เริมโรคติดต่อทางผิวหนัง มีอาการ และสาเหตุเกิดจากอะไร ?

เริมเกิดจากอะไร มีวิธีป้องกัน และรักษาโรคเริมอย่างไรบ้าง ?

เริมเกิดจากอะไร ?

หากคุณเป็นผู้ที่ประสบกับปัญหามีตุ่มน้ำใส หรือมีอาการคันยุบยิบบริเวณที่ปาก หรือบริเวณอวัยวะเพศ ไม่แน่ว่าคุณอาจจะกำลังประสบกับหนึ่งในโรคติดต่อทางผิวหนัง หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มีสาเหตุหลักเกิดจากเชื้อไวรัสชนิด HSV-1 และ HSV-2 โดยจะมีชื่อเรียกโรคนี้ว่า เริม (Herpes Simplex) ซึ่งในบทความนี้ก็จะมาแนะนำทุกคนให้รู้จักกับรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคเริม ทั้งในส่วนของอาการเริม สาเหตุของการเกิดเริม พร้อมวิธีรักษาเริม และวิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้เริมเกิดซ้ำ


เริม (Herpes simplex) คืออะไร ?

เริม

เริมคือ โรคติดต่อทางผิวหนัง หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยจะมีสาเหตุของโรคเริมเกิดจากไวรัส 2 ชนิด คือ 1.HSV-1 2.HSV-2 โดยเริมจะมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำพองใส หรือเกิดเป็นแผลพุพองเล็ก ๆ บริเวณปาก หรือบริเวณอวัยวะเพศทั้งในผู้ชาย และในผู้หญิง ซึ่งโรคเริมอาการจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการคันระคายเคือง หรือรู้สึกเจ็บแสบบริเวณผิวหนังบริเวณจุดที่เกิดเริม


เริมเกิดจากอะไร ? สาเหตุของโรค

สาเหตุของการเกิดโรคเริมนั้น จะเกิดจากไวรัสที่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสทางผิวหนังไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง หรือผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัส Herpes simplex virus อยู่ในตัว ซึ่งเริมมักจะเกิดบริเวณที่ปาก และที่บริเวณอวัยวะเพศของผู้ที่ติดเชื้อ โดยจะมีตัวอย่างของการกระทำที่ส่งผลให้สามารถติดโรคเริมได้ ดังนี้
 

  • การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่มีการป้องกันไม่สวมถุงยางอนามัยกับคู่นอนที่มีเชื้อไวรัสเริม

  • การสัมผัสกับผิวหนัง หรือสัมผัสกับแผลของผู้ป่วยโรคเริมโดยตรง

  • การจูบ หรือการหอมแก้มกับผู้ที่เป็นเริม

  • การทำออรัลเซ็กส์ (Oral sex) กับผู้ที่ป่วยเริมที่บริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งสามารถติดไปสู่อวัยวะเพศได้

  • การสัมผัสกับผิวหนังแบบชิดเนื้อ แม้ไม่เกิดการหลั่งใด ๆ

  • การใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับปาก หรือช่องปากร่วมกัน เช่น ใบมีดโกน, แก้วน้ำ, หลอดดูด เป็นต้น


อาการที่จะเกิดขึ้นเมื่อเป็นเริม

เริมอาการเริ่มต้นหากผู้ป่วยเป็นผู้ที่พึ่งเคยรับเชื้อไวรัสมาเป็นครั้งแรก ในช่วงแรกก่อนที่เชื้อเริมจะเริ่มแสดงอาการออกมา เชื้อเริมจะใช้ระยะเวลาในการฟักตัวที่ใช้เวลาประมาณ 2-20 วัน ซึ่งเริมสามารถฝังตัวเข้าไปในปมประสาทภายใต้ผิวหนังได้ ทำให้ผู้ที่เคยเป็นโรคเริมเมื่อหายแล้วหากสุขภาพร่างกายเริ่มอ่อนแอก็จะสามารถแสดงอาการขึ้นมาได้อีก โดยอาการที่จะเกิดขึ้นเมื่อเป็นเริมจะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้
 

  • มีอาการระคายเคืองบริเวณผิวหนัง

  • มีไข้ รู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ

  • เริ่มมีตุ่มน้ำเกิดขึ้นในบริเวณ ปาก, ริมฝีปาก, อวัยวะเพศ, ใบหน้า, นิ้วมือ, เริมที่ขา, เริมที่แขน เป็นต้น

  • หากเป็นเริมที่อวัยวะเพศชาย จะเริ่มมีความรู้สึกปวดแสบอวัยวะเพศ รู้สึกปัสสาวะติดขัด

  • หากเป็นเริมที่อวัยวะเพศหญิง จะมีอาการตกขาว อาจมีกลิ่นคาว

  • หากเป็นเริมที่บริเวณใกล้ดวงตา อาจมีอาการ เช่น ปวดตา, เคืองตา, แสบตา เป็นต้น


ประเภทของเริม

โรคเริมในทางการแพทย์จะแบ่งเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของเริมเอาไว้ 2 ประเภท ซึ่งเชื้อไวรัสเริมแต่ละประเภท จะเป็นสาเหตุของแต่อาการเริม และสาเหตุของการติดเชื้อเริมที่มีความแตกต่างกัน โดยจะมีรายละเอียดดังนี้
 

HSV - 1(Herpes simplex virus type I)

ไวรัสชนิดแรกของโรคเริม เป็นสาเหตุของเริมที่ทำให้เกิดแผลเริม หรือเกิดเป็นตุ่มน้ำพองในบริเวณต่าง ๆ เช่น เริมที่ปาก, เริมในปาก, เริมบนใบหน้า เป็นต้น โดยจะเกิดขึ้นจากการที่มีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อประเภท HSV - 1 อยู่ในตัว เช่น น้ำลาย, แผล, ตุ่มน้ำใส เป็นต้น
 

HSV - 2 (Herpes simplex virus type II)

ไวรัสชนิดที่สองของโรคเริม เป็นสาเหตุหลังของการทำให้เกิดเริมอวัยวะเพศทั้งชาย และหญิง โดยจะเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่มีเชื้อไวรัส HSV - 2 อยู่ในตัว ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคัน, แผลพุพอง, เจ็บปวด เป็นต้น


แนวทางการรักษาและวิธีการดูแลตัวเองเมื่อเป็นเริม

โรคเริมถือเป็นโรคที่ไม่มีความอันตราย ในผู้ป่วยบางคนที่มีอาการเริม เริมอาจจะสามารถหายเองได้ด้วยวิธีการรักษาที่ไม่ยากที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง แต่ในบางคนอาจจะมีอาการหนักที่อาจจะต้องไปพบแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการเริมลุกลามเป็นอาการที่ร้ายแรงขึ้นมากกว่าเดิม โดยในหัวข้อนี้จะมีข้อแนะนำแนวทางการรักษาโรคเริม และแนวทางการดูแลตัวเองจากโรคเริม
 

แนวทางการรักษา

โรคเริมวิธีรักษาจะมีวิธีการขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ซึ่งในผู้ป่วยบางคนเริมอาจจะสามารถหายไปเองได้ แต่หากผู้ป่วยมีอาการที่หนักมากแพทย์จะใช้วิธีในการให้ยาในกลุ่มของยาต้านไวรัส ยาบรรเทาอาการความเจ็บปวด ร่วมกับการใช้ยาทาเริมในบริเวณนั้น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้แผลที่เกิดจากเริมมีอาการติดเชื้อ 
 

แนวทางการดูแลตัวเอง

แนวทางการดูแลตัวเองจากโรคเริม วิธีที่ได้รับผลลัพธ์ที่ดีก็คือ การป้องกัน การเลี่ยงพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเริมทุกช่องทาง เช่น การสวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์, การไม่ใช้สิ่งของที่มีสารคัดหลั่งร่วมกับผู้อื่น, การพักผ่อนที่เพียงพอ, การรักษาความสะอาด เป็นต้น


เริมสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้หรือไม่ ?

โรคเริมเมื่อรักษาหายแล้วยังสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ เพราะเชื้อไวรัสประเภทนี้สามารถเข้าไปหลบอยู่ภายในปมประสาทบริเวณสันหลังของคนเราได้ ซึ่งวิธีที่จะไปกระตุ้นให้ไวรัสเริมเจริญเติบโต และแสดงอาการออกมาจะมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำลง, ความเครียด, การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ, การร่วมเพศ เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยเริมที่กลับมาเป็นเริมซ้ำโดยส่วนใหญ่มักจะมีอาการเตือนล่วงหน้าก่อน 1-2 วัน ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกแสบบริเวณสันหลัง ตามลำตัว หรืออวัยวะเพศได้ และจะตามด้วยมีตุ่มใสเกิดขึ้นมา โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะหายได้เองภายในระยะเวลา 10 วัน แต่ถ้าหากมีการรักษาเริมด้วยตัวเองแล้วไม่หาย หรือเกิดเริมซ้ำบ่อยเกินไป ขอแนะนำให้รีบเข้ารับการรักษาเริมจากทางแพทย์เฉพาะทางโดยตรง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเรื้อรังในภายหลัง


แนวทางการป้องกันตัวเองจากโรคเริม

แนะนำแนวทางการป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดโรคเริมที่สามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อไม่ให้เกิดเริมขึ้น เพราะว่าในปัจจุบันเริมยังไม่มีวัคซีน หรือยาที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงแต่การรักษาอาการให้หายได้เร็ว หรือป้องกันไม่ให้เริมแพร่เชื้อได้ง่ายเท่านั้น การป้องกันตัวเองจึงถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ โดยจะมีข้อแนะนำต่าง ๆ ดังนี้
 

  1. ไม่ใช่สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แปรงฟัน, แก้วน้ำ, มีดโกน เป็นต้น

  2. รักษาความสะอาดของร่างกายทุกส่วนให้สะอาดอยู่เสมอ

  3. หากมีแผลบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายควรมีการทำแผลให้แห้ง และมีการทำแผลที่ถูกวิธี ไม่แกะ ไม่เกาบริเวณแผล ไม่ปล่อยให้แผลสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เพราะอาจจะไปสัมผัสกับผิวหนังผู้ที่มีเชื้อไวรัสเริมได้

  4. หากมีเพศสัมพันธ์ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคเริม และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่น

  5. หลีกเลี่ยงการออรัลเซ็กส์ (Oral sex) ทั้งในผู้ชาย และในผู้หญิง เพราะเป็นสาเหตุหลักที่มักทำให้หลายคนป่วยเป็นโรคเริมได้ง่าย

  6. ควรมีการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7-8 ชั่วโมง

  7. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน

  8. มีการออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 10-15 โดยเริ่มจากกิจกรรมง่าย ๆ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

  9. หากรู้สึกมีอาการคล้ายกับว่าจะป่วยเป็นโรคเริม ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธีตั้งแต่เนิ่น ๆ


สรุปเริมเป็นโรคที่มีความอันตรายมากไหม ?

ในปัจจุบันเริมนั้นในทางการแพทย์ถือว่าเป็นโรคติดต่อที่ไม่อันตราย โดยมีสาเหตุหลักที่เกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยที่มีเชื้อเริมอยู่ในตัว ซึ่งสามารถรักษาเริมให้หายได้ แต่มีข้อระวังที่เริมสามารถกลับมาเกิดซ้ำได้ และไม่สามารถรักษาเริมให้หายขาดได้ การป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากเริมจึงถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ





Create Date : 06 มิถุนายน 2567
Last Update : 6 มิถุนายน 2567 0:44:55 น.
Counter : 145 Pageviews.

0 comments
(โหวต blog นี้) 
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Iamnotamorningperson.BlogGang.com

BlogGang Popular Award#20



สมาชิกหมายเลข 7660567
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด