ตรวจฮอร์โมน เช็คระดับความสมดุล เพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น ตรวจฮอร์โมน เช็คระดับความสมดุล เพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้นฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่ส่งสัญญาณไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ฮอร์โมนจะถูกปล่อยสู่กระแสเลือดซึ่งจะนำไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่สำคัญควบคุมการเผาผลาญ การเจริญเติบโต อารมณ์ ความดันโลหิต และอีกมากมาย ฉะนั้นตรวจฮอร์โมนเป็นประจำจึงเป็นเรื่องที่ผู้คนเริ่มหันมาให้ความสำคัญกันมากขึ้น พอ ๆ กับการตรวจสุขภาพทั่วไป หากเราทราบภาวะความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย และรู้ถึงความผิดปกติของฮอร์โมนอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย บทความนี้จะพาคุณมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของฮอร์โมน และการตรวจฮอร์โมนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังสนใจตรวจระดับฮอร์โมน ความสำคัญของการตรวจฮอร์โมนที่เราควรทราบฮอร์โมน คือสารเคมีจำพวก โปรตีน เอมีน และสเตียรอยด์ ที่ร่างกายของเราผลิตขึ้นมาเองจากต่อมไร้ท่อ หรือเนื้อเยื่อ และลำเลียงสารเคมีเหล่านี้ไปตามกระแสเลือดไปยังเซลล์ และอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวสื่อสารระหว่างเซลล์และควบคุมระบบต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ถ้าหากขาดฮอร์โมนตัวใดตัวหนึ่งไปจะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายในแต่ละลดลง ดังนั้น การตรวจฮอร์โมนจึงมีความสำคัญอย่างมาก เป็นวิธีเจาะเลือดตรวจฮอร์โมน ซึ่งข้อดีของตรวจฮอร์โมน ได้แก่
อีกอย่างของการตรวจฮอร์โมนทำให้รู้ของการเกิดภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ที่เป็นส่วนทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ รวมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลมีอาการ ได้แก่
ใครบ้างที่จำเป็นต้องตรวจฮอร์โมน?การตรวจวัดระดับฮอร์โมนนั้น ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกคน แพทย์จะแนะนำให้ตรวจในบางกรณี อาทิ
5 ประเภทของฮอร์โมนที่สำคัญต่อร่างกายมีอะไรบ้างฮอร์โมนร่างกายจะประกอบไปด้วย ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนต่อมหมวกไต โกรทฮอร์โมน และ อื่น ๆ ซึ่งฮอร์โมนแต่ละตัวมีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกัน ตรวจฮอร์โมนจึงทำให้รู้ว่าฮอร์โมนตัวไหนบ้างที่ร่างกายขาดหายไปก่อให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย โดยประเภทฮอร์โมนที่สำคัญต่อร่างกาย มีดังนี้ ฮอร์โมนเพศชายและเพศหญิงฮอร์โมนเพศชายและเพศหญิงเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมลักษณะทางเพศ และระบบสืบพันธุ์ ฮอร์โมนเพศชาย คือเทสโทสเตอโรนผลิตจากอัณฑะ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนช่วยควบคุมลักษณะทางเพศชาย เช่น เสียงทุ้ม ขนบนใบหน้า กล้ามเนื้อ อวัยวะเพศชาย และช่วยเจริญเติบโตของกระดูก มวลกล้ามเนื้อในร่างกาย ส่วนของฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนผลิตจากรังไข่ ฮอร์โมนเอสโตรเจนควบคุมลักษณะทางเพศหญิง เช่น เต้านม สะโพก และรอบประจำเดือน การตรวจฮอร์โมนเป็นการตรวจฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย เพื่อตรวจค่าฮอร์โมนเพศว่ามีปริมาณปกติหรือไม่ โกรทฮอร์โมนโกรทฮอร์โมนผลิตจากต่อมใต้สมอง หน้าที่ผลิตขึ้นควบคุมการเจริญเติบโต พัฒนาของร่างกาย และฟื้นฟูร่างกาย หากพบว่ามีอาการ รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง และกระดูกเปราะบาง อาจจะเกิดจากระดับโกรทฮอร์โมนต่ำ ซึ่งตรวจฮอร์โมนจะช่วยตรวจสมดุลฮอร์โมน หากพบว่ามีความผิดปกติทางแพทย์จะได้รักษาอย่างถูกต้อง ฮอร์โมนไทรอยด์ฮอร์โมนไทรอยด์เป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมไทรอยด์ ฮอร์โมนไทรอยด์มีหน้าที่ควบคุมระบบเผาผลาญของร่างกาย และ ระบบอื่น ๆ เช่น การเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย และน้ำหนักตัว หากตรวจฮอร์โมนแล้วพบว่าร่างกายมีระดับฮอร์โมนลงลดลง จนเป็นโรคไฮโปไทรอยด์ แพทย์จะรักษาด้วยวิธีให้ผู้ป่วยรับประทานยา เพื่อให้ระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้น และให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของที่มีประโยชน์ ลดอาหารของมัน ของทอด เป็นต้น ฮอร์โมนต่อมหมวกไตฮอร์โมนต่อมหมวกไต มีหน้าที่สำคัญในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบเผาผลาญ ความเครียด ความดันโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งตรวจฮอร์โมนต่อมหมวกไต จะดูจากค่าตรวจฮอร์โมน หากพบว่าร่างกายเกิดมีความผิดปกติในส่วนของระบบภูมิคุ้มกัน แปลว่าร่างกายผลิตฮอร์โมนต่อมหมวกไตลดลง จำเป็นต้องรักษาให้ฮอร์โมนอยู่ในระดับปกติ ฮอร์โมนอินซูลินตรวจฮอร์โมนอินซูลิน เพื่อตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากฮอร์โมนอินซูลิน มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายดูดซึมกลูโคสจากเลือด หากพบว่าร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลินจะมีอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย มองเห็นไม่ชัด กระหายน้ำ แผลหายช้า ถ้าปล่อยให้ร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน อาจจะส่งผลก่อเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังได้ การตรวจฮอร์โมน มีข้อดีอย่างไรบ้างการตรวจฮอร์โมนมีข้อดีหลายประการที่สามารถช่วยในการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
สรุปเรื่องตรวจฮอร์โมน ควรตรวจเป็นประจำการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นเรื่องที่สำคัญ รวมถึงการตรวจเช็คฮอร์โมน วัดระดับฮอร์โมน ช่วยให้เราสามารถตรวจจับปัญหาสุขภาพในระยะเริ่มต้นได้ โดยการตรวจฮอร์โมนประจำปีช่วยในการคัดกรองโรคต่าง ๆ ความผิดปกติของระบบฮอร์โมน เช่น เบาหวาน ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมไขมัน โรคเรื้อรัง และอื่น ๆ และประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากคุณมีความสนใจสามารถสอบถามตรวจฮอร์โมน ราคาและรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่โรงพยาบาลเอกชน หรือตรวจฮอร์โมนโรงพยาบาลรัฐตามสิทธิ์สุขภาพที่ท่านมี
|
BlogGang Popular Award#20
สมาชิกหมายเลข 7660567
บทความทั้งหมด
|