โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่อันตรายถ้ารู้จักป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่อันตรายถ้าหากรู้วิธีที่ปกป้องอย่างถูกวิธีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คืออะไร? การมีเพศสัมพันธ์นอกจากผ่านทางช่องคลอดแล้ว ทางปากและทางทวารหนักสามารถเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เหมือนกัน เรื่องเพศเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจและให้ความสำคัญไม่ว่าจะวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ก็ตาม การมีเพศสัมพันธ์ในวัยอันสมควรถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติ แต่เราต้องรู้จักวิธีที่ดูแลตัวเอง และรู้วิธีที่ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาที่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้นเปรียบเสมือนภัยเงียบ เมื่อเกิดผลกระทบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เมื่อไหร่ร่างกายของคุณจะอ่อนแอ โรคภัยต่าง ๆ รุมเร้าจะแสดงอาการของโรคออกมา และอันตรายถึงกับขั้นเสียชีวิตได้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุคืออะไร?โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า กามโรค เป็นโรคที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรค โดยไม่ได้ใช้อุปกรณ์ช่วยป้องกัน คือ ถุงยาง การมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะผ่านทางช่องคลอด ทางปาก และทางทวารหนักก็สามารถทำให้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ทั้งหมด รวมถึงสามารถติดต่อกันด้วยการสัมผัสเลือด น้ำเหลือง หรือของเหลวในร่างกายของผู้ที่มีเชื้อและทางเข็มหากใช้ร่วมกัน เชื้อที่ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีอยู่ ดังนี้
4 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ควรรู้จักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ผู้หญิง หรือผู้ชายเกิดจากผู้ที่มีเชื้อสู่ผู้ที่ไม่มีเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอันตรายมากหากไม่ได้ป้องกันทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์ ถึงอย่างนั้นเราควรรู้ทัน และรู้จักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ถ้าหากเกิดขึ้นเป็นโรคจะเป็นโรคอะไรได้บ้าง ที่มาจากการร่วมเพศสัมพันธ์ทั้งผู้ชาย และผู้หญิง โรคหนองใน (Gonorrhea)โรคหนองในถือว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า ไนซีเรีย โกโนเรีย โดยอาการของโรคหนองในอาจแตกต่างกันไปตามเพศ ผู้ชายที่ติดเชื้อหนองในมักมีอาการภายใน 2 - 7 วันหลังจากติดเชื้อ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด เจ็บปวดบริเวณท่อปัสสาวะ และมีไข้ สำหรับผู้หญิงที่ติดเชื้อหนองในอาจจะไม่แสดงอาการใดๆ หรืออาจจะแสดงออกอาการภายใน 7 - 14 วันหลังจากติดเชื้อ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีตกขาวผิดปกติ มีมูกปนหนอง ปัสสาวะแสบขัด เมื่อเบ่งปัสสาวะจะรู้สึกปวด และมีเลือดออกทางช่องคลอด การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรคหนองในสามารถรักษาให้หายได้ ควรรักษากับแพทย์เท่านั้น โรคซิฟิลิส (Syphilis)โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรคซิฟิลิสเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า ทรีโพนีมา แพลลิดัม เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านเยื่อเมือกของอวัยวะเพศ ช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก โดยอาการของโรคซิฟิลิสจะแตกต่างกันไปตามระยะของโรค เช่น
เป็นอาการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ผู้หญิงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม โรคเอดส์ (HIV)โรคเอดส์เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ชาย และผู้หญิง เกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อระบบภูมิคุ้มกันถูกทำร้ายจากเชื้อไวรัสเอชไอวี จนไม่สามารถป้องกันตนเองจากเชื้อโรคภายนอกได้มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่าย เช่น วัณโรค ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มะเร็งบางชนิด และโรคติดเชื้ออื่น ๆ โดยอาการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรคเอดส์ เช่น ไข้เรื้อรัง เหนื่อยล้า ไอเรื้อรัง เป็นแผลที่อวัยวะเพศหรือทวารหนัก และเวียนศีรษะ โรคเริมที่อวัยวะเพศ (Genital herpes)อีกหนึ่งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือโรคเริมที่อวัยวะเพศ เกิดจากเชื้อไวรัสเริม ซิมเพล็กซ์ หรือ HSV โดยอาการของโรคเริมที่อวัยวะเพศ มักเริ่มขึ้นประมาณ 2 - 10 วันหลังได้รับเชื้ออาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีตุ่มน้ำใสขึ้นที่อวัยวะเพศ และทวารหนัก ปวดแสบปวดร้อนบริเวณที่มีอาการ เป็นต้น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์วิธีรักษาควรรักษากับแพทย์ที่มีเชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสม ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สาเหตุโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดจากเชื้อชนิดต่าง ๆ และพฤติกรรมของเราที่ไม่ได้ป้องกันก่อนมีเพศสัมพันธ์ โดยปัจจัยความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างไรดี?ซึ่งวิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีดังนี้
สรุปเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเมื่อไหร่ที่คุณมีเพศสัมพันธ์แล้วรู้จักวิธีที่ป้องกันโดยสวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นกับคุณได้ แต่ถ้าหากคุณเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ผู้ชาย หรือผู้หญิง ในบางโรคอาจจะไม่แสดงอาการใด ๆ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่ก็ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์เพื่อให้หายจากโรค และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น References Mayo Clinic Staff. (2023, September 8). Sexually transmitted diseases (STDs). Angelica Balingit. (2023, April 11). Everything You Need to Know About Sexually Transmitted Diseases. https://www.healthline.com/health/sexually-transmitted-diseases
|
BlogGang Popular Award#20
สมาชิกหมายเลข 7660567
บทความทั้งหมด
|