่เนเธอร์แลนด์แดนสวรรค์ของจักรยานตอนที่4 ช่วงนี้ผีขยันเข้าสิงครับ เลยมีเรื่องมาเล่าให้ฟังเยอะหน่อย แต่จะว่าไปแล้วสำหรับเรื่องจักรยานของประเทศเนเธอร์แลนด์นี่ผมเล่าให้ฟังได้เป็นวันๆไม่รู้จบ เพราะมันเป็นอะไรที่ตรงใจแล้วก็อยากได้บรรยากาศอย่างนี้มาไว้ที่บ้านเราเป็นที่สุด โดยเฉพาะโคราชบ้านผมนั้นเป็นเมืองที่มีลักษณะเป็นที่ราบไม่ได้มีเนินสูงชันเหมาะกับการขี่จักรยานเป็นอย่างยิ่ง เพื่อนผมจากเนเธอร์แลนด์ที่มาเที่ยวโคราชบ้านผมก็เคยปรารถให้ฟังว่าเค้าแปลกใจว่าเมืองโคราชนั้นมีบางมุมบางกายภาพที่ใกล้เคียงกับเนเธอร์แลนด์แต่ว่าทำไมไม่เห็นคนขี่จักรยาน เราคุยกันยาวเรื่องนี้ สุดท้ายก็ได้ข้อสรุปตรงกันว่ามันคือทัศนคติต่อการขี่จักรยานนั่นเอง เนเธอร์แลนด์นั้นประชากรเค้าเห็นว่าการขี่จักรยานนั้นเป็นประโยชน์ทั้งตัวเค้ากับบ้านเมือง(คือประชาชนก็ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ร่างกายที่แข็งแรง เมืองก็มีความสวยงามมลภาวะก็น้อย) แต่โคราชเมืองย่าโม ประชาชนเค้าบอกว่าขี่ไม่ได้หรอกเพราะมันร้อนๆๆๆๆ(ผมเองขี่จักรยานไปทำงานทุกวันยังไม่เคยร้อนตายเลยครับ) มันอันตรายเพราะรถมันเยอะ(ผมก็ขี่จักรยานอยู่ทุกวัน ยังไม่ตาย) บลาๆๆๆๆๆๆๆ สุดท้ายเหตุผลก็คือทุกคนหาเหตุที่จะไม่ขี่จักรยานต่างหาก ไม่ใช่เหตุผลที่เป็นวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด ทางจักรยานในเมืองอีกพื้นที่หนึ่งครับ จะเห็นว่าลักษณะการออกแบบเส้นทางของเค้านั้นจะมีการกำหนดให้เห็นได้อย่างชัดเจนไปเลยว่าพื้นที่ไหนคือของจักรยาน พื้นที่ไหนเป็นของรถยนต์ มีการสร้างอุปสรรคป้องกันไม่ให้เกิดการรบกวนกันระหว่างพาหนะสองชนิดนี้โดยให้ความสำคัญกับจักรยานมาก่อน บริเวณใดที่เป็นจุดที่พาหนะสองชนิดนี้ต้องมาใช้พื้นที่ร่วมกันเช่นตรงทางร่วมทางแยก ก็มีระบบสัญญาณจราจรที่ควบคุมทุกรูปแบบการใช้งานบนเส้นทางคือคุมทั้งรถยนต์ จักรยาน คนเดินเท้า ไอ้ของบ้านเรานั้นมีแต่สัญญาณให้รถยนต์เสียเป็นส่วนใหญ่ บ้านเราคนก็เลยไม่มีวินัยในการใช้ถนนร่วมกันอยากข้ามตรงไหนก็ข้ามไป มั่วกันไปหมด ต่างคนก็ต่างเอาความสะดวกของตนเป็นที่ตั้ง สิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองเหล่านี้ก็ล้วนมาจากการที่ผู้บริหารเมืองไม่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับจักรยานและคนเดินเท้านี่แหละ ภาพที่ผมถ่ายมาเหล่านี้เป็นเวลาช่วงเช้าๆครับ ผู้คนก็ออกเดินทางไปทำงาน ไปเรียนหนังสือ ไปทำธุระกัน จะเห็นกองทัพจักรยานพาเหรดกันออกมาในทุกพ้ื้นที่ของเมือง ดูๆไปก็ไม่น่าจะแปลกใจอะไรเพราะเค้าทำระบบอำนวยความสะดวกให้ขี่จักรยานกันเสียขนาดนั้นผู้คนจะไม่อยากขี่กันได้อย่างไร แต่ที่บ้านเรานั้นมีเหตุผลหนึ่งที่น่าหมั่นไส้เป็นอย่างยิ่งที่ผมได้ยินมาก็คือว่าท่านผู้บริหารท่านไม่ยอมทำทางจักรยานเพราะว่าเกรงว่าทำแล้วถ้าไม่มีคนใช้งานจะสูญงบประมาณเสียปล่าวๆ ผมก็เลยตอบท่านไปว่าที่ท่านๆทำกันน่ะมันถูกต้องตามหลักวิชาการบ้างไหม ทางจักรยานเพียงแค่ขีดเส้นบนถนนแล้วมันจะเป็นทางจักรยานได้หรืออย่างไร แล้วไอ้เจ้ากิจกรรมเกี่ยวกับจักรยานอย่างวันสิ่งแวดล้อมหรือจักรยานพาเหรดที่ท่านๆทำกันนั่นหน่ะมันยั่งยืนแค่ไหน สุดท้ายก็แค่ลูบหน้าปะจมูก ทำแค่พอสักแต่ได้ว่าทำ ชาวบ้านก็รับกรรมอยู่ทุกวันนี้แหละครับ ถ้าหากพื้นที่ใดๆในประเทศไทย สร้างความสะดวกให้กับจักรยานได้สักครึ่งนึงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ดูซิว่าจะมีคนขี่จักรยานเพิ่มขึ้นหรือไม่ ทุกวันนี้ที่ประชาชนไม่ขี่จักรยานกันก็เพราะมันไม่อะไรทำให้เค้าเกิดความสะดวกในการใช้งาน โครงการเกี่ยวกับจักรยานที่ทำขี้นมาก็ทำกันอย่างลวกๆแล้วแต่จะคิดนึกกันไปโดยไม่มีการศึกษาหาความเป็นจริง สร้างแต่ภาพลวงตาว่าช่วยลดโลกร้อน พอได้หน้าแล้วก็เลิกกันไป แล้วก็เอาไปสรุปว่าเมืองไทยยังไงก็ขี่จักรยานลำบาก จากภาพด้านบนจะเห็นว่าพอมีองค์ประกอบที่เอื้ออำนวยประชากรในเมืองเค้าก็แก้ปัญหาความไม่สะดวกของเค้าเอง เช่นคุณสาวๆที่กลัวโป๊เวลาขี่จักรยานเค้าก็หาทางแต่งตัวเป็นชุดสะดวกของเค้า ใครอยากขี่จักรยานสบายๆเค้าก็หาจักรยานแบบนอนขี่มาใช้ ใครมีสัมภาระเยอะเค้าก็หากระเป๋าสัมภาระสำหรับจักรยานมาใส่ นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมจักรยานล่ะครับ แล้วคนเนเธอร์แลนด์นี่ไม่ใช้รถยนต์กันเลยหรืออย่างไร ที่เห็นมาเค้าก็มีรถยนต์กันเป็นปกติล่ะครับเพียงแต่ว่าทุกถนนต้องมีพื้นที่ให้กับจักรยานเสมอ คือไม่ได้ให้ความสำคัญกับรถยนต์ว่าเป็นการจราจรทั้งหมดแต่ให้ความสำคัญกับจักรยานอย่างเท่าเทียมด้วย ที่ไหนที่รถยนต์ไม่สะดวกแต่ถ้าจักรยานสะดวกนั่นคือไม่เป็นไร แต่ถ้าที่ไหนที่จักรยานไม่สะดวกแล้วรถยนต์สะดวกนั่นต้องกลับมาสร้างระบบใหม่ จากภาพด้านบนท่านจะเห็นการกันพื้นที่เพื่อให้เป็นทางจักรยานชั่วคราวเนื่องจากในบริเวณที่เป็นทางจักรยานเดิมนั้นกำลังมีการปรับปรุง เห็นเค้าเอื้ออาทรกับคนขี่จักรยานขนาดนี้จะไม่อดนึกรักเมืองเค้าได้อย่างไร บ้านเราหรือท่าน? เห็นแต่มันทุบทางเท้ากันทำเป็นถนนเป็นว่าเล่น หรือไม่ก็ขยายถนนโดยอ้างเหตุว่าเพื่อแก้ปัญหาจราจรกันเป็นมาตรฐาน(ดูอย่างที่เชียงใหม่ที่บรรดานักอนุรักษ์เค้ากำลังพยายามต่อต้านการขยายถนนนั่นเถิด) ที่จอดจักรยานกับแสงแดดยามเช้าครับ ถ่ายมาเล่นๆเห็นแสงมันสวยดี ถ้าภาพนี้เป็นเมืองไทยผมคงนอนตายอย่างมีความสุข วัฒนธรรมจักรยานที่แข็งแรงทำให้เกิดภาพเช่นนี้ครับ นี่คือจักรยานเพื่อการทำมาหากินของเค้า คงกำลังไปส่งหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารอะไรประมาณนั้น ลองกะประมาณดูสิครับว่าทั้งคันนี้นั้นบรรทุกได้ตั้งเท่าไร รั้วกันสายตาของโครงการก่อสร้างอาคารอะไรสักอย่างของเมืองนี้ครับ แทนที่จะให้มันทำหน้าที่แค่กันสายตาอย่างเดียวเค้าก็ถือโอกาสให้เป็นแหล่งให้ความรุ้และประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาเมืองไปในตัว กลายเป็นใช้รั้วทำเป็นนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับที่มาที่ไปของโครงการก่อสร้างนี้และเล่าถึงประวัติศาสตร์ของย่านเอาไว้ด้วย ดูเอาเถิดพี่น้อง คนของเค้าจะไม่มีรสนิยมวิไลไปได้อย่างไรในเมื่ออะไรๆมันเอื้อให้เกิดความรู้ได้มากมายเช่นนี้ จักรยานที่นู่นเยอะมากจริง ๆ ค่ะ แล้วเขาก็จะมีแบ่งเลนกันไว้อย่างชัดเจน
ส่วนตัวเองยังไม่เคยได้ไปปั่นที่นู่นเลยค่ะ เพราะยังไม่ได้ซื้อจักรยาน แต่ปีหน้านี้คงได้ฤกษ์ไปปั่นจักรยานที่นู่นแล้วค่ะ โดย: อารีรัตน์ วันที่: 10 สิงหาคม 2552 เวลา:13:35:00 น.
เห็นด้วยคูณสองยกกำลังสามค่ะ
แปลกนะคะ คนไทยเราถ่ายรูปต่างประเทศจะถ่ายอะไรที่ดูเเล้วทำให้คิดว่าทำไมเราไม่ทำอย่างเค้า แต่ถ้าเป็นต่างประเทศมาเดินอย่างมาเดินสยามพารากอน สยามดิสงี้เชื่อมั้ยเค้าถ่ายรถที่มันติดๆของบ้านเราไป ไม่รู้ว่าถ่ายไปประจานหรือยังไง (ความคิดตัวเองนะ) โดย: ผลส้ม IP: 58.137.117.146 วันที่: 11 สิงหาคม 2552 เวลา:12:15:22 น.
|
บทความทั้งหมด
|
จริง ๆ แล้วตอนนี้บ้านเราก็โปรโมตให้คนมาใช้จักรยานกันนะคะ แต่ว่ามันไม่ต่อเนื่อง
อีกอย่างคือ เลนสำหรับรถจักรยานยังไม่มี เลยทำให้มันยังอันตราย (แม้ว่าเราอยากจะขี่ใน กทม.ก็ตามค่ะ)