ทางจักรยานในประเทศเยอรมัน ตอนจบ จากบล๊อคที่แล้วผมพูดถึงเรื่องการอำนวยความสะดวกให้กับจักรยานมากกว่ารถยนต์ที่แตกต่างจากบ้านเราที่อำนวยความสะดวกทุกอย่างให้รถยนต์ เราก็เลยได้เมืองแบบเราๆ ที่ใครมีรถก็รู้สึกไปไหนมาไหนสะดวก ยิ่งใครมีรถแพงเท่าไร ก็รู้สึกว่าตนเองช่างประสบความสำเร็จ มีหน้าตาเหลือเกิน หารู้ไม่ว่าเราได้เสียโอกาสที่จะได้เมืองที่ดีๆ เดินไปไหนมาไหนได้ง่าย สะดวก และไม่มีมลพิษ หารู้ไม่ว่าเราต้องเสียงบประมาณแผ่นดินไปไม่รู้เท่าไรเพื่อแก้ปัญหาจราจร(ซึ่งเป็นปัญหาของคนที่มีรถเท่านั้น) ยิ่งอำนวยความสะดวกให้รถยนต์มากเท่าไร เราก็ยิ่งผลักภาระความยากลำบากให้กับคนที่เดินเท้าและขี่จักรยานมากเท่านั้น บางคนบอกว่าประเทศเค้านั้นขี่จักรยานกันได้สิ เพราะเค้ามีระบบขนส่งมวลชนที่ดีนี่นา อย่ากล่าวเช่นนี้ครับเพราะนั่นมันคือคำแก้ตัวไปน้ำขุ่นๆเพื่อที่จะไม่ให้รู้สึกว่าเราขาดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเมืองเพื่อคนที่อยู่ในเมืองไม่ใช่เพื่อรถยนต์ แม้เราจะไม่มีระบบขนส่งมวลชนแต่ถ้าเราทำให้คนเดินเท้าหรือขี่จักรยานสะดวกด้วยการอำนวยความสะดวกให้แบบสุดโต่ง คนก็จะออกมาใช้งาน คนก็จะเดินกันมากขึ้น เมื่อนั้นเมืองเราก็จะน่าอยู่มากยิ่งขึ้น อย่าลืมนะครับว่าไม่ว่าคุณจะขับรถโรลสลอยคันละสี่สิบห้าล้านบาท แต่สุดท้ายคุณก็ต้องลงจากรถเพื่อเดินไปที่เป้าหมายที่ต้องการ นั่นก็คือไม่ว่าจะอย่างไรทุกคนก็ต้องมีโอกาสที่จะกลายเป็นคนเดินเท้า แล้วทำไมเราจึงลืมอำนวยความสะดวกให้กับคนเดินเท้าล่ะ? เมื่อถนนไม่ใช่แค่ของรถยนต์เท่านั้น วิถีชีวิตเช่นนี้จึงเกิดขึ้น เด็กเล็กๆก็ใช้พื้นที่ถนนได้อย่างปลอดภัย เจ้าหนูคนนี้ท่าทางโตขึ้นจะเป็นนางแบบครับ เห็นผมเดินถ่ายรูปอยู่ ชีหันมาเรียกร้องความสนใจด้วยรอยยิ้มหวานปานนี้ ใครจะอดใจไม่ถ่ายรูปเธอได้เล่า? เมื่อไม่ต้องเสียพื้นที่ให้กับถนน เมืองก็มีพื้นที่สำหรับเป็นสีเขียวให้กับเมืองเช่น สวนสาธารณะมากขึ้น เมืองที่ผมไปเยือนนี้มีสวนสาธารณะอยู่ติดกับชุมชน เด็กๆก็มีที่ว่างให้วิ่งเล่นกันสนุนสนาน ความพิถีพิถันในการออกแบบชุมชนของเค้านั้นเห็นได้จากสองภาพนี้ครับ แรกทีเดียวผมก็เดินผ่านไปเฉยๆไม่ได้สนใจอะไร แต่ให้นึกเอะใจว่าทำไมถังขยะมันใบเล็กแล้วก็ตั้งเรียงรายกันแบบนี้ แต่จริงๆแล้วก็คือมันคือถังขยะใบโตแต่ออกแบบฝาหลอกว่าเป็นถังขยะใบเล็กๆ เวลามาเก็บกันทีก็ใช้รถยกยกถังขึ้นมา ด้านในจะเป็นขยะพวกที่รีไซเคิลได้ (สังเกตุจากตัวเดือยด้านบนสุดของถังขยะครับ) เราคงจบเรื่องเส้นทางจักรยานในประเทศเยอรมันด้วยสามภาพสุดท้ายนี้ครับ ข้อสรุปจากสามภาพสุดท้ายนี้ก็คือ ประเทศเค้านั้นมีวัฒนธรรมการขี่จักรยานกันมายาวนานตั้งแต่สมัยที่เริ่มตั้งถิ่นฐาน ก่อนที่รถยนต์จะเข้ามา ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จักรยานจะได้รับการยอมรับในการใช้งานมาตั้งแต่โบร่ำโบราณมาจนถึงปัจจุบันที่ผู้คนต่างก็ขี่จักรยานกันเป็นเรื่องปกติในวิถีการดำเนินชีวิต และด้วยนโยบายที่เข้มแข็งในการที่จะอนุรักษ์ชุมชนเก่าแก่เอาไว้ รถยนต์จึงขาดโอกาสที่จะเข้ามาครอบครองพื้นที่ในเมืองอย่างสมบูรณ์ได้เช่นในเมืองไทยของเรา เพราะเค้าไม่ยอมขยายถนนเพื่ออำนวยความสะดวกให้รถยนต์ เพราะเค้าไม่ยอมเสียพื้นที่เพื่อการจัดสวนในบ้านไปให้กับพื้นที่จอดรถยนต์ เพราะเค้ามองเห็นว่ารถยนต์ก็เป็นเพียงพาหนะหนึ่งที่ใช้สำหรับการเดินทางในระยะไกล การเดินทางในระยะไม่กี่กิโลเมตรในเมืองด้วยรถยนต์จึงเป็นเรื่องที่ไร้สาระเพราะระบบโครงข่ายเส้นทางจักรยานและทางเท้า รวมถึงรถรางที่กระจายอยู่รอบชุมชน ทำให้ประชากรมีทางเลือกในการเดินทางมากกว่าที่จะพึ่งพาแต่รถยนต์ประการเดียว อยากไปเที่ยวเยอรมันบ้างจัง ชอบปั่นจักรยานกับดินมากกว่านั่งรถยนต์ ประเทศเราน่าจะมีแบบนั้นบ้างเห็นมีแต่นโยบาล ลงทุนซื้อจักรยานมา4-5ปีแล้วก็ได้แค่ปั่นไปซื้อน้ำเต้าหู้หน้าปากซอย
โดย: ann IP: 124.122.84.21 วันที่: 17 พฤษภาคม 2552 เวลา:22:51:41 น.
สวัสดีครับ คุณ Bicycleman
ผมเป็นทีมงานของรายการสารคดีการเดินทางซึ่งจะออกอากาศทางทีวีไทยราวๆ ปลายปีนี้ ทางรายการกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและปัญหาของทางจักรยานในเมืองไทย เทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น เยอรมนี ญี่ปุ่น เป็นต้น จึงขอความอนุเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทางจักรยานในแง่มุมต่างๆ เพื่อรณรงค์ให้เกิดความคืบหน้าในการใช้จักรยานของคนไทยในเมืองใหญ่ ขอความกรุณาคุณ Bicycleman ติดต่อกลับทีมงานที่ DirectorReality@gmail.com (เนื่องจากเราหาที่ติดต่อจากในบล๊อคนี้ไม่เจอน่ะครับ ) ยินดี และเต็มใจช่วยผลักดันแนวคิด จักรยานปฎิวัติเมืองครับ ขอบคุณครับ ทีมงานรายการสารคดีการเดินทาง โดย: ทีมงานรายการสารคดีการเดินทาง IP: 58.8.225.68 วันที่: 11 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:32:35 น.
|
บทความทั้งหมด
|
ขอเป็นแนวร่วมรณรงค์การใช้จักรยานอีกเสียงหนึ่ง
เข้าไปเยี่ยมชมเว็บจักรยานของผมที่ //www.bkbike.com ได้เสมอ ยินดีต้อนรับครับ