เรื่องราวของครอบครัวธรรมดา ที่ได้มาอเมริกาด้วย DIVERSITY VISA PROGRAM ( DV2006 )
Group Blog
 
 
มิถุนายน 2552
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
29 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 

กล้องใหม่ของบ้านไข่หก canon A1000IS

เลือกและลังเลมาตั้งนาน กว่าจะสรุปสุดท้าย กับกล้อง Canon A1000IS
ชุดนี้ ได้มาจาก Amazon.com

เริ่มหาข้อมูล จากห้องกล้อง ในพันธุ์ทิพย์ (เดี๋ยวนี้แหล่งข้อมูล ในการดำเนินชีวิตก็วนเวียนอยู่ใน pantip.com นี่แหละ ขอบคุณคะ)
ปีที่แล้วว่าจะตัดใจซื้อ Nikon D40 แต่กลัวว่าจะไม่มีปัญญาใช้ เพราะท่าทางจะยากเกินความสามารถ งั้นหาแบบง่าย ๆ สไตล์บ้านเราดีกว่า
ตอนนี้มาเปิดห้องรอ สมาชิกใหม่ น่าจะมาถึงบ้าน ไม่เกินศุกร์นี้ จะได้มีภาพดี ๆ มาเก็บไว้ให้ได้ดูกัน

รวมมิตรเทคนิคการถ่ายภาพ จากห้องกล้อง pantip.com Smiley


ขั้นตอนการถ่ายภาพให้ดี

Smiley
สร้างความรู้สึกให้รู้สึกอยากถ่ายภาพ ===> เป็นโอกาสที่จะทำให้เกิดภาพสวยๆ ไปมากกว่า 50%

Smiley
มองให้มาก มองดูว่ามุมไหนสวย ใช้สายตาแทนเลนส์ อย่าพึ่งเอากล้องขึ้นมาเล็ง เพราะจะสร้างข้อจำกัดให้กับตัวเรา เวลามองอย่านึกถึงข้อจำกัด
มองหามุม ===> มองจากสิ่งที่ต้องการสื่อ ต้องให้รู้ว่ต้องการสื่ออะไร จัด composition

Smiley
เทคนิค เป็นตัว support ว่าจะทำอย่างไรให้สื่อได้ตามที่เราต้องการจะสื่อ===> ชัตเตอร์ ช่องรับแสง วัดแสง ทิศทางของแสง

Smiley-Smiley
หาจังหวะกดชัตเตอร์ (ช่วงเวลาที่เหมาะสม)

Smiley
ภาพที่ได้ออกมา ===> ต้องทำการแก้ไขปรับแต่งหรือไม่(photoshop)


การจัดองค์ประกอบภาพ

จุดสนใจของภาพ ===> ต้องรู้ว่าอะไรคือจุดสนใจ อะไรคือสิ่งที่เราต้องการให้เป็นจุดเด่นในภาพนั้น

วิธีเน้นจุดสนใจ
1. จุดสนใจอยู่กลางภาพ
2. จุดสนใจขนาดใหญ่
3. จุดสนใจอยู่บนฉากหลังที่เรียบง่าย
4. จุดสนใจแตกต่างจากองค์ประกอบอื่นๆ
5. มีกรอบบังคับสายตา ข้อแม้ กรอบต้องไม่เด่นมาก ต้องเรียบง่ายไม่ดูรก
6. มีเส้นนำสายตา
7. ใช้ความแตกต่างของแสง จุดเด่นอยู่ที่สว่าง องค์ประกอบส่วนอื่นอยู่ที่มืด

การจัดองค์ประกอบภาพ

กฎ 3 ส่วน

วางจุดสนใจไว้ที่จุดตัด(ไม่ fix ตายตัว ว่าต้องตรงจุดตัดนี้เท่านั้น)
นิยมเว้นพื้นที่ด้านหน้าจุดสนใจมากกว่าด้านหลัง เพื่อไม่ให้ดูอึดอัด

การจัดภาพ

- การจัดภาพแบบสมดุลย์ ซ้ายขวาเท่ากัน, บนล่างเท่ากัน
- การจัดภาพแบบไม่สมดุลย์ หนักทางด้านล่าง, หนักทางด้านบน, หนักทางด้านซ้าย, หนักทางด้านขวา
- การจัดภาพแบบมีฉากหน้า ทำให้รู้สึกว่าภาพมีระยะใกล้ไกล (ใช้ฉากหน้าสีเข้ม ฉากหลังสีอ่อน)
- พื้นผิว เน้น texture ของภาพ
- การหยุดความเคลื่อนไหว สร้างภาพที่เราไม่เคยเห็น ไม่ชินตา
- มุมมอง วัตถุอันหนึ่งมีมุมมองที่สามารถนำเสนอได้หลากหลาย พยายามมองหา มุมมองแต่ละมุมให้ภาพที่มีความรู้สึกแตกต่างกัน
- เข้าใกล้ ออกห่าง ถ่ายกว้าง ถ่ายเจาะ มุมเงย มุมกด แนวตั้ง แนวนอน
- เพิ่มลดค่าการเปิดรับแสง จงใจ under จงใจ over
- ถ่ายภาพหลายๆ จังหวะเวลา
- รอเวลาที่เหมาะสม เช่นการถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้น ถ่ายช่วงเวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น 30 นาที - พระอาทิตย์ขึ้น ถ่ายพระอาทิตย์ตก ถ่ายหลังจากตกไปแล้ว 30 นาที
- เปรียบเทียบขนาด มี human scale เพื่อแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของสิ่งที่นำเสนอ
- สีร้อนอยู่หน้าสีเย็นอยู่หลัง สีเข้มอยู่หน้าสีสว่างอยู่หลัง
- ลงต่ำกว่าปกติ ขึ้นสูงกว่าปกติ หามุมแปลกๆ หามุมที่ต่ำกว่าปกติ หรือ หามุมที่อยู่สูงกว่าปกติ
- ใช้ฟิลเตอร์เปลี่ยนสีภาพ
- ถ่ายภาพผ่านหมอก ให้เข้าใกล้วัตถุที่จะถ่าย วัตถุจะชัด ข้างหลังจะเบลอไปหมด อย่าใช้เทเล จะเบลอไปทั้งภาพ


เทคนิคการถ่ายภาพ

- set ISO ให้ต่ำที่สุดที่กล้องทำได้
- ใช้ขาตั้งกล้องให้มากที่สุด
- โหมดที่ใช้ ควรใช้ 2 ระบบ คือ M กับ A
- ในการถ่ายภาพ ตั้งช่องรับแสง ===> วัดแสง ===> หาความเร็วชัตเตอร์
- ถ่ายภาพน้ำตก วัดแสงส่วนใบไม้ที่โดนแสง ===> ได้ค่าแสงที่พอดี
- วัดแสงถ่ายภาพเสร็จ อย่าเชื่อ LCD ให้ check จาก graph histogram

graph histogram จะบอกว่า ภาพที่ได้ มีส่วนดำเยอะ, ส่วนขาวเยอะ หรือส่วนเทาเยอะ
ต้องดู graph พิจารณาเทียบกับภาพ และของจริง ถึงจะบอกได้ว่า ภาพที่ได้นั้น over หรือ under
note : ทางที่ดี ควร check graph histogram ดีกว่า(ชัวร์กว่า)

ภาพไฮคีย์ คือ ภาพที่มีส่วนขาวเยอะ (เป็นขาวที่มีรายละเอียด)
ภาพโลว์คีย์ คือ ภาพที่มีส่วนดำเยอะ (เป็นดำที่มีรายละเอียด)



การถ่ายภาพมาโคร
1. มุมภาพ ดอกไม้ที่ต้องการให้เด่น ควรเด่นจริงๆ ดู หามุม คิดก่อน ไม่ควรถ่ายดอกไม้หน้าตรง เพราะจะแบน ไม่สวย ให้ถ่ายด้านข้างเล็กน้อย
2. ควบคุมความชัดลึก check ชัดลึก ว่าควรใช้ F เท่าไหร่
3. ควบคุมฉากหลัง
4. ควบคุมทิศทางแสง เน้นแสงข้างกับเฉียงหลังเป็นหลัก
5. จังหวะกดชัตเตอร์ ต้องรอจังหวะ อย่าใจร้อน
6. ลม & อุปสรรค
note : ถ่ายดอกไม้ หาดอกที่สมบูรณ์ที่สุด หาฉากหลังที่ไม่รก



เทคนิคการถ่ายภาพมาโครให้ฉากหลังดำ
step1
ตั้งมุมกล้องให้เรียบร้อย

step2
ตั้งช่องรับแสง(คุม depth เป็นหลัก), แฟลช TTL

step3
วัดแสง(วัดแสงที่ฉากหลัง) ===>ได้ speed shutter ===> ชดเชยแสงที่ speed shutter ให้ under ตามต้องการ
- ถ้าต้องการแสงที่ไม่มีอัตราส่วนแสง ให้วัดแสงพอดี
- ถ้าต้องการฉากหลังเข้ม วัดแสง under 1stop
- ถ้าต้องการฉากหลังเข้ม มากขึ้น วัดแสง under 2 stop
- ถ้าต้องการฉากหลังดำ วัดแสง under 3 stop

note : การวัดแสง ถ้าแสงเท่ากันทั้งภาพ วัดแสงที่ไหนก็ได้ แต่ถ้าไม่เท่ากัน ให้วัดแสง(เฉพาะจุด) ที่ฉากหลัง

เพิ่มเติม การให้หลังดำธรรมชาติทำได้เมื่อ ปริมาณแสงที่ส่องเข้าหน้าวัตถุกับแสงที่ฉากหลังมีความแตกต่างกันมากๆ คือ แสงจัดที่หน้าวัตถุ แต่หลังวัตถุมืดๆหน่อยน่ะค่ะ


การถ่ายภาพน้ำตก

1. ความเร็วชัตเตอร์ สูง ===> หยุด น้ำตกจะดูแข็งๆ ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ===> soft น้ำตกจะดูนุ่มๆ
2. ช่องรับแสง กลางๆ
3. ความละเอียด ตั้งไว้ที่ความละเอียดสูงสุด
4. ความคมชัด ตั้ง sharpness ไว้ที่ high
5. สี
6. สมดุลสี (WB) ใช้ Auto ได้ หรือ cloudy หรือ custom โดยซูมเข้าไป custom ที่ส่วนขาวของน้ำตก
7. การวัดแสง วัดแสงเฉลี่ยก็ได้ วัดเฉพาะจุดที่สายน้ำ +2 stop (วัดสายน้ำส่วนโดนแสง)
8. องค์ประกอบภาพ ถ่ายน้ำตก เน้น น้ำตกต้องเด่น
9. ระวังเรื่องการป้องกันน้ำ & ละอองน้ำ
10. ใช้ขาตั้งกล้อง & สายกดชัตเตอร์
11. เลนส์ที่ใช้ควรใช้เลนส์มุมกว้าง มี PL ควรใช้ PL



การถ่ายภาพทะเลหมอก

1. การควบคุมความชัดลึก ใช้ช่องรับแสงแคบ
2. การเลือกใช้เลนส์ ใช้เลนส์มุมกว้าง
3. การวัดแสง วัดแสงที่ทะเลหมอก +1 stop
4. มุมมอง
5. จังหวะของแสง & เงา ขึ้นกับดวงอาทิตย์ ไม่สามารถกำหนดได้ แต่ให้สวยต้องแสงเฉียงหลัง เฉียงข้าง
6. จังหวะกดชัตเตอร์ ดวงอาทิตย์พ้นแนวเขา พ้นแนวเส้นขอบฟ้ามานิดนึง
7. ระบบสมดุลสี
8. ตั้ง contrast high sharpness high



อุณหภูมิสีของแสง

แสงที่ตามองเห็น จะประกอบด้วย น้ำเงิน + เขียว + แดง ===> R + G + B

แสงขาว ===> R = G = B ----> 5500 องศาเคลวิน

แหล่งกำเนิดแสงที่ส่งผลต่อการเกิดภาพ
แสงจากดวงอาทิตย์โดยตรง ===> แสง sunlight ===> สีออกแดง
แสงจากท้องฟ้า ===> แสง skylight ===> สีออกน้ำเงิน

note : ฟ้าไม่น้ำเงิน แดดออก จะได้ภาพที่ออกเหลือง ท้องฟ้าปลอดโปร่ง แดดไม่ออก จะได้ภาพออกสีน้ำเงิน

แสงกลางวัน ===> แสง daylight ===> R=G=B ===> 5500 k
แสง daylight ===> sunlight + skylight

note :
===> ถ้าอุณหภูมิสีของแสง สูงกว่า 5500 k จะออกสีน้ำเงิน
===> ถ้าอุณหภูมิสีของแสง ต่ำกว่า 5500 k จะออกสีแดง



white balance

Auto WB
ปรับสีของภาพตามสีที่อยู่ในภาพ หากภาพในภาพออกแดง ก็จะแก้แดง ภาพออกเหลืองก็จะแก้เหลือง
จะทำได้แม่นยำในกรณีที่มีวัตถุสีขาวอยู่ในนั้นด้วย
ถ้าไม่มีวัตถุสีขาว ห้ามใช้เด็ดขาด
ถ้าภาพทั่วๆ ไป มีจุดขาวให้จับ ใช้ Auto WB ได้

Daylight
แสงกลางวัน ท้องฟ้า+แดดออก

Cloudy
มีแสง เข้าที่ร่ม ไม่มีพระอาทิตย์

ฟลูออเรสเซนต์
- daylight
- warmlight
- coollight

ทังสเตน
ถ้าต้องการบรรยากาศเหลืองๆ ห้ามใช้ เพราะจะแก้เหลืองเป็นขาวหมด

Custom WB
===> เอากระดาษขาว วัดแสงพอดี (หรือ over 2 stop) จะปรับสีขาวพอดี set custom จะแก้สี ได้สีที่อิ่มตัว สวยพอดี
===> ต้องขยันดูแสง(สีของแสง) ถ้าสภาพแสงมีการเปลี่ยนแปลง ต้องการให้สีตรง ต้อง set custom ใหม่ ถ้าใช้ custom WB ต้องขยัน set

note :
ในสภาพแสงประดิษฐ์ ถ้าอยากได้บรรยากาศของแสง อย่าตั้ง Auto เด็ดขาด ให้ตั้งที่ daylight
ถ่ายน้ำตก ที่ใช้บ่อยจะเป็น cloudy หรือไม่ก็ set custom WB โดยซูมเข้าไป set ค่าที่ตัวน้ำตกเลย

ที่มา ://topicstock.pantip.com/camera/topicstock/2008/02/O6292507/O6292507.html

ขอบคุณ คุณ One Light One Shadow ที่รวบรวมไว้ในบล็อคคะ




 

Create Date : 29 มิถุนายน 2552
1 comments
Last Update : 29 มิถุนายน 2552 8:49:03 น.
Counter : 1248 Pageviews.

 

รอชม ภาพถ่ายนะคะ

 

โดย: no filling 29 มิถุนายน 2552 17:21:22 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


แม่ไข่หก
Location :
Phoenix, AZ United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




อยากเก็บประสบการณ์ ที่ได้พบเจอ กับโลกอีกด้านหนึ่ง เผื่อจะมีประโยชน์กับคนอื่น ๆ บ้าง
Friends' blogs
[Add แม่ไข่หก's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.