ข้อเข่าเสื่อม อาการปวดที่สามารถรักษาได้ หากเข้าใจมัน ข้อเข่าเสื่อม อาการปวดที่สามารถรักษาได้ หากเข้าใจมันสามารถกล่าวได้ว่าปัจจุบันทุกคนมีโอกาสสูงมากที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเพราะเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมการบริโภค และการดำเนินชีวิตในทุก ๆ วันนั่นเอง ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในประเทศไทยมีเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก ดังนั้นเพื่อจะได้หลีกเลี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อม หรือเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมช้าลง เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคชนิดนี้ ไม่ว่าจะเป็นอาการ สาเหตุ วิธีรักษาโดยละเอียด เพื่อที่จะได้เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น มาทำความรู้จักเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อมกันดีกว่าข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะที่สำคัญมากของร่างกายเรา เช่น ข้อเข่า ที่มีหน้าที่รองรับน้ำหนักตัว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น การยืน การเดิน และการวิ่ง เป็นต้น เกิดเป็นอาการสึกหรอและเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนผิวข้อบริเวณเข่าทำให้มีความยืดหยุ่นและซับแรงกระแทกได้น้อยลง เนื่องมาจากการใช้งานไม่เหมาะสมหรือหนักเกินไป นอกเหนือจากการใช้งานหนักแล้ว สำหรับอาการของโรคนั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะที่ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยจากหลากหลายสาเหตุดังที่จะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อของคนที่มีแนวโน้มเสี่ยงสูง โรคข้อเข่าเสื่อม สาเหตุมาจากอะไรบ้างสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมเป็นไปได้ทั้งจากปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน ดังต่อไปนี้
ระดับความรุนแรงของอาการข้อเข่าเสื่อมวิธีรักษาเข่าเสื่อมมีอยู่หลาย ๆ วิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการข้อเข่าเสื่อมว่าเป็นมากน้อยแค่ไหน อยู่ในระดับใดดังที่จะได้กล่าวในลำดับต่อไป ขณะเดียวกันเราสามารถจับสัญญาณเตือนได้ด้วยตัวเองว่ามีแนวโน้มของการเป็นข้อเข่าเสื่อมหรือไม่ เช่น บวมแดงและร้อนบริเวณเข่า, เจ็บปวดบริเวณข้อเข่าเมื่อเปลี่ยนท่า, มีเสียงดังกร๊อบแกร๊บขณะเคลื่อนไหว ฯลฯ ระยะแรกระยะนี้ยังเป็นอาการที่เล็กน้อย ซึ่งการรักษาสามารถทำได้ด้วยตนเองเพียงแค่ควบคุมน้ำหนักไม่ให้หนักเกินไป, กินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ สารอาหารครบ 5 หมู่ โดยเน้นโปรตีนและวิตามิน E, พร้อมออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อรอบหัวเข่าแข็งแรง และหลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ ระยะปานกลางระยะนี้เป็นระยะที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อที่จะเป็นผู้พิจารณาเกี่ยวกับวิธีรักษาเข่าเสื่อมที่เหมาะสมกับอาการข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ต้องผ่าตัด เช่น กินยา หรือ ฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เป็นต้น ระยะรุนแรงผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรงเรื้อรังมานานมากจนต้องใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำ ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ปกติ อาจมีอาการเข่าผิดรูป ดังนั้นโดยมากแพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ใช้วัสดุโลหะและพลาสติกมาทดแทนข้อเข่าที่เสื่อม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะมีอายุมากกว่า 65 ปี คนที่มีแนวโน้มเสี่ยงเป็นข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนทั่ว ๆ ไปข้อเข่าเสื่อมเป็นอาการที่สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย เพียงแต่บุคคลต่อไปนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าบุคคลทั่ว ๆ ไป ดังนี้
การรักษาข้อเข่าเสื่อมเป็นการรักษาตามอาการที่มีหลาย ๆ วิธีเมื่อใดที่จับสัญญาณของข้อเข่าเสื่อมได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้ถูกวิธีเพราะข้อเข่าเป็นอวัยวะที่สำคัญที่ไม่สามารถขาดได้ในบุคคลปกติทั่วไปที่มีอวัยวะครบ 32 อย่าง และการรักษานั้นจะช่วยลดอาการปวดข้อเข่าที่ไปขัดขวางการดำเนินชีวิตประจำตามปกติ โรคข้อเข่าเสื่อม วิธีรักษาจะเป็นไปตามระดับความปวดของเข่าเสื่อม ดังนี้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อมสำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าตนเองอาจเข้าข่ายที่อาจจะเป็นหรือเป็นข้อเข่าเสื่อมแล้ว บุคคลเหล่านี้พึงระมัดระวังด้านพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกายในการดำเนินชีวิตประจำวัน และคำถามที่พบเจอบ่อย ๆ ทั้งที่เป็น ข้อห้ามโรคข้อเข่าเสื่อม อาการข้อเข่าเสื่อม วิธีรักษาเข่าเสื่อม ฯลฯ โดยที่ทางเราจะมากล่าวถึงเรื่องที่ใกล้ตัวมาก ๆ คือ ข้อเข่าเสื่อมห้ามทานอาหารอะไรไหม?สำหรับอาการข้อเข่าเสื่อม แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกที่จะมากระตุ้นการอักเสบของข้อต่อกระดูก ทำให้อาการของข้อเข่าเสื่อมดูแย่ลง เช่น
ข้อเข่าเสื่อมสามารถหายเองได้หรือไม่ ?ข้อเข่าเสื่อมไม่สามารถหายเองได้ และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่ช่วยลดอาการปวดข้อเข่าให้น้อยลงได้ และต้องเป็นการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์โดยเฉพาะเท่านั้น วิธีรักษาเข่าเสื่อมได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ข้อสรุปเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อมการที่ข้อเข่าเสื่อมมีอาการอย่างไร เกิดจากสาเหตุเช่นไร มีโอกาสเท่าไรที่จะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม มีวิธีรักษาเข่าเสื่อมอะไรบ้างนั้น จากบทความข้างต้น เราควรให้ความสำคัญกับร่างกายให้มากขึ้นเมื่อพบสัญญาณข้อเข่าเสื่อม เช่น เข่าบวม หรือหัวเข่ามีเสียง ด้วยการเริ่มดูแลตัวเองให้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันควรเข้าพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรงจนถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัด |
BlogGang Popular Award#20
สมาชิกหมายเลข 7660567
บทความทั้งหมด
|