Spiral Town Spiral Town เมืองก้นหอย จากรายงานของ UN-Habitat หน่วยงานด้านการอยู่อาศัยของสหประชาชาติ บอกไว้ว่าในปี 2030 ประชากรในโลกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จะอาศัยอยู่ในเมือง ทำให้บรรดานักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเมืองหลายกลุ่ม หลายคน วิตกกังวลว่าอนาคตโลกจะอยู่กันอย่างไร เพราะการที่โลกมีพื้นที่ที่มีความเป็นเมืองมากขึ้น ก็หมายความว่ามันต้องแลกมากับระบบธรรมชาติทั้งหลายและปัญหาด้านสังคมอีกมากมายที่เมืองต่างๆต้องเผชิญกับมัน ทั้งเรื่องสลัม ทั้งน้ำเน่า น้ำเสีย น้ำไม่พอใช้ ปัญหาขยะ ฯลฯ ดร.เฟรดดี้ เชื่อว่าช่วงเวลานี้จำเป็นที่มนุษย์ต้องมีความคิดใหม่และตอบคำถามที่ว่า "จะเป็นอย่างไรถ้าเราคิดให้แตกต่างเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในอนาคตของเมืองเก่าทั้งหลายที่มีอยู่" แนวคิด "เมืองก้นหอย" เป็นหนึ่งในหนทางหนึ่งในความพยายามที่จะเปลี่ยนวิธีการคิดและออกแบบเมืองอย่างที่เคยเป็นมา เมืองโดยทั่วไปที่เรารู้จักกันนั้นจะมีพื้นที่เนื้อเมืองเป็นจุดศูนย์กลาง ใช้ย่านพาณิชยกรรม ย่านการค้าที่สำคัญเป็นศูนย์กลางเมืองแล้วค่อยๆลดความหนาแน่นกระจายออกไปจนกลายเป็นพื้นที่ชนบทอยู่โดยรอบ แนวคิดเมืองก้นหอยจะตรงกันข้ามคือความพยายามที่จะสร้างพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ที่เป็นใจกลางเมืองแล้วรอบข้างจึงค่อยๆกระจายเป็นเหล่าตึกคอนกรีต (โปรดดูภาพประกอบ) โดยโครงสร้างของเมืองนี้จะมีความสูงประมาณ 300 เมตร โดยมีรถไฟรางเบาใช้ความลาดชันประมาณ 5% เป็นพาหนะในการขนส่งคนเชื่อมต่อกันจากด้านล่างของเมืองมาถึงด้านบน เป็นเหมือนการเปลี่ยนกระบวนทัศน์เดิมที่เคยพัฒนาเป็นแบบตามแนวเส้นตรง คือจับมันมาวนซ้อนกันเสียคล้ายกับรูปก้นหอย มีองค์ประกอบต่างๆของเมืองอยู่ภายในด้านนอกห่อหุ้มด้วยระบบธรรมชาติและพื้นที่สีเขียว ทำให้เกิดการเติบโตต่อเนื่องของต้นไม้พืชพรรณแทนที่จะเป็นการถูกทำลายหายไปด้วยความเป็นเมืองอย่างแนวคิดดั้งเดิม แปลและเรียบเรียงจาก//www.schindler.com/content/dam/web/hk/PDF/JSG%20Vertical%20World%202014.pdf เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 |
บทความทั้งหมด
|