่องที่น่าแปลกใจ ว่า.. บุคคลที่น่าจะเป็น“ต้นทางของความเคลื่อนไหวทางการเมืองและทางการเงินทั้งหมด” คือ  พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับปรากฏว่ามีการทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงิน โดยมียอดเงินหมุนเวียนในช่วงการสอบสวนเพียงประมาณ 100 ล้านบาท

(หมายเหตุ  ล่าสุดเพิ่งมีข่าวออกมาว่า “เงินที่เป็นบัญชีต้นทาง”อยู่ในบุคคลของครอบครัวชินวัตร)

คงต้องตั้งคำถามกันต่อไปว่า บริษัทหรือนิติบุคคลเหล่านี้เกี่ยวข้องอย่างไร ซึ่งคณะกรรมการฯ จะต้องพิสูจน์ทราบถึงหลักฐานที่ชัดเจนกันต่อไป

2.     กลุ่มต่อมาซึ่งเป็นผู้มี่ส่วนได้ส่วนเสียกับการชุมนุมหรือการก่อการจลาจลมากที่สุด คือ กลุ่มบุคคลในตระกูลชินวัตร  

ปรากฏว่ามีการทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงิน ได้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เงินหมุนเวียนจำนวนประมาณ 100 ล้านบาท คุณหญิงพจมาน ชินวัตร หรือ ดามาพงศ์ หรือ ณ ป้อมเพชร เงินหมุนเวียนจำนวนประมาณ 57 ล้านบาท (ฝาก 3 ล้านบาท ถอน 54 ล้านบาท นายพานทองแท้ ชินวัตร เงินหมุนเวียนจำนวนประมาณ 4,248 ล้านบาท (ฝากประมาณ 16 ล้านบาท ถอนประมาณ 4,233 ล้านบาท) น.ส.พินทองทา ชินวัตรหมุนเวียนจำนวนประมาณ 7,630 ล้านบาท (ฝากประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่มีข้อสังเกตว่าเมื่อวันที่ 28 เม.ย.2553 มีการถอนเงินออกจาก 3 บัญชี จำนวน 4 ยอด รวมเป็นเงิน 6,630 ล้านบาท)

                น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เงินหมุนเวียนจำนวนประมาณ 317 ล้านบาท (ฝากประมาณ 151 ล้านบาท ถอนประมาณ 166 ล้านบาท ซึ่งเมื่อวันที่ 28 เม.ย.2553 มีการถอนเงินประมาณ 140 ล้านบาท) นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ เงินหมุนเวียนจำนวนประมาณ 5,454 ล้านบาท (ฝากประมาณ 290 ล้านบาท ถอนประมาณ 5,164 ล้านบาท ซึ่งเมื่อวันที่ 28 เม.ย.2553 มีการถอนเงินประมาณ 4,565 ล้านบาท)

ครอบครัวชินวัตรมีการใช้เงินหมุนเวียนในช่วงเวลาที่คณะกรรมการฯ ได้ตรวจสอบ เป็นจำนวนเงินรวมกันแล้ว อยู่ที่  18,000  ล้านบาท   และ  ในครอบครัวชินวัตรมีการถอนเงินเฉพาะในวันที่ 28 เม.ย.2553  รวมกันแล้ว เป็นจำนวนเงินรวมกัน 11,000 ล้านบาท ….?

มีการนัดหมายทำธุรกรรมทางการเงินเรื่องใดหรือ?

 เป็นไปได้หรือไม่ว่าครอบครัวชินวัตรได้โอนเงินไปสนับสนุนในช่วงที่มีการชุมนุม ประเด็นนี้ก็แล้วแต่ความเชื่อส่วนบุคคล(ของผู้อ่าน) เพราะคณะกรรมการฯ ยังไม่ได้สรุปออกมาว่าได้มีการเชื่อมโยงไปหากันอย่างไร  เช่นเดียวกับกลุ่มแรก

3. หากลากเส้นการเชื่อมโยงจาก 2 กลุ่มแรกตรงมายัง “กลุ่มแกนนำการชุมนุม”เลย โดยมองข้ามกลุ่มคนที่อาจจะเป็น “คนกลาง” ได้แก่ นักการเมืองทั้งบ้านเลขที่ 111 และนักการเมืองปัจจุบัน   นายทหารระดับสูงที่กล่าวกันว่าเป็นมันสมอง  และกลุ่ม สส.พรรคเพื่อไทย ก็อาจจะได้ภาพอะไรบางอย่าง เช่น

นายเหวง โตจิราการ มีเงินฝากด้วยเช็ค 1.4 ล้านบาท นายวีระ มุสิกพงศ์ เงินหมุนเวียน  10.5 ล้านบาท นายขวัญชัย สาราคำ เงินหมุนเวียน   14 ล้านบาท นายนิสิต สินธุไพร เงินหมุนเวียน  8 ล้านบาท นายก่อแก้ว พิกุลทอง เงินหมุนเวียน  2.1 ล้านบาท นายชินวัฒน์ หาบุญพาด เงินหมุนเวียน  3.6 แสนบาท นายอดิศร เพียงเกษ เงินหมุนเวียน  4.5 แสนบาท นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ เงินหมุนเวียน  14 ล้านบาท  

และ กรณีของนายอารี ไกรนรา มียอดเงินหมุนเวียน  2 แสนบาท มีการทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นฟอร์จูนเนอร์ โดยวางเงินดาวน์ 6 แสนบาท ผ่อน 48 งวด งวดละประมาณ 1.6 หมื่นบาท เริ่มผ่อนชำระค่างวด ต.ค.2552 และชำระค่างวดครั้งเดียวรวม 31 งวด เป็นเงิน 5 แสนบาท เมื่อเดือน มี.ค.2553 

กลุ่มนี้เป็นแกนนำที่เคลื่อนไหวบนเวทีและกิจกรรมการชุมนุมตั้งแต่เริ่มมีการชุมนุมในวันที่ 12 มีนาคม 2553  มียอดเงินเคลื่อนไหวรวมกันก็เพียงแค่ 60  ล้านบาท ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่คาดว่า “เป็นเงินต้นทาง” จึงต้องถามว่า .เป็นไปได้อย่างไร?

เพราะ...เปรียบเทียบกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติบุคคลแล้วคิดเป็น 0.05 %  หรือ เทียบกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มครอบครัวชินวัตรเพียง 0.3 % เท่านั้น

หรือ การลงแรงจะได้รับผลตอบทางเป็น “ตำแหน่งทางการเมือง” ซึ่งต่างจากกลุ่มธุรกิจที่จะได้รับเป็น “ผลประโยชน์อันเกิดจากการวางนโยบายและความทับซ้อนในผลประโยชน์ทางการเมือง”

จึงต้องตั้งคำถามว่าส่วนที่เหลือ “หล่นหาย”ไปในทางใด แกนนำได้รับค่าตอบแทนคุ้มค่าหรือไม่เมื่อเทียบการ “การจ่ายจากต้นทางจริง” หรือ ว่าเงินส่วนที่เหลือนั้นได้ไหลไปสู่กลุ่มประชาชนที่มานั่งชุมนุมที่แยกราชประสงค์จริงๆ  และน่าจะทำให้เงินหมุนเวียนในระบบอย่างคล่องตัวกับ “เงินต้นทาง”ในส่วนของนิติบุคคลที่มีปริมาณมากขนาดนั้น

แต่เหตุไฉนผู้ชุมนุมจึงยังมีการหยิบฉวยขโมยทรัพย์ออกไปจากห้างร้านเป็นจำนวนมาก....?

หรือ ..หากเป็นเช่นนั้นจริงๆ ก็ถือว่าน่าจะเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนมีรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ จนอาจทำให้ประชาชนมีเงินมากพอที่จะย้อนกลับไปซื้อสินค้าและบริการของกลุ่มบริษัท/นิติบุคคลที่ถูกตรวจสอบว่ามีการเคลื่อนไหวทางการเงินผิดปกติ(กลุ่มแรกข้างต้น) แบบ “อัฐยายซื้อขนมยาย”

หรือ.... เป็นไปได้หรือไม่ว่าได้มี “กลุ่มคนกลาง”มาดักรอเก็บเอาเงินที่เคลื่อนไหวนั้นออกไปจากระบบการจ่ายเงินให้แก่ผู้ชุมนุม

หรือ หากตั้งคำถามว่า “ใคร”เป็น จุดศูนย์รวมของการเงินทั้งหมดที่มีการเคลื่อนไหวไปมาก่อนจ่ายลงไปสู่ “ฐานล่าง”ของการชุมนุมอย่างแท้จริง.... คนๆ นั้นคงมีความน่าเชื่อถืออย่างมาก จนสามารถ “กุมความลับ”ได้ทั้งหมด

คงไม่ได้เป็นเพียงคนๆ เดียวแน่ๆ ...จะเกี่ยวข้องกับ สส. สต. ที่เป็นนักการเมืองพรรคเพื่อไทยด้วยหรือไม่   ซึ่งหากมีข้อเท็จจริงอย่างไรก็จะพัวพันให้ได้ยุบพรรคอีกยกด้วย

และ“คนกลุ่มนั้น” เป็นรายชื่อที่แม้แต่ ศอฉ. ก็ไม่กล้าหาญพอที่จะประกาศรายชื่อออกมาหรือไม่?

และ...ก็เพราะ  เราเชื่อว่า "ไม่ได้มีรายชื่อเพียงแต่เท่านี้"นั่นเอง.....

...........................................................

หมายเหตุ ข้อมูลนี้โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านสูงยิ่ง เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องข้อมูลในการพิเคราะห์ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

(ข้อมูลภาพจากอินเทอร์เน็ต)

Create Date : 22 มิถุนายน 2553
Last Update : 22 มิถุนายน 2553 0:18:10 น.
Counter : 454 Pageviews.

0 comments
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
BUDDY คู่หู คู่ฮา multiple
(3 ม.ค. 2567 04:49:04 น.)
ทนายอ้วนจัดดอกไม้ - จัดดอกไม้ง่ายๆ – แจกันสวัสดีปีใหม่ 2567 - กุหลาบพวงสีชมพู - ขาว ทนายอ้วน
(2 ม.ค. 2567 15:16:32 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Lovesiam.BlogGang.com

boyberm
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.