ทางจักรยานในประเทศเยอรมัน ตอนที่ 3/4 ภาครายละเอียด
จากป้ายบอกทางและที่จอดจักรยาน เรามาดูการอำนวยความสะดวกบริเวณทางแยกทางข้ามบนถนนกัน โดยส่วนใหญ่แล้วทางจักรยานของที่นี่จะกำหนดไว้ให้อยู่คู่กับทางเท้าที่คนเดินโดยมีสัญลักษณ์แยกจากกันชัดเจน ถ้าตรงไหนเป็นเลนจักรยานทางเท้าบริเวณนั้นก็จะปูซีเมนต์บล๊อคเป็นสีแดง แรกๆที่มาถึงผมก็ออกจะงงๆเหมือนกันว่าคนจะเดินกันอย่างไร แต่ดูๆชาวบ้านชาวเมืองเค้าก็ไม่เดือนร้อนอะไรกันนะครับ คงเป็นเพราะเค้ารู้กันหมดแล้วว่าส่วนใดเป็นทางสำหรับคนเดิน ส่วนใดเป็นทางสำหรับจักรยาน ต่างคนต่างเคารพในพื้นที่ของกันและกัน ส่วนกะเหรี่ยงอย่างผมที่เพิ่งเคยมาเหยียบแผ่นดินประเทศนี้เป็นครั้งแรกในชีวิตก็นึกว่าทางเท้านี่สำหรับคนเดินอย่างเดียวเลยเผลอเดินล้ำเข้าไปในเลนจักรยานในช่วงแรกๆ แต่ภายหลังสังเกตุได้ก็เลยไม่ได้ปล่อยไก่อีก





นี่เป็นบริเวณทางข้ามของจักรยานครับ ทำเป็นพื้นผิวสีแดงเลย ให้เห็นกันชัดๆ คนขับรถก็จะต้องหยุดในระยะที่ห่างจากทางข้ามนี้ตามที่กำหนด



นี่ทางข้ามสำหรับคนเดินเท้าครับ จากในภาพจะมองไม่เห็นรถยนต์ที่จอดให้คนข้ามถนนเลย เพราะว่าเค้าจะมีเส้นกำหนดให้รถต้องหยุดตรงเส้นขาวนี้ห่างจากจุดที่เป็นทางข้ามประมาณสามถึงห้าเมตร บ้านเราก็มีนะครับเส้นขาวอย่างที่ว่านี่ แต่ว่าเรากำหนดไว้ใกล้กับทางม้าลายมากไปหน่อย คนส่วนใหญ่จึงมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญ (แต่ว่าตอนสอบรับใบขับขี่น่ะหยุดตรงไหน?) พวกเราที่ขับรถยนต์กันทั้งหลายมีใครเคยคิดจะหยุดตรงเส้นกันบ้างหรือเปล่าครับ เห็นบางรายแม้แต่ทางม้าลายยังหยุดทับไปเลย แค่เราพร้อมใจกันหยุดรถตรงเส้นขาวก็ช่วยให้เมืองมีระเบียบได้แล้วครับ ใครไม่ทำแต่เราทำกันก่อนเป็นคนแรกจะเป็นไรไป





ตลอดแนวของรางสำหรับรถราง เค้าก็จะจัดการปลูกหญ้าให้มันเขียวซะตลอดเส้น อะไรจะละเอียดกันได้ประมาณนั้น ดุแล้วน่านิยมในความพยายามที่จะหาอะไรสีเขียวมาใส่เมืองของเค้าเหลือเกิน ส่วนนักเลือกตั้งบ้านผม มันก็คิดกันแต่จะหาที่จอดรถเพิ่ม (กำลังจะเริ่มบ่นอีกแล้วครับ...ไม่เอา...ไม่พูดดีกว่า)




ที่จอดรถจักรยานในกรณีที่ติดไฟแดงครับ ดูแล้วมันทำยากมั้ยครับ แต่รับรองว่าถ้านำเสนอให้ผู้บริหารเมืองบ้านเราลองเอาไปทำ คำตอบหนึ่งกลับมาก็คือพื้นที่ถนนจะเสียไป คนจะไปจอดรถยนต์ตรงไหน(ถ้าเอาที่จอดรถออกแล้วใส่ทางจักรยานแทน) ครับ ถ้าคิดถึงแต่รถยนต์เป็นใหญ่ ก็อย่าหวังว่าจะได้เห็นทางจักรยานในชาตินี้

สิ่งหนี่งที่ผมสังเกตุได้จากกรณีของเยอรมันก็คือ เส้นทางสำหรับรถยนต์ในพื้นที่เมืองส่วนใหญ่แล้วเค้าจะทำให้แค่เลนเดียว(เลนเดียวจริงๆ) เป็นเลนแคบๆแบบไม่สามารถที่จะแซงขึ้นมาจากด้านหลังได้ (คือถ้าจะแซงก็ต้องไปล้ำเขตทางของพาหนะอื่น) อย่างนึงที่เค้าได้ก็คือการจำกัดความเร็วของรถยนต์ แน่นอนเมื่อไม่สามารถเร่งแซงกันได้ รถยนต์ก็ต้องขับตามกันไป กลายเป็นความสะดวกของจักรยานที่สามารถที่จะขี่ได้อย่างปลอดภัยบนพื้นที่ถนน

แนวคิดแบบนี้สวนทางกันโดยสิ้นเชิงกับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารท้องถิ่นส่วนใหญ่ในประเทศไทย เพราะเห็นหาเสียงเลือกตั้งทีไรก็โฆษณากันแต่ว่าจะขยายถนนๆๆๆๆๆๆๆๆให้รถวิ่งได้สะดวก แล้วเราก็ได้เมืองของรถยนต์อย่างที่เห็นกันในทุกวันนี้



Create Date : 01 พฤษภาคม 2552
Last Update : 1 พฤษภาคม 2552 22:56:22 น.
Counter : 1754 Pageviews.

0 comments
อุ้มสีมาทำบุญ ๙ วัด ในวันขึ้นปีใหม่ที่จ.อุบลราชธานี อุ้มสี
(3 ม.ค. 2567 19:10:02 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
ทนายอ้วนจัดดอกไม้ - จัดดอกไม้ง่ายๆ – แจกันสวัสดีปีใหม่ 2567 - กุหลาบพวงสีชมพู - ขาว ทนายอ้วน
(2 ม.ค. 2567 15:16:32 น.)
ไม่ลอดช่องโหว่ ปัญญา Dh
(2 ม.ค. 2567 13:44:30 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Bicyclecity.BlogGang.com

bicycleman
Location :
นครราชสีมา  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด