Group Blog
 
<<
กันยายน 2548
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
13 กันยายน 2548
 
All Blogs
 

การเขียนเล่าเรื่องหนัง

ไม่ว่าจะเป็นแบบมืออาชีพ หรือมือสมัครเล่น ก็คงมีคำถามอยู่ดีว่า "เราสามารถมีขอบเขตแค่ไหนในการเล่าเรื่องหนัง ?" ึโดยคำถามนี้ก็เกิดจากการที่ผมท่องเว๊บไปเจอคนไม่พอใจการเล่าเรื่องย่อหนังแบบละเอียดบ่อยๆ

เรื่องย่อที่เราเจอบ่อยๆ นั้น เราเรียกว่า Synopsis ซึ่งก้เป็นศัพท์ภาพยนตร์ หมายถึง เรื่องย่ออย่างสั้นๆ ของหนังครับ ประกอบด้วย เวลา สถานที่ รายละเอียดและชื่อตัวละคร มาใส่กับโครงเรื่อง(Plot) โดยอาจให้รายละเอียดบอกถึงแนวทางหนังว่ามีลักษณะแบบไหน

อย่างไรก็ตามในยุคที่ข่าวสารทะลักทะล้น ตามเว๊บไซต์ภาพยนตร์ต่างๆ ก็มักเล่าเรื่องหนังในหน้า Synopsis ค่อนข้างละเอียด จนน่าจะใกล้เคียงคำว่า Story ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องตั้งแต่ต้นจบ ไม่มีการปิดซ่อนเร้นอะไรเข้าไปทุกที มีเพียงการไม่บอกตอนจบเท่านั้น แต่รายละเอียดก็เล่าเรื่องไปจนถึงไคลแม็กซ์แล้ว ซึ่งสร้างความผิดหวังสำหรับผู้ชมภาพยนตร์ที่อยากจะหาความบันเทิงโดยไม่ต้องรับรู้อะไรก่อนเข้าชมมากนัก (แต่โดยส่วนตัวผมเองที่ต้องเจอเรื่องแบบนี้เป็นประจำจะค่อนข้างเฉยๆ เพราะชินซะแล้ว ถือเป็นเรื่องไม่ดีครับ แต่ปลงซะแล้ว)

สำหรับการวิจารณ์นั้นเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่เล่าอะไรในหนังเลย อย่างน้อยต้องบอกระบุได้ครับว่าหนังเรื่องนั้นอยู่ในแนวหนัง หรือตระกูล(Genre) ไหน มีจุดเด่นอยู่ที่ไหน ส่วนเรื่องการบอกรายละเอียด เล่าเรื่องย่อ เป็นศิลปะการเขียนครับ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

โดยส่วนตัววิธีการเขียนของผมจะเล่าเรื่องค่อนข้างละเอียด แต่จะพยายามขยายในส่วนนิสัยใจคอตัวละคร สิ่งแวดล้อมที่ปรากฎในภาพยนตร์ หรืออาจจะมองโครงเรื่องคร่าวๆ ให้เห็น ก่อนจะไปเล่าเรื่องย่อตามความเหมาะสม ส่วนใหญ่พยายามไม่ให้มากไปกว่ากลางเรื่องครับ ต่อจากนั้นจะพยายามอธิบายให้น่าติดตาม และคลุมเครือมากกว่าบอกอะไรจนหมดเปลือก เห็นภาพชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะระวังเป็นพิเศษกับหนังทุกตระกูล ไม่ว่าจะเป็น ดราม่า,เขย่าขวัญ, ตลก ที่มีการหักมุมตอนจบ(Twisted Ending)

การนำคำพูดของตัวละครจากภาพยนตร์มาใช้ประกอบนั้น ผมเชื่อว่าเราสามารถเอามาใช้ได้ แม้แต่ตอนจบ ถ้ามันไม่ทำให้เฉลยเรื่องราวออกมา โดยส่วนตัวข้อห้ามของผมก็คือ ไม่ควรนำประโยคที่เป็นมุขตลกชวนหัวเราะในหนังมาใช้ เพราะเชื่อว่าความสามารถของตนไม่สามารถทำให้มุขเหล่านั้นก่อประสิทธิภาพใดๆ ได้ และยังเป็นการเสียมารยาทในการลดทอนความสนุกจากหนังเรื่องนั้นอีกต่างหาก

ข้อยกเว้นก็มีบ้างครับ สำหรับการเขียนบทวิจารณ์ที่เน้นการวิเคราะห์เจาะลึกแบวิชาการ ซึ่งมักเป็นบทวิจารณ์ที่อิงหลักสัญศาสตร์โครงสร้าง ซึ่งเป็นการวิจารณ์โดยมองหาสัญลักษณ์ การอ้างอิงจากสิ่งต่างๆ และศิลปะต่างๆ ที่ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งๆ มี หรืออาจเป็นการวิจารณ์ที่อิงแนวทางอื่นๆ ก็ได้ แต่เป็นการขยายความแบบละเอียด การวิจารณ์แบบนี้ผมเองก็เคยเขียนบ้าง โดยตามมารยาทควรมีการบอกผู้อ่านไว้ก่อนครับ ว่าจะเลือกอ่านหรือไม่อย่างไร

ส่วนใครคิดว่าการเล่าเรื่องย่อเป็นเรื่องยาก เปรียบได้กับการดำเนินเรื่องตอนกลางเรื่องของหนัง ก็ขอแนะนำวิธีครับ ให้จดสิ่งต่างๆ ที่คิดว่าจะเขียนไว้ส่วนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นมุมมอง ข้อคิดที่ได้รับ หรือคำอธิบายฉากสำคัญ แยกไว้ส่วนหนึ่งเพื่อไม่ให้พลาดในการเขียน และอีกส่วนหนึ่งให้ลองสรุปชื่อตัวละครสำคัญ บุคลิก เวลา สถานที่ และโครงเรื่องคร่าวๆ ของหนังไว้อีกส่วน โดยตัดส่วนที่ไม่ต้องการจะเล่าออกไป จากนั้นค่อยๆ เขียน และตรวจดูว่าขาดหายสิ่งใดที่ยังไม่ได้เขียนไปได้ ก็น่าจะแก้ไขให้บทวิจารณ์มีความสม่ำเสมอ และดีขึ้นครับ




 

Create Date : 13 กันยายน 2548
4 comments
Last Update : 13 กันยายน 2548 22:40:35 น.
Counter : 2843 Pageviews.

 

นั่นน่ะสิครับ เด๋วนี้ถ้าเขียนเรื่องหนัง ผมจะพยายามให้กระชับ สั้น และได้ใจความที่สุด ผมว่าคนส่วนใหญ่ไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆนะ

 

โดย: joblovenuk 14 กันยายน 2548 1:41:41 น.  

 

ที่จริงผมมองว่ามันเป็นเชิงคุณภาพนะครับ(ปริมาณ และคุณภาพ) สิ่งที่สั้น ได้ใจความได้ความหมาย คือสิ่งที่มีลักษณะที่เป็นวัตถุวิสัยอย่างที่สุด ในเชิงปรัชญา(หนังคือปรัชญา) ทุกปรัชญาที่พูดถึง การเคลื่อนที่การเคลื่อนไหวของสรรพสิ่ง(action)ไม่ว่าจะมาร์กซ์,อัตถิภาวะนิยม,ทฤษฎีไร้ระเบียบ ต่างก็มองว่า คุณภาพ คือสิ่งที่หดเข้า ในขณะที่ปริมาณคือสิ่งที่ขยายออก (หนังสำหรับผู้สร้างที่แท้จริงจึงไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว

แค่แลกเปลี่ยนความรู้น่ะครับ มองหนังในเชิงปรัชญา

 

โดย: the author IP: 222.123.105.133 24 พฤศจิกายน 2549 2:34:17 น.  

 

ถ้ามองในแง่ปรัชญา คงมองได้ในเรื่องสรรพสิ่งบางอย่างครับ เพราะแม้แต่ปรัชญาสั้นๆ หรือการกระทำน้อยได้มาก ก็ทำให้เกิดการตั้งคำถามตั้งมากมาย

ผมมองได้แง่การเขียนวิจารณ์ครับ ทุกวันนี้เท่าที่ทราบมา งานเขียนวิจารณ์หนังในบ้านเราประสบปัญหาไม่มีคนอ่านครับ เพราะบางบทความยาวเกิน เดี๋ยวนี้การเขียนบทวิจารณ์ในนิตยสารหลายเล่มจึงพยายามลดลง เพราะไม่ใช่สิ่งที่คนอ่านๆ กัน ผมว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายครับ สำหรับบทวิจารณ์ยาวๆ หลายๆ เล่มดีๆ มีเยอะครับ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ แล่เนื้อเถือหนัง ของ คุณประชา สุวีรานนท์

 

โดย: yuttipung 24 พฤศจิกายน 2549 20:05:06 น.  

 

มีประโยชน์ที่สุด
นะนี่

 

โดย: ก้อย IP: 125.24.156.179 28 ตุลาคม 2551 15:17:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


yuttipung
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เป็นคนไม่เป็นโล้เป็นพายคนหนึ่งที่ติดอินเตอรเน็ต จนได้งานพอประทังเลี้ยงชีพ Blog นี้มอบให้แก่หญิงสาวที่ให้กำลังใจสำหรับความฝันอันริบหรี่ของผมมาตลอด ปัจจุบันเรียนโทจบแล้ว ทำงานหลายที่ หลักๆ ตอนนี้เพิ่งเริ่มเป็น Webmaster นิตยสารแห่งหนึ่ง ส่วนงานพิเศษคือลงข่าว และข้อมูลหนัง ดูแลเว็บให้กับ Popcornmag กับ เครือข่ายคนดูหนัง และเขียนวิจารณ์ภาพยนตร์ให้กับ Filmax

Friends' blogs
[Add yuttipung's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.