ต้อกระจก โรคที่พบมากในหมู่ผู้สูงอายุ การวินิจฉัยอาการเบื้องต้นอย่างไรบ้าง? ต้อกระจก โรคที่พบมากในหมู่ผู้สูงอายุ การวินิจฉัยอาการเบื้องต้นอย่างไรบ้าง?หนึ่งในโรคทางสายตายอดฮิตที่มักพบในผู้สูงวัย คงหนีไม่พ้นโรคต้อกระจกที่เกิดจากความผิดปกติของดวงตา จนทำให้ประสาทสัมผัสทางตาเสื่อมสภาพลงหรืออาจถึงขั้นร้ายแรงที่สุดก็คือ สูญเสียการมองเห็นไปเลย บทความนี้จะพามาทำความรู้จักกับโรคนี้ว่า ต้อกระจกคืออะไร เกิดจากอะไร การสังเกตอาการต้อกระจกระยะเริ่มแรก และวิธีการรักษาต้อกระจกทำได้อย่างไรบ้าง ต้อกระจก (Cataract) คืออะไร?โรคต้อกระจกคือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเสื่อมของเลนส์แก้วตา มีลักษณะขุ่นในดวงตาขึ้น ทำให้เกิดอาการตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเจน พบได้บ่อยในผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งปกติแล้วนั้นเลนส์ตาจะมีลักษณะใส มีหน้าที่รวมแสงให้ตกลงบนจอประสาทตาพอดี ทำให้สามารถมองเห็นภาพที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน เมื่อเกิดภาวะต้อกระจก จะทำให้จอประสาทตารับแสงได้ไม่เต็มที่ หรือแสงไม่สามารถเข้าไปตกกระทบในตาได้เหมือนปกติ จึงเกิดการมองเห็นที่ผิดแปลกไปจากเดิม ยิ่งเลนส์ตาขุ่นมากขึ้น ก็จะทำให้ประสาทสัมผัสทางด้านการมองเห็นลดน้อยลงตามไปด้วย สาเหตุของโรคต้อกระจกคืออะไร?สาเหตุของการเกิดโรคต้อกระจกนั้น เกิดจากความผิดปกติหรือการเสื่อมของโปรตีนที่อยู่ภายในดวงตาของเรา จนทำให้แสดงอาการเลนส์นัยน์ตาขุ่นและแข็งขึ้น ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เนื่องจากการใช้งานหนักมาโดยตลอดชีวิต หรือเรียกได้ว่าเสื่อมตามช่วงวัยเมื่อมีอายุที่มากขึ้น แต่ใช่ว่าคนอายุน้อยจะไม่เกิดอาการต้อกระจกเลย การเกิดความผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์มารดา ทำให้ลูกเกิดมามีภาวะต้อกระจก หรือการเกิดอุบัติเหตุทางดวงตาก็สามารถทำให้ต้อกระจกตาเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจจะพบเคสนั้นๆ ได้น้อยกว่าในผู้สูงวัย สาเหตุอื่นที่อาจทำให้เกิดภาวะต้อกระจกตา
อาการของโรคต้อกระจกอาการของโรคต้อกระจกอาการเริ่มต้น มีดังนี้
การวินิจฉัยอาการของโรคต้อกระจกการวินิจฉัยอาการของโรคต้อกระจกควรได้รับการตรวจสอบกับแพทย์จักษุโดยเฉพาะ มีขั้นตอน ดังนี้
*ข้อควรระวังในการใช้ยาหยอดตา ในคนไข้ที่มีมุมตาแคบอาจส่งผลให้เกิดภาวะต้อหินเฉียบพลัน เสี่ยงต่อตาบอดได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการรักษาอยู่เสมอ
วิธีรักษาโรคต้อกระจกวิธีรักษาต้อกระจกในช่วงระยะแรกเริ่มของการเกิดภาวะต้อกระจกนั้น จะเป็นการสวมใส่แว่นตาที่แก้ไขปัญหาสายตาสั้น ที่สามารถทำให้คนไข้มองเห็นได้อย่างชัดเจน ในตอนนี้จะยังไม่มีการให้ยาหยอดตาต้อกระจกหรือการจ่ายยารักษาต้อกระจกเพื่อรับประทาน หากคนไข้มีอาการแย่ลงหรือเป็นหนักขึ้น ถึงขั้นเริ่มมองเห็นไม่เห็น วิธีแก้ไขคือการผ่าตัดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งการผ่าตัดเพื่อรักษาต้อกระจกทำได้ 2 วิธีคือ
ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากใช้เวลาไม่นานประมาณ 15 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลให้เสียเวลา โดยแพทย์จะเริ่มหยอดยาชาเฉพาะหรือฉีดยาเฉพาะที่ทำให้เกิดอาการชา เพื่อบล็อคการเคลื่อนไหวของดวงตา จากนั้นแพทย์จะเปิดช่องกระจกตาประมาณ 2.4 - 3 มม. แล้วสอดเครื่องมือสลายต้อกระจกเข้าไป พร้อมใช้พลังงานความถี่สูงระดับอัลตราซาวนด์เข้าสลายต้อกระจกออกจนหมด จากนั้นใส่เลนส์ตาเทียมเข้าไปแทนที่ โดยเลนส์ที่ใช้จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะดวงตา ความต้องการและค่าสายตาของคนไข้ เช่น เลนส์ชัดระยะเดียวหรือหลายระยะ แผลที่ได้จากการทำวิธีนี้จะมีขนาดเล็กมาก เนื่องจากไม่ต้องเย็บแผล หลังทำคนไข้จึงสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เลย แต่ต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าตาเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ และทานยาหรือหยอดยาตาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
เป็นวิธีการรักษาต้อกระจกที่ไม่ได้รับความนิยมในสมัยปัจจุบันแล้ว เนื่องจากเป็นวิธีการที่เหมาะกับต้อกระจกสุกที่แข็งมากๆ จนไม่สามารถใช้วิธีการสลายด้วยเครื่องสลายต้อคลื่นอัลตราซาวนด์ได้ โดยแพทย์จะเริ่มเปิดแผลระหว่างกระจกตาดำและผนังตาขาวด้านบนของลูกตา มีความยาวประมาณ 10 มม. จากนั้นนำตัวเลนส์แก้วตาที่เป็นต้อกระจกออก แล้วจึงใส่เลนส์ตาเทียมใส่เข้าไปแทนที่ ซึ่งจะใช้เลนส์แบบชัดระยะเดียว เนื่องจากมีระยะการมองเห็นไกล สามารถใช้งานได้ตลอดชีวิต และเริ่มเย็บปิดแผลให้สนิทเป็นอันเสร็จเรียบร้อย วิธีปฏิบัติตัวหากเป็นโรคต้อกระจก เพื่อไม่ให้อาการแย่ลงวิธีการดูแลตัวเองหากมีภาวะเป็นต้อกระจก สามารถทำตามได้ ดังนี้
ในกรณีที่ทำการผ่าตัดรักษาต้อกระจกมานั้น ควรปฎิบัติตัวตามข้อแนะนำต่อไปนี้
คำถามที่พบบ่อยตอบคำถามยอดฮิตที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับโรคต้อกระจก ต้อกระจกทำให้ตาบอดได้ไหม?ต้อกระจกเกิดจากภาวะเลนส์แก้วตามีความขุ่นมัวเมื่อมีอายุมากขึ้น ในคนไข้บางรายที่มีอาการหนักหรือมีโรคแทรกซ้อน จนเกิดการอักเสบและติดเชื้อ อาจส่งผลให้สูญเสียการมองเห็น (ตาบอดสนิท) ได้เลย โดยอาการจะเป็นไปอย่างช้าๆ อาจจะเป็นทั้งสองข้างพร้อมกันหรือเป็นข้างเดียวก็ได้เช่นกัน ควรผ่าตัดต้อกระจกเมื่อไหร่?การผ่าตัดต้อกระจกควรทำเมื่อโรคนี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเรา หรือสามารถรักษาต้อกระจกได้เลยก่อนมีภาวะอื่นๆ แทรกซ้อนตามมา เช่น ต้อหิน หรือเกิดอาการต้อสุกเกินไป สรุปเรื่องต้อกระจกหลายคนคงจะทราบอยู่แล้วว่าภาวะต้อกระจกส่วนใหญ่นั้นเกิดกับคนที่มีอายุมากขึ้น หากคุณไม่อยากเป็นโรคต้อกระจกในอนาคต แนะนำให้ตรวจเช็คสุขภาพดวงตาอย่างสม่ำเสมอในทุกปี เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญมากๆ ในการรับประสาทสัมผัสด้านการมองเห็น ถึงแม้ว่าโรคต้อกระจกจะสามารถป้องกันและมีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ โดยมีวิธีการรักษาต้อกระจก 2 วิธี คือ การสลายต้อกระจกด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์ กับการผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง ซึ่งมีความแตกต่างกันบ้าง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ แต่ราคาผ่าต้อกระจกนั้นก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงเช่นกัน ดังนั้นควรรักษาดวงตาทั้งสองข้างเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นจะดีกว่า |
BlogGang Popular Award#20
สมาชิกหมายเลข 7660567
บทความทั้งหมด
|